พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5289/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุหย่า: การคบชู้และพฤติกรรมไม่เหมาะสมของคู่สมรสต่อบุคคลอื่นและบุตร
โจทก์กับจำเลยแยกกันอยู่เพราะโจทก์ยกย่องหญิงอื่นเป็นภริยาย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่จะหึงหวงและป้องกันมิให้โจทก์ทอดทิ้งตนและบุตรจำเลยร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ให้โอนย้ายโจทก์เพื่่อให้โจทก์เลิกยุ่งเกี่ยวกับหญิงอื่นและให้ความรักความอบอุ่นแก่ครอบครัวแต่่โจทก์มิได้ปฏิบัติตัวดีขึ้นจำเลยจึงต้องร้อยเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์อีกหลายครั้งเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวตักเตือนโจทก์แต่โจทก์ไม่นำพาจนถูกผู้บังคับบัญชาสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยและการที่โจทก์ยกย่องหญิงอื่นเป็นภริยาทั้งเห็นดีเห็นชอบให้หญิงอื่นแสดงตนเทียบฐานะเสมอจำเลยโดยใช้สรรพนามแทนตนว่า"แม่"ต่อบุตรทั้งสองของโจทก์จำเลยย่อมเกินกว่าที่จำเลยจะยอมรับได้ที่จำเลยกีดกันหลบเลี่ยงมิให้โจทก์พบปะบุตรจึงมีเหตุผลที่จะกระทำได้โจทก์จะอ้างว่าเป็นกรณีที่จำเลยกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5286-5287/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือไม่ขอรับมรดกเป็นสัญญาแบ่งปันมรดกได้ตามกฎหมาย
หนังสือไม่ขอรับมรดกซึ่งท. ลงลายมือชื่อให้ไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดินระบุว่าตนเป็นบุตรของเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกในที่ดินโฉนดที่เท่าใดตั้งอยู่ที่ไหนไม่มีความประสงค์ที่จะรับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวและตกลงยินยอมให้จำเลยที่1รับจึงเป็นหนักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญเป็นสัญญาแบ่งปันมรดกมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850,852และ1750
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยาและบุตร: พิจารณาตามความสามารถและฐานะ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1461วรรคสองสามีและภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและตามฐานะของตนก่อนจำเลยที่1จะได้รับมรดกจากมารดาจำเลยที่1ได้รับเงินเดือนเพียงเดือนละ1,800บาทต่อมาต้องคดีถูกออกจากราชการตามฐานะย่อมไม่อาจจะให้ความอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ได้แม้จำเลยที่1จะตั้งบริษัทรักษาความปลอดภัยก็เป็นเงินทุนของจำเลยที่2แต่เมื่อจำเลยที่1ได้รับมรดกจากมารดาฐานะของจำเลยที่1ดีขึ้นสามารถที่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์ได้จึงต้องรับผิดให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์นับแต่ได้รับมรดกจนถึงวันฟ้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1564วรรคแรกบัญญัติว่าบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์เห็นได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวมิได้คำนึงถึงความสามารถและฐานะดังเช่นที่บัญญัติไว้สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาฉะนั้นไม่ว่าจะตกอยู่ในฐานะอย่างไรบิดามารดาก็จำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้และให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์เสมอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของผู้ร้องสอดที่เป็นบุตรเจ้ามรดก และผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อน
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดกจึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกซึ่งถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ ส่วนโจทก์ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความจึงเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ แม้ท้ายคำร้องระบุว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วมโดยผิดหลงก็ถือได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) หาใช่เป็นคำร้องสอดเข้าเป็นคู่ความตามมาตรา 57 (2) ไม่
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่ผู้ร้องสอดมีอยู่อันมีลักษณะเป็นคำขอบังคับอยู่ในตัว และเมื่อผู้ร้องสอดไม่ได้เรียกร้องอะไร เพียงแต่ขอให้ยกฟ้องเท่านั้น จึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับโดยแจ้งชัดในคำร้องสอด ตามมาตรา172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1 (3) อีก
ก่อนคดีนี้โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ต่อมาผู้ร้องสอดยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดก ผู้ร้องสอดจึงเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดก ส่วนโจทก์มิใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องสอดเป็นผู้จัดการมรดกแทน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดกผู้ร้องสอดจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดก ส่วนโจทก์เป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก เป็นทายาทในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิรับมรดก โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก มีคำสั่งเพิกถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องสอดเป็นผู้จัดการมรดกแทน คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคู่ความรายเดียวกันกับคดีนี้ คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และผู้ร้องสอดซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก เมื่อศาลในคดีก่อนฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดก โจทก์จะโต้แย้งว่าผู้ร้องสอดมิได้เป็นบุตรของเจ้ามรดกหาได้ไม่
แม้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คนหนึ่งที่พิพากษาคดีนี้เคยพิพากษาคดีแพ่งในศาลชั้นต้น ซึ่งโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก การที่ผู้พิพากษาคนนั้นพิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์หาเป็นฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 11 (5) ไม่ เพราะคดีดังกล่าวโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดก แต่คดีนี้โจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก คดีทั้งสองเรื่องเพียงแต่เกี่ยวข้องกันมิใช่คดีเดียวกันโจทก์จะยกขึ้นมาเป็นเหตุคัดค้านผู้พิพากษาที่พิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์ตามมาตรา 11 (5) หาได้ไม่
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่ผู้ร้องสอดมีอยู่อันมีลักษณะเป็นคำขอบังคับอยู่ในตัว และเมื่อผู้ร้องสอดไม่ได้เรียกร้องอะไร เพียงแต่ขอให้ยกฟ้องเท่านั้น จึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับโดยแจ้งชัดในคำร้องสอด ตามมาตรา172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1 (3) อีก
ก่อนคดีนี้โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ต่อมาผู้ร้องสอดยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดก ผู้ร้องสอดจึงเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดก ส่วนโจทก์มิใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องสอดเป็นผู้จัดการมรดกแทน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดกผู้ร้องสอดจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดก ส่วนโจทก์เป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก เป็นทายาทในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิรับมรดก โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก มีคำสั่งเพิกถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องสอดเป็นผู้จัดการมรดกแทน คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคู่ความรายเดียวกันกับคดีนี้ คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และผู้ร้องสอดซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก เมื่อศาลในคดีก่อนฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดก โจทก์จะโต้แย้งว่าผู้ร้องสอดมิได้เป็นบุตรของเจ้ามรดกหาได้ไม่
แม้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คนหนึ่งที่พิพากษาคดีนี้เคยพิพากษาคดีแพ่งในศาลชั้นต้น ซึ่งโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก การที่ผู้พิพากษาคนนั้นพิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์หาเป็นฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 11 (5) ไม่ เพราะคดีดังกล่าวโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดก แต่คดีนี้โจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก คดีทั้งสองเรื่องเพียงแต่เกี่ยวข้องกันมิใช่คดีเดียวกันโจทก์จะยกขึ้นมาเป็นเหตุคัดค้านผู้พิพากษาที่พิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์ตามมาตรา 11 (5) หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2984/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรงและการประพฤติเนรคุณเป็นเหตุให้ถอนคืนการให้ได้
คำว่า"โจทก์แก่แล้วอายุตั้ง90ปีพูดกลับไปกลับมาพูดเหมือนเด็กเล่นขายของจำเลยไม่มีแม่ไปแล้วอย่ามาอีกเลย"เป็นถ้อยคำที่มีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์แม้จะมีอายุ90ปีแล้วก็ไม่ต่างอะไรไปจากเด็กเล่นขายของที่ไม่รู้จักเดียงสาพูดจาเชื่อถือไม่ได้เลยซึ่งเท่ากับถูกประณามว่าไม่มีค่าแห่งความเป็นคนเป็นถ้อยคำที่หมิ่นประมาทกันอย่างร้ายแรงการที่จำเลยด่าโจทก์ว่า"จำเลยไม่มีแม่"และไล่โจทก์ว่า"ไปแล้วอย่ากลับมาอีกเลย"เท่ากับประณามว่าโจทก์เลวจนรับเป็นมารดาไม่ได้จำเลยไม่มีมารดาเสียดีกว่าให้โจทก์เป็นมารดาของจำเลยเมื่อโจทก์ออกจากบ้านของจำเลยไปแล้วขออย่าให้โจทก์ไปที่บ้านของจำเลยอีกเท่ากับว่าถ้าโจทก์ไปที่บ้านจำเลยอีกโจทก์จะเป็นคนนำความไม่ดีไม่งามไปสู่บ้านจำเลยถ้อยคำเช่นนี้เป็นถ้อยคำที่หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงถือได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา531(2) เมื่อจำเลยจำหน่ายที่ดินที่ได้รับไปแล้วบางส่วนโจทก์จึงมีสิทธิเรียกถอนคืนการให้เฉพาะส่วนที่ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเท่านั้น จำเลยกล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงหลายครั้งเมื่อระยะเวลาหลังจากจำเลยกล่าวถ้อยคำนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน6เดือนนับแต่โจทก์ได้ทราบว่าถูกจำเลยประพฤติเนรคุณฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา533วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยของบุตรผู้เกิดจากบิดามารดาต่างด้าวที่เข้ามาในไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้โจทก์ทั้งสิบสองจะเกิดในราชอาณาจักรไทยแต่ก็เป็นบุตรนายย. ซึ่งเป็นคนญวนอพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิชอบแล้วได้อยู่กินเป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสกับนาง ว.ซึ่งเกิดที่จังหวัดสกลนครและมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแม้โจทก์ที่1ถึงที่8และโจทก์ที่9ถึงที่12จะมิได้ถูกถอนสัญชาติไทยและมิได้ถูกจำกัดมิให้ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337แต่โจทก์ทั้งสิบสองก็เป็นผู้ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามมาตรา7ทวิวรรคหนึ่ง(3)แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา5เพราะพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา11บัญญัติให้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูเกิดขึ้นได้แม้ไม่มีการจ่ายจริง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นสิทธิที่มีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคสามโดยไม่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงว่ามีการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจริงหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกกรณีผู้คัดค้านเสียชีวิตระหว่างดำเนินการ - บุตรผู้คัดค้านขอเป็นผู้จัดการมรดกแทน
ในระหว่างไต่สวนพยานของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านถึงแก่กรรม อ.บุตรของผู้คัดค้านยื่นคำร้องว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้คัดค้าน มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยรับมรดกแทนที่ต่อจากผู้คัดค้าน ขอให้มีคำสั่งตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว เป็นเรื่องที่ อ.ยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องของผู้ร้องและขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเข้ามาใหม่ มิใช่การขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7473/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิปกครองดูแลบุตรเกิดจากสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียน: สิทธิเกิดเฉพาะบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
โจทก์จำเลยซึ่งอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสได้ตกลงแยกกันอยู่และร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงผลัดกันดูแลบุตรผู้เยาว์ โจทก์ซึ่งมิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะที่เป็นบิดาของบุตรผู้เยาว์ ข้อพิพาทอันเกี่ยวกับการปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่มี จึงไม่อาจทำบันทึกข้อตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทอันเกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ได้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวไม่มีผลเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7308/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเพิ่ม ต้องฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาท ไม่ใช่คดีไม่มีข้อพิพาท
การที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 นั้น ต้องเป็นกรณีจำเป็นที่จะต้องมาร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่โดยจะต้องมีกฎหมายระบุไว้ชัดแจ้งว่าให้กระทำได้ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15651598/38 และ 1598/39ไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเพิ่มต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทต่อศาล