คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประกันภัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 702 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย กรณีเหตุละเมิดเดียวกัน และการเฉลี่ยความรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกสิบล้อหมายเลขทะเบียน 87-3546 กรุงเทพมหานคร ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้เอาประกันภัยไว้ จำเลยที่ 4 ให้การว่ามิได้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันดังกล่าวจากจำเลยที่ 3 แต่รับประกันภัยไว้จากบุคคลอื่น ดังนี้คำให้การของจำเลยที่ 4 เป็นการยอมรับว่าได้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามฟ้องจริง
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อบรรทุกขุดตักดินไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วยความประมาทเลินเล่อทำให้หลังคาของรถขุดตักดินเกี่ยวสายเคเบิลโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่ขึงอยู่กับเสาไฟฟ้าของโจทก์ และดึงรั้งเอาเสาไฟฟ้าของโจทก์หักล้มได้รับความเสียหาย โดยจำเลยที่ 4 รับประกันค้ำจุนรถบรรทุกสิบล้อดังกล่าว เมื่อคดีนี้และคดีที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยฟ้องให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดเป็นเหตุละเมิดครั้งเดียวกันและตามกรมธรรม์ประกันภัยก็ระบุให้จำเลยที่ 4 รับผิดไม่เกิน 250,000 บาทต่ออุบัติเหตุหนึ่งครั้ง การที่คำพิพากษา 2 สำนวนในเหตุละเมิดครั้งเดียวกันจะบังคับให้จำเลยที่ 4 ต้องรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 4 มีสิทธิยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ เมื่อคดีที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นโจทก์มียอดเงินค่าเสียหาย 51,247 บาท รวมกับยอดเงินค่าเสียหายคดีนี้260,017.24 บาท แล้วเป็นเงิน 311,264.24 บาท เกินวงเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายทั้งสองคดีในวงเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยเฉลี่ยตามส่วนความเสียหายแต่ละคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงการใช้เงินตามกรมธรรม์ประกันภัยถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้รับประโยชน์ และสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
ตามบทบัญญัติมาตรา 37 และมาตรา 93 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิตพ.ศ. 2535 มุ่งคุ้มครองผู้เอาประกันหรือผู้รับประโยชน์เพราะบริษัทประกันชีวิตที่มีนิติสัมพันธ์กับผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยมีอำนาจต่อรองสูงกว่าผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์
การฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 37 ของบริษัทประกันชีวิตโดยประวิงการใช้เงินแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์มิใช่เพียงเป็นการผิดสัญญาประกันภัยเท่านั้น แต่ยังเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์อีกด้วย ดังนั้นหากก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันหรือผู้รับประโยชน์ ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า อาศัยอำนาจตามมาตรา 37 วรรคสองของพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และระยะเวลาที่ถือว่าเป็นการประวิงการใช้เงิน หรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันชีวิตลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2537 กำหนดในข้อ 7 ว่า ในกรณีที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้บริษัทใช้เงินตามกรมธรรม์ประกันภัย แต่บริษัทไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลจนพ้นระยะเวลาที่กำหนดในคำบังคับ เป็นการประวิงการใช้เงินตามมาตรา 37 วรรคสอง โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย ระหว่างอายุสัญญาประกันภัยผู้เอาประกันภัยถึงแก่ความตาย จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ต้องใช้เงินแก่โจทก์ตามกรมธรรม์ แต่จำเลยไม่ใช้ศาลแพ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์แต่จนพ้นระยะเวลาที่กำหนดในคำบังคับจำเลยก็ยังไม่ใช้เงินแก่โจทก์ จนโจทก์ต้องดำเนินการบังคับคดี จำเลยจึงยอมใช้เงินให้ ทำให้โจทก์ต้องเสียหายต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าจ้างทนายความในการบังคับคดีและขอให้จำเลยใช้เงินดังกล่าวการกระทำของจำเลยตามฟ้องย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากการเยียวยาความเสียหายโดยการดำเนินการบังคับคดีตามปกติอย่างคดีแพ่งทั่วไปแล้ว โจทก์ยังฟ้องเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับการละเมิดได้อีกทางหนึ่งด้วยจึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับฟ้องคดีของโจทก์ไว้แล้วดำเนินการพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนประกันภัย: ความรับผิดร่วมกันของผู้รับประกันภัยและการรับผิดของตัวการ-ตัวแทน
โจทก์และผู้รับประกันภัยรายอื่นรวม 12 ราย ตกลงเข้ารับประกันภัยการขนส่งสินค้าร่วมกันโดยระบุชื่อและกำหนดสัดส่วนความรับผิดชอบของแต่ละคนไว้แน่นอน โดยมุ่งหวังแบ่งปันกำไรอันพึงได้ตามสัดส่วนดังกล่าวจากการรับประกันภัยรายนี้ ย่อมเข้าลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ ตาม ป.พ.พ. ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้ตกลงกันไว้ในกระบวนจัดการห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ทุกคน ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ผู้รับประกันภัยรายอื่น ซึ่งเป็นหุ้นส่วนทุกคนด้วยโดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้รับประกันภัยรายอื่นจะทำหนังสือมอบสิทธิของตนให้แก่โจทก์หรือไม่ เมื่อปรากฏชื่อโจทก์ในกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์ย่อมใช้สิทธิแทนผู้รับประกันภัยทุกคนมาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายของสินค้าได้เต็มจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ซื้อไป
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่ง ในขณะที่ส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ให้แก่จำเลยที่ 4 สินค้ายังไม่เกิดความเสียหายแต่ได้เกิดความเสียหายในระหว่างการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์จากหน้าท่าเรือไปยังโรงพักสินค้าที่ 17 สินค้าไม่ได้เกิดความเสียหายในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายของสินค้า
จำเลยที่ 4 (การท่าเรือแห่งประเทศไทย)มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องดูแลและรับผิดชอบสินค้าที่ถูกขนส่งทางเรือและถูกขนถ่ายลงจากเรือมาที่หน้าท่า การขนถ่ายเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าจากบริเวณหน้าท่าไปยังโรงพักสินค้า ย่อมเป็นกระบวนการซึ่งอยู่ในหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 4 แม้การขนย้ายตู้สินค้ารายนี้จะกระทำโดยรถบรรทุกที่จำเลยที่ 3เป็นผู้จัดหามา แต่ก็โดยการอนุญาตของจำเลยที่ 4 การดำเนินการของจำเลยที่ 3 เท่ากับเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ในฐานะตัวการจึงต้องรับผิดชอบในการกระทำของจำเลยที่ 3 เช่นเดียวกับการกระทำของตนเองเมื่อตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้ารายนี้เกิดตกหล่นจากรถบรรทุกในระหว่างการขนย้ายจากหน้าท่าไปยังโรงพักสินค้าที่ 17 ทำให้สินค้าได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 4 จึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเพียงตัวแทนและเป็นผู้จัดหารถบรรทุกมาทำหน้าที่แทนจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3131/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดในสัญญาประกันภัย: การลากจูงรถที่ไม่ได้ประกันภัย ทำให้ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก
สัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยและจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัย ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการใช้ลากจูงหรือผลักดัน เว้นแต่รถที่ถูกลากจูงหรือถูกผลักดันได้ประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 ด้วย การที่จำเลยที่ 2 นำรถที่เอาประกันภัยไปลากจูงรถพ่วงที่ไม่ได้เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทำที่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 3เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์สัญญาประกันภัย, การเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์, ความระมัดระวังของผู้เอาประกัน, การปฏิบัติตามเงื่อนไขกรมธรรม์
โจทก์นำรถยนต์คันที่หายเอาประกันไว้กับจำเลยโดยระบุให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. เป็นผู้รับประโยชน์ เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก สิทธิของบุคคลภายนอกจะเกิดขึ้นต่อเมื่อได้แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญา ตราบใดที่ยังไม่ได้แสดงเจตนาดังกล่าว คู่สัญญาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิ ตามสัญญานั้นได้ เมื่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. ฟ้องโจทก์ให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ แสดงว่าได้สละเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยจึงเป็นคู่สัญญามีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากสัญญาซึ่งกันและกันตามหลักทั่วไป และโจทก์มีสิทธิเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเข้าเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยเองได้ จึงมี อำนาจฟ้อง
โจทก์เช่าสถานที่ของวัดเป็นที่จอดและอู่ซ่อมรถ บริเวณดังกล่าวมีประตูเข้าออกทางเดียว แม้ไม่มี พนักงานรักษาความปลอดภัย แต่ก็มีผู้ดูแล ถือว่าโจทก์ใช้ความระมัดระวังในการสงวนทรัพย์สินเช่นวิญญูชน พึงประพฤติตามพฤติการณ์แล้ว รถยนต์คันที่เอาประกันภัยสูญหายไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ และเมื่อทราบเหตุโจทก์ได้โทรศัพท์แจ้งจำเลยและแจ้งความต่อพนักงานตำรวจทันที แต่ขาดหลักฐาน การมอบอำนาจจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. ทำให้การแจ้งความเป็นลายลักษณ์อักษรล่าช้า ถือไม่ได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยจึงยังต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยแยกจากสัญญาเช่าซื้อ ผู้รับประโยชน์มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ แม้รถยนต์จะถูกยึดคืน
ว. เช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทจากโจทก์และได้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลย โดยระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์สัญญาประกันภัยระหว่าง ว. กับจำเลยเป็นสัญญาอีกสัญญาหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับ ว. ผลของสัญญาจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ลักษณะของสัญญาแต่ละสัญญา แม้ว่าสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับ ว. จะสิ้นสุดลงเนื่องจาก ว. ผิดสัญญาเช่าซื้อและโจทก์ได้ยึดรถยนต์คืนไปก็มีผลเฉพาะสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น ส่วนสัญญาประกันภัยนั้นจะสิ้นสุดลงหรือไม่ย่อมเป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดในสัญญา เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติหรือข้อกำหนดในสัญญาระบุให้สัญญาประกันภัยสิ้นสุดลง สัญญาประกันภัยก็จะมีผลใช้บังคับอยู่ จำเลยสมัครใจเข้าทำสัญญาประกันภัย จะปัดความรับผิดชอบตามสัญญาหาได้ไม่ และเมื่อสัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยกับ ว. ระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ จึงเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่เป็นลูกหนี้โดยตรงได้ สัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยกับ ว. ไม่ระงับไป
โจทก์ยึดรถยนต์คืนเนื่องจาก ว. ผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์นำรถยนต์ไปเก็บไว้ที่วัดซึ่งเป็นลานจอดรถสาธารณะบุคคลทั่วไปก็สามารถนำรถไปจอดได้ โจทก์ได้ตกลงกับวัด ให้ทางวัดจัดที่จอดรถให้ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนต่อคัน แม้ว่าโจทก์จะไม่มีพนักงานของตนไปเฝ้ารักษารถ แต่ก็เห็นได้ว่าในการจัดที่จอดรถให้แก่โจทก์ ทางวัดจะต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลเพื่อจะได้ทราบว่ามีรถยนต์มาจอดกี่คัน เพื่อที่จะได้เก็บค่าตอบแทนถูกต้อง พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์ได้ใช้ความระมัดระวังพอสมควรแล้วการกระทำของโจทก์ไม่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยในกรณีรถหายระบุว่าผู้เอาประกันจะต้องแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนและแจ้งให้จำเลยผู้รับประกันทราบโดยไม่ชักช้า โจทก์ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534 หลังจากทราบว่ารถยนต์หายไปเพียง 1 วัน และได้แจ้งให้จำเลยทราบเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2534 ถือได้ว่าได้มีการแจ้งโดยไม่ชักช้าแล้ว โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า ในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มตามจำนวนเงินจำกัดความรับผิดตามสัญญาข้อ 3.1 ในรายการ 4 ของตารางซึ่งกำหนดไว้ 700,000 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประโยชน์เป็นเงิน 700,000 บาท มิใช่รับผิดตามราคาท้องตลาดในขณะรถยนต์สูญหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยยังใช้บังคับแม้สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุด และการปฏิบัติตามเงื่อนไขกรมธรรม์
สัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยกับ ว. ผู้เอาประกันภัยเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกแยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับ ว. แม้สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงเนื่องจาก ว. ผิดสัญญาและโจทก์ได้ยึดรถยนต์คืนไป ก็มีผลเฉพาะสัญญาเช่าซื้อ ส่วนสัญญาประกันภัยเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติหรือข้อกำหนดในสัญญาระบุให้สัญญาสิ้นสุดลงจึงมีผลใช้บังคับอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงชำระหนี้ได้
โจทก์ตกลงกับวัด ท. ให้ทางวัดจัดที่จอดรถให้ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนต่อคัน แม้โจทก์ไม่มีพนักงานของตนไปเฝ้ารักษารถ แต่ทางวัด ท. จะต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลเพื่อทราบว่ามีรถยนต์มาจอดกี่คันจะได้เก็บค่าตอบแทนถูกต้อง ถือว่าโจทก์ใช้ความระมัดระวังพอสมควรโดยไม่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และโจทก์แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนหลังจากทราบว่ารถยนต์หายไปเพียง 1 วัน กับแจ้งให้จำเลยทราบในอีก 1 สัปดาห์ถัดมา ถือว่าได้มีการแจ้งโดยไม่ชักช้าแล้วไม่เป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ การมีส่วนได้เสียในประกันภัย และข้อจำกัดการนำสืบพยาน
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 ดังนั้น คู่ความจะขอสืบพยานบุคคลแทนเอกสารหรือนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารสัญญาเช่าซื้อมิได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคสอง คดีนี้โจทก์ได้นำสืบโดยส่งต้นฉบับสัญญาเช่าซื้อเป็นพยาน จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การรับว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจากโจทก์จริง ส่วนจำเลยร่วมถูกเรียกเข้ามาในคดีโดยมิได้ต่อสู้ว่าเอกสารสัญญาเช่าซื้อปลอม ไม่สมบูรณ์ฯ?แต่ประการใด จำเลยร่วมจะอ้างคำเบิกความของ พ. กรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 หรือพยานบุคคลอื่นมาหักล้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าซื้อซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซื้อมิได้ ต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว
จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์บรรทุก จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธินำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้ประโยชน์และมีสิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบ ตลอดจนต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อ ความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแก่รถยนต์ที่เช่าซื้อ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวัตถุที่เอาประกันภัย ถึงแม้จะให้ผู้อื่นนำรถยนต์ไปใช้ หรือชำระค่าเช่าซื้อ เบี้ยประกันแทน ก็หาทำให้เสียสิทธิหรือหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาไม่ จำเลยร่วมต้องผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 และต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ-ประกันภัย: ผู้เช่าซื้อมีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัย จำเลยร่วมต้องรับผิดตามกรมธรรม์
โจทก์นำสืบโดยส่งต้นฉบับสัญญาเช่าซื้อเป็นพยาน จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การรับว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจากโจทก์จริง ส่วนจำเลยร่วมถูกเรียกเข้ามาในคดีโดยมิได้ต่อสู้ว่าเอกสารสัญญาเช่าซื้อปลอม ไม่สมบูรณ์แต่ประการใด จำเลยร่วมจะอ้างคำเบิกความของ พ. กรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 หรือพยานบุคคลอื่นมาหักล้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าซื้อซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซื้อมิได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์บรรทุก จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธินำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้ประโยชน์และมีสิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์เมื่อชำระค่าเช่าซื้อครบตลอดจนต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อ ความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแก่รถยนต์ที่เช่าซื้อ จำเลยที่ 1จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวัตถุที่เอาประกันภัย ถึงแม้จะให้ผู้อื่นนำรถยนต์ไปใช้หรือชำระค่าเช่าซื้อเบี้ยประกันแทนก็หาทำให้เสียสิทธิหรือหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาไม่จำเลยร่วมจึงต้องผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 และต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยจากความประมาทเลินเล่อร้ายแรงของผู้เอาประกันภัย แม้ไม่มีข้อกำหนดในกรมธรรม์
แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะมิได้มีข้อกำหนดยกเว้นให้ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเหตุอันเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ขับขี่ไว้ก็ตาม แต่ ป.พ.พ. มาตรา 879 ก็ได้บัญญัติให้ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเมื่อความวินาศภัยหรือเหตุอื่นซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ จำเลยจึงยกขึ้นอ้างได้ แม้จะไม่ได้กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
of 71