คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บำเหน็จ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบเดิม แม้จะมีการจ่ายเงินตามระเบียบใหม่แล้ว ก็ไม่มีมูลหนี้เรียกร้องเพิ่มเติม
แม้โจทก์จำเลยแถลงว่า ต่างไม่สืบพยานบุคคล ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีต่อไปโดยอาศัยเอกสารที่ส่งไว้ต่อศาลแต่เมื่อโจทก์แถลงต่อไปว่าจะขอให้ศาลหมายเรียกเอกสารอื่นมาประกอบการพิจารณาของศาลอีกและจำเลยก็แถลงว่ายังติดใจส่งเอกสารจำนวนหนึ่งต่อศาลอีกเช่นเดียวกัน ดังนี้แสดงว่าคู่ความประสงค์ให้ศาลนำเอกสารที่คู่ความขอให้เรียกมาหรือส่งไว้ในสำนวนมาประกอบการพิจารณาด้วยหาใช่เพียงแต่พิจารณาจากเอกสารที่ส่งไว้แต่เดิมไม่
ภายหลังจากที่โรงงานกระสอบป่าน กรมโรงงานอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ประกาศใช้ระเบียบว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานและคนงานประจำฉบับที่ 1 พ.ศ. 2521 แล้ว ประธานกรรมการอำนวยการจำเลยที่ 1 ได้ออกคำชี้แจงแก่พนักงานและคนงานว่าระเบียบดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2521 เป็นต้นไปพนักงานและคนงานประจำที่ได้บรรจุเข้าทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2521. ต้องมีสิทธิในเรื่องเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานและเงินบำเหน็จตามระเบียบเดิมต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ออกระเบียบว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานและคนงานประจำ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2521 ให้พนักงานและคนงานประจำที่ได้บรรจุเข้าทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2521 คงมีสิทธิในเรื่องเงินชดเชยและเงินบำเหน็จตามระเบียบเดิมอีก ดังนี้ย่อมฟังได้ว่าก่อนที่จะมีระเบียบโรงงานกระสอบป่านกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานและคนงานประจำฉบับที่ 1 พ.ศ. 2521 นั้น ได้มีระเบียบเดิมให้พนักงานและคนงานประจำได้รับเงินบำเหน็จอยู่แล้ว โจทก์เข้าทำงานเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2517 การรับเงินบำเหน็จของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามระเบียบเดิม เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลย มีจำนวนเท่ากับเงินบำเหน็จตามระเบียบเดิมที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับจึงไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะเรียกร้องเงินตามระเบียบเดิมอีก ไม่ต้องวินิจฉัยว่าระเบียบเดิมนั้นคือระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ.2519 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จของรัฐวิสาหกิจ: ระเบียบเฉพาะสำหรับรัฐวิสาหกิจเท่านั้นที่ใช้บังคับได้
การที่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การแก้ว พ.ศ.2498 มาตรา18กำหนดให้พนักงานได้รับบำเหน็จและรางวัลตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดนั้นหมายถึงระเบียบที่คณะรัฐมนตรีจะได้กำหนดให้ใช้กับองค์การแก้ว จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะ จำเลยจึงไม่อาจนำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ซึ่งแก้ไขโดย(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 ของกระทรวงการคลังมาใช้บังคับกับพนักงานของจำเลยได้เพราะระเบียบดังกล่าวใช้บังคับกับลูกจ้างของส่วนราชการและข้อบังคับว่าด้วยการจ่ายเงินบำเหน็จของพนักงานจำเลยก็มิได้กำหนดให้ใช้ระเบียบดังกล่าวแก่พนักงานของจำเลย ดังนั้น จะนำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญ พ.ศ.2502 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 ของกระทรวงการคลังมาบังคับใช้ในกรณีที่โจทก์พ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับบริษัทจ่ายบำเหน็จสูงกว่าค่าชดเชยขัดประกาศกระทรวงมหาดไทย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเพิ่ม
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยให้จ่ายเงินบำเหน็จหรือค่าชดเชยอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีจำนวนสูงกว่าอีกอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1508/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างประจำรับบำเหน็จ แม้ได้รับค่าชดเชยแล้ว ระเบียบใหม่ใช้บังคับไม่ได้หากไม่แจ้งให้ทราบ
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำบริษัทจำเลย ทำงานเต็มเวลาติดต่อกันมา15 ปี จำเลยให้โจทก์ออกจากงานโดยโจทก์ไม่มีความผิด โจทก์จึงมีสิทธิได้รับบำเหน็จตามระเบียบการจ่ายเงินบำนาญของจำเลย การที่จำเลยออกระเบียบการจ่ายเงินบำนาญใหม่มาใช้แทนระเบียบเดิมโดยไม่ได้แจ้งให้สหพันธ์แรงงานและโจทก์ทราบระเบียบดังกล่าวไม่มีผลบังคับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินรางวัลให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.บำเหน็จฯ ต้องเป็นไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 8 วรรค 2 บังคับไว้ให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้กระทำผิดในกรณีที่ไม่มีผู้นำจับเพียงร้อยละยี่สิบของราคาของกลางหรือค่าปรับ การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยจ่ายเงินรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของค่าปรับนั้น จึงไม่ถูกต้อง แม้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกาในข้อนี้ขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยแก้ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จผู้นำจับ: โจทก์ต้องนำสืบระเบียบรัฐมนตรี มิฉะนั้นศาลสั่งจ่ายไม่ได้
กรณีการจ่ายเงินบำเหน็จแก่ผู้นำจับตามมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 นั้น ระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดให้จ่ายเงินบำเหน็จแก่ผู้นำจับไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้ได้เอง โจทก์จะต้องกล่าวอ้างหรือนำสืบให้ศาลรู้ถึงระเบียบนั้นด้วย มิฉะนั้นศาลย่อมสั่งจ่ายเงินบำเหน็จแก่ผู้นำจับไม่ได้
การที่ศาลชั้นต้นยกคำขอให้จ่ายเงินบำเหน็จแก่ผู้นำจับเพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจขอ โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์มีอำนาจขอ และศาลต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่ผู้นำจับตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์มีอำนาจขอ แต่โจทก์มิได้นำสืบหรือแนบระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดมาท้ายฟ้องให้ศาลรู้ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ยกคำขอนั้นเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ศาลในการสั่งจ่ายเงินบำเหน็จผู้นำจับ: จำเป็นต้องมีระเบียบรัฐมนตรีเป็นหลักฐาน
กรณีการจ่ายเงินบำเหน็จแก่ผู้นำจับตามมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 นั้น ระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดให้จ่ายเงินบำเหน็จแก่ผู้นำจับไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้ได้เอง โจทก์จะต้องกล่าวอ้างหรือนำสืบให้ศาลรู้ถึงระเบียบนั้นด้วย มิฉะนั้นศาลย่อมสั่งจ่ายเงินบำเหน็จแก่ผู้นำจับไม่ได้
การที่ศาลชั้นต้นยกคำขอให้จ่ายเงินบำเหน็จแก่ผู้นำจับเพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจขอ โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์มีอำนาจขอ และศาลต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่ผู้นำจับตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์มีอำนาจขอแต่โจทก์มิได้นำสืบหรือแนบระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดมาท้ายฟ้องให้ศาลรู้ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ยกคำขอนั้นเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในบำเหน็จข้าราชการสามารถโอนให้ผู้รับพินัยกรรมได้หลังผู้รับบำนาญเสียชีวิต แม้มีข้อจำกัดการโอนในขณะยังมีชีวิตอยู่
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 6 วรรคสองที่ว่า "สิทธิในบำเหน็จฯลฯ เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้" นั้นหมายถึงห้ามการโอนสิทธิในบำเหน็จ ให้ผู้อื่นในขณะที่ผู้โอนยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น หาได้มีความหมายห้ามเลยไปถึงการทำพินัยกรรมอันจะมีผลในเมื่อผู้นั้นได้ถึงแก่ความตายแล้วไม่
ขอลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2507 และทางราชการอนุญาตให้ออกได้ตั้งแต่วันนั้น แม้คำสั่งอนุญาตนั้นจะออกเมื่อหลังจากที่ผู้นั้นตายไปแล้ว สิทธิที่ผู้นั้นจะได้รับบำเหน็จก็มีมาตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการแล้วเมื่อผู้นั้นตาย สิทธิในการได้รับบำหน็จจึงเป็นสิทธิอย่างหนึ่งในกองมรดกซึ่งผู้นั้นมีอยู่ขณะถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 จึงแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมโอนสิทธิในบำเหน็จนั้นให้แก่ผู้รับพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบำเหน็จข้าราชการเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดก สามารถทำพินัยกรรมยกให้ผู้อื่นได้
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 6 วรรคสองที่ว่า 'สิทธิในบำเหน็จฯลฯ เป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนไม่ได้' นั้น หมายถึงห้ามการโอนสิทธิในบำเหน็จให้ผู้อื่นในขณะที่ผู้โอนยังมีชีวิตอยู่เท่านั้นหาได้มีความหมายห้ามเลยไปถึงการทำพินัยกรรมอันจะมีผลในเมื่อผู้นั้นได้ถึงแก่ความตายแล้วไม่
ขอลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2507 และทางราชการอนุญาตให้ออกได้ตั้งแต่วันนั้น แม้คำสั่งอนุญาตนั้นจะออกเมื่อหลังจากที่ผู้นั้นตายไปแล้ว สิทธิที่ผู้นั้นจะได้รับบำเหน็จก็มีมาตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการแล้ว เมื่อผู้นั้นตาย สิทธิในการได้รับบำเหน็จจึงเป็นสิทธิอย่างหนึ่งในกองมรดกซึ่งผู้นั้นมีอยู่ขณะถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 จึงแสดงเจตนาโดยพินัยกรรม โอนสิทธิในบำเหน็จนั้นให้แก่ผู้รับพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสินจ้าง: บำเหน็จจากการขายและผลกำไรเป็นสินจ้างชนิดอื่น ฟ้องร้องภายใน 2 ปี
เงินบำเหน็จในการขายสินค้าก็ดี เงินบำเหน็จในผลกำไรของร้านค้าก็ดี ซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นรายปีนั้น คือ "สินจ้างชนิดอื่นเพื่อการงานที่ทำ" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(8), สิทธิเรียกร้องเหล่านี้จะต้องฟ้องร้องเสียภายในกำหนดอายุความ 2 ปี
of 9