พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล: เกณฑ์เงินสด vs. เกณฑ์สิทธิ การประเมินรายได้จากค่าเช่าและทรัพย์สิน
ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุคดีนี้ (พ.ศ.2518-2519) มิได้บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งว่ารายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นจะจัดทำกันโดยใช้ระบบเกณฑ์สิทธิหรือเกณฑ์เงินสด จึงต้องนำมาตรา 39 ว่าด้วยข้อความทั่วไปของภาษีเงินได้มาใช้บังคับ ซึ่งเห็นได้ว่าเงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้นจะเป็นเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ดีต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้วมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นในภายหน้า ฉะนั้นการที่โจทก์จัดทำบัญชีค่าเช่าเป็นรายได้โดยใช้ระบบเกณฑ์เงินสดคือนำค่าเช่าที่ได้รับมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณกำไรสุทธิจึงเป็นการชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับการประเมินภาษีแล้วถือเป็นอันยุติ แม้จะอ้างภายหลังว่ามีขาดทุนสะสมก็ฟังไม่ได้
โจทก์ยอมรับผลการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่มจากโจทก์สำหรับปี 2516 และ 2517 โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้าน และโจทก์ได้ชำระเงินตามที่เจ้าพนักงานประเมินให้แก่จำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวชอบแล้ว และเป็นอันยุติ โจทก์จะรื้อฟื้นขึ้นมาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นอีกโดยอ้างว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์หาได้ไม่ ดังนี้จึงฟังไม่ได้ว่ายังมียอดขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปี 2518 ค้างอยู่อีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158-2160/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการยิง การประเมินพฤติการณ์ และความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
จำเลยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ขณะที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไปจับกุมจำเลย จำเลยยิงโจทก์ที่ 3 ถูกที่ต้นคอ ในขณะที่มีการยื้อแย่งปืนกันโดยจำเลยมิได้มีโอกาสเลือกยิง เมื่อจำเลยยิงโจทก์ที่ 3 ล้มลงแล้ว โจทก์ที่ 3 ไม่อยู่ในฐานะที่จะต่อสู้กับจำเลย จำเลยมีโอกาสจะยิงโจทก์ที่ 3 อีกเป็นเวลานานแต่จำเลยก็หาได้ยิงโจทก์ที่ 3 ไม่ จึงยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีเจตนาฆ่าโจทก์ที่ 3 ส่วนที่ จำเลยยิงโจทก์ที่ 2 ปรากฏว่าขณะยิงจำเลยอยู่ใกล้กับโจทก์ที่ 2 และมีโอกาสจะเลือกยิงโจทก์ที่ 2 ตรงไหนก็ได้ แต่จำเลยกลับยิงที่ขาของโจทก์ที่ 2 แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าโจทก์ที่ 2 เพราะหากจำเลยมีเจตนาฆ่าโจทก์ที่ 2 จำเลยคงยิงที่อวัยวะสำคัญกว่านี้
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา288, 289, 80 เมื่อทางพิจารณาปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายโจทก์ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 296 และโจทก์ที่ 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 298 ศาลลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 296 และ 298 ได้.
ฟ้องว่าโจทก์ที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัสต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วันแต่โจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏว่า โจทก์ที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กายสาหัสดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ลงโทษจำเลยฐานทำให้ได้รับอันตรายสาหัสไม่ได้
โจทก์ที่ 3 ถูกยิงต้องรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล 12 วัน แล้วไปรักษาตัวต่อที่บ้านอีก โจทก์ที่ 3 ต้องหยุดทำงานเกือบ 1 เดือนแพทย์ผู้ทำการตรวจบาดแผลโจทก์ที่ 3 ได้ให้ความเห็นว่าบาดแผลหายได้ภายใน 30 วัน ฟังได้ว่าโจทก์ที่ 3 ได้รับบาดเจ็บจากการยิงของจำเลยจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา288, 289, 80 เมื่อทางพิจารณาปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายโจทก์ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 296 และโจทก์ที่ 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 298 ศาลลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 296 และ 298 ได้.
ฟ้องว่าโจทก์ที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัสต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วันแต่โจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏว่า โจทก์ที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กายสาหัสดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ลงโทษจำเลยฐานทำให้ได้รับอันตรายสาหัสไม่ได้
โจทก์ที่ 3 ถูกยิงต้องรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล 12 วัน แล้วไปรักษาตัวต่อที่บ้านอีก โจทก์ที่ 3 ต้องหยุดทำงานเกือบ 1 เดือนแพทย์ผู้ทำการตรวจบาดแผลโจทก์ที่ 3 ได้ให้ความเห็นว่าบาดแผลหายได้ภายใน 30 วัน ฟังได้ว่าโจทก์ที่ 3 ได้รับบาดเจ็บจากการยิงของจำเลยจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ การนำสืบหลักฐานนอกฟ้อง และการแก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์
รายการค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินไม่มีชื่อผู้รับเงินมีแต่ใบสำคัญจ่ายแต่มิได้มีพยานหลักฐานนำสืบว่าได้จ่ายเงินไปจริงแม้เป็นจำนวนเงินเล็กน้อยก็จะรับฟังว่าเป็นความจริงหาได้ไม่ คำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวถึงค่าถมทรายในปี2516ข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่าเงินจำนวน1,705,287บาท45สตางค์เป็นรายรับของโจทก์ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยที่1ประเมินรายรับขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคาสิ่งปลูกสร้างของกรมโยธาธิการและเงินจำนวน53,390บาทเป็นรายจ่ายที่โจทก์ลงบัญชีไว้ว่าเป็นค่าขนส่งแสดงว่าโจทก์หาได้ฟ้องว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบเพราะความจริงโจทก์มีรายจ่ายค่าถมทรายไม่การที่โจทก์นำสืบว่าได้จ่ายค่าถมทรายไปจึงเป็นการนอกฟ้อง โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างว่ามีรายจ่ายค่าถมทรายในปี2517จำนวนเงินใกล้เคียงกับที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ตรวจพบใบเสร็จฉบับแรกกรรมการโจทก์คนหนึ่งลงชื่อรับเงินฉบับที่2ไม่ปรากฏว่าผู้ใดรับเงินฉบับที่3ถึง5ลูกจ้างโจทก์เป็นผู้รับเงินและฉบับที่6บุคคลภายนอกซึ่งมีอาชีพรับจ้างคัดเหล็กเป็นผู้รับเงินทั้งที่โจทก์มีลูกจ้างไปซื้อทรายจากเรือเร่มาได้อยู่แล้วพยานหลักฐานโจทก์จึงมีพิรุธรับฟังไม่ได้แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากที่ดินที่โจทก์สร้างศูนย์การค้าเป็นที่ลุ่มต้องถมทรายก่อนทำการก่อสร้างจึงน่าเชื่อว่ามีรายจ่ายค่าซื้อทรายถมที่ดินในปี2517จริงแต่ไม่เต็มตามที่อ้าง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้แก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ถูกต้องโดยไม่จำเป็นต้องสั่งให้ทำการประเมินใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028-1029/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีผู้ประกอบการนำเข้ากระดาษแล้วพิมพ์ลาย ไม่ถือเป็นการผลิตกระดาษชนิดใหม่
โจทก์สั่งกระดาษม้วนใหญ่มีความกว้าง 782 มิลิเมตร ยาวประมาณ 6,100 เมตร จากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร ได้เสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้าร้อยละ 7 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ประมวลรัษฎากร ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1 (ก) แล้ว โจทก์นำกระดาษดังกล่าวมาพิมพ์เป็นลายไม้ก๊อก ตัดให้มีความกว้าง 48 มิลลิเมตร ยาว 2,000 เมตร ม้วนเป็นม้วนเล็ก ๆ ขายให้โรงงานยาสูบไปใช้พันก้นกรองบุหรี่ เช่นนี้ การประกอบกิจการของโจทก์ไม่เข้าลักษณะเป็นการผลิตกระดาษใช้พันก้นกรองบุหรี่ ตามนัยประมวลรัษฎากร มาตรา 77 เพราะการที่โจทก์นำกระดาษม้วนใหญ่มาพิมพ์เป็นลายไม้ก๊อกแล้วตัดทำเป็นม้วนเล็ก ๆ นั้น เป็นการทำให้เหมาะสมและสะดวกแก่การใช้พันก้นกรองบุหรี่ สินค้ากระดาษที่โจทก์นำเข้ามายังเป็นกระดาษอย่างเดิม มิได้แปรรูปหรือแปรสภาพเป็นสินค้าใหม่ โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตกระดาษทุกชนิด ตามบัญชี 1 หมวด 8 (9) ท้ายพระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1 (ก) อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้าและเงินได้นิติบุคคลจากรายรับค่าถนน การประเมินที่ถูกต้องและการลดเบี้ยปรับ
โจทก์เป็นผู้จัดสรรที่ดินขาย โจทก์ให้ผู้ซื้อที่ดินเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายจัดทำถนนเองโดยโจทก์รับเป็นตัวแทนหาผู้รับเหมามาจัดทำถนนในที่ดินของโจทก์และเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แม้ถนนดังกล่าวต้องตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรแต่ก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ดังนั้นถนนที่ผู้ซื้อที่ดินออกค่าใช้จ่ายจัดทำจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบการค้า อันเป็นรายรับซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79 และเป็นเงินได้อันจะต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39, 65 และรายรับดังกล่าวไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการที่โจทก์รับเป็นตัวแทนของผู้ซื้อที่ดินตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 10 แต่เป็นรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 และต้องถือราคาของถนนตามจำนวนเงินที่ผู้ซื้อออกค่าใช้จ่ายจัดทำเป็นรายรับของโจทก์
เสาไฟฟ้า สายไฟฟ้าและมาตรวัดไฟฟ้าที่ผู้ซื้อที่ดินออกค่าใช้จ่ายจัดทำขึ้นนั้นเป็นของการไฟฟ้านครหลวง ส่วนประปาเมื่อทำแล้วตกเป็นของผู้ซื้อที่ดินร่วมกันจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ทั้งไม่อาจถือเป็นประโยชน์ที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับอันจะเป็นเหตุให้จำเลยประเมินภาษี
การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยออกหมายเรียกโจทก์มาตรวจสอบไต่สวนโดยไม่ให้เวลาล่วงหน้า 7 วัน ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 23, 87 ตรี โจทก์มีสิทธิเพียงไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกนั้นและเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพังโดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกตามมาตรา 21 และ 25 มิได้แต่เมื่อโจทก์ยอมปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้งจนเจ้าพนักงานประเมินดำเนินการตรวจสอบไต่สวนและประเมินภาษีเสร็จสิ้นไปแล้วโจทก์จะอ้างเหตุว่าการประเมินไม่ชอบหาได้ไม่
กรณีเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาจะต้องเสียเงินเพิ่ม เว้นแต่ในกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีและได้มีการชำระภาษีภายในกำหนดก็ให้ลดเงินเพิ่มลงกรณีของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าวจึงไม่อาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้ ส่วนเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (3) นั้นเมื่อโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี โจทก์ก็ต้องเสียเบี้ยปรับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มตามฟ้องถ้าโจทก์ไม่เห็นด้วยโจทก์ก็ต้องอุทธรณ์คัดค้านเพื่อให้ได้รับผลตามที่ตนประสงค์ จะเพียงแต่แก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นไว้มิได้เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้าน ปัญหาดังกล่าวย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์
เสาไฟฟ้า สายไฟฟ้าและมาตรวัดไฟฟ้าที่ผู้ซื้อที่ดินออกค่าใช้จ่ายจัดทำขึ้นนั้นเป็นของการไฟฟ้านครหลวง ส่วนประปาเมื่อทำแล้วตกเป็นของผู้ซื้อที่ดินร่วมกันจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ทั้งไม่อาจถือเป็นประโยชน์ที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับอันจะเป็นเหตุให้จำเลยประเมินภาษี
การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยออกหมายเรียกโจทก์มาตรวจสอบไต่สวนโดยไม่ให้เวลาล่วงหน้า 7 วัน ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 23, 87 ตรี โจทก์มีสิทธิเพียงไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกนั้นและเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพังโดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกตามมาตรา 21 และ 25 มิได้แต่เมื่อโจทก์ยอมปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้งจนเจ้าพนักงานประเมินดำเนินการตรวจสอบไต่สวนและประเมินภาษีเสร็จสิ้นไปแล้วโจทก์จะอ้างเหตุว่าการประเมินไม่ชอบหาได้ไม่
กรณีเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาจะต้องเสียเงินเพิ่ม เว้นแต่ในกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีและได้มีการชำระภาษีภายในกำหนดก็ให้ลดเงินเพิ่มลงกรณีของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าวจึงไม่อาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้ ส่วนเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (3) นั้นเมื่อโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี โจทก์ก็ต้องเสียเบี้ยปรับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มตามฟ้องถ้าโจทก์ไม่เห็นด้วยโจทก์ก็ต้องอุทธรณ์คัดค้านเพื่อให้ได้รับผลตามที่ตนประสงค์ จะเพียงแต่แก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นไว้มิได้เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้าน ปัญหาดังกล่าวย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2492/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานโดยอาศัยระเบียบข้อบังคับบริษัท การบังคับใช้ระเบียบที่แตกต่างกันตามช่วงเวลา และการประเมินความเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยอำนาจตามระเบียบของจำเลยเนื่องจากโจทก์ขับรถจำเลยชนกับรถผู้อื่น โจทก์เห็นว่าคำสั่งและระเบียบของจำเลยดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการเลิกจ้าง โดยไม่เป็นธรรมจำเลยให้การต่อสู้ว่าระเบียบและคำสั่งของจำเลยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และชอบด้วยกฎหมายแล้ว เป็นการเลิกจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย ประเด็นจึงมีว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่
โจทก์ขับรถไปเกิดอุบัติเหตุก่อนที่ระเบียบฉบับใหม่ของจำเลยจะใช้บังคับระเบียบฉบับใหม่จึงไม่มีผลบังคับสำหรับกรณีโจทก์ คดีไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าระเบียบฉบับใหม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ กรณีต้องบังคับตามระเบียบฉบับเดิมซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและใช้บังคับในขณะเกิดอุบัติเหตุ เมื่อได้ความว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงซึ่งระเบียบฉบับเดิมระบุโทษให้ไล่ออกฉะนั้นที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าระเบียบของจำเลยฉบับใหม่ไม่มีผลบังคับในกรณีของโจทก์การกระทำของโจทก์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยอย่างร้ายแรงจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์อุทธรณ์ในข้อที่มิได้อ้างมาในฟ้อง จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ขับรถไปเกิดอุบัติเหตุก่อนที่ระเบียบฉบับใหม่ของจำเลยจะใช้บังคับระเบียบฉบับใหม่จึงไม่มีผลบังคับสำหรับกรณีโจทก์ คดีไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าระเบียบฉบับใหม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ กรณีต้องบังคับตามระเบียบฉบับเดิมซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและใช้บังคับในขณะเกิดอุบัติเหตุ เมื่อได้ความว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงซึ่งระเบียบฉบับเดิมระบุโทษให้ไล่ออกฉะนั้นที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าระเบียบของจำเลยฉบับใหม่ไม่มีผลบังคับในกรณีของโจทก์การกระทำของโจทก์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยอย่างร้ายแรงจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์อุทธรณ์ในข้อที่มิได้อ้างมาในฟ้อง จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4051/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนต้องชำระภาษีประเมินก่อนฟ้อง หากไม่ชำระ ศาลไม่รับฟ้อง
โจทก์ได้รับทราบคำชี้ขาดของจำเลยให้เสียภาษีตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินไว้แล้ว โจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลย แต่โจทก์ไม่ยอมชำระค่าภาษีตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินไว้ กลับนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลว่าการประเมินไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา31 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยดังกล่าวจึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 39 คือโจทก์ต้องชำระค่าภาษีให้จำเลยไปก่อน เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าภาษีตามที่จำเลยประเมินไว้ก่อนฟ้องเช่นนี้ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ศาลจะรับไว้พิจารณาไม่ได้ และศาลไม่อาจที่จะสั่งให้โจทก์นำค่าภาษีมาชำระหลังจากฟ้องแล้วได้ ถือได้ว่าโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3580/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขการประเมินภาษีภายใน 5 ปี แม้จะมีการประเมินและชำระภาษีไปแล้ว ก็สามารถกระทำได้หากพบข้อผิดพลาด
การคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้ของเจ้าพนักงานประเมินในคดีก่อนได้คิดจากยอดภาษีจำนวนหนึ่งที่ได้ประเมินให้โจทก์เสียตามมาตรา 48(2)แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งยังไม่ถูกต้องแต่การคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้ครั้งพิพาทนี้ได้คิดจากยอดเงินภาษีอีกจำนวนหนึ่ง.ซึ่งได้แก้การประเมินให้โจทก์เสียตามมาตรา 48(1) โดยได้คิดหักเงินภาษีที่โจทก์ได้ชำระจากการประเมินครั้งแรกออกหมดแล้วฉะนั้น การคิดเงินเพิ่มภาษีในคดีก่อนกับคดีนี้จึงเป็นการคิดจากยอดเงินภาษีคนละจำนวนกัน ทั้งในคดีก่อนก็มีประเด็นวินิจฉัยแต่เพียงว่าโจทก์จะของดหรือลดเงินเพิ่มลงได้บ้างหรือไม่เท่านั้นไม่มีประเด็นว่าจากยอดเงินได้จำนวนเดียวกันโจทก์ควรต้องเสียเงินเพิ่มหรือไม่ดังนี้ อำนาจในการคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้รายนี้จึงหาได้ยุติไปตามคำพิพากษาในคดีก่อนไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่ยื่นรายการโดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงอันเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจที่จะแก้การประเมินให้ถูกต้องได้ และอำนาจแก้การประเมินก็หาจำเป็นที่จำนวนเงินได้เดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงไปไม่ และแม้ผู้ยื่นรายการจะได้เสียภาษีตามที่ประเมินไปแล้ว แต่ถ้ายังอยู่ในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินก็ยังมีอำนาจที่จะแก้ไขการประเมินให้ถูกต้องได้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่ยื่นรายการโดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงอันเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจที่จะแก้การประเมินให้ถูกต้องได้ และอำนาจแก้การประเมินก็หาจำเป็นที่จำนวนเงินได้เดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงไปไม่ และแม้ผู้ยื่นรายการจะได้เสียภาษีตามที่ประเมินไปแล้ว แต่ถ้ายังอยู่ในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินก็ยังมีอำนาจที่จะแก้ไขการประเมินให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3580/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขการประเมินภาษีภายใน 5 ปี แม้จะมีการประเมินและชำระภาษีไปแล้ว หากพบข้อผิดพลาดในการแสดงรายการ
การคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้ของเจ้าพนักงานประเมินในคดีก่อน ได้คิดจากยอดภาษีจำนวนหนึ่งที่ได้ประเมินให้โจทก์เสียตามมาตรา 48(2)แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งยังไม่ถูกต้องแต่การคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้ครั้งพิพาทนี้ได้คิดจากยอดเงินภาษีอีกจำนวนหนึ่ง.ซึ่งได้แก้การประเมินให้โจทก์เสียตามมาตรา 48(1) โดยได้คิดหักเงินภาษีที่โจทก์ได้ชำระจากการประเมินครั้งแรกออกหมดแล้วฉะนั้น การคิดเงินเพิ่มภาษีในคดีก่อนกับคดีนี้จึงเป็นการคิดจากยอดเงินภาษีคนละจำนวนกัน ทั้งในคดีก่อนก็มีประเด็นวินิจฉัยแต่เพียงว่าโจทก์จะของดหรือลดเงินเพิ่มลงได้บ้างหรือไม่เท่านั้นไม่มีประเด็นว่าจากยอดเงินได้จำนวนเดียวกันโจทก์ควรต้องเสียเงินเพิ่มหรือไม่ ดังนี้ อำนาจในการคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้รายนี้จึงหาได้ยุติไปตามคำพิพากษาในคดีก่อนไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่ยื่นรายการโดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงอันเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้อง ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจที่จะแก้การประเมินให้ถูกต้องได้ และอำนาจแก้การประเมินก็หาจำเป็นที่จำนวนเงินได้เดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงไปไม่ และแม้ผู้ยื่นรายการจะได้เสียภาษีตามที่ประเมินไปแล้ว แต่ถ้ายังอยู่ในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินก็ยังมีอำนาจที่จะแก้ไขการประเมินให้ถูกต้องได้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่ยื่นรายการโดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงอันเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้อง ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจที่จะแก้การประเมินให้ถูกต้องได้ และอำนาจแก้การประเมินก็หาจำเป็นที่จำนวนเงินได้เดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงไปไม่ และแม้ผู้ยื่นรายการจะได้เสียภาษีตามที่ประเมินไปแล้ว แต่ถ้ายังอยู่ในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินก็ยังมีอำนาจที่จะแก้ไขการประเมินให้ถูกต้องได้