คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประกาศกระทรวงมหาดไทย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21-23/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานที่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ไม่มีผลบังคับใช้ และลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานโดยกำหนดว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้และโจทก์จะไม่เรียกร้องอย่างใดๆเอากับจำเลยนั้นเป็นเพียงข้อสัญญาซึ่งให้สิทธิจำเลยที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่านั้นมิได้หมายความว่าโจทก์สละสิทธิไม่เรียกร้องเงินซึ่งพึงจะได้รับตามกฎหมาย ค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46บังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างซึ่งประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับอย่างกฎหมายโจทก์กับจำเลยจะตกลงทำสัญญาจ้างแรงงานโดยมีข้อตกลงใดๆอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศฉบับดังกล่าวหาได้ไม่การที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันโดยกำหนดให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยย่อมเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46ไม่มีผลใช้บังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าบริการโรงแรมไม่ใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ใช้คำนวณค่าชดเชยไม่ได้
เงินค่าบริการที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นเป็นเงินที่นายจ้างคิดเพิ่มจากผู้ที่มาใช้บริการของโรงแรมอีกร้อยละสิบของค่าใช้จ่าย ได้แก่ ค่าที่พักและค่าบริการต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่ของนายจ้างจะเก็บรวบรวมไว้ หากมีความเสียหายที่เกิดจากผู้ที่มาใช้บริการนายจ้างก็จะนำเงินดังกล่าวบางส่วนไปชดใช้ค่าเสียหาย เหลือเท่าใดจึงนำไปแบ่งเฉลี่ยแก่ลูกจ้างคนละเท่ากัน ซึ่งในแต่ละเดือนเป็นจำนวนไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับผู้ที่มาใช้บริการและค่าเสียหายดังกล่าว ดังนี้ เงินค่าบริการจึงเป็นเงินที่นายจ้างเรียกเก็บจากลูกค้าแทนลูกจ้างโดยประสงค์ให้ตกเป็นของลูกจ้างทั้งหมด และกรณีนายจ้างเรียกเก็บไม่ได้ เพราะไม่มีผู้มาใช้บริการ นายจ้างก็ไม่มีข้อผูกพันว่าจะต้องจ่ายเงินค่าบริการแก่ลูกจ้าง การที่ลูกจ้างจ่ายให้แก่นายจ้างโดยตรงเป็นเพียงวิธีปฏิบัติเพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินโดยทั่วถึงกันเท่านั้น มิใช่เป็นการเรียกเก็บค่าบริการเอาเป็นของนายจ้างเองแล้วจัดแบ่งแก่ลูกจ้างในภายหลัง เงินค่าบริการจึงไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800-836/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งานกรีดยางเป็นงานเกษตรกรรม ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันระบุว่ามิให้ใช้บังคับแก่งานเกษตรกรรมซึ่งได้แก่งานเพาะปลูก งานประมง ป่าไม้ และ เลี้ยงสัตว์ สำหรับงานเกษตรกรรมหรืองานเพาะปลูกนั้น เกษตรกรผู้ประกอบการดังกล่าวย่อมมุ่งหวังถึงผลิตผลของพืชที่เพาะปลูกลงเป็นสำคัญ เมื่อปลูกยางพาราแล้วมีการกรีดยางก็เป็นการเก็บเกี่ยวผลิตผลจากงานเพาะปลูก ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการเพาะปลูก ถือได้ว่าการที่จำเลยจ้างโจทก์กรีดยางพาราเป็นการจ้างทำงานเกษตรกรรมซึ่งไม่อยู่ในบังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าจ้างตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกำหนดซึ่งนอกเหนือไปจากที่ตกลงกันไว้หาได้ไม่
เมื่อโจทก์ฟ้องขอสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามาน้อยกว่าที่ควรจะได้จริงตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งเป็นการผิดพลาดพลั้งเผลอ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์จึงแสดงว่าไม่มีเหตุสมควรเพื่อความเป็นธรรมที่จะพิพากษาเกินคำขอ
ศาลแรงงานกลางให้พิจารณาพิพากษารวมกัน โจทก์ทุกสำนวนยื่นบัญชีระบุพยานอ้างพยานร่วมกัน โดยอ้างตัวโจทก์ทุกสำนวนเป็นพยานด้วย การที่โจทก์บางสำนวนเข้าเบิกความเป็นพยานก็เท่ากับเป็นพยานโจทก์ทุกสำนวนด้วย เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่าถ้อยคำที่โจทก์บางคนดังกล่าวเบิกความเป็นพยานรับฟังได้ก็มีผลถึงโจทก์อื่นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800-836/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งานกรีดยางเป็นงานเกษตรกรรม ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันระบุว่ามิให้ใช้บังคับแก่งานเกษตรกรรมซึ่งได้แก่งานเพาะปลูก งานประมง ป่าไม้ และ เลี้ยงสัตว์ สำหรับงานเกษตรกรรมหรืองานเพาะปลูกนั้น เกษตรกรผู้ประกอบการดังกล่าวย่อมมุ่งหวังถึงผลิตผลของพืชที่เพาะปลูกลงเป็นสำคัญ เมื่อปลูกยางพาราแล้วมีการกรีดยางก็เป็น การเก็บเกี่ยวผลิตผลจากงานเพาะปลูก ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของ การเพาะปลูก ถือได้ว่าการที่จำเลยจ้างโจทก์กรีดยางพาราเป็นการจ้างทำงานเกษตรกรรมซึ่งไม่อยู่ในบังคับ ประกาศกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าจ้าง ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกำหนดซึ่งนอกเหนือไปจากที่ตกลงกันไว้หาได้ไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องขอสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามาน้อยกว่าที่ควรจะได้จริงตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งเป็นการผิดพลาด พลั้งเผลอ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์จึงแสดงว่าไม่มีเหตุสมควรเพื่อความเป็นธรรมที่จะ พิพากษาเกินคำขอ ศาลแรงงานกลางให้พิจารณาพิพากษารวมกัน โจทก์ทุกสำนวนยื่นบัญชีระบุพยานอ้างพยานร่วมกัน โดยอ้างตัวโจทก์ทุกสำนวนเป็นพยานด้วย การที่โจทก์บางสำนวนเข้าเบิกความเป็นพยานก็เท่ากับเป็นพยานโจทก์ทุกสำนวนด้วย เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่าถ้อยคำที่โจทก์บางคนดังกล่าวเบิกความเป็นพยานรับฟัง ได้ก็มีผลถึงโจทก์อื่นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ผู้จัดการสาขาธนาคารกับการได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
โจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของจำเลย การที่ โจทก์มีอำนาจออกคำเตือนพนักงานผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นหนังสือและพนักงานที่ถูกคำเตือน 3 ครั้งจะไม่ได้ขึ้นเงินเดือนก็ตาม แต่เมื่อหนังสือเตือนไม่ใช่โทษ เป็นเพียงมีผลให้ผู้ถูกคำเตือนอยู่ในเกณฑ์ที่จะไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนจากผู้มีอำนาจในการนี้เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีอำนาจทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการลงโทษ และแม้โจทก์จะเป็นผู้เสนอขอเลื่อนเงินเดือน 2 ขั้นให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ก็มิใช่เป็นผู้มีอำนาจที่จะเลื่อนชั้นเงินเดือน 2 ขั้น จึงถือไม่ได้อีกว่าโจทก์มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการให้บำเหน็จ ส่วนกรณีที่จะถือได้ว่าโจทก์เป็นตัวแทนในการจ้างลูกจ้างนั้น โจทก์ต้องมีอำนาจทำการแทนนายจ้างโดยตรง มิใช่เป็นกรณีผ่านการพิจารณาโดยผู้มีอำนาจมาก่อน ซึ่งผู้มีอำนาจในการรับลูกจ้างเข้าทำงานนี้ได้แก่คณะกรรมการของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง ดังนั้น โจทก์มิใช่ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ทำการแทนนายจ้าง ตามข้อ 36(1) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ และมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1677-1678/2526) เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด การที่จำเลยมีระเบียบกำหนดให้โจทก์ไม่มีสิทธิเบิกค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด จึงเป็นการแตกต่างไปจากที่กฎหมายบัญญัติไม่มีผลบังคับ โจทก์เบิกค่าทำงานในวันหยุด จำเลยให้โจทก์คืนเงินโดยอ้างว่าเบิกไม่ถูกต้อง โจทก์จึงคืนเงินนั้นแก่จำเลย ดังนี้ กรณีมิใช่เป็นเรื่อง จงใจผิดนัดในการจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 31 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยจ่ายค่าทำงานในวันหยุดที่คืนไป จำเลยตอบปฏิเสธ ถือได้ว่า จำเลยผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละสิบห้า ต่อปีตามข้อ 31 วรรคแรก นับแต่วันที่ จำเลยตอบปฏิเสธ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุประมาทเลินเล่อ และข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น การที่ระเบียบของนายจ้างกำหนดว่าการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหายแม้ไม่ร้ายแรงก็เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย อันเป็นการแตกต่างไปจากที่ประกาศดังกล่าวบัญญัติจึงเป็นโมฆะใช้บังคับมิได้
การฝ่าฝืนข้อบังคับของนายจ้างซึ่งนายจ้างได้ออกใบเตือนแล้ว อันจะทำให้นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้นหมายถึงข้อบังคับอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างที่ลูกจ้างสามารถปฏิบัติได้ แล้วลูกจ้างไม่กระทำโดยเจตนาฝ่าฝืนหาใช่การกระทำโดยประมาทไม่ ดังนี้ เมื่อลูกจ้างประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างเสียหายโดยที่นายจ้างออกใบเตือนแล้ว แม้จะไม่ร้ายแรง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม แต่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การใช้สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย หรือตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน
ฟ้องโจทก์ในชั้นแรกขอให้ศาลบังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย ค่าเสียหาย และเงินโบนัส พร้อมทั้งดอกเบี้ย ต่อมาโจทก์แถลงไม่ติดใจเรียกค่าเสียหายและเงินโบนัสกับดอกเบี้ย คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จึงเหลือเพียงข้อเดียวคือเรียกให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยเพราะเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการอาศัยสิทธิตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน หาใช่เป็นการ ฟ้อง ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิต สิทธิของภริยาและบุตรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
โจทก์แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนด้วยวาจาขอรับเงินค่าทดแทนโดยมิได้ยื่นคำร้องตามแบบ เป็นการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและวิธีการที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทน ฯข้อ 15 วรรคสอง กำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ50 กำหนดตัวผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนไว้ว่าถ้าไม่มีผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง สิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนจึงจะได้แก่ผู้มีสิทธิตามวรรคสอง มิได้หมายความว่าเมื่อผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่งได้รับค่าทดแทนไปบางส่วนแล้วต่อมาผู้นั้นหมดสิทธิลง บุคคลตามวรรคสองเข้ารับเงินทดแทนส่วนที่เหลือต่อไปได้
สิทธิได้รับค่าทดแทนเป็นสิทธิเฉพาะตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยรวมค่าจ้างทุกประเภท ทั้งเงินเดือนและค่าครองชีพ
ค่าจ้างที่จะนำมาคำนวณค่าทำงานในวันหยุดตามข้อ 39 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหมายถึงค่าจ้างทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ซึ่งรวมทั้งเงินเดือนและค่าครองชีพที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำด้วย นายจ้างจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ลูกจ้างเพิ่มขึ้นแต่เฉพาะเบี้ยเลี้ยงตามระเบียบของนายจ้างหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยลูกจ้าง: เหตุเลิกจ้างต้องพิจารณาขณะเลิกจ้าง หากไม่มีความผิดตามประกาศฯ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่ต้องพิจารณาเหตุแห่งการเลิกจ้างในขณะเลิกจ้างว่าลูกจ้างได้กระทำความผิดในกรณีใดกรณีหนึ่งตามข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ หรือไม่ หากขณะเลิกจ้าง ลูกจ้างไม่ได้กระทำผิดดังกล่าว นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยนายจ้างจะอ้างเหตุต่าง ๆ ขึ้นภายหลังเพื่อเป็นการปฏิเสธการจ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่
แม้ข้อบังคับของจำเลยผู้เป็นนายจ้างจะกำหนดว่า ลูกจ้างที่มีข้อผูกพันจะต้องชดใช้ให้แก่จำเลย ให้จำเลยมีสิทธิหักเงินบำเหน็จของลูกจ้างได้ก็ตามการที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์ทำละเมิดได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณาดำเนินการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ และพนักงานอัยการกำลังพิจารณาอยู่ ได้ความเพียงเท่านี้ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีข้อผูกพันที่จะต้องชดใช้เงินแก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะหักเงินบำเหน็จของโจทก์ชำระหนี้แก่จำเลย
of 11