พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนจากประกันภัยรถยนต์และประกันสังคมไม่ขัดแย้งกัน ผู้รับสิทธิไม่ต้องเสียสิทธิซ้ำซ้อน
สิทธิของโจทก์ที่ได้รับ เงินทดแทน ค่ารักษาพยาบาลจาก บริษัทประกันภัยเป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535ส่วนสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินทดแทน ค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลยเป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ.2533เมื่อเป็นสิทธิตามกฎหมายแต่ละฉบับโดยโจทก์ต้องเสีย เบี้ยประกันภัยและส่ง เงินสมทบเข้า กองทุนสมทบแล้วแต่กรณีตามที่กฎหมายแต่ละฉบับกำหนดไว้ซึ่งต้องชำระทั้ง2ทางและพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ไม่มีบทบัญญัติตัดสิทธิมิให้ได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายอื่นมารับเงินทดแทนอีกจำเลยจึงยกเอาเหตุที่โจทก์ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยมาแล้วมาอ้างเพื่อไม่จ่ายเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ให้แก่โจทก์หาได้ไม่โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนจากประกันสังคมและประกันภัยรถยนต์: เบิกซ้ำซ้อนได้ตามกฎหมายเฉพาะ
สิทธิของโจทก์ที่ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยเป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535ที่บังคับให้เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัทและต้องเสียเบี้ยประกันภัยส่วนสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลยเป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ซึ่งบังคับให้ลูกจ้างต้องเป็นผู้ประกันตนและส่งเงินเข้ากองทุนสมทบเมื่อเป็นสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแต่ละฉบับโดยโจทก์ต้องเสียเบี้ยประกันภัยและส่งเงินเข้ากองทุนสมทบแล้วแต่กรณีตามที่กฎหมายแต่ละฉบับดังกล่าวกำหนดไว้ซึ่งต้องชำระทั้ง2ทางและเมื่อพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ไม่มีบทบัญญัติตัดสิทธิมิให้ผู้ที่ได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายอื่นแล้วมารับเงินทดแทนอีกจำเลยจึงจะยกเอาเหตุที่โจทก์ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยแล้วมาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่จ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์หาได้ไม่ พระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533เป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งประสบอันตรายเจ็บป่วยทุพพลภาพหรือตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานรวมทั้งกรณีอื่นอีกจึงจะนำหลักกฎหมายทั่วไปในเรื่องประกันวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้โจทก์มีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลยตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10166/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาล แม้ไม่ได้แสดงบัตรรับรองสิทธิหรือขอใบแทน
เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมได้ออกระเบียบสำนักงานประกันสังคม ว่าด้วย การออกบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓ พ.ศ.๒๕๓๕ มาตรา ๕๘ วรรคสอง ซึ่งให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๖ เป็นต้นไป โดยระบุเหตุผลในการออกระเบียบฉบับนี้ว่า เพื่อให้การออกหลักฐานรับรองสิทธิการไปขอรับบริการทางการแพทย์เกิดความสะดวก มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานและเป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยระเบียบฉบับนี้ได้กล่าวถึงวิธีการกำหนดให้สำนักงานประกันสังคมจำเลยออกบัตรรับรองสิทธิไว้ในข้อ ๗ กำหนดแบบที่จะต้องใช้ในการยื่นคำขอต่าง ๆและกำหนดวิธีปฏิบัติในการขอใบแทนบัตรรับรองสิทธิไว้ในข้อ ๑๑ กำหนดอายุบัตรรับรองสิทธิไว้ในข้อ ๑๒ และกำหนดให้แสดงบัตรทุกครั้งที่ไปรับบริการทางการแพทย์ในข้อ ๑๓ แต่ไม่มีปรากฏตามมาตราใดใน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓หรือในระเบียบฉบับนี้ว่า หากไม่แสดงบัตรรับรองสิทธิหรือไม่ไปขอออกใบแทนบัตรรับรองสิทธิกรณีบัตรสูญหายแล้วผู้ประกันตนจะเสียสิทธิอย่างไร เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ที่ได้จ่ายเงินสมทบครบเงื่อนเวลาที่ก่อให้เกิดสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือป่วยเจ็บอันมิใช่เนื่องจากการทำงานและได้รับบัตรรับรองสิทธิมาแล้ว ทั้งได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลอันเป็นสถานพยาบาลที่กำหนดให้ใช้บริการ และจำเลยไม่ได้โต้แย้งจำนวนเงินที่โจทก์ได้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลไป โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ตามฟ้อง ลำพังเพียงแต่โจทก์มิได้แสดงบัตรรับรองสิทธิเมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลเพราะบัตรรับรองสิทธิสูญหายไป โดยโจทก์ได้ไปแจ้งความไว้แล้ว และไม่ได้ไปขอออกใบแทนบัตรรับรองสิทธิเท่านั้น โจทก์หาสิ้นสิทธิที่จะได้รับเงินที่โจทก์ถูกสถานพยาบาลเรียกเก็บไปแล้วไม่
จำเลยไม่ชำระเงินตามที่โจทก์ทวงถามต้องถือว่าจำเลยผิดนัดแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ร้องขอเงินดังกล่าวครั้งแรกวันใด ศาลชอบที่จะกำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันฟ้อง เพราะการที่โจทก์ฟ้องคดีถือว่าเป็นการทวงถามจำเลยอยู่ในตัว เมื่อจำเลยไม่ชำระย่อมถือได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา ๒๐๔ และ ๒๒๔
จำเลยไม่ชำระเงินตามที่โจทก์ทวงถามต้องถือว่าจำเลยผิดนัดแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ร้องขอเงินดังกล่าวครั้งแรกวันใด ศาลชอบที่จะกำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันฟ้อง เพราะการที่โจทก์ฟ้องคดีถือว่าเป็นการทวงถามจำเลยอยู่ในตัว เมื่อจำเลยไม่ชำระย่อมถือได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา ๒๐๔ และ ๒๒๔
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10166/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม แม้ไม่แสดงบัตรก็ไม่เสียสิทธิ หากมีสิทธิครบถ้วน และดอกเบี้ยคิดจากวันฟ้อง
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และระเบียบสำนักงานประกันสังคมว่าด้วยการออกบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ไม่มีมาตราใดหรือข้อใดในพระราชบัญญัติหรือระเบียบดังกล่าวกำหนดว่าหากไม่แสดงบัตรรับรองสิทธิหรือไม่ไปขอออกใบแทนบัตรรับรองสิทธิกรณีบัตรสูญหายแล้วผู้ประกันตนจะเสียสิทธิอย่างไร เมื่อโจทก์เป็นผู้จ่ายเงินสมทบครบเงื่อนเวลามีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือป่วยเจ็บอันมิใช่เนื่องจากการทำงานและได้รับบัตรรับรองสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงิน เพียงแต่โจทก์มิได้แสดงบัตรรับรองสิทธิเมื่อเข้ารับราชการรักษาเพราะบัตรสูญหายแต่โจทก์ได้แจ้งความและไม่ได้ไปขอออกใบแทน เท่านั้น โจทก์หาสิ้นสิทธิที่จะได้รับเงินไม่ ไม่ปรากฎว่า โอกาสร้องขอรับเงินประโยชน์ทดแทนเมื่อใดศาลชอบที่จะกำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันฟ้อง เพราะการที่โจทก์ฟ้องคดีถือว่าเป็นการทวงถามอยู่ในตัว เมื่อจำเลยไม่ชำระถือได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินต่อศาลเพื่อฟ้องคดีประกันสังคม และข้อยกเว้นสำหรับนายจ้างขนาดเล็ก
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมที่มีคำสั่งยืนตามคำสั่งพนักงานเงินทดแทนซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 60 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีมาสู่ศาล โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามวรรคสี่ของข้อ 60 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว โดยจะต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดชำระตามคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมจึงจะฟ้องคดีได้
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์มีลูกจ้างไม่ถึงสิบคน จึงไม่อยู่ในบังคับของสำนักงานประกันสังคมตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เป็นการยกกฎหมายคนละเรื่องคนละฉบับ ไม่อาจนำมาปรับกับคดีที่โจทก์ฟ้องได้
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์มีลูกจ้างไม่ถึงสิบคน จึงไม่อยู่ในบังคับของสำนักงานประกันสังคมตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เป็นการยกกฎหมายคนละเรื่องคนละฉบับ ไม่อาจนำมาปรับกับคดีที่โจทก์ฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการฟ้องคดีประกันสังคม: การวางเงินต่อศาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมที่มีคำสั่งยืนตามคำสั่งพนักงานเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคมกำแพงเพชร ซึ่งคำสั่งดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 60 แห่งประกาศกระทรวง-มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีมาสู่ศาล โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในวรรคสี่ของข้อ 60 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น โดยจะต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดชำระตามคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมจึงจะฟ้องคดีได้อันเป็นเงื่อนไขในการยื่นฟ้อง ซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามโดยไม่จำต้องได้รับคำสั่งจากศาลแรงงานกลางก่อน เพราะหาใช่เป็นหน้าที่ของศาลแรงงานกลางที่จะต้องมีคำสั่งเช่นนั้นไม่ และเมื่อศาลจังหวัดกำแพงเพชรมีอำนาจที่จะรับคำฟ้องโจทก์ไว้ได้ก็ย่อมมีอำนาจรับเงินที่ต้องวางต่อศาลดังกล่าวได้ด้วย โดยไม่จำต้องได้รับคำสั่งจากศาลแรงงานกลางก่อนเช่นกัน ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้วางเงินต่อศาลจึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้ตามบทกฎหมายข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คู่สมรสตามพรบ.ประกันสังคม ต้องเป็นการจดทะเบียนสมรส การอยู่กินฉันสามีภริยาไม่ถือเป็นคู่สมรส
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่สมรส" ว่า มีความหมายอย่างไร จึงต้องแปลความหมายโดยเทียบเคียงกับคำว่า "คู่สมรส" ในกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งก็คือบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่ง-และพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว บทบัญญัติดังกล่าวให้ความหมายคู่สมรสว่าหมายถึงชายหญิงที่ทำการสมรสกันและการสมรสจะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น คำว่าคู่สมรสตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 65วรรคแรก จึงหมายถึงสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายด้วย ขณะภริยาโจทก์คลอดบุตร โจทก์และภริยายังมิได้จดทะเบียนสมรสกัน จึงมิใช่คู่สมรสของโจทก์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีภริยาคลอดบุตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคมกรณีคลอดบุตร: คู่สมรสต้องจดทะเบียนสมรส
แม้ พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 จะไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่สมรส" ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่เนื่องจากเป็นถ้อยคำในจดหมาย จึงต้องแปลความหมายโดยเทียบเคียงกับคำว่า"คู่สมรส" ในกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามบทบัญญัติ มาตรา 4แห่ง ป.พ.พ. คือ มาตรา 1552,1553 และ 1559 ซึ่งหมายถึงสามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเท่านั้น คำว่า คู่สมรสตามพ.ร.บ. ประกันสังคม มาตรา 65 วรรคแรก จึงต้องหมายถึงสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายด้วยเช่นกัน ขณะที่น.ภริยาโจทก์คลอดบุตรโจทก์และ น. ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันน. จึงไม่ใช่คู่สมรสของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีที่ น. คลอดบุตร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสมรสเป็นเงื่อนไขการเป็นคู่สมรสตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม เพื่อสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร
คำว่า คู่สมรสตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533มาตรา 65 วรรคแรก หมายถึงสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สวัสดิการลูกจ้างถึงแก่กรรม: พิจารณาโครงสร้างเงินเดือนทั้งระบบเพื่อลดอัตราสมทบประกันสังคม
การพิจารณาการจัดสวัสดิการของโจทก์ให้แก่ลูกจ้างในกรณีตายนั้นจะต้องพิจารณาโครงสร้างอัตราเงินเดือนของลูกจ้างทั้งระบบ มิใช่พิจารณาแต่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเมื่อลูกจ้างส่วนใหญ่ได้รับสวัสดิการรวมแล้วสูงกว่าประโยชน์ทดแทนในกรณีตายตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ฯ โจทก์จึงมีสิทธิขอลดส่วนอัตราเงินเดือนสมทบสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีตายได้ในอัตราร้อยละ 0.06