พบผลลัพธ์ทั้งหมด 752 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9634/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธุระจัดหาหรือชักพาเพื่อการอนาจาร แม้ผู้ถูกกระทำยินยอม ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 282
จำเลยบอกว่ามีคู่ชายหญิงพร้อมจะแลกเปลี่ยนคู่นอน แต่ต้องสมัครเป็นสมาชิก โดยเสียเงินค่าสมาชิก พร้อมทั้งนำหลักฐานคือทะเบียนสมรสและทะเบียนบ้านมาแสดง การที่จำเลยได้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารมาโดยตลอด แสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งลามกอนาจารอันขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดีของประชาชน และจำเลยเป็นผู้ติดต่อชักชวนให้สมาชิกมาพบกันเพื่อมีการตกลงแลกเปลี่ยนคู่นอนกับสายลับของเจ้าพนักงานตำรวจ แม้สมาชิกจะตกลงยินยอมตามความสมัครใจกันเอง การกระทำของจำเลยก็ถือว่าเป็นธุระจัดหาหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงแม้หญิงนั้นจะยินยอมก็ตามอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 ทวิ ว่าเป็นบทกำหนดโทษหนักกว่ากึ่งหนึ่ง ไม่ใช่บทเพิ่มโทษ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติ ถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, 335,335 ทวิ หรือมาตรา 336 ต้องระวางโทษ หนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่งเท่านั้น หาใช่เป็นบทบัญญัติเรื่องของการเพิ่มโทษเหมือนเช่นที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 และมาตรา 93 ไม่ การที่ศาลพิพากษากำหนดโทษจำคุกจำเลยและเพิ่มโทษกึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 336 ทวิ นั้น จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7111/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 กรณีโทษจำคุกเกินสองปี
ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษที่ลงหลังจากลดโทษแล้ว จำคุก 2 ปี 3 เดือนกรณีจึงไม่อาจรอการลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6564/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจสั่งงดจ่ายเงินเดือนย่อมไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จะต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นเองโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่ง ผู้ใดหรือโดยทุจริต ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็น ความผิดตามมาตรานี้ อำนาจหน้าที่ในการสั่งงดจ่ายเงินเดือนของข้าราชการตำรวจเป็นอำนาจหน้าที่ของ กรมตำรวจหรือผู้ที่กรมตำรวจมอบหมายโดยตรง ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับ มอบหมายให้มีหน้าที่สั่งงดจ่ายเงินเดือนข้าราชการตำรวจ แม้จำเลยที่ 1 ทำบันทึกเสนอต่อ ผู้บังคับบัญชาในการที่โจทก์ขาดราชการเกินกว่า 15 วัน และเสนอความเห็นให้มีคำสั่งให้ โจทก์ออกจากราชการ และการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 สั่งไม่ให้เจ้าหน้าที่การเงินจ่ายเงินเดือนให้ โจทก์ก็เพราะเหตุที่เชื่อว่าโจทก์ละทิ้งราชการหรือหนีราชการ ประกอบกับในทางปฏิบัติ กองบัญชาการตำรวจนครบาลเป็นผู้จ่ายเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนให้แก่สถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง จำเลยที่ 1 เป็นเพียงผู้ขอเบิกรับเงินไป หากมีเงินส่งคืนก็จะบันทึก เหตุผลในการส่งคืนไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งงดจ่ายเงินเดือนข้าราชการตำรวจทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีเจตนาที่จะกลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น จึงไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกในคดีปล้นทรัพย์หลายกรรม หากความผิดไม่เกี่ยวพันกัน ไม่จำกัดตามมาตรา 91(3) ป.อ.
คดีที่จะอยู่ภายใต้บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ซึ่งมีการจำกัดในการลงโทษในความผิดหลายกรรม เมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 50 ปี นั้นจะต้องเป็นคดีที่โจทก์สามารถฟ้องความผิดที่จำเลยกระทำเป็นคดีเดียวกัน หรือสามารถรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้เนื่องจากลักษณะความผิดที่กระทำนั้นเกี่ยวพันกันแม้คดีทั้งห้าสำนวนที่จำเลยถูกฟ้องจะเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ทุกคดี แต่ปรากฏว่าผู้เสียหายแต่ละคดีมิใช่ผู้เสียหายรายเดียวกัน ทั้งสถานที่เกิดเหตุแต่ละคดีต่างสถานที่กันพยานหลักฐานแต่ละคดีจึงมิใช่พยานหลักฐานชุดเดียวกัน และการกระทำผิดของจำเลยไม่เกี่ยวพันกัน คดีทั้งห้าสำนวนจึงไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ กรณีจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 91(3) ในเรื่องการจำกัดระยะเวลาในการลงโทษจำคุกศาลมีอำนาจลงโทษจำคุกจำเลยโดยนับโทษติดต่อกันเกินกว่า 50 ปีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับและการกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30
ศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 60 บาทแต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 บัญญัติว่า ในการกักขังแทนค่าปรับให้ถืออัตรา 70 บาท ต่อหนึ่งวัน ฉะนั้น การบังคับค่าปรับจึงกักขังแทนค่าปรับไม่ได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30จึงเป็นการไม่ถูกต้อง เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามมาตรา 29แต่ประการเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินสดที่ได้จากการจำหน่ายยาเสพติด แม้มิได้ฟ้องฐานจำหน่ายโดยตรง ศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.33(2)
วันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสองและยึดเฮโรอีนกับสิ่งของอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเลยที่ 1ใช้แบ่งบรรจุเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายกับเงินสดของกลางที่จำเลยที่ 2 มาขอซื้อเฮโรอีนและส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 1 ไว้ก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าจับกุมจำเลย ดังนี้ เงินสดของกลางจึงเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มาโดยได้กระทำความผิดเพราะการจำหน่ายเฮโรอีนซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทั้งคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสอง ในข้อหาผลิตเฮโรอีนและมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแม้เงินสดของกลางจะไม่ถือเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือวัตถุอื่น ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ฯลฯ อันศาลจะมีอำนาจริบได้ ตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นบทเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อเงินสดของกลางจำเลยที่ 1 ได้มาโดยการจำหน่ายเฮโรอีน จึงเป็นเงินที่ได้มาจากการ กระทำผิดโดยตรง ศาลย่อมก็มีอำนาจริบเงินสดของกลางนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์: ความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(10) วรรคสามปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ แม้จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 สัญญาณโทรศัพท์เป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งจำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งอยู่ ในความครอบครองขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กและการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 277วรรคแรก ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยและผู้เสียหายสมรสกันโดยบิดามารดาผู้เสียหายอนุญาต ดังนั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ.มาตรา 277 วรรคท้าย โดยศาลยกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา185, 215, 225
ป.อ.มาตรา 317 มิได้จำกัดว่าการพรากเด็กจะต้องกระทำโดยวิธีการอย่างใด แม้เด็กจะมีรูปร่างใหญ่โตแต่อายุไม่เกิน 15 ปี และเด็กเต็มใจไปด้วยก็ตามก็เป็นความผิด และต้องเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรการที่เด็กอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาของบิดามารดา โดยบิดามารดามีอำนาจปกครองและมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรนั้น เมื่อจำเลยพาเด็กไปถือเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรเป็นความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรก แล้วส่วนการที่จำเลยกับผู้เสียหายรักกันด้วยความสุจริตใจต่างมีเจตนาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา การกระทำของจำเลยขาดเจตนาเพื่อการอนาจาร จึงไม่เป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 317 วรรคสาม
ป.อ.มาตรา 317 มิได้จำกัดว่าการพรากเด็กจะต้องกระทำโดยวิธีการอย่างใด แม้เด็กจะมีรูปร่างใหญ่โตแต่อายุไม่เกิน 15 ปี และเด็กเต็มใจไปด้วยก็ตามก็เป็นความผิด และต้องเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรการที่เด็กอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาของบิดามารดา โดยบิดามารดามีอำนาจปกครองและมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรนั้น เมื่อจำเลยพาเด็กไปถือเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรเป็นความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรก แล้วส่วนการที่จำเลยกับผู้เสียหายรักกันด้วยความสุจริตใจต่างมีเจตนาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา การกระทำของจำเลยขาดเจตนาเพื่อการอนาจาร จึงไม่เป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขู่เข็ญบังคับข่มขู่ทำให้เกิดความกลัว ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392
ขณะที่ผู้เสียหายอยู่ในบ้านกับเด็กหญิงจิราพรบุตรสาว จำเลยที่ 1มาร้องเรียกผู้เสียหายที่หน้าบ้านว่า "เฮ้ยมึงไม่แน่จริงนี่หว่า เฮ้ยถ้ามึงแน่จริงมึงออกมาซิวะ มึงทำไมไม่ออกมาวะ ออกมาโดนแน่" ขณะนั้นจำเลยที่ 2 ยืนอยู่หน้าบ้านตนเองซึ่งอยู่เยื้องบ้านผู้เสียหาย พูดว่า "ให้มันอยู่แต่ในบ้าน อย่าให้มันออกมา ถ้ามันออกมาเอาแม่มันเลย" คำพูดของจำเลยทั้งสอง ดังกล่าวประกอบการกระทำและสถานที่ เป็นการบังคับขู่เข็ญไม่ให้ผู้เสียหายออกไปจากบ้าน หากขืนออกไปจะถูกจำเลยทั้งสองทำร้าย หาใช่เป็นเพียงคำท้าให้ออกไปต่อสู้กันเท่านั้นไม่ เมื่อผู้เสียหายเกิดความกลัว หรือความตกใจโดยการขู่เข็ญ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 392