พบผลลัพธ์ทั้งหมด 787 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8140/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุกรุกที่สาธารณประโยชน์ - ทำให้เสียทรัพย์ - ลดโทษรอการลงโทษ
จำเลยบุกรุกยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์และได้แผ้วถางที่ดินดังกล่าวใช้ทำไร่ ทำให้บุคคลอื่นทั่วไปไม่สามารถใช้ประโยชน์จากหนองคำปลาหลาอันเป็นสาธารณประโยชน์ในส่วนที่จำเลยบุกรุกยึดถือครอบครอง เป็นการทำให้หนองสาธารณะนั้นไร้ประโยชน์แม้เป็นเพียงบางส่วน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อ สาธารณประโยชน์แล้ว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7477/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การแจ้งความเท็จ, บุกรุก, ทำให้เสียทรัพย์: สิทธิจำกัดในที่ดินจัดสรรและการขาดคุณสมบัติผู้เสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นข้ออื่นอีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องแล้ววินิจฉัยชี้ขาดในข้อหาความผิดฐานแจ้งความเท็จว่า จำเลยแจ้งความตามความเป็นจริงที่พบเห็นและมิได้ระบุว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นทางสาธารณะตามที่โจทก์ฟ้อง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบด้วยเหตุผลใด กรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 216 วรรคแรกที่ศาลฎีกาจะหยิบยกประเด็นข้อหาความผิดฐานแจ้งความเท็จขึ้นมาวินิจฉัยอีก
โจทก์ประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดิน บริเวณที่ดินที่เกิดเหตุของโจทก์มีสภาพเป็นถนนและเป็นสาธารณูปโภค ที่โจทก์จัดให้มีขึ้นซึ่งเป็นภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ดังนี้ แม้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์ก็จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1387 การที่จำเลยผ่านเข้าไปในถนนซึ่งเป็นที่ดินของโจทก์หรือใช้ให้ผู้ใดผ่านถนนไปมา ย่อมไม่เป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข แม้ว่าโจทก์จะได้นำที่ดินส่วนที่เป็นถนนนั้นไปให้ผู้อื่นเช่าตั้งเต็นท์ก็ตาม การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
โจทก์เพียงแต่เป็นเจ้าของที่ดินที่รถยนต์และเต็นท์ตั้งอยู่ในขณะเกิดเหตุเท่านั้น โจทก์มิใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดูแลรักษาและรับผิดชอบในทรัพย์ดังกล่าวที่ตั้งอยู่บนบริเวณที่ดินที่เกิดเหตุ โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์นั้นตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (4)
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องแล้ววินิจฉัยชี้ขาดในข้อหาความผิดฐานแจ้งความเท็จว่า จำเลยแจ้งความตามความเป็นจริงที่พบเห็นและมิได้ระบุว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นทางสาธารณะตามที่โจทก์ฟ้อง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบด้วยเหตุผลใด กรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 216 วรรคแรกที่ศาลฎีกาจะหยิบยกประเด็นข้อหาความผิดฐานแจ้งความเท็จขึ้นมาวินิจฉัยอีก
โจทก์ประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดิน บริเวณที่ดินที่เกิดเหตุของโจทก์มีสภาพเป็นถนนและเป็นสาธารณูปโภค ที่โจทก์จัดให้มีขึ้นซึ่งเป็นภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ดังนี้ แม้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์ก็จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1387 การที่จำเลยผ่านเข้าไปในถนนซึ่งเป็นที่ดินของโจทก์หรือใช้ให้ผู้ใดผ่านถนนไปมา ย่อมไม่เป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข แม้ว่าโจทก์จะได้นำที่ดินส่วนที่เป็นถนนนั้นไปให้ผู้อื่นเช่าตั้งเต็นท์ก็ตาม การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
โจทก์เพียงแต่เป็นเจ้าของที่ดินที่รถยนต์และเต็นท์ตั้งอยู่ในขณะเกิดเหตุเท่านั้น โจทก์มิใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดูแลรักษาและรับผิดชอบในทรัพย์ดังกล่าวที่ตั้งอยู่บนบริเวณที่ดินที่เกิดเหตุ โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์นั้นตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7477/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมและการบุกรุก: เจ้าของที่ดินจัดสรรต้องยอมรับการใช้ทางของผู้อื่น แม้มีการเช่าพื้นที่
โจทก์ประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดิน บริเวณที่ดินที่เกิดเหตุของโจทก์มีสภาพเป็นถนนและเป็นสาธารณูปโภคที่โจทก์จัดให้มีขึ้น ซึ่งเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ดังนั้น แม้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์ก็จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 เมื่อจำเลยผ่านเข้าไปในถนนซึ่งเป็นที่ดินของโจทก์ หรือใช้ให้ผู้ใดผ่านถนนไปมาย่อมไม่เป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข แม้ว่าโจทก์จะได้นำที่ดินส่วนที่เป็นถนนนั้นไปให้ผู้อื่นเช่าตั้งเต็นท์ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก โจทก์เพียงแต่เป็นเจ้าของที่ดินที่รถยนต์และเต็นท์ตั้งอยู่ในขณะเกิดเหตุเท่านั้น มิได้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองดูแลรักษาและรับผิดชอบในทรัพย์ดังกล่าวด้วยโจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7477/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจัดสรร การบุกรุก และการเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นข้ออื่นอีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องแล้ววินิจฉัยชี้ขาดในข้อหาความผิดฐานแจ้งความเท็จว่า จำเลยแจ้งความตามความเป็นจริงที่พบเห็นและมิได้ระบุว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นทางสาธารณะตามที่โจทก์ฟ้อง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบด้วยเหตุผลใด กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคแรกที่ศาลฎีกาจะหยิบยกประเด็นข้อหาความผิดฐานแจ้งความเท็จขึ้นมาวินิจฉัยอีก โจทก์ประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดิน บริเวณที่ดินที่เกิดเหตุของโจทก์มีสภาพเป็นถนนและเป็นสาธารณูปโภค ที่โจทก์จัดให้มีขึ้นซึ่งเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรดังนี้ แม้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์ก็จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิ บางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 การที่จำเลยผ่านเข้าไปในถนนซึ่งเป็นที่ดินของโจทก์หรือใช้ให้ผู้ใดผ่านถนนไปมา ย่อมไม่เป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข แม้ว่าโจทก์จะได้นำที่ดินส่วนที่เป็นถนนนั้นไปให้ผู้อื่นเช่าตั้งเต็นท์ก็ตาม การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก โจทก์เพียงแต่เป็นเจ้าของที่ดินที่รถยนต์และเต็นท์ตั้งอยู่ ในขณะเกิดเหตุเท่านั้น โจทก์มิใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดูแลรักษาและรับผิดชอบในทรัพย์ดังกล่าวที่ตั้งอยู่บนบริเวณที่ดินที่เกิดเหตุ โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำฐานบุกรุกหลังศาลยกฟ้องคดีเดิม และการขาดเจตนาบุกรุกเนื่องจากความเชื่อมั่นโดยสุจริต
ระหว่างที่จำเลยทั้งสองถูกดำเนินคดีอาญาข้อหาบุกรุกที่ดินจำเลยทั้งสองไม่ได้อยู่ในที่ดินพิพาท เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสองกลับเข้ามาในที่ดินพิพาทใหม่ จึงเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง หาใช่การบุกรุกในครั้งก่อนยังคงอยู่ตลอดมาไม่ ฟ้องของโจทก์ร่วมในคดีนี้ที่ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาบุกรุกอีกจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ร่วมกับจำเลยทั้งสองพิพาทกันเกี่ยวกับที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2534 ตลอดมา ซึ่งต่างกล่าวอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท โดยโจทก์ร่วมกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกส่วนจำเลยทั้งสองก็กล่าวหาว่าโจทก์ร่วมทำให้ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองที่อยู่ในที่ดินพิพาทเสียหาย และจำเลยทั้งสองยังฟ้องโจทก์ร่วมกับพวกเป็นคดีแพ่งขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ร่วม ขณะที่จำเลยทั้งสองกลับเข้ามาในที่ดินพิพาทใหม่นั้นคดีแพ่งยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ประกอบกับเป็นการเข้าไป ในที่ดินพิพาทหลังจากศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องในคดีที่จำเลยทั้งสองถูกกล่าวหาว่าบุกรุกที่ดินพิพาทในคดีอาญาก่อนแม้ที่ดินพิพาทในคดีนี้มีเนื้อที่มากกว่าที่ดินในคดีเดิมที่ศาลฎีกายกฟ้องไปก็ตาม แต่ที่ดินในบริเวณนี้ยังไม่มีแนวเขตที่ชัดแจ้งและเนื้อที่ที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้องว่าบุกรุกในแต่ละครั้ง ก็มีเนื้อที่แตกต่างกันไม่มาก แสดงว่าจำเลยทั้งสองเข้าไป ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยความเชื่อมั่นอย่างสุจริตใจ ว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทได้ อันเป็นการแสดงว่าจำเลยทั้งสองขาดเจตนาบุกรุกที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5552/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้จำเลยอ้างเป็นเจ้าของ ก็ไม่เป็นเหตุแก้ตัวได้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิมและขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกามีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การในชั้นฎีกา เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 163 วรรคสอง ที่บัญญัติให้กระทำได้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาส่วนที่จำเลยขอให้รอการลงโทษก็เป็นดุลพินิจที่ศาลจะสั่งในคำพิพากษาต่อไป ศาลฎีกาจึงให้ยกคำร้องนี้
ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน จำเลยทราบดีว่าที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่ดินมีเพียง 2 ไร่ โดยด้านทิศตะวันออกจดภูเขา ด้านทิศเหนือจดถนนสาธารณประโยชน์และภูเขาตามที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดินดังกล่าว ขณะเจ้าหน้าที่บริหารที่ดินอำเภอไปตรวจสอบที่ดินที่เกิดเหตุตามคำสั่งของนายอำเภอพบมีการบุกรุกไถภูเขาซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออกและตามบันทึกที่โจทก์และจำเลยนำรังวัดที่ดินตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าจำเลยนำชี้ที่ดินของจำเลยเพียง 3 ด้าน โดยจำเลยทราบดีว่าหากจำเลยนำชี้ที่ดินของจำเลยทั้งสี่ด้าน ที่ดินของจำเลยจะมีเนื้อที่มากกว่าที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดินของจำเลยนอกจากนี้หลังจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่า จำเลยบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ทางอำเภอแจ้งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินที่เกิดเหตุจำเลยทราบแล้วไม่ยอมรื้อถอนและไม่ยอมออกไป พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยมีเจตนาบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
เมื่อจำเลยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินการที่จำเลยไม่ยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินที่พิพาทตามคำสั่งของนายอำเภอซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฏหมายให้ไว้ แม้จำเลยจะอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลยก็ไม่ใช่เหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรที่จะทำให้จำเลยพ้นจากความผิดฐานบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.อ.มาตรา 368
ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน จำเลยทราบดีว่าที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่ดินมีเพียง 2 ไร่ โดยด้านทิศตะวันออกจดภูเขา ด้านทิศเหนือจดถนนสาธารณประโยชน์และภูเขาตามที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดินดังกล่าว ขณะเจ้าหน้าที่บริหารที่ดินอำเภอไปตรวจสอบที่ดินที่เกิดเหตุตามคำสั่งของนายอำเภอพบมีการบุกรุกไถภูเขาซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออกและตามบันทึกที่โจทก์และจำเลยนำรังวัดที่ดินตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าจำเลยนำชี้ที่ดินของจำเลยเพียง 3 ด้าน โดยจำเลยทราบดีว่าหากจำเลยนำชี้ที่ดินของจำเลยทั้งสี่ด้าน ที่ดินของจำเลยจะมีเนื้อที่มากกว่าที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดินของจำเลยนอกจากนี้หลังจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่า จำเลยบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ทางอำเภอแจ้งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินที่เกิดเหตุจำเลยทราบแล้วไม่ยอมรื้อถอนและไม่ยอมออกไป พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยมีเจตนาบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
เมื่อจำเลยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินการที่จำเลยไม่ยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินที่พิพาทตามคำสั่งของนายอำเภอซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฏหมายให้ไว้ แม้จำเลยจะอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลยก็ไม่ใช่เหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรที่จะทำให้จำเลยพ้นจากความผิดฐานบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.อ.มาตรา 368
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5067/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าไปในบ้านหลังมีข้อตกลงคืนบ้าน ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยทั้งสองเข้าไปในบ้านพิพาทตามที่ได้นัดหมายกับโจทก์ร่วมไว้ และได้รับความยินยอมจากโจทก์ร่วมด้วย จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก เมื่อการที่จำเลยทั้งสองเข้าไปในตัวบ้านพิพาทโดยนัดหมายกับโจทก์ร่วมไว้ไม่เป็นการบุกรุกแม้จะได้ความว่ามีการตัดกระแสไฟฟ้าและถอดมิเตอร์ประปา กรณีก็ขาดองค์ประกอบของความผิด ตาม ป.อ.มาตรา 362 ซึ่งบัญญัติว่า "ฯลฯ หรือเข้าไปกระทำการใด ๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ฯลฯ" จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก
โจทก์ร่วมเช่าบ้านจำเลยทั้งสองเพื่ออยู่อาศัย ต่อมาโจทก์ร่วมตกลงคืนบ้านพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2538 เหตุที่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านพิพาททั้งหมดก็เนื่องจากจำเลยที่ 1ยังไม่ได้คืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสองที่บุกรุกเข้าไปในบ้านพิพาทในวันที่ 29 สิงหาคม 2538 จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามฟ้อง โดยไม่จำต้องวินิจฉัยในข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้กำลังประทุษร้ายผลักอกผู้เสียหายหรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
โจทก์ร่วมเช่าบ้านจำเลยทั้งสองเพื่ออยู่อาศัย ต่อมาโจทก์ร่วมตกลงคืนบ้านพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2538 เหตุที่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านพิพาททั้งหมดก็เนื่องจากจำเลยที่ 1ยังไม่ได้คืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสองที่บุกรุกเข้าไปในบ้านพิพาทในวันที่ 29 สิงหาคม 2538 จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามฟ้อง โดยไม่จำต้องวินิจฉัยในข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้กำลังประทุษร้ายผลักอกผู้เสียหายหรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5067/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถานและการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ เมื่อมีการตกลงคืนทรัพย์สินและขาดเจตนาบุกรุก
จำเลยทั้งสองเข้าไปในบ้านพิพาทตามที่ได้นัดหมายกับ โจทก์ร่วมไว้ และได้รับความยินยอมจากโจทก์ร่วมด้วยจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก เมื่อการที่จำเลยทั้งสองเข้าไปในตัวบ้านพิพาทโดยนัดหมายกับโจทก์ร่วมไว้ไม่เป็นการบุกรุกแม้จะได้ความว่ามีการตัดกระแสไฟฟ้าและถอดมิเตอร์ประปากรณีก็ขาดองค์ประกอบของความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 ซึ่งบัญญัติว่า" ฯลฯ หรือเข้าไปกระทำการใด ๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ฯลฯ" จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก โจทก์ร่วมเช่าบ้านจำเลยทั้งสองเพื่ออยู่อาศัย ต่อมาโจทก์ร่วมตกลงคืนบ้านพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2538 เหตุที่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านพิพาททั้งหมดก็เนื่องจากจำเลยที่ 1ยังไม่ได้คืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสองที่บุกรุกเข้าไปในบ้านพิพาทในวันที่ 29 สิงหาคม 2538จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามฟ้อง โดยไม่จำต้องวินิจฉัยในข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้กำลังประทุษร้ายผลักอกผู้เสียหายหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดินและการพิสูจน์การครอบครองหลังประกาศ คณะปฏิวัติ
ความผิดฐานบุกรุกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2)(3) ประกอบมาตรา 362 กฎหมายมุ่งลงโทษผู้ที่บุกรุกเข้าไปใน อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติที่จะลงโทษผู้บุกรุก ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแต่อย่างใด ส่วนการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9(1) และมีโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคสอง นั้นจะต้องเป็นการฝ่าฝืนนับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96ใช้บังคับ คือวันที่ 4 มีนาคม 2515 เป็นต้นไป เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะฟังว่า จำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ภายหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 มีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9(1) ประกอบมาตรา 108 ทวิ วรรคสอง ได้ โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องด้วยว่าพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย หรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบ และพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ฟ้องของโจทก์จึงขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินตามมาตรา 9(1),108 ที่จะลงโทษจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4304/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานข่มขืนโทรมหญิง พรากผู้เยาว์ บุกรุก และหน่วงเหนี่ยวกักขัง ศาลฎีกาตัดสินความผิดกรรมเดียว
โจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความ แต่มีบันทึกคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนและคำเบิกความของผู้เสียหาย ในคดีที่พวกของจำเลยถูกฟ้องในเหตุการณ์เดียวกันมาส่งอ้างต่อศาล ซึ่งผู้เสียหายยืนยันว่า จำเลยร่วมเป็นคนร้ายคนหนึ่งด้วย ทันที ที่ผู้เสียหายหลบหนีจากจำเลยกับพวกกลับมาถึงบ้านได้ไปแจ้งความ ต่อพนักงานสอบสวน และให้ถ้อยคำยืนยันเหตุการณ์และ รายละเอียดของพฤติการณ์ต่าง ๆ มาโดยตลอด เมื่อฟังประกอบ พยานโจทก์คนอื่น ๆ ซึ่งเป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมและใกล้ชิด กับเหตุการณ์แล้ว มีน้ำหนักฟังได้ว่า จำเลยเป็นคนร้าย จำเลยกับพวกบุกรุกเข้าไปฉุด ผู้เสียหายและพาออกจากบ้าน ระหว่างทางจำเลยกับพวกข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายแล้วพาตัวผู้เสียหายไปกักขังไว้ การกระทำดังกล่าวของจำเลยจึงเป็น การกระทำความผิดต่อตัวผู้เสียหายโดยตรงต่อเนื่องกันไปไม่ขาดตอน โดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลในการที่จะเอาตัวผู้เสียหายไปข่มขืน กระทำชำเรา แม้จำเลยกับพวกจะกักตัวผู้เสียหายไว้อีก ก็เนื่องมาจากความประสงค์เดียวกันทั้งสอง การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหลายหลายบท ต้องลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มี โทษหนักที่สุด ส่วนการที่จำเลยพรากผู้เสียหายไปจากมารดา ของผู้เสียหายนั้น แม้จะเป็นการกระทำในคราวเดียวกัน แต่ความผิด ฐานนี้เป็นความผิดที่ได้กระทำต่อมารดา ผู้เสียหาย จึงถือได้ว่าจำเลย มีเจตนากระทำความผิดให้เกิดผลเป็นกรรมในความผิดต่างฐาน ต่างหากจากกัน มิใช่ความผิดกรรมเดียวกับความผิดข้างต้น