พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักบัญชีเงินฝากและเช็คในบัญชีเดินสะพัดช่วงก่อนล้มละลาย ไม่ถือเป็นการโอนทรัพย์สินเพื่อเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายอื่น
จำเลยมีบัญชีเดินสะพัดกับธนาคารผู้คัดค้านและอยู่ในระหว่างบัญชียังเดินสะพัด การที่จำเลยนำเช็คของธนาคารอื่นมาเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อให้ธนาคารผู้คัดค้านเรียกเก็บเงินให้ภายในระยะเวลา 3 เดือนก่อนจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลาย ถือได้ว่าเป็นการนำเงินตามเช็คฝากเข้าบัญชีเดินสะพัดหาใช่จำเลยมีเจตนาชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้คัดค้าน ที่ธนาคารผู้คัดค้านเรียกเก็บเงินตามเช็คได้แล้วนำมาหักกับยอดหนี้ที่จำเลยเบิกเกินบัญชีอยู่ในขณะนั้น เป็นเพียงวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบัญชีตามปกติธรรมดาของธนาคาร กรณีมิใช่จำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลเพิกถอนการฝากเงินตามเช็คดังกล่าวไม่ได้
ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินฝากประจำของจำเลยไปเข้าบัญชีกระแสรายวันของจำเลยภายในกำหนด 3 เดือนก่อนจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเพื่อเป็นการชำระหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารผู้คัดค้าน การกระทำของธนาคารผู้คัดค้านดังกล่าวเกิดจากข้อตกลงตามหนังสือยินยอมให้หักบัญชีเงินฝากประจำชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับธนาคารผู้คัดค้าน โดยทำขึ้นก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายเกือบ 9 เดือน ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวลูกหนี้ยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินในบัญชีฝากประจำมาหักหนี้เบิกเกินบัญชีในบัญชีเดินสะพัด เมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องมีการตัดทอนบัญชีก่อนและโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือขอความยินยอมลูกหนี้เสียก่อน การที่ธนาคารหักหนี้ดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านกระทำการโอนบัญชีและหักหนี้ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมายให้ธนาคารผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้ (อ้างฎีกา 2483/2527)
ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินฝากประจำของจำเลยไปเข้าบัญชีกระแสรายวันของจำเลยภายในกำหนด 3 เดือนก่อนจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเพื่อเป็นการชำระหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารผู้คัดค้าน การกระทำของธนาคารผู้คัดค้านดังกล่าวเกิดจากข้อตกลงตามหนังสือยินยอมให้หักบัญชีเงินฝากประจำชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับธนาคารผู้คัดค้าน โดยทำขึ้นก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายเกือบ 9 เดือน ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวลูกหนี้ยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินในบัญชีฝากประจำมาหักหนี้เบิกเกินบัญชีในบัญชีเดินสะพัด เมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องมีการตัดทอนบัญชีก่อนและโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือขอความยินยอมลูกหนี้เสียก่อน การที่ธนาคารหักหนี้ดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านกระทำการโอนบัญชีและหักหนี้ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมายให้ธนาคารผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้ (อ้างฎีกา 2483/2527)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีซื้อขายหลักทรัพย์, ดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด, และข้อจำกัดการยกเหตุใหม่ในศาลฎีกา
กรณีที่จะอยู่ในบังคับของบทบัญญัติมาตรา 165(1) ซึ่งมีอายุความ2 ปี ต้องเป็นกรณีที่พ่อค้าผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้เป็นช่างฝีมือหรือบุคคลจำพวกประกอบศิลปอุตสาหกรรม ฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของทำของ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่นอันเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ได้ส่งมอบของหรือผลงานให้ลูกหนี้แล้วเรียกร้องเอาค่าสิ่งของหรือราคาของผลงานที่ได้ส่งมอบ
โจทก์จำเลยตกลงเปิดบัญชีเดินสะพัดและมอบให้โจทก์ซื้อหลักทรัพย์แทนเป็นเรื่องที่โจทก์รับเป็นตัวแทนของจำเลยโดยได้ค่าธรรมเนียมตอบแทนหาได้มีการส่งมอบสิ่งของหรือผลงานให้จำเลยแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยทบต้นโดยอ้างว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีประเพณีการค้าขายให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นได้ ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา655 วรรค 2 เมื่อข้อเท็จจริงรับกันว่า โจทก์ จำเลยได้ตกลงเปิดบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีข้อความว่าจำเลยยอมรับว่ามีประเพณีการค้าให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในกรณีนี้ได้ โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้ โดยไม่ต้องนำสืบถึงประเพณีการค้าดังกล่าวอีก
ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์จำเลยตกลงเปิดบัญชีเดินสะพัดและมอบให้โจทก์ซื้อหลักทรัพย์แทนเป็นเรื่องที่โจทก์รับเป็นตัวแทนของจำเลยโดยได้ค่าธรรมเนียมตอบแทนหาได้มีการส่งมอบสิ่งของหรือผลงานให้จำเลยแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยทบต้นโดยอ้างว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีประเพณีการค้าขายให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นได้ ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา655 วรรค 2 เมื่อข้อเท็จจริงรับกันว่า โจทก์ จำเลยได้ตกลงเปิดบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีข้อความว่าจำเลยยอมรับว่ามีประเพณีการค้าให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในกรณีนี้ได้ โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้ โดยไม่ต้องนำสืบถึงประเพณีการค้าดังกล่าวอีก
ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์บัญชีเดินสะพัด แม้ฟ้องเป็นการกู้ยืม ศาลปรับบทกฎหมายได้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ฟ้องเรื่องกู้ยืมเงิน แต่บรรยายฟ้องและนำสืบว่าโจทก์ที่ 2 ได้รับโควต้าเป็นผู้ส่งอ้อยให้แก่โรงงานน้ำตาล โจทก์ตกลงให้จำเลยทั้งสอง ซึ่งเป็นลูกไร่ส่งอ้อยให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำไปขายให้แก่โรงงานน้ำตาล โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ออกทุนให้จำเลยทั้งสองก่อนโดยจ่ายเป็นเงินสดบ้างเป็นเช็คบ้าง ทั้งได้จ่ายค่าไถ่ที่ดินค่าปุ๋ย และของอื่น ๆ เพื่อให้จำเลย ใช้ในการทำไร่อ้อย โจทก์ที่ 2 ให้จำเลยลงลายมือชื่อกำกับหนี้ทุกรายการเมื่อตัดอ้อยแล้วจำเลยทั้งสองส่งให้โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 จะนำอ้อยดังกล่าวไปขายให้โรงงานน้ำตาล ครั้นโจทก์ที่ 2 ได้รับเงินค่าขายอ้อย จากโรงงานจึงมาคิดหักทอนบัญชีกับจำเลยทั้งสองหากค่าอ้อยที่ จำเลยทั้งสองได้รับไม่พอกับจำนวนเงินที่จำเลยเบิกไปก็ยกยอดไป ในปีต่อไปและโจทก์คิดดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งจำเลยทั้งสองรับว่า เป็นผู้ปลูกอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลในโควต้าของโจทก์ โจทก์จ่ายค่าปุ๋ย ให้จำเลยเมื่อโจทก์นำอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลและได้รับเงินมาแล้วก็มาคิดบัญชีกันเป็นรายปี แต่หลังจากจำเลยเลิกเป็นลูกไร่ของโจทก์แล้ว ไม่ได้คิดเงินกัน โจทก์จำเลยจะเป็นหนี้ลูกหนี้กันเท่าใดจึงไม่ทราบ กรณีเช่นนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยจึงเข้าลักษณะ บัญชีเดินสะพัดซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
แม้โจทก์จะฟ้องเรื่องกู้ยืม แต่ก็ได้บรรยายฟ้องเข้าลักษณะ บัญชีเดินสะพัด ศาลมีอำนาจยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่คดีได้ และการฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
แม้โจทก์จะฟ้องเรื่องกู้ยืม แต่ก็ได้บรรยายฟ้องเข้าลักษณะ บัญชีเดินสะพัด ศาลมีอำนาจยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่คดีได้ และการฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์บัญชีเดินสะพัด: ศาลปรับใช้บทกฎหมายที่ถูกต้อง แม้ฟ้องเป็นเรื่องกู้ยืม และอายุความ 10 ปี
โจทก์ฟ้องเรื่องกู้ยืมเงิน แต่บรรยายฟ้องและนำสืบว่าโจทก์ที่ 2 ได้รับโควต้าเป็นผู้ส่งอ้อยให้แก่โรงงานน้ำตาล โจทก์ตกลงให้จำเลยทั้งสอง ซึ่งเป็นลูกไร่ส่งอ้อยให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำไปขายให้แก่โรงงานน้ำตาล โจทก์ที่2 เป็นผู้ออกทุนให้จำเลยทั้งสองก่อนโดยจ่ายเป็นเงินสดบ้างเป็นเช็คบ้าง ทั้งได้จ่ายค่าไถ่ที่ดินค่าปุ๋ย และของอื่นๆ เพื่อให้จำเลย ใช้ในการทำไร่อ้อย โจทก์ที่ 2 ให้จำเลยลงลายมือชื่อกำกับหนี้ทุกรายการ เมื่อตัดอ้อยแล้วจำเลยทั้งสองส่งให้โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 จะนำอ้อยดังกล่าวไปขายให้โรงงานน้ำตาล ครั้นโจทก์ที่ 2 ได้รับเงินค่าขายอ้อย จากโรงงานจึงมาคิดหักทอนบัญชีกับจำเลยทั้งสองหากค่าอ้อยที่ จำเลยทั้งสองได้รับไม่พอกับจำนวนเงินที่จำเลยเบิกไปก็ยกยอดไป ในปีต่อไปและโจทก์คิดดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งจำเลยทั้งสองรับว่า เป็นผู้ปลูกอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลในโควต้าของโจทก์ โจทก์จ่ายค่าปุ๋ย ให้จำเลยเมื่อโจทก์นำอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลและได้รับเงินมาแล้วก็มาคิดบัญชีกันเป็นรายปี แต่หลังจากจำเลยเลิกเป็นลูกไร่ของโจทก์แล้ว ไม่ได้คิดเงินกัน โจทก์จำเลยจะเป็นหนี้ลูกหนี้กันเท่าใดจึงไม่ทราบ กรณีเช่นนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยจึงเข้าลักษณะ บัญชีเดินสะพัดซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
แม้โจทก์จะฟ้องเรื่องกู้ยืม แต่ก็ได้บรรยายฟ้องเข้าลักษณะ บัญชีเดินสะพัด ศาลมีอำนาจยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่คดีได้ และการฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้นไม่มีกฎหมาย บัญญัติ อายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
แม้โจทก์จะฟ้องเรื่องกู้ยืม แต่ก็ได้บรรยายฟ้องเข้าลักษณะ บัญชีเดินสะพัด ศาลมีอำนาจยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่คดีได้ และการฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้นไม่มีกฎหมาย บัญญัติ อายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัด-เบิกเกินบัญชี: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญาและกฎหมาย
จำเลยทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์มีเงื่อนไขเพียงว่า ถ้าหากธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกิน จำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของจำเลยไป จำเลยยอมใช้เงินส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามกฎหมายนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงิน โจทก์จำเลยหาได้มีเจตนาตกลงกันโดยตรงว่า สืบแต่นั้น ไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหักกลบลบกันคงชำระแต่ส่วน ที่เหลืออันเป็นลักษณะสำคัญของบัญชีเดินสะพัดไม่และถือ ไม่ได้ว่าเป็นการค้าอย่างอื่นในทำนองเช่นว่านั้น อันจะคิดดอกเบี้ยทบต้นกันได้ จึงไม่เข้าเงื่อนไขเป็นบัญชีเดินสะพัดหรือเป็นการค้าขายอย่างอื่นทำนองเดียวกันนี้ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลย
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันกล่าวถึงการคิดดอกเบี้ยไว้เพียงว่าคิดดอกเบี้ยกันในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย ทั้งกรณีมิใช่เรื่องกู้ยืมเงินและไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าให้คิดดอกเบี้ยได้สูงสุดในอัตราเท่าใด จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7คือโจทก์มีสิทธิคิดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินจำนวนที่เกินบัญชีนั้นเป็นต้นไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1587/2523)
จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันต่อธนาคารโจทก์ตั้งแต่วันที่7 พฤษภาคม 2519 ต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และนำที่ดินมาจำนอง เป็นประกันหนี้ไว้แก่โจทก์ ก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาจำนองโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในจำนวนเงินส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้จำเลยไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในจำนวนเงินที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 เป็นต้นไป ยอดเงินที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลย เป็นยอดเงินที่คิดดอกเบี้ยมาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาตั้งแต่วันที่จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันตลอดมา หาได้คิดตามสิทธิควรได้ดังกล่าวไม่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีมาไม่ถูกต้อง ไม่ได้คิดแยกยอดเงินที่ควรได้รับ นับจากจำเลยขอเปิดบัญชีกระแสรายวันจนถึงวันทำสัญญาขอ กู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ว่าเป็นยอดเงินเท่าใด ปรากฏว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คหลายร้อยฉบับ และโจทก์จ่ายเงินเกินบัญชีให้ไป ซึ่งศาลไม่มีหน้าที่จะต้องคิดยอดเงินดังกล่าวให้โจทก์เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องคิดยอดมาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ในฟ้อง เพื่อให้โจทก์จำเลยได้ตรวจสอบโต้แย้งว่าคิดถูกต้องหรือไม่เพียงใด ดังนี้ศาลจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมด โดยให้โจทก์นำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันกล่าวถึงการคิดดอกเบี้ยไว้เพียงว่าคิดดอกเบี้ยกันในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย ทั้งกรณีมิใช่เรื่องกู้ยืมเงินและไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าให้คิดดอกเบี้ยได้สูงสุดในอัตราเท่าใด จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7คือโจทก์มีสิทธิคิดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินจำนวนที่เกินบัญชีนั้นเป็นต้นไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1587/2523)
จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันต่อธนาคารโจทก์ตั้งแต่วันที่7 พฤษภาคม 2519 ต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และนำที่ดินมาจำนอง เป็นประกันหนี้ไว้แก่โจทก์ ก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาจำนองโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในจำนวนเงินส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้จำเลยไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในจำนวนเงินที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 เป็นต้นไป ยอดเงินที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลย เป็นยอดเงินที่คิดดอกเบี้ยมาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาตั้งแต่วันที่จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันตลอดมา หาได้คิดตามสิทธิควรได้ดังกล่าวไม่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีมาไม่ถูกต้อง ไม่ได้คิดแยกยอดเงินที่ควรได้รับ นับจากจำเลยขอเปิดบัญชีกระแสรายวันจนถึงวันทำสัญญาขอ กู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ว่าเป็นยอดเงินเท่าใด ปรากฏว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คหลายร้อยฉบับ และโจทก์จ่ายเงินเกินบัญชีให้ไป ซึ่งศาลไม่มีหน้าที่จะต้องคิดยอดเงินดังกล่าวให้โจทก์เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องคิดยอดมาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ในฟ้อง เพื่อให้โจทก์จำเลยได้ตรวจสอบโต้แย้งว่าคิดถูกต้องหรือไม่เพียงใด ดังนี้ศาลจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมด โดยให้โจทก์นำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัดและเบิกเกินบัญชี: การคิดดอกเบี้ยถูกต้องตามกฎหมายและสิทธิเรียกร้อง
จำเลยทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์มี เงื่อนไขเพียงว่า ถ้าหากธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกิน จำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของจำเลยไป จำเลยยอมใช้เงิน ส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยใน อัตราสูงสุดตามกฎหมายนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงิน โจทก์จำเลยหาได้มีเจตนาตกลงกันโดยตรงว่า สืบแต่นั้น ไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชี หนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหักกลบลบกันคงชำระ แต่ส่วน ที่เหลืออันเป็นลักษณะสำคัญของบัญชีเดินสะพัดไม่ และถือ ไม่ได้ว่าเป็นการค้าอย่างอื่นในทำนองเช่นว่านั้น อันจะคิดดอกเบี้ยทบต้นกันได้ จึงไม่เข้าเงื่อนไขเป็น บัญชีเดินสะพัด หรือเป็นการค้าขายอย่างอื่นทำนองเดียวกันนี้ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลย คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันกล่าวถึงการคิดดอกเบี้ยไว้เพียงว่าคิดดอกเบี้ยกันในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย ทั้งกรณีมิใช่เรื่องกู้ยืมเงินและไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าให้คิดดอกเบี้ยได้สูงสุดในอัตราเท่าใด จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 คือโจทก์มีสิทธิคิดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินจำนวนที่เกินบัญชีนั้นเป็นต้นไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1587/2523) จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันต่อธนาคารโจทก์ตั้งแต่วันที่7 พฤษภาคม 2519 ต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และนำที่ดินมาจำนอง เป็นประกันหนี้ไว้แก่โจทก์ ก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และสัญญาจำนองโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในจำนวนเงินส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้จำเลยไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในจำนวนเงินที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 เป็นต้นไป ยอดเงินที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลย เป็นยอดเงินที่คิดดอกเบี้ยมาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาตั้งแต่วันที่จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันตลอดมา หาได้คิด ตามสิทธิควรได้ดังกล่าวไม่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีมาไม่ถูกต้อง ไม่ได้คิดแยกยอดเงินที่ควรได้รับ นับจากจำเลยขอเปิดบัญชีกระแสรายวันจนถึงวันทำสัญญาขอ กู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ว่าเป็นยอดเงินเท่าใดปรากฏว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คหลายร้อยฉบับ และโจทก์จ่ายเงินเกินบัญชี ให้ไปซึ่งศาลไม่มีหน้าที่จะต้องคิดยอดเงินดังกล่าวให้โจทก์เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องคิดยอดมาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ในฟ้องเพื่อให้โจทก์จำเลยได้ตรวจสอบโต้แย้งว่าคิดถูกต้องหรือไม่เพียงใด ดังนี้ศาลจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมด โดยให้โจทก์นำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหนี้จากการเปิดบัญชีเดินสะพัดและการเบิกเกินบัญชี โดยไม่ต้องระบุรายละเอียดการเบิกจ่ายในฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องถึงความเป็นมาในการที่จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์อันเนื่องมาจากจำเลยขอเปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์ โดยตกลงที่จะปฏิบัติและยินยอมผูกพันตามระเบียบการบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์และยินยอมปฏิบัติตามประเพณีนิยมและวิธีการค้าของธนาคารพาณิชย์ จึงเป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วโดยไม่ต้องบรรยายว่าจำเลยได้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อไรเป็นเงินเท่าใด ดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เมื่อใด เป็นเงินเท่าใดซึ่งเป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากสัญญาบัญชีเดินสะพัด เริ่มนับเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องหนี้ ไม่ใช่แค่วันที่ใช้เช็คครั้งสุดท้าย
ตามระเบียบการฝากเงินกระแสรายวันของธนาคารโจทก์มีว่า ถ้าเงินในบัญชีของจำเลยไม่พอจ่ายตามเช็ค เมื่อธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายเงินตามเช็คนั้นให้ไป จำเลยย่อมเป็นอันผูกพันตนที่จะจ่ายเงินสวนที่เกินคืนให้ธนาคารโจทก์ เสมือนหนึ่งได้ขอร้องให้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่ธนาคาร ธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชีเป็นรายวัน (ดอกเบี้ยทบต้น) และจะนำผลดอกเบี้ยนั้นหักบัญชีเป็นรายเดือน จำเลยฝากเงินกระแสรายวันแก่ธนาคารโจทก์โดยโจทก์ตกลงให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารโจทก์ได้โดยคิดดอกเบี้ยทบต้น ย่อมถือได้ว่าเป็นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
การที่จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารโจทก์ มีการนำเงินเข้าฝากในบัญชีและเบิกเงินอยู่เรื่อย ๆ โดยวิธีใช้เช็คสั่งจ่ายหลายครั้งและยอมเสียดอกเบี้ยทบต้น ตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารดังนี้ เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด แม้หลังจากจำเลยใช้เช็คสั่งจ่ายเบิกเงินครั้งสุดท้ายแล้ว บัญชีของจำเลยได้หยุดเดินสะพัด โดยจำเลยมิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากธนาคารโจทก์อีกเลยจนถึงวันฟ้องจะเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้วก็ตามกรณีก็ต้องนำบทบัญญัติเกี่ยวด้วยเรื่องบัญชีเดินสะพัดมาปรับ ซึ่งการชำระหนี้ย่อมต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินที่คงเหลือ เมื่อไม่ปรากฏว่าการเบิกเงินเกินบัญชีนี้ได้ตกลงกันชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อ มีการหักทอนบัญชีกันและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856, 859
ธนาคารโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามลงวันที่ 5 มีนาคม 2519 ไปยังจำเลยให้จัดการชำระเงินตามยอดเงินในบัญชีเงินฝากวันที่ 26 พฤศจิกายน 2518 ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือทวงถามพ้นกำหนดวันที่ 24 มิถุนายน 2519 จำเลยทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้านยอดหนี้และไม่ชำระหนี้ดังนี้ ถือได้ว่าได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันแล้วโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2521 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
(วรรคสามวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
การที่จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารโจทก์ มีการนำเงินเข้าฝากในบัญชีและเบิกเงินอยู่เรื่อย ๆ โดยวิธีใช้เช็คสั่งจ่ายหลายครั้งและยอมเสียดอกเบี้ยทบต้น ตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารดังนี้ เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด แม้หลังจากจำเลยใช้เช็คสั่งจ่ายเบิกเงินครั้งสุดท้ายแล้ว บัญชีของจำเลยได้หยุดเดินสะพัด โดยจำเลยมิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากธนาคารโจทก์อีกเลยจนถึงวันฟ้องจะเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้วก็ตามกรณีก็ต้องนำบทบัญญัติเกี่ยวด้วยเรื่องบัญชีเดินสะพัดมาปรับ ซึ่งการชำระหนี้ย่อมต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินที่คงเหลือ เมื่อไม่ปรากฏว่าการเบิกเงินเกินบัญชีนี้ได้ตกลงกันชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อ มีการหักทอนบัญชีกันและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856, 859
ธนาคารโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามลงวันที่ 5 มีนาคม 2519 ไปยังจำเลยให้จัดการชำระเงินตามยอดเงินในบัญชีเงินฝากวันที่ 26 พฤศจิกายน 2518 ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือทวงถามพ้นกำหนดวันที่ 24 มิถุนายน 2519 จำเลยทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้านยอดหนี้และไม่ชำระหนี้ดังนี้ ถือได้ว่าได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันแล้วโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2521 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
(วรรคสามวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี (บัญชีเดินสะพัด) และอายุความของหนี้ที่เกิดขึ้นจากการหักทอนบัญชี
ตามระเบียบการฝากเงินกระแสรายวันของธนาคารโจทก์มีว่าถ้าเงินในบัญชีของจำเลยไม่พอจ่ายตามเช็ค เมื่อธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายเงินตามเช็คนั้นให้ไปจำเลยย่อมเป็นอันผูกพันตนที่จะจ่ายเงินสวนที่เกินคืนให้ธนาคารโจทก์เสมือนหนึ่งได้ขอร้องให้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่ธนาคารธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชีเป็นรายวัน(ดอกเบี้ยทบต้น)และจะนำผลดอกเบี้ยนั้นหักบัญชีเป็นรายเดือนจำเลยฝากเงินกระแสรายวันแก่ธนาคารโจทก์โดยโจทก์ตกลงให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารโจทก์ได้โดยคิดดอกเบี้ยทบต้นย่อมถือได้ว่าเป็นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
การที่จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารโจทก์มีการนำเงินเข้าฝากในบัญชีและเบิกเงินอยู่เรื่อย ๆโดยวิธีใช้เช็คสั่งจ่ายหลายครั้งและยอมเสียดอกเบี้ยทบต้น ตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารดังนี้ เข้าลักษณะ สัญญาบัญชีเดินสะพัด แม้หลังจากจำเลยใช้เช็คสั่งจ่ายเบิกเงินครั้งสุดท้ายแล้วบัญชีของจำเลยได้หยุดเดินสะพัดโดยจำเลยมิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากธนาคารโจทก์ อีกเลยจนถึงวันฟ้องจะเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้วก็ตามกรณีก็ต้องนำบทบัญญัติเกี่ยวด้วยเรื่องบัญชีเดินสะพัดมาปรับซึ่งการชำระหนี้ย่อมต้องปฏิบัติตามวิธีการของ สัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินที่คงเหลือเมื่อไม่ปรากฏว่าการ เบิกเงินเกินบัญชีนี้ได้ตกลงกันชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใดสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อ มีการหักทอนบัญชีกันและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856,859
ธนาคารโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามลงวันที่ 5 มีนาคม2519 ไปยังจำเลยให้จัดการชำระเงินตามยอดเงินในบัญชีเงินฝากวันที่ 26 พฤศจิกายน 2518 ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับหนังสือทวงถามพ้นกำหนดวันที่ 24 มิถุนายน 2519 จำเลยทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้านยอดหนี้และไม่ชำระหนี้ดังนี้ถือได้ว่าได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันแล้วโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2521ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
(วรรคสามวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
การที่จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารโจทก์มีการนำเงินเข้าฝากในบัญชีและเบิกเงินอยู่เรื่อย ๆโดยวิธีใช้เช็คสั่งจ่ายหลายครั้งและยอมเสียดอกเบี้ยทบต้น ตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารดังนี้ เข้าลักษณะ สัญญาบัญชีเดินสะพัด แม้หลังจากจำเลยใช้เช็คสั่งจ่ายเบิกเงินครั้งสุดท้ายแล้วบัญชีของจำเลยได้หยุดเดินสะพัดโดยจำเลยมิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากธนาคารโจทก์ อีกเลยจนถึงวันฟ้องจะเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้วก็ตามกรณีก็ต้องนำบทบัญญัติเกี่ยวด้วยเรื่องบัญชีเดินสะพัดมาปรับซึ่งการชำระหนี้ย่อมต้องปฏิบัติตามวิธีการของ สัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินที่คงเหลือเมื่อไม่ปรากฏว่าการ เบิกเงินเกินบัญชีนี้ได้ตกลงกันชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใดสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อ มีการหักทอนบัญชีกันและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856,859
ธนาคารโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามลงวันที่ 5 มีนาคม2519 ไปยังจำเลยให้จัดการชำระเงินตามยอดเงินในบัญชีเงินฝากวันที่ 26 พฤศจิกายน 2518 ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับหนังสือทวงถามพ้นกำหนดวันที่ 24 มิถุนายน 2519 จำเลยทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้านยอดหนี้และไม่ชำระหนี้ดังนี้ถือได้ว่าได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันแล้วโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2521ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
(วรรคสามวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การค้ำประกัน, วงเงินจำกัดความรับผิด, สัญญาบัญชีเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น
ปัญหาว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทนโจทก์หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะหากปรากฏว่าโจทก์มิได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทนโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องและศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง แม้จำเลยที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธไว้ ก็มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบในเรื่องการมอบอำนาจไว้เพราะมีจำเลยอื่นขาดนัดพิจารณา แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานดังกล่าวได้ว่าได้มีการมอบอำนาจกันจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์มีกำหนดเวลา 6 เดือน โดยมีข้อความในสัญญาค้ำประกันเท้าความถึงสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่ามีจำนวนเงิน 50,000 บาท และจำเลยที่ 3 สมัครใจยอมค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตลอดจนดอกเบี้ย ดังนี้ เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำกัดวงเงินเบิกเกินบัญชีไว้ไม่เกิน 50,000 บาท ความรับผิดของจำเลยที่ 3 จึงจำกัดเฉพาะจำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาทกับดอกเบี้ยเท่านั้น
เมื่อปรากฏว่าหนึ่งวันก่อนครบ 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา จำเลยที่ 1เป็นหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย 95,000 บาทเศษ ไม่อาจแยกได้ว่า ในจำนวนนี้เป็นเงินเบิกเกินบัญชีเท่าใดและเป็นดอกเบี้ยเท่าใด ทั้งไม่ได้ความชัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีรวมกับดอกเบี้ยของเงินจำนวนนั้นถึง 50,000 บาท เมื่อใดในระหว่างระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญาจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในยอดหนี้ในวันดังกล่าวเพียง 50,000 บาทเท่านั้น
เมื่อมีการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบัญชีเดินสะพัดการชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือเมื่อครบกำหนด 6 เดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้ให้หมดสิ้น และโจทก์มิได้หักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเจตนาให้มีบัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไปต่อมาโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดและได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันดังกล่าวต่อแต่นั้นไปคงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์มีกำหนดเวลา 6 เดือน โดยมีข้อความในสัญญาค้ำประกันเท้าความถึงสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่ามีจำนวนเงิน 50,000 บาท และจำเลยที่ 3 สมัครใจยอมค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตลอดจนดอกเบี้ย ดังนี้ เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำกัดวงเงินเบิกเกินบัญชีไว้ไม่เกิน 50,000 บาท ความรับผิดของจำเลยที่ 3 จึงจำกัดเฉพาะจำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาทกับดอกเบี้ยเท่านั้น
เมื่อปรากฏว่าหนึ่งวันก่อนครบ 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา จำเลยที่ 1เป็นหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย 95,000 บาทเศษ ไม่อาจแยกได้ว่า ในจำนวนนี้เป็นเงินเบิกเกินบัญชีเท่าใดและเป็นดอกเบี้ยเท่าใด ทั้งไม่ได้ความชัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีรวมกับดอกเบี้ยของเงินจำนวนนั้นถึง 50,000 บาท เมื่อใดในระหว่างระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญาจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในยอดหนี้ในวันดังกล่าวเพียง 50,000 บาทเท่านั้น
เมื่อมีการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบัญชีเดินสะพัดการชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือเมื่อครบกำหนด 6 เดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้ให้หมดสิ้น และโจทก์มิได้หักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเจตนาให้มีบัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไปต่อมาโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดและได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันดังกล่าวต่อแต่นั้นไปคงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา