คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 560 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5280/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากเจตนาเป็นประมาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากจำเลยไม่ได้โต้แย้งชัดเจน
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายตาม ป.อ.มาตรา 225 ที่จำเลยฎีกาเพียงว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างไร ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยมีเจตนาจุดไฟเผากิ่งมะนาวแห้งในสวนมะนาวของบิดาจำเลย จนเป็นเหตุให้เกิดเพลิงลุกลามไหม้โรงเรือนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมทั้งสอง ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 220จำเลยให้การปฏิเสธ และนำสืบต่อสู้ทำนองว่า เหตุที่เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนที่อยู่อาศัยของโจทก์ร่วมทั้งสองมิใช่การกระทำของจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย แต่เป็นการกระทำโดยประมาท จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย ตาม ป.อ.มาตรา 225 ดังนี้ เป็นกรณีตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสาม ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ โดยมิให้ถือว่าต่างกันในสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษแล้ว ไม่เข้ากรณีตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสี่ จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5280/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากเจตนาเป็นประมาท ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 192 วรรคสาม
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 225ที่จำเลยฎีกาเพียงว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างไร ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยมีเจตนาจุดไฟเผากิ่งมะนาวแห้งในสวนมะนาวของบิดาจำเลย จนเป็นเหตุให้เกิดเพลิงลุกลามไหม้โรงเรือนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมทั้งสอง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 จำเลยให้การปฏิเสธ และนำสืบต่อสู้ทำนองว่า เหตุที่เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนที่อยู่อาศัยของโจทก์ร่วมทั้งสองมิใช่การกระทำของจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย แต่เป็นการกระทำโดยประมาท จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 225 ดังนี้ เป็นกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสามซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ โดยมิให้ถือว่าต่างกันในสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษแล้ว ไม่เข้ากรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมาททางจราจร: การเลี้ยวขวาที่สี่แยกต้องรอสัญญาณไฟลูกศรหรือไฟแดงก่อนจึงปลอดภัย
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 51 ข้อ 2(จ) ใช้บังคับแก่ผู้ขับขี่ในทางเดินรถโดยทั่วไปที่ทางเดินรถนั้นไม่มีสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรปรากฏอยู่ข้างหน้า เมื่อตรงสี่แยกที่เกิดเหตุขณะเกิดเหตุมีสัญญาณไฟจราจรเปิดอยู่ การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าไม่มีสัญญาณไฟจราจรที่สี่แยกเกิดเหตุอันเป็นการขัดต่อพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบในสำนวนและนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาปรับกับบทบัญญัติมาตรา 51 ข้อ 2(จ) อันเป็นการปรับบทกฎหมายที่มิชอบและเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แล้วชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(3)(ก) ประกอบมาตรา 247
สี่แยกที่เกิดเหตุมีสัญญาณไฟจราจรเปิดอยู่ เมื่อไม่มีสัญญาณจราจรไฟลูกศรสีเขียวชี้ให้เลี้ยวขวาในขณะเกิดเหตุจำเลยจึงไม่อาจเลี้ยวขวาได้ทันที โดยจำเลยจะต้องรอให้สัญญาณไฟจราจรทางตรงเป็นไฟแดงเสียก่อนแล้วเลี้ยวไปจึงจะปลอดภัยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 22(4) การที่จำเลยขับรถเลี้ยวขวาตัดหน้ารถยนต์ที่ จ. ขับในระยะกระชั้นชิดขณะที่ จ. ขับสวนทางมาในทางตรงตามสัญญาณไฟจราจรสีเขียวและชนกับรถยนต์ที่ จ. ขับ จำเลยจึงเป็นฝ่ายประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2589/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจน การบรรยายถึงการกระทำประมาทของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุโจทก์ขับรถมายังตัวเมืองบุรีรัมย์ โดยขับรถมาตามถนนสายบุรีรัมย์ - สตึก จำเลยที่ 3 ได้ขับรถจักรยานยนต์โดยประมาท ปราศจากความระมัดระวังซึ่งวิญญูชนพึงมีโดยวิสัยและพฤติการณ์ได้ชนรถยนต์ของโจทก์ขณะที่โจทก์ขับอยู่บนเส้นทางของตนและด้วยความระมัดระวังดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้ความเพียงว่า ขณะเกิดเหตุโจทก์ขับรถยนต์อยู่บนเส้นทางของตนด้วยความระมัดระวังเท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์อยู่ในเส้นทางใด และขับอย่างไร อันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อโจทก์มิได้บรรยายไว้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองจึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบต้องอยู่ภายใต้กรอบคำฟ้อง หากโจทก์มิได้บรรยายถึงการประมาทของจำเลย การนำสืบในส่วนดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำโดยประมาทขับรถล้ำเส้นแบ่งกลางถนนเข้าไปชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับในช่องเดินรถของผู้ตายแต่อย่างใด การที่โจทก์ร่วมนำสืบไปในทำนองเช่นนั้นจึงเป็นการนำสืบนอกคำฟ้องไม่อาจรับฟังได้
ผู้ตายเป็นฝ่ายขับรถจักรยานยนต์ล้ำเส้นแบ่งกลางถนนเข้ามาชนกับรถยนต์กระบะที่จำเลยขับในช่องเดินรถของจำเลย เมื่อไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง ย่อมไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมาทในการขับรถ: การนำสืบต้องเป็นไปตามฟ้อง หากไม่ปรากฎการประมาทของจำเลย ศาลต้องยกฟ้อง
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำโดยประมาทขับรถล้ำเส้นแบ่งกลางถนนเข้าไปชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับในช่องเดินรถของผู้ตายแต่อย่างใดการที่โจทก์ร่วมนำสืบไปในทำนองเช่นนั้นจึงเป็นการนำสืบนอกคำฟ้องไม่อาจรับฟังได้ ผู้ตายเป็นฝ่ายขับรถจักรยานยนต์ล้ำเส้นแบ่งกลางถนนเข้ามาชนกับรถยนต์กระบะที่จำเลยขับในช่องเดินรถของจำเลยเมื่อไม่ปรากฎจากการนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องย่อมไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการประมาท: การหักเงินชดใช้แล้วออกจากค่าเสียหายที่เรียกร้องเพื่อป้องกันการซ้ำซ้อน
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์โดยประมาทและจำเลยที่ 2 นายจ้างของจำเลยที่ 1 ร่วมกันชำระค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ได้ประนีประนอม-ยอมความกับโจทก์ทั้งสองโดยจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ทั้งสองเป็นเงิน300,000 บาท แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง ในวันนัดสืบพยานโจทก์โจทก์ทั้งสองแถลงว่า ได้รับเงินเพื่อบรรเทาความเสียหายจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน300,000 บาท แต่ไม่ใช่เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนี้จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงไม่จำต้องนำพยานเข้าสืบว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงิน 300,000 บาทให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้วอีก เมื่อคดีมีประเด็นเพียงว่าได้มีการทำสัญญาประนีประนอม-ยอมความกันแล้วหรือไม่ และศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่ได้เป็นการทำสัญญาประนีประนอม-ยอมความกัน แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1และที่ 2 แต่ต้องหักเงิน 300,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้วออกจากค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ทั้งสองฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ชดใช้แก่โจทก์ทั้งสองมีผลมาจากการที่จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความประมาทอันเป็นความผิดอาญา ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้แก่โจทก์ทั้งสองเพื่อบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ทั้งสอง แม้จะไม่ครบถ้วนตามจำนวนเงินค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ก็ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้รับเงินชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ส่วนหนึ่งแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าเสียหายส่วนที่ตนได้รับชดใช้แล้วได้อีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน การที่ศาลอุทธรณ์ให้นำเงินดังกล่าวมาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ทั้งสองชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยความผิดฐานวางเพลิง ต้องพิจารณาเจตนาหรือความประมาท และผลกระทบต่อทรัพย์สินผู้อื่น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์ของจำเลยกับภริยาและไหม้ทรัพย์ของบุคคลอื่นด้วย ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 218, 220จำเลยให้การและนำสืบรับว่าได้ทำให้เกิดเพลิงไหม้จริง แต่เกิดจากความประมาทและข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าเพลิงไหม้ทรัพย์ของบุคคลอื่นด้วย ดังนี้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำโดยเจตนา จำเลยย่อมมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 220วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 220 วรรคสอง แล้วแต่กรณี แต่หากจำเลยกระทำโดยประมาทก็ย่อมมีความผิดตามมาตรา 225 ซึ่งศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา192 วรรคสาม ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้โต้เถียงเรื่องเพลิงไหม้ทรัพย์ของผู้อื่นด้วยเพียงแต่อ้างว่าเพลิงไหม้เกิดจากความประมาทของจำเลยเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยกระทำโดยเจตนาหรือประมาทตามที่จำเลยอุทธรณ์แต่กลับวินิจฉัยเพียงว่า ทรัพย์ที่จำเลยทำให้เกิดเพลิงไหม้จำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย จำเลยจึงไม่มีความผิด โดยไม่ได้วินิจฉัยกรณีที่การกระทำของจำเลยทำให้เพลิงไหม้ทรัพย์ของผู้อื่นด้วยและพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเพลิงไหม้ทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น ศาลต้องวินิจฉัยทั้งเจตนาและประมาท
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์ของจำเลยกับภริยาและไหม้ทรัพย์ของบุคคลอื่นด้วย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218,220 จำเลยให้การและนำสืบรับว่าได้ทำให้เกิดเพลิงไหม้จริง แต่เกิดจากความประมาทและข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าเพลิงไหม้ทรัพย์ของบุคคลอื่นด้วยดังนี้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำโดยเจตนา จำเลยย่อมมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 วรรคหนึ่งหรือมาตรา 220 วรรคสอง แล้วแต่กรณี แต่หากจำเลยกระทำโดยประมาทก็ย่อมมีความผิดตามมาตรา 225 ซึ่งศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสามในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้โต้เถียงเรื่องเพลิงไหม้ทรัพย์ของผู้อื่นด้วยเพียงแต่อ้างว่าเพลิงไหม้เกิดจากความประมาทขอจำเลยเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยกระทำโดยเจตนาหรือประมาทตามที่จำเลยอุทธรณ์แต่กลับวินิจฉัยเพียงว่า ทรัพย์ที่จำเลยทำให้เกิดเพลิงไหม้จำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย จำเลยจึงไม่มีความผิด โดยไม่ได้วินิจฉัยกรณีที่การกระทำของจำเลยทำให้เพลิงไหม้ทรัพย์ของผู้อื่นด้วยและพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9084/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ปกครองต่อการกระทำละเมิดของผู้เยาว์ กรณีประมาทขับรถชน
จำเลยที่ 2 เป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้เยาว์ การที่จำเลยที่ 1 ไปกระทำละเมิดต่อผู้อื่น จะนำ ป.พ.พ.มาตรา429 มาปรับใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับการที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดด้วยหรือไม่ไม่ได้ แต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ปกครองดูแลจำเลยที่ 1 ต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 430มาปรับใช้บังคับ ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ศาลจึงนำ ป.พ.พ.มาตรา 430 มาใช้บังคับให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ได้โดยชอบ
จากพยานหลักฐานในคดีนี้ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในสำนวนว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 2 และที่ 3 เคยยอมโดยปริยายให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปที่ไร่ที่กิ่งอำเภอวังจันทร์ โดยไม่เคยว่ากล่าวตักเตือนจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงมาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ แม้คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท ซึ่งคู่ความต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนนี้ใหม่ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3)(ก), 247
จำเลยที่ 2 เป็นผู้บอกจำเลยที่ 3 ให้นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ขับรถไม่ค่อยเป็นไม่สามารถขับรถยนต์ออกถนนใหญ่ได้ ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ทราบดีและยังทราบว่าจำเลยที่ 1 เคยขับรถยนต์ไปที่ไร่ที่กิ่งอำเภอวังจันทร์ด้วย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจำเลยที่ 2 และที่ 3 ควรจะเก็บกุญแจรถยนต์จิ๊ปไว้ในที่ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำออกไปใช้ได้ การที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 3 นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่ 3 ซึ่งไม่ได้ใส่กุญแจในขณะที่จำเลยที่ 3ขายของ จนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 แอบหยิบเอากุญแจไปใช้ขับรถยนต์จิ๊ปโดยประมาทชนรถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลจำเลยที่ 1 บุตรผู้เยาว์ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1ในการทำละเมิดต่อโจทก์
of 56