พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุริมสิทธิซื้อขายต้องจดทะเบียน: สัญญาจะซื้อขายไม่มีผลผูกพันเหนือสิทธิของเจ้าหนี้เดิม
บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น ต้องเป็นการซื้อขายที่ลงทะเบียนและบอกลงทะเบียนไว้ด้วยว่าราคาหรือดอกเบี้ยในราคานั้นยังมิได้ชำระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนทันทีตามสัญญา แม้ยังไม่มีการส่งมอบ และบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นโมฆะ
ข้อสัญญาที่ให้สิ่งของและสัมภาระต่างๆ ของผู้รับจ้างซึ่งนำเข้าไปไว้ในบริเวณที่ก่อสร้าง ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างในเมื่อผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญา เพราะผู้รับจ้างผิดสัญญานั้น เป็นข้อสัญญาที่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย และข้อสัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้โดยไม่ต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินนั้นอีก ถ้าหากในสัญญาระบุตัวทรัพย์สินไว้ชัดแจ้งแล้ว เพราะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นย่อมโอนไปทันทีตามผลแห่งสัญญาโดยไม่จำเป็นต้องมีการนับหรือชั่งตวงวัดอีก
ทรัพย์สินซึ่งเจ้าหนี้มีบุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 251 นั้น หมายถึงทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น มาตรา 251 นี้หาได้บัญญัติให้เจ้าหนี้มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้ด้วยไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 270 เป็นบทบัญญัติถึงรายละเอียดแห่งการมีบุริมสิทธิตามมาตรา 251 อีกต่อหนึ่งว่า การบังคับชำระหนี้ในฐานะมีบุริมสิทธิตามมาตรา 251 จะบังคับได้เพียงใด
ทรัพย์สินซึ่งเจ้าหนี้มีบุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 251 นั้น หมายถึงทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น มาตรา 251 นี้หาได้บัญญัติให้เจ้าหนี้มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้ด้วยไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 270 เป็นบทบัญญัติถึงรายละเอียดแห่งการมีบุริมสิทธิตามมาตรา 251 อีกต่อหนึ่งว่า การบังคับชำระหนี้ในฐานะมีบุริมสิทธิตามมาตรา 251 จะบังคับได้เพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์เปลี่ยนเป็นอสังหาริมทรัพย์: สิทธิของผู้ขายไม้แปรรูปเมื่อนำไปสร้างโรงเรือน
มูลหนี้ที่เกิดจากการซื้อขายไม้แปรรูปต่าง ๆ อันเป็นสังหาริมทรัพย์ ซึ่งผู้ขายมีบุริมสิทธิที่จะเอาราคาซื้อขายเหนือไม้แปรรูปนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้อื่นนั้น หากปรากฏว่าไม้แปรรูปนี้ได้ถูกนำไปปลูกสร้างเป็นโรงเรือนกลายสภาพจากสังหาริมทรัพย์เป็นอสังหาริมทรัพย์ คือ โรงเรือนไปเสียแล้ว ผู้ขายก็ไม่มีสิทธิที่จะอ้างบุริมสิทธิเหนือโรงเรือนซึ่งปลูกด้วยไม่แปรรูปนั้นแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุริมสิทธิไม้แปรรูปเปลี่ยนสภาพเป็นโรงเรือน
มูลหนี้ที่เกิดจากการซื้อขายไม้แปรรูปต่างๆ อันเป็นสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้ขายมีบุริมสิทธิที่จะเอาราคาซื้อขายเหนือไม้แปรรูปนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้อื่นนั้นหากปรากฏว่าไม้แปรรูปนี้ได้ถูกนำไปปลูกสร้างเป็นโรงเรือนกลายสภาพจากสังหาริมทรัพย์เป็นอสังหาริมทรัพย์ คือ โรงเรือนไปเสียแล้วผู้ขายก็ไม่มีสิทธิที่จะอ้างบุริมสิทธิเหนือโรงเรือนซึ่งปลูกด้วยไม้แปรรูปนั้นแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตบุริมสิทธิภาษีอากร: 'ปีปัจจุบัน' หมายถึงปีที่ยื่นคำร้องต่อศาล ไม่ใช่ปีที่ประเมินภาษี
คำว่า "ปีปัจจุบัน" ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 256 หมายความว่า ปีที่ผู้มีบุริมสิทธิ์ได้ยื่นคำร้องต่อศษลให้เอาเงินของจำเลยมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่ผู้ร้อง
หนี้มีบุริมสิทธิ์นั้น กฎหมายให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหนี้ในอันที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่ไม่มีบุริมสิทธิ แต่หาได้หมายความว่า เมื่อผู้ร้องไม่มีบุริมสิทธิแล้ว สิทธิของผู้ร้องในอันที่จะเรียกร้องเอาค่าภาษีอากรสูญสิ้นไปไม่ ผู้ร้องก็คงเป็นเจ้าหนี้อยู่ แต่ไม่มีบุริมสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นเท่านั้น
แม้ผู้ร้องเพิ่งจะได้ประเมินเรียกเก็บภาษีในปี พ.ศ. 2501 ก็หาทำให้ภาษีปี พ.ศ. 2498 และ พ.ศ. 2499 กลายมาเป็นภาษีปี 2501 ไปได้ไม่
หนี้มีบุริมสิทธิ์นั้น กฎหมายให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหนี้ในอันที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่ไม่มีบุริมสิทธิ แต่หาได้หมายความว่า เมื่อผู้ร้องไม่มีบุริมสิทธิแล้ว สิทธิของผู้ร้องในอันที่จะเรียกร้องเอาค่าภาษีอากรสูญสิ้นไปไม่ ผู้ร้องก็คงเป็นเจ้าหนี้อยู่ แต่ไม่มีบุริมสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นเท่านั้น
แม้ผู้ร้องเพิ่งจะได้ประเมินเรียกเก็บภาษีในปี พ.ศ. 2501 ก็หาทำให้ภาษีปี พ.ศ. 2498 และ พ.ศ. 2499 กลายมาเป็นภาษีปี 2501 ไปได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตบุริมสิทธิภาษีอากร: ปีที่ยื่นฟ้องสำคัญกว่าปีที่ประเมินภาษี เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิเรียกร้องแม้ไม่มีบุริมสิทธิ
บุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรที่ใช้สำหรับเอาบรรดาค่าภาษีอากรที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่งนั้นคำว่า'ปีปัจจุบัน'ดังกล่าว หมายความว่าปีที่ผู้มีบุริมสิทธิได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้เอาเงินของลูกหนี้มาชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่ผู้มีบุริมสิทธิ
ภาษีการค้าและภาษีเงินได้ พ.ศ.2498 และ พ.ศ.2499 ซึ่งค้างชำระอยู่ แม้กรมสรรพากรเพิ่งจะมาประเมินเก็บในปี พ.ศ.2501 ก็หาทำให้ภาษีปี พ.ศ.2498 และพ.ศ.2499 กลายมาเป็นภาษี ปีพ.ศ.2501 ไปได้ไม่
หนี้บุริมสิทธิ กฎหมายให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหนี้ในอันที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่ไม่มีบุริมสิทธิแต่หาได้หมายความว่าเมื่อผู้ร้องไม่มีบุริมสิทธิแล้วสิทธิของผู้ร้องในอันที่จะเรียกร้องเอาค่าภาษีอากรสูญสิ้นไปไม่ผู้ร้องก็คงเป็นเจ้าหนี้อยู่ แต่ไม่มีบุริมสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นเท่านั้น
ภาษีการค้าและภาษีเงินได้ พ.ศ.2498 และ พ.ศ.2499 ซึ่งค้างชำระอยู่ แม้กรมสรรพากรเพิ่งจะมาประเมินเก็บในปี พ.ศ.2501 ก็หาทำให้ภาษีปี พ.ศ.2498 และพ.ศ.2499 กลายมาเป็นภาษี ปีพ.ศ.2501 ไปได้ไม่
หนี้บุริมสิทธิ กฎหมายให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหนี้ในอันที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่ไม่มีบุริมสิทธิแต่หาได้หมายความว่าเมื่อผู้ร้องไม่มีบุริมสิทธิแล้วสิทธิของผู้ร้องในอันที่จะเรียกร้องเอาค่าภาษีอากรสูญสิ้นไปไม่ผู้ร้องก็คงเป็นเจ้าหนี้อยู่ แต่ไม่มีบุริมสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุริมสิทธิผู้ให้เช่า: สังหาริมทรัพย์เข้ามาด้วยความรู้เห็นของผู้เช่าเพียงพอ
บุริมสิทธิของผู้ให้เช่า เรือนโรงเหนือสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 261 วรรค 2 นั้น ผู้เช่าไม่จำต้องเอาสังหาริมทรัพย์นั้นเข้ามาด้วยตนเอง แต่หมายถึงสังหาริมทรัพย์นั้นได้เข้ามาอยู่ในเรือนโรงด้วยความรู้เห็นของผู้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุริมสิทธิผู้ให้เช่า: สังหาริมทรัพย์เข้ามาด้วยความรู้เห็นของผู้เช่าเพียงพอ
บุริมสิทธิของผู้ให้เช่าเรือนโรงเหนือสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 261 วรรคสองนั้นผู้เช่าไม่จำต้องเอาสังหาริมทรัพย์นั้นเข้ามาด้วยตนเองแต่หมายถึงสังหาริมทรัพย์นั้นได้เข้ามาอยู่ในเรือนโรงด้วยความรู้เห็นของผู้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนำทรัพย์สินไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้รับจำนำมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนบุริมสิทธิ
โจทก์นำยึดสังหาริมทรัพย์เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา แต่เป็นทรัพย์ซึ่งจำเลยจำนำไว้กับผู้ร้อง เช่นนี้ เมื่อผู้ร้องร้องเข้ามาหากกองหมายขายทอดตลาดแล้วได้เงินเท่าใดต้องหักใช้หนี้ผู้ร้องก่อน
การจำนำ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ(อ้างฎีกาที่ 200/2496)
การจำนำ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ(อ้างฎีกาที่ 200/2496)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองและการบังคับชำระหนี้จากสินสมรส/สินบริคณห์
1. เดิมคู่ความฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ต่อมายื่นคำร้องอีกฉบับเตือนให้ศาลเร่งพิจารณาวินิจฉัยคำร้องฉบับเดิม ศาลนัดพร้อมคู่ความฝ่ายที่ยื่นขาดนัด ศาลสั่งยกคำร้องฉบับที่เตือนเสีย ดังนี้ไม่หมายความถึงให้ยกคำร้องเดิมที่ขอรับชำระหนี้นั้นด้วย 2. ผู้รับจำนองย่อมเป็นเจ้าหนี้มีบุริมสิทธิชอบที่จะร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มีคำพิพากษา ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมนั้นเมื่อคู่ความอีกฝ่ายมิได้โต้แย้งมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลก็ไม่วินิจฉัยให้ 3. คำสั่งของศาลที่ชี้ขาดว่าผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนองของจำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นได้นั้นหาเป็นการลบล้างคำพิพากษาของศาลในคดีอื่น (คดีแดงที่ 1472/2497) ผู้ร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกรายหนึ่ง) ฟ้องขอให้แยกสินบริคณห์ระหว่างจำเลยกับสามีไม่ 4. เมื่อคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงที่จะอ้างอิงเอกสารฉบับใด ให้ยื่นบัญชีแสดงเอกสารต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ แม้จะฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว