พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบและการประวิงคดี ศาลมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้หากพยานหลักฐานในสำนวนชัดเจน
การร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27วรรคหนึ่งเป็นอำนาจของศาลที่จะทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรตามมาตรา21(4)แต่ถ้าข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้งว่ามิได้มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบศาลย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องเพราะเหตุผู้ร้องไม่ไปศาลตามนัดโดยถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจสืบพยานตามที่ศาลได้กำชับไว้แล้วเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยวิธีพิจารณาในศาลชั้นต้นมิได้มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2072/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์และการวางเงินประกันความเสียหาย: ศาลมีอำนาจสั่งวางเงินเพื่อคุ้มครองโจทก์หากคำร้องขัดทรัพย์ไม่มีมูลและมีเจตนาประวิงคดี
การร้องขัดทรัพย์ถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการฟ้องคดีซึ่งเริ่มด้วยการยื่นคำร้องขอตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องคือตามราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้
ที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดเจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้เป็นเงิน2,083,800 บาท คำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องอ้างว่าที่ดินพิพาทมีราคา 425,000 บาทก็ไม่ปรากฏเหตุผลในคำร้องว่าอาศัยหลักอะไรในการตีราคาเช่นนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ 2,083,800 บาท ภายใน 30 วันแม้ผู้ร้องจะยื่นคำคัดค้านไว้ แต่ต่อมาผู้ร้องก็แถลงขอขยายระยะเวลาชำระค่าขึ้นศาลที่ขาดอยู่ออกไปถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2537 หากถึงวันนัดยังไม่สามารถนำเงินมาวางศาลได้ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจร้องขัดทรัพย์ อันเป็นการยอมรับจำนวนทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติ ดังนั้น เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่ชำระค่าขึ้นศาลที่ขาดอยู่เช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่นำเงินค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาวางศาลตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2)
เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องขัดทรัพย์ไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงคดีให้ชักช้าโดยมีหลักฐานสนับสนุนอยู่ในสำนวนแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้ร้องขัดทรัพย์วางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.พ.ความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) ได้
คดีนี้คำร้องของโจทก์อ้างว่า หากผู้ร้องและจำเลยที่ 3 ตกลงซื้อขายและกรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ร้องจริงก็ย่อมจะปรากฏในสารบาญโฉนดที่ดินทั้งราคาซื้อขายที่ผู้ร้องอ้างมาก็ต่ำกว่าที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทประกันหนี้โจทก์ คำร้องของผู้ร้องจึงไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ยื่นคำร้องให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหายเพราะเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดี ผู้ร้องได้รับสำเนาแล้วแถลงว่า แล้วแต่ศาลจะพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วน่าเชื่อว่าพยานหลักฐานเบื้องต้นมีเหตุตามคำร้องของโจทก์ จึงให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหายจำนวน 200,000 บาท ภายใน 30 วัน คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 288 วรรคสอง (1) และเมื่อจำนวนเงินที่วางประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นจำนวนที่สมควร เมื่อผู้ร้องไม่วางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้
ที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดเจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้เป็นเงิน2,083,800 บาท คำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องอ้างว่าที่ดินพิพาทมีราคา 425,000 บาทก็ไม่ปรากฏเหตุผลในคำร้องว่าอาศัยหลักอะไรในการตีราคาเช่นนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ 2,083,800 บาท ภายใน 30 วันแม้ผู้ร้องจะยื่นคำคัดค้านไว้ แต่ต่อมาผู้ร้องก็แถลงขอขยายระยะเวลาชำระค่าขึ้นศาลที่ขาดอยู่ออกไปถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2537 หากถึงวันนัดยังไม่สามารถนำเงินมาวางศาลได้ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจร้องขัดทรัพย์ อันเป็นการยอมรับจำนวนทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติ ดังนั้น เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่ชำระค่าขึ้นศาลที่ขาดอยู่เช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่นำเงินค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาวางศาลตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2)
เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องขัดทรัพย์ไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงคดีให้ชักช้าโดยมีหลักฐานสนับสนุนอยู่ในสำนวนแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้ร้องขัดทรัพย์วางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.พ.ความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) ได้
คดีนี้คำร้องของโจทก์อ้างว่า หากผู้ร้องและจำเลยที่ 3 ตกลงซื้อขายและกรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ร้องจริงก็ย่อมจะปรากฏในสารบาญโฉนดที่ดินทั้งราคาซื้อขายที่ผู้ร้องอ้างมาก็ต่ำกว่าที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทประกันหนี้โจทก์ คำร้องของผู้ร้องจึงไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ยื่นคำร้องให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหายเพราะเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดี ผู้ร้องได้รับสำเนาแล้วแถลงว่า แล้วแต่ศาลจะพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วน่าเชื่อว่าพยานหลักฐานเบื้องต้นมีเหตุตามคำร้องของโจทก์ จึงให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหายจำนวน 200,000 บาท ภายใน 30 วัน คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 288 วรรคสอง (1) และเมื่อจำนวนเงินที่วางประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นจำนวนที่สมควร เมื่อผู้ร้องไม่วางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9145/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีและการงดการสืบพยานเนื่องจากพยานไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นที่สืบ
ในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก จำเลยอ้างตนเองเป็นพยานเข้าสืบได้ 1 ปาก แล้วแถลงว่า พยานอื่นไม่มาศาลโดยไม่ทราบเหตุขัดข้อง ขอเลื่อนหากนัดหน้ามีพยานมาศาลเพียงใดก็ติดใจสืบเพียงเท่าที่มาศาล ครั้นถึงวันนัด ต่อมาจำเลยนำพยานเข้าสืบได้ 1 ปาก แล้วแถลงว่ายังติดใจสืบพยานที่เหลือนัดหน้าหากพยานมาศาลเท่าใดก็จะติดใจสืบเท่าที่มาศาล ศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม อนุญาตให้สืบพยานจำเลยต่อไปอีกตามที่ขอโดยกำชับว่านัดหน้ามีพยานมาเท่าใดก็จะสืบเพียงเท่านั้น ครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยขอถอนตัว จำเลยแถลงว่ายังหาทนายคนใหม่ไม่ได้ ประกอบกับพยานที่ขอหมายเรียกไว้ไม่มาศาลขอเลื่อน ศาลชั้นต้นเห็นควรให้โอกาสจำเลยอีกนัดหนึ่งโดยกำชับให้แต่งทนายคนใหม่เข้ามาให้พร้อมและหากมีพยานมาศาลเพียงใดก็ให้สืบเพียงเท่านั้น จะไม่ให้เลื่อนคดีไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ อีก ครั้นถึงวันนัด สืบพยานจำเลยได้อีก 1 ปาก แล้วจำเลยแถลงขอเลื่อนและส่งประเด็นไปสืบ บ.ให้ที่ศาลจังหวัดปากพนัง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุอันควรที่จะอนุญาตอีก ดังนั้น จำเลยไม่ปฏิบัติตามที่ได้แถลงไว้ต่อศาลตามที่ศาลชั้นต้นกำชับไว้ โดยมีพฤติการณ์ส่อไปในทางประวิงคดีให้ชักช้า ทั้งเอกสารในคดีอาญาที่จำเลยอ้างก็เป็นเอกสารในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง อ.ในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คซึ่งโจทก์เป็นผู้เสียหายในคดีดังกล่าว จำเลยก็ได้นำ อ.มาเบิกความเป็นพยานในคดีนี้แล้ว ส่วน ว. และบ.ให้นั้นจำเลยประสงค์จะนำสืบเพียงว่าเป็นผู้ที่ อ.แนะนำให้กู้เงินจาก ม.ด้วยหาได้รู้เห็นในการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยกับ ม.แต่อย่างใดไม่ ไม่สามารถยืนยันได้ว่า สัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ที่โจทก์นำมาฟ้องคือสัญญากู้เงินที่จำเลยทำไว้กับ ม.ใช่หรือไม่ จึงไม่ได้เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 95 (2) ศาลจึงมีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นเสียได้ตามมาตรา 86 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9145/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติมเนื่องจากจำเลยประวิงคดีและพยานที่เสนอไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อพิพาท
ในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรกจำเลยอ้างตนเองเป็นพยานเข้าสืบได้1ปากแล้วแถลงว่าพยานอื่นไม่มาศาลโดยไม่ทราบเหตุขัดข้องขอเลื่อนหากนัดหน้ามีพยานมาศาลเพียงใดก็ติดใจสืบเพียงเท่าที่มาศาลครั้นถึงวันนัดต่อมาจำเลยนำพยานเข้าสืบได้1ปากแล้วแถลงว่ายังติดใจสืบพยานที่เหลือนัดหน้าหากพยานมาศาลเท่าใดก็จะติดใจสืบเท่าที่มาศาลศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมอนุญาตให้สืบพยานจำเลยต่อไปอีกตามที่ขอโดยกำชับว่านัดหน้ามีพยานมาเท่าใดก็จะสืบเพียงเท่านั้นครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยขอถอนตัวจำเลยแถลงว่ายังหาทนายคนใหม่ไม่ได้ประกอบกับพยานที่ขอหมายเรียกไว้ไม่มาศาลขอเลื่อนศาลชั้นต้นเห็นควรให้โอกาสจำเลยอีกนัดหนึ่งโดยกำชับให้แต่งทนายคนใหม่เข้ามาให้พร้อมและหากมีพยานมาศาลเพียงใดก็ให้สืบเพียงเท่านั้นจะไม่ให้เลื่อนคดีไม่ว่าด้วยเหตุใดๆอีกครั้นถึงวันนัดสืบพยานจำเลยได้อีก1ปากแล้วจำเลยแถลงขอเลื่อนและส่งประเด็นไปสืบบ. ให้ที่ศาลจังหวัดปากพนัง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุอันควรที่จะอนุญาตอีกดังนั้นจำเลยไม่ปฏิบัติตามที่ได้แถลงไว้ต่อศาลตามที่ศาลชั้นต้นกำชับไว้โดยมีพฤติการณ์ส่อไปในทางประวิงคดีให้ชักช้าทั้งเอกสารในคดีอาญาที่จำเลยอ้างก็เป็นเอกสารในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องอ. ในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คซึ่งโจทก์เป็นผู้เสียหายในคดีดังกล่าวจำเลยก็ได้นำอ. มาเบิกความเป็นพยานในคดีนี้แล้วส่วนว. และบ. ให้นั้นจำเลยประสงค์จะนำสืบเพียงว่าเป็นผู้ที่อ. แนะนำให้กู้เงินจากม. ด้วยหาได้รู้เห็นในการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยกับม. แต่อย่างใดไม่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าสัญญากู้เงินเอกสารหมายจ.1ที่โจทก์นำมาฟ้องคือสัญญากู้เงินที่จำเลยทำไว้กับม. ใช่หรือไม่จึงไม่ได้เป็นผู้ที่ได้เห็นได้ยินหรือทราบข้อความในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา95(2)ศาลจึงมีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นเสียได้ตามมาตรา86วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดแจ้ง – ประวิงคดี – ไม่อนุญาตเลื่อน
ข้อความที่โจทก์กล่าวมาในฎีกาเป็นไปในทำนองเดียวกับที่จำเลยกล่าวไว้ในอุทธรณ์อันเป็นการโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยไว้โดยละเอียดแล้ว ข้อความที่โจทก์กล่าวมาดังกล่าวไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบอย่างไร และที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ขอเลื่อนการพิจารณาโดยขาดเหตุผลอันสมควรหลายครั้งหลายหน ทั้งในการขอเลื่อนการพิจารณาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2532 โจทก์ก็ไม่ได้อ้างและแสดงให้เป็นที่พอใจของศาลได้ว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์ประวิงคดีให้ชักช้าและไม่อนุญาตให้เลื่อนการพิจารณาอีก จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่ง แล้ว
โจทก์ขอเลื่อนการพิจารณาโดยขาดเหตุผลอันสมควรหลายครั้งหลายหน ทั้งในการขอเลื่อนการพิจารณาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2532 โจทก์ก็ไม่ได้อ้างและแสดงให้เป็นที่พอใจของศาลได้ว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์ประวิงคดีให้ชักช้าและไม่อนุญาตให้เลื่อนการพิจารณาอีก จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่ง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนการพิจารณาคดีซ้ำๆ และการไม่แสดงเหตุผลอันสมควร ศาลมีสิทธิไม่อนุญาตให้เลื่อนได้
ข้อความที่โจทก์กล่าวมาในฎีกาเป็นไปในทำนองเดียวกับที่จำเลยกล่าวไว้ในอุทธรณ์อันเป็นการโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยไว้โดยละเอียดแล้วข้อความที่โจทก์กล่าวมาดังกล่าวไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบอย่างไรและที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ขอเลื่อนการพิจารณาโดยขาดเหตุผลอันสมควรหลายครั้งหลายหนทั้งในการขอเลื่อนการพิจารณาเมื่อวันที่15มิถุนายน2532โจทก์ก็ไม่ได้อ้างและแสดงให้เป็นที่พอใจของศาลได้ว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรมดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ประวิงคดีให้ชัดช้าและไม่อนุญาตให้เลื่อนการพิจารณาอีกจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา40วรรคหนึ่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีและการแก้ไขเช็คพิพาท: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ระหว่างนัดสืบพยานโจทก์จำเลยขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุเจ็บป่วยมาหลายนัดและในการอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีที่แล้วมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำชับจำเลยและกำหนดเงื่อนไขการเลื่อนคดีของจำเลยในเหตุเจ็บป่วยหากจะมีอีกไว้แล้วแต่จำเลยไม่นำพาจะปฏิบัติตามพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ศาลกำชับไว้เป็นการประวิงคดีศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะมีคำสั่งว่าจำเลยประวิงคดีแม้จะเป็นคำสั่งในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรกก็ตาม การแก้ไขจำนวนเงินในเช็คพิพาทที่เป็นตัวเลขให้ตรงกับจำนวนเงินที่เป็นตัวอักษรโดยไม่ทราบเจตนาของจำเลยผู้สั่งจ่ายไม่ใช่การแก้ไขที่เป็นสาระสำคัญที่ทำให้เช็คพิพาทเสียไปตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1007วรรคหนึ่งเพราะแม้ไม่มีการแก้ไขจำเลยก็ต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่เป็นตัวอักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา12อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8178/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องขอตั้งผู้จัดการประกอบกิจการพาณิชย์ - พฤติการณ์ประวิงคดี
นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 เป็นเวลาประมาณ 8 เดือนจำเลยทั้งสองมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด และจำเลยยังไม่เคยติดต่อโจทก์เพื่อจะชำระหนี้ด้วย พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ขวนขวายที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หากจำเลยประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้จริง จำเลยก็สามารถจะระบุมาในคำร้องได้ว่าจำเลยมีรายได้จากกิจการดังกล่าวมากน้อยเพียงใด และจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ครบถ้วนเมื่อใด การที่จำเลยกล่าวในคำร้องลอย ๆ ว่า จำเลยใช้ทรัพย์สินที่ถูกยึดประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ โดยมิได้กล่าวถึงจำนวนรายได้และกำหนดเวลาที่จะชำระให้เสร็จสิ้นมาด้วยเช่นนี้ จึงไม่มีเหตุให้น่าเชื่อว่าจำเลยจะมีรายได้จากการที่กล่าวแล้วพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ดังที่อ้าง พฤติการณ์ของจำเลยน่าเชื่อว่าเป็นการประวิงคดีมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในเวลาอันควร กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะไต่สวนเพื่อตั้งผู้จัดการประกอบกิจการพาณิชยกรรมแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ.มาตรา 307 และตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) ก็มิได้บังคับว่าศาลต้องทำการไต่สวนทุกกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามา แต่ให้อำนาจศาลที่จะไต่สวนตามคำขอหรือไม่ แล้วแต่ศาลพิจารณาเห็นสมควร ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนก่อนชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน, ลูกหนี้ร่วม, การรับช่วงสิทธิ, อัตราดอกเบี้ย, การประวิงคดี: ประเด็นสำคัญในการพิจารณาคดีแพ่ง
ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173(1) หรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยตัดสินคดีได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้ไว้ แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา24 ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นยกปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนขึ้นวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามคำร้องของจำเลยประกอบข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยตัดสินคดีโดยชอบ ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหาใช่เป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวน นอกเรื่องนอกประเด็นไม่
ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 23053/2531 ของศาลชั้นต้น โดยกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้กับที่โจทก์ ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อน ฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนรับผิดเป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นเรื่องรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท.ตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกันและจำนวนเงินที่ให้รับผิดก็เป็นจำนวนเดียวกัน ถึงแม้โจทก์คดีนี้จะฟ้องขอให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคารท.มาด้วยก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็คงเป็นเรื่องเดียวกันเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องตามป.วิ.พ.มาตรา 173 (1) ด้วย
กรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันคือหนี้ตามหนังสือค้ำประกันที่ธนาคาร ท.ได้ออกให้แก่บริษัท พ.เพื่อค้ำประกันการซื้อรถขุดไฮดรอลิกของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามมูลหนี้อย่างอื่นของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร ท. นอกเหนือจากหนี้ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวด้วย และวงเงินที่ค้ำประกันจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ก็หาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์กับจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จะต้องมีความรับผิดต่อธนาคาร ท.อย่างลูกหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ.มาตรา682 วรรคสอง
โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องรับผิดต่อธนาคาร ท.ผู้เป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้วย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ถึง 11 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 229 (3) และมาตรา 296
เมื่อไม่มีการตกลงเกี่ยวบอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงไม่มีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามป.พ.พ.มาตรา 224 และแม้ ป.พ.พ.มาตรา 226 จะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้ว่า บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง แต่จากหลักที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิในนามของตนเอง จึงมีผลว่าผู้รับช่วงสิทธิชำระหนี้ไปเท่าใดก็คงรับช่วงสิทธิหรืออาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพียงเท่าที่อาจอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของตนหรือตามส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้น หาใช่รับช่วงสิทธิทั้งหมดเท่ากับที่เจ้าหนี้มีสิทธิไม่ดังนั้น โจทก์คงเรียกได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
แม้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11กับโจทก์ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันหรือไม่ จะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันหรือไม่และประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11เพียงไร จะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยตรง แต่ก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจหยิบยกประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใดไม่
คดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ได้ขอเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยถึง2 ครั้ง โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1ป่วยกะทันหันด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ การนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกและครั้งหลังห่างกันเกือบ 2 เดือน และในการเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกศาลได้กำชับไว้แล้วว่า คราวต่อไปให้เตรียมพยานให้มาให้พร้อม จะไม่ให้เลื่อนคดีอีก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่นำพาต่อคำสั่งดังกล่าว กลับขอเลื่อนคดีด้วยเหตุอย่างเดียวกันอีกและไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา โดยเฉพาะนัดหลังนี้จำเลยที่ 1ถึงที่ 9 ก็แถลงต่อศาลด้วยว่า ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3 ป่วยอยู่ที่ใด แสดงว่าไม่ต้องการให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ส่อชัดว่าประสงค์จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว
ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 23053/2531 ของศาลชั้นต้น โดยกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้กับที่โจทก์ ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อน ฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนรับผิดเป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นเรื่องรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท.ตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกันและจำนวนเงินที่ให้รับผิดก็เป็นจำนวนเดียวกัน ถึงแม้โจทก์คดีนี้จะฟ้องขอให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคารท.มาด้วยก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็คงเป็นเรื่องเดียวกันเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องตามป.วิ.พ.มาตรา 173 (1) ด้วย
กรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันคือหนี้ตามหนังสือค้ำประกันที่ธนาคาร ท.ได้ออกให้แก่บริษัท พ.เพื่อค้ำประกันการซื้อรถขุดไฮดรอลิกของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามมูลหนี้อย่างอื่นของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร ท. นอกเหนือจากหนี้ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวด้วย และวงเงินที่ค้ำประกันจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ก็หาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์กับจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จะต้องมีความรับผิดต่อธนาคาร ท.อย่างลูกหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ.มาตรา682 วรรคสอง
โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องรับผิดต่อธนาคาร ท.ผู้เป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้วย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ถึง 11 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 229 (3) และมาตรา 296
เมื่อไม่มีการตกลงเกี่ยวบอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงไม่มีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามป.พ.พ.มาตรา 224 และแม้ ป.พ.พ.มาตรา 226 จะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้ว่า บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง แต่จากหลักที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิในนามของตนเอง จึงมีผลว่าผู้รับช่วงสิทธิชำระหนี้ไปเท่าใดก็คงรับช่วงสิทธิหรืออาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพียงเท่าที่อาจอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของตนหรือตามส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้น หาใช่รับช่วงสิทธิทั้งหมดเท่ากับที่เจ้าหนี้มีสิทธิไม่ดังนั้น โจทก์คงเรียกได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
แม้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11กับโจทก์ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันหรือไม่ จะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันหรือไม่และประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11เพียงไร จะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยตรง แต่ก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจหยิบยกประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใดไม่
คดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ได้ขอเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยถึง2 ครั้ง โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1ป่วยกะทันหันด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ การนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกและครั้งหลังห่างกันเกือบ 2 เดือน และในการเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกศาลได้กำชับไว้แล้วว่า คราวต่อไปให้เตรียมพยานให้มาให้พร้อม จะไม่ให้เลื่อนคดีอีก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่นำพาต่อคำสั่งดังกล่าว กลับขอเลื่อนคดีด้วยเหตุอย่างเดียวกันอีกและไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา โดยเฉพาะนัดหลังนี้จำเลยที่ 1ถึงที่ 9 ก็แถลงต่อศาลด้วยว่า ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3 ป่วยอยู่ที่ใด แสดงว่าไม่ต้องการให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ส่อชัดว่าประสงค์จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจประวิงคดีและการงดสืบพยาน
ผู้ร้องขอเลื่อนการสืบพยานผู้ร้องตั้งแต่วันนัดสืบพยานผู้ร้องนัดแรกติดต่อกันมาสี่ครั้ง ในวันนัดครั้งที่ 5 ผู้ร้องทั้งสามไม่มาศาล และทนายผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายความ พฤติการณ์ของผู้ร้องดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการจงใจประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานผู้ร้องจึงชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นเห็นว่าการที่ทนายผู้ร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายความให้ผู้ร้องทั้งสามเป็นการจงใจที่จะประวิงคดีและเห็นไม่สมควรอนุญาตให้ทนายผู้ร้องถอนตัว จึงไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสอบถามผู้ร้องทั้งสามก่อน ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานผู้ร้องทั้งสามและพิพากษาคดีไปจึงชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นเห็นว่าการที่ทนายผู้ร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายความให้ผู้ร้องทั้งสามเป็นการจงใจที่จะประวิงคดีและเห็นไม่สมควรอนุญาตให้ทนายผู้ร้องถอนตัว จึงไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสอบถามผู้ร้องทั้งสามก่อน ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานผู้ร้องทั้งสามและพิพากษาคดีไปจึงชอบแล้ว