พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมยังไม่ถึงที่สุด แม้ยังมิได้เข้าครอบครอง แต่ประเด็นเป็นเรื่องเดียวกัน
ในคดีเรื่องก่อนโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย ซึ่งศาลพิพากษาว่าขับไล่ไม่ได้เพราะโจทก์ยังไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยคนเดียวกันนั้นอีกโดยเพิ่มข้อหาว่า จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินส่วนหนึ่งดังนี้ถือว่าเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในประเด็นเดียวกัน แม้คดีเดิมขาดอายุความหรือยังไม่ถึงที่สุด ศาลยกฟ้องได้ตามกฎหมาย
ความบกพร่องของโจทก์ในการเสนอหลักฐาน ที่รับฟังไม่ได้ก็ดี หรือได้ยื่นพะยานหลักฐานโดยฝ่าฝืนต่อวิธีพิจารณาความก็ดี อันเป็นเหตุให้ศาลปฏิเสธ ไม่รับฟังพะยานหลักฐานของโจทก์ผู้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงนั้นแล้ว เมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง ก็ได้ชื่อว่าโจทก์ไม่มีพะยานหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนข้ออ้างในประเด็นแห่งคดีที่โจทก์นำมาฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีของโจทก์แล้วกรณีต้องห้ามมิให้โจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นดังกล่าวอ้างของโจทก์ ในศาลนั้นอีก ตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 144 และทั้งห้ามมิให้โจทก์ฟ้องใหม่อีกตามมาตรา 148 แม้คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์ก็ยังต้องห้ามมิให้ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลอีกตาม มาตรา 173.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงในคดีแพ่งต้องสอดคล้องกับคำพิพากษาในคดีอาญาที่มีประเด็นเดียวกัน แม้มีทุนทรัพย์เกิน 2,000 บาท
การวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งซึ่งว่ากล่าวเป็นทางอาญาไว้อีกสำนวนหนึ่งนั้นต้องถือเอาความเท็จจริงที่ปรากฎในคำพิพากษาส่วนอาญาเป็นหลักแห่งการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ คดีแพ่งแลคดีอาญา ซึ่งคู่ความคนเดียวกันแลมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกัน เมื่อคดีอาญาศาลล่างตัดสินในข้อเท็จจริงต้องกันแล้ว ในคดีแพ่งถึงแม้จะมีทุนทรัพย์เกิน 2000 บาทก็ต้องฟังข้อเท็จจริงตามคดีอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9829/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 เมื่อศาลเคยวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นเดียวกันแล้ว
ก่อนจำเลยยื่นคำร้องคดีนี้ จำเลยเคยยื่นคำร้องขอเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โดยข้ออ้างในคำร้องทั้งสองฉบับจำเลยกล่าวอ้างว่า ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาพิพากษาคดีนี้โดยผิดระเบียบอย่างเดียวกัน แม้คำร้องในคดีนี้ จำเลยจะขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีและการบังคับคดี ส่วนคำร้องฉบับก่อนดังกล่าว จำเลยขอให้เพิกถอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ แต่ก็เป็นคำขออันเป็นผลมาจากข้ออ้างในเรื่องเดียวกัน เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นตามคำร้องฉบับก่อนของจำเลย และยกคำร้องของจำเลยแล้วเช่นนี้ การที่จำเลยกลับมาดำเนินกระบวนพิจารณายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้นเป็นคดีนี้อีก จึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่โจทก์มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายซ้ำ: ศาลยกฟ้องเนื่องจากเคยมีคำสั่งถึงที่สุดในประเด็นเดียวกันแล้ว
การฟ้องหรือร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย มิใช่เป็นการฟ้องเพื่อบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ดังเช่นการฟ้องคดีแพ่งทั่วไป แต่เป็นการฟ้องหรือร้องขอเพื่อให้มีการจัดการกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายของลูกหนี้ ดังนั้น แม้คำร้องของโจทก์ในคดีก่อนจะเป็นการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ส่วนคดีนี้เป็นการยื่นคำฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ก็ตาม แต่ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ก็ได้บัญญัติให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไปโดยเร็ว จึงเห็นได้ว่า การยื่นคำร้องของโจทก์ในคดีก่อน ศาลก็ต้องพิจารณาให้ได้ความจริงไปตามหลักเกณฑ์อันเป็นเงื่อนไขของการร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามบทกฎหมายดังกล่าวประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 เช่นเดียวกับการพิจารณาคำฟ้องโจทก์ของศาลในคดีนี้ สภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับในคดีก่อนกับในคดีนี้จึงเป็นอย่างเดียวกันคือ เป็นกรณีที่โจทก์ดำเนินคดีเพื่อขอให้มีการจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกันนั่นเอง ซึ่งแม้ว่ามูลหนี้ในคดีก่อนกับในคดีนี้จะเป็นคนละมูลหนี้กันก็ตาม แต่โจทก์ก็เป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ของจำเลยที่ 2 มาแต่เพียงผู้เดียว สิทธิเรียกร้องในคดีก่อนกับในคดีนี้ โจทก์ย่อมสามารถฟ้องหรือร้องขอรวมกันมาคราวเดียวกันได้ในคดีก่อน เพราะคู่ความในคดีก่อนกับในคดีนี้ก็เป็นคู่ความเดียวกัน กล่าวคือ เป็นคดีระหว่างบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ผู้ร้องในคดีก่อนซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนี้ กับ ม. ลูกหนี้ที่ 4 ในคดีก่อนซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ เมื่อปรากฏว่าศาลล้มละลายกลางในคดีก่อนได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า จำเลยที่ 2 กับพวกได้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับโจทก์ และได้มีการโอนทรัพย์สินคือ ที่ดินตีชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วบางส่วน และมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ซึ่งคำสั่งดังกล่าวได้ถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ยื่นคำฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายเป็นคดีนี้อีก จึงถือได้ว่าเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน กรณีจึงเป็นการฟ้องซ้ำกับคำร้องในคดีก่อนที่ศาลได้มีคำสั่งอันถึงที่สุดให้ยกคำร้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 แล้ว คำฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7844/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้าม: คดีประเด็นเดียวกันกับคดีที่ศาลแพ่งธนบุรีตัดสินแล้ว
ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับคดีที่จำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยที่ 6 ในคดีของศาลแพ่งธนบุรีมีประเด็นข้อพิพาทซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ค้ำประกันและจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันหนี้จริงหรือไม่ เมื่อศาลแพ่งธนบุรีได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยให้โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยแล้ว ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แม้ว่าโจทก์จะได้ฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนคดีของศาลแพ่งธนบุรีแต่เมื่อศาลแพ่งธนบุรีได้พิพากษาชี้ขาดคดีแล้ว กรณีก็ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 144 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5888/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมและคดีใหม่มีประเด็นเดียวกัน แม้มีการเพิ่มข้ออ้างเรื่องละเมิดก็ยังเป็นฟ้องซ้อน
คำฟ้องคดีก่อนและคดีนี้โจทก์อ้างเหตุอย่างเดียวกันว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทให้จำเลยเพื่ออำพรางการกู้เงิน ต่อมาจำเลยอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท ขอให้ทางราชการเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นเจ้าของที่ตั้งโรงเรียนพิพาทของโจทก์ โดยในคดีก่อนโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2543 ขอให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทดังกล่าว ส่วนคดีนี้แม้โจทก์ไม่ได้ขอให้เพิกถอนสัญญาที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทอีกก็ตาม แต่โจทก์อ้างเพิ่มเติมเข้ามาว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาในที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทแล้วเปิดการสอนโรงเรียนชื่อ "โรงเรียนอนุบาลบ้านวรารักษ์" โดยพลการ เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถดำเนินกิจการโรงเรียนพิพาทได้ตามปกติตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2543 เป็นต้นมา ขอให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดประโยชน์จากการขาดรายได้ตามปกติ และค่าเสื่อมเสียชื่อเสียงของโจทก์ ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้วเพราะเป็นค่าเสียหายที่สืบเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยภายหลังจากมีการทำสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทก่อนโจทก์ฟ้องในคดีก่อน ซึ่งเป็นการกระทำอันเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5888/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมและคดีใหม่มีประเด็นเดียวกัน แม้จะมีการอ้างเหตุเพิ่มเติม
คำฟ้องคดีก่อนและคดีนี้โจทก์อ้างเหตุอย่างเดียวกันว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทให้จำเลยเพื่ออำพรางการกู้เงิน ต่อมาจำเลยอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท ขอให้ทางราชการเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นเจ้าของที่ตั้งโรงเรียนพิพาทของโจทก์ โดยในคดีก่อนโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2543 ขอให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท ส่วนคดีนี้แม้โจทก์ไม่ได้ขอให้เพิกถอนสัญญาที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทอีก แต่โจทก์อ้างเพิ่มเติมเข้ามาว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาในที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท แล้วเปิดการสอนโรงเรียนชื่อ "โรงเรีนอนุบาลบ้านวรารักษ์" โดยพลการ เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินกิจการโรงเรียนพิพาทได้ตามปกติตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2543 เป็นต้นมา ขอให้จำเลยใช้ค่าขาดประโยชน์จากการขาดรายได้ตามปกติ และค่าเสื่อมเสียชื่อเสียงของโจทก์ ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว เพราะเป็นค่าเสียหายที่สืบเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยภายหลังจากมีการทำสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทก่อนโจทก์ฟ้องในคดีก่อนเป็นค่าเสียหายที่สืบเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยภายหลังจากมีการทำสัญญาขายที่ดินและอาคาร ซึ่งเป็นการกระทำอันเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6383/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อนหากมีคดีเดิมที่พิพาทประเด็นเดียวกันอยู่
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนหรือไม่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ก่อนได้
แม้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) แต่สิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์และจำเลยโต้แย้งนี้ ปรากฏว่าก่อนยื่นคำร้องสอดผู้ร้องได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยคดีนี้ต่อศาลชั้นต้น คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกันกับที่อ้างในคำร้องสอดว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกในการทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกทำสัญญาเช่าหรือไม่ คำร้องสอดจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
แม้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) แต่สิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์และจำเลยโต้แย้งนี้ ปรากฏว่าก่อนยื่นคำร้องสอดผู้ร้องได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยคดีนี้ต่อศาลชั้นต้น คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกันกับที่อ้างในคำร้องสอดว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกในการทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกทำสัญญาเช่าหรือไม่ คำร้องสอดจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)