คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประนีประนอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 137 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2715/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์-ยักยอกทรัพย์ระหว่างพี่น้องเป็นความผิดอันยอมความได้ การตกลงประนีประนอมมีผลสร้างหนี้ได้
ความผิดฐานลักทรัพย์ที่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกระทำต่อกัน เป็นความผิดอันยอมความได้ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 71 วรรค 2 ทั้งความผิดฐานยักยอกทรัพย์ก็เป็นความผิดอันยอมความกันได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพี่ไปแจ้งความกล่าวหาว่าจำเลยผู้เป็นน้องทำการลักทรัพย์และยักยอกทรัพย์ของโจทก์ ต่อมามีการตกลงประนีประนอมโดยการทำบันทึกแบ่งทรัพย์สินกันบันทึกตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และถือได้ว่าเป็นบันทึกที่มีมูลหนี้ต่อกันระหว่างโจทก์จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อนาของผู้เช่าเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ แม้มีการเจรจาแต่ยังไม่ตกลงประนีประนอม สิทธิซื้อยังไม่ระงับ
น. ขายนาพิพาทให้แก่จำเลยโดยมิได้แจ้งการขายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าทำนาทราบ โจทก์จึงมีสิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 มาตรา 41
โจทก์ร้องเรียนต่อกรมการอำเภอเพื่อขอซื้อนาพิพาทจากจำเลยกรมการอำเภอบันทึกเปรียบเทียบคดีไว้ว่า "ให้จำเลยขายนาพิพาทแก่โจทก์ จำเลยไม่ตกลงขายแต่ยินยอมให้โจทก์เช่านาทำต่อไป โจทก์ตกลง ถ้าโจทก์ประสงค์จะซื้อนาพิพาทก็ให้ไปฟ้องร้องต่อศาล "และบันทึกข้อตกลงของโจทก์จำเลยไว้ว่าโจทก์ตกลงเช่าทำนาต่อไป จำเลยยอมให้โจทก์เช่าทำนา แต่ยังไม่ยอมขายให้แก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์เสนอ" ดังนี้บันทึกดังกล่าวมีแต่ข้อตกลงเรื่องการเช่านาพิพาทซึ่งแม้จะไม่มีข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิเช่าจากจำเลย ไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ในเรื่องซื้อนาพิพาทและไม่มีข้อความใดแสดงให้เห็นว่าโจทก์สละสิทธิการซื้อนาพิพาทจากจำเลยแต่มีข้อความว่าถ้าโจทก์จะซื้อนาพิพาทก็ให้ไปฟ้องร้องยังศาล ทั้งตอนท้ายบันทึกยังมีว่าผลการเปรียบเทียบไม่อาจตกลงกันได้ตามความประสงค์ของโจทก์ทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าสิทธิของโจทก์ที่จะซื้อนาพิพาทยังตกลงกันไม่ได้ และยังไม่ได้ตกลงประนีประนอมยอมความกัน จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะซื้อนาพิพาทระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2523/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำพิพากษาตามยอม และขอบเขตอำนาจศาลในการบังคับสัญญาประนีประนอม
โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้ศาลมีคำสั่งจับกุมและกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาหลังจากที่มีคำสั่งนัดพร้อม จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยได้ขายที่ดินส่วนของจำเลยให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วหากโจทก์จะถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมอย่างใด ก็ชอบที่จะดำเนินการกับจำเลยในทางอื่น ศาลไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้จำเลยแบ่งที่ดินของจำเลยไว้เพื่อปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันยังคงมีผล แม้มีการลดหนี้และทำสัญญาประนีประนอม เพราะหนี้เดิมยังไม่ระงับ
แม้สัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ ซึ่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งแต่จำเลยได้ให้การและนำสืบรับเข้ามาว่าได้ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจริง ศาลจึงไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานประกอบการพิจารณาคดี
จำเลยค้ำประกัน ธ.ที่ทำงานกับโจทก์100,000บาทธ. ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ โจทก์จำเลยยอมความกัน โจทก์ลดจำนวนเงินลงเหลือ 380,000 บาท ธ.ยอมใช้เงินโดยชำระในวันนั้นส่วนหนึ่งที่เหลือมีน.น้องธ. และภริยาธ. ออกเช็คลงวันล่วงหน้าให้กับทำสัญญาค้ำประกันให้ด้วย โจทก์ถอนคำร้องทุกข์ ศาลจำหน่ายคดีที่ ธ.ถูกฟ้องเรื่องยักยอกเช็คของน.และธ. รับเงินไม่ได้ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันได้ การที่โจทก์ลดหนี้ให้ธ.และธ.ยังไม่ได้ใช้หนี้หนี้เดิมยังไม่ระงับและธ.ไม่ได้สละสิทธิหรือได้สิทธิอะไรจากโจทก์ ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้เดิมยังอยู่ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันเดิมให้จำเลยรับผิด 100,000 บาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2245/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง – การประนีประนอมโดยทนาย – ผลกระทบต่อสิทธิ – ไม่มีอำนาจฟ้อง
ฟ้องว่าโจทก์และ จ.เป็นเจ้าของที่ดินแปลงหนึ่ง ต่อมา จ.ไปแจ้งการครอบครองที่ดินเป็นชื่อ จ. และนำไปขายให้มารดาจำเลยที่ 2 กับสามี แล้วโจทก์ขอซื้อคืนและมอบให้ จ.ไปขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วทำสัญญายกให้โจทก์ ต่อมาจำเลยทั้งสองฟ้องโจทก์และ จ.เรียกที่ดินแปลงนี้คืน โจทก์และ จ. ให้ ส. เป็นทนายความโดยลงชื่อในใบแต่งทนายความที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ ไม่เคยยินยอมให้ทนายความทำการประนีประนอมยอมความ ระหว่างพิจารณาคดี ส.ทนายความและ จ.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้ที่ดินแปลงนี้เป็นของจำเลยทั้งสอง เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่มีผลที่จะบังคับคดีแก่โจทก์ได้ เพราะ จ.มิใช่เจ้าของที่ดินและ ส.ทนายความทำไปโดยพลการ ขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่าง จ.และจำเลยทั้งสองไม่มีผลตามกฎหมายและที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คำฟ้องเช่นนี้โจทก์มิได้แสดงให้ปรากฏในคำฟ้องว่าโจทก์ได้ถูกจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิหรือการกระทำของจำเลยทั้งสองมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของโจทก์แต่อย่างใด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประนีประนอมและผลของการผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ
ประนีประนอมยอมความว่าจำเลยยอมโอนโรงสีกับที่ดิน โจทก์ยอมชำระค่าเช่าซื้อโดยกำหนดชำระเป็นงวดถ้าผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้บังคับคดีตามฟ้องแย้ง ขับไล่และริบเงินได้ทันที จำเลยรับเงินที่วางศาลได้ต่อเมื่อนำ น.ส.3 กับใบมอบอำนาจมาวางศาลก่อนศาลพิพากษาตามยอม ดังนี้ โจทก์ออกเช็คชำระหนี้แต่ลงวันออกเช็คหลังวันที่กำหนดเป็นผิดนัด จำเลยริบเงินและขับไล่ตามฟ้องแย้งได้ข้อที่ให้นำ น.ส.3 กับใบมอบอำนาจมาวางศาลแต่เงื่อนไขในการรับเงินไปจากศาลไม่ทำให้โจทก์ชำระหนี้ล่วงเวลานัดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามข้อตกลงประนีประนอม: ศาลมีอำนาจพิจารณาตามที่แถลงได้โดยไม่ต้องสืบพยานเพิ่มเติม
ประนีประนอมยอมความกำหนดให้จำเลยนำบุตรของโจทก์จำเลยมาอยู่ในกรุงเทพฯ โจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยไม่นำเด็กมาอยู่ในกรุงเทพฯตามยอม ศาลสอบถามจำเลยๆแถลงว่าวันที่โจทก์ว่าเด็กไม่อยู่ที่กรุงเทพฯนั้นจำเลยนำเด็กไปอยู่ต่างจังหวัดเพราะมีคนป่วยเป็นโรคตาแดงติดต่อจำเลยนำเด็กกลับมาอยู่กรุงเทพฯ แล้วหลังจากวันนั้น 11 วัน โจทก์ไม่แถลงคัดค้านอย่างใด ดังนี้ เป็นการที่ศาลไต่สวนคำร้องแล้วและฟังว่าจำเลยไม่ได้ปฏิบัติผิดจากยอมความเป็นอำนาจของศาลที่จะตรวจสอบหรือสืบพยานหลักฐานต่อไปหรือไม่ไม่จำต้องสืบพยานต่อไปก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมไม่กระทบสิทธิในสัญญาจะซื้อขายเดิม และฟ้องไม่เคลือบคลุม
โจทก์จำเลยตกลงยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารที่ทางอำเภอเปรียบเทียบโดยขอรับสัญญาจะซื้อขายที่ดินไปดำเนินการกันทางศาลต่อไป ดังนั้นสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวจึงไม่ระงับ โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา และเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุจำเลยผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายได้
จำเลยฎีกาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายความ ถึงแม้ว่าชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์ในข้อนี้ แต่ก็ปรากฏว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความผิดกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเลิกบริษัท: นิติบุคคลต่างหากจากผู้ก่อตั้ง สัญญาประนีประนอมผูกพันเฉพาะคู่สัญญา
โจทก์ที่ 1 ในฐานะส่วนตัวและฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ที่ 2 กับ ส. และพวกทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงกันจะก่อตั้งบริษัทขึ้นใหม่อีกบริษัทหนึ่ง เพื่อประกอบกิจการเดินรถแทนบริษัทโจทก์ที่ 2 ต่อมา ส. กับพวกได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นใหม่ เป็นบริษัทจำเลยโดยโจทก์มิได้ร่วมก่อตั้งด้วย ดังนี้ บริษัทจำเลยเป็นนิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นตามกฎหมาย มีสิทธิและหน้าที่ของตนเองต่างหากจากผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท และมิได้เป็นคู่สัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเพื่อขอให้เลิกบริษัทโดยอาศัยข้อตกลงในสัญญาฉบับนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์หรือไม่: การฟ้องเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและแบ่งมรดกเพื่อเรียกทรัพย์คืน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาแบ่งมรดก เป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทเป็นคดีมีทุนทรัพย์
แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์จึงไม่ได้หมายเรียกจำเลยให้มาแก้คดี แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องไว้พิจารณาจำเลยฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247
of 14