คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปรับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจากจำคุกเป็นปรับ ศาลฎีกายกฎีกาโจทก์เนื่องจากเป็นการแก้ไขโทษเพียงเล็กน้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยกระทงแรก 1 ปี กระทงหลัง 2 ปี รวมจำคุก 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะอัตราโทษโดยไม่ได้จำคุกจำเลย เพียงแต่ลงโทษปรับสถานเดียวกระทรงละ 5,000 บาท รวมสองกระทงปรับ 10,000 บาท ดังนี้ เป็นการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษและเป็นการแก้ไขแต่เพียงเล็กน้อย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง (อ้างฎีกาที่ 11/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดศุลกากร: หน้าที่การพิสูจน์ของจำเลย, การปรับ, และการริบของ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2467 มาตรา 27, 27 ทวิ เกี่ยวโยงไปถึงพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 17 ที่บัญญัติว่า "ของใดๆ อันเนื่องด้วยความผิดตาม มาตรา 27 ฯลฯ ท่านให้ริบเสียสิ้น ฯลฯ" ฟ้องโจทก์จึงเป็นการฟ้องร้องคดีอันเกี่ยวด้วยของซึ่งต้องยึด เพราะไม่เสียภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 100 ซึ่งถ้าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงได้ว่าของกลางเป็นของต่างประเทศซึ่งต้องเสียภาษีแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องพิสูจน์ต่อไปว่าของกลางดังกล่าวได้เสียภาษีถูกต้องแล้ว
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ที่แก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติให้ลงโทษปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วมิใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่าๆ กัน หรือปรับเป็นรายบุคคลคนละสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ดังนั้นการที่ศาลสั่งปรับจำเลยสามคนเป็นเงินสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว เป็นเงิน 1,280,832 บาท จึงเป็นการชอบแล้ว แต่ที่ให้แบ่งปรับคนละ 426,944 บาทนั้นย่อมเป็นการไม่ถูกต้องตาม มาตรา 27 ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ห้ามปรับซ้ำสำหรับความผิดครั้งเดียว
มาตรา 27 ทวิ พระราชบัญญัติศุลกากร แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13)พ.ศ.2499 มาตรา 4 บัญญัติให้ปรับ 4 เท่าราคาของรวมค่าอากร ฯลฯ แม้ไม่มีข้อความว่า 'สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ' ดัง มาตรา 27 ก็ตามก็มีความหมายมิให้ปรับเรียงตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1688/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งปรับนายประกันในคดีอาญา ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลสั่งปรับนายประกันตามสัญญา เพราะจำเลยหลบหนีในคดีอาญานั้นถ้านายประกันประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งศาลว่า ศาลชั้นต้นควรให้โอกาสนายประกันติดตามตัวจำเลยต่อไปอีกก็จะต้องยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2285/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัว: การผิดนัดของจำเลยทำให้ผู้ร้องผิดสัญญาประกัน และศาลมีอำนาจปรับได้
ผู้ร้องทำสัญญาประกันตัวจำเลยคดีอาญาไปจากศาลมีข้อความว่า ในระหว่างประกันผู้ร้องหรือจำเลยจะปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาล มิฉะนั้นผู้ร้องยอมใช้เงินจำนวนหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยเซ็นทราบวันนัดของศาลแล้ว จำเลยไม่มาศาลตามนัด เพราะหลงลืมจำวันนัดผิด อันเป็นความผิดของจำเลยเอง ก็ถือได้ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามนัดของศาล และต้องถือว่าผู้ร้องซึ่งเป็นนายประกันได้ประพฤติผิดข้อสัญญาประกันดังกล่าวแล้ว ศาลมีอำนาจที่จะสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นควรได้แล้ว
ในวันที่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายประกันผิดนัด ศาลเพียงแต่มีคำสั่งว่าจำเลยและผู้ร้องผิดสัญญาประกัน กับให้หมายนัดผู้ร้องส่งตัวจำเลยใน 7 วัน ผู้ร้องและจำเลยไม่ได้มาศาลตามหมายนัดศาลจึงสั่งปรับผู้ร้องในวันนัดถัดมา แม้ในนัดหลังนี้ผู้ร้องและจำเลยไม่มาศาล เพราะไม่ได้รับหมายนัดให้ส่งตัวจำเลยก็ไม่เป็นการขัดขวางแก่การที่ศาล จะสั่งปรับผู้ร้อง เพราะถือได้ว่าผู้ร้องผิดสัญญาประกันมาตั้งแต่นัดแรกนั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2247/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469: ปรับรวมสำหรับความผิดครั้งเดียว
โทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิแม้จะมิได้บัญญัติว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เหมือนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ก็ตามก็มีความหมายว่าเป็นโทษสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เช่นเดียวกัน จึงต้องปรับจำเลยทุกคนรวมกัน จะนำเอาประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31 ที่ให้ปรับเรียงตามตัวบุคคลมาในกรณีนี้ไม่ได้เพราะ พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีปรับในศาลแขวง: ปัญหาข้อเท็จจริงและดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยาน
จำเลยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับ 50 บาทกระทงหนึ่ง 500 บาท อีกกระทงหนึ่ง ซึ่งแต่ละกระทงไม่เกิน 500 บาท. คดีของจำเลยจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2503 มาตรา 10.
อุทธรณ์เกี่ยวกับดุลพินิจของศาลชั้นต้นในเรื่องชั่งน้ำหนักคำพยานโจทก์มิใช่เป็นอุทธรณ์เกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ปรับรวมหรือปรับเรียงรายตัวบุคคล
(1) การที่พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2490 มาตรา 3 บัญญัติว่า 'สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วย' นั้น ก็เพราะมุ่งหมายให้ลงโทษปรับผู้กระทำผิดครั้งหนึ่งๆ เป็นเงินสี่เท่าราคาของรวมทั้งค่าอากรด้วย โดยไม่ต้องให้คำนึงว่าจะมีผู้ร่วมกระทำผิดด้วยหลายคนหรือไม่
(2) โดยที่พระราชบัญญัติศุลกากรมีความมุ่งหมายดังกล่าวนี้เองจึงต้องถือว่าพระราชบัญญัติศุลกากรนี้ได้บัญญัติถึงวิธีการลงโทษปรับผู้กระทำผิดไว้เป็นอย่างอื่นตามความในมาตรา 17 ประมวลกฎหมายอาญาแล้ว เพราะฉะนั้นจะนำเอามาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้แก่ผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรไม่ได้กล่าวคือ จะปรับเรียงตัวผู้กระทำผิดไม่ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 30/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยในคดีใหม่ เมื่อเคยต้องโทษปรับก่อนหน้า ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเพิ่มโทษได้เฉพาะผู้เคยถูกจำคุก
โทษปรับเป็นโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 12 ทั้งเป็นโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.18 ด้วย แต่การจะเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.92 (ก.ม.อาญา ม.72) นั้น จะกระทำได้เฉพาะผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเท่านั้น ผู้ที่เคยต้องโทษปรับจะเพิ่มโทษด้วยหาได้ไม่
ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องโทษจำคุก 1 เดือนปรับ 150 บาท ฐานเล่นการพนันสลากกินรวบ แต่โทษจำคุกศาลให้รอการลงอาญาไว้ คงปรับแต่สถานเดียว เมื่อจำเลยมากระทำผิดในคดีนี้อีกภายในกำหนด ดังนี้จะเพิ่มโทษจำเลยหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการลงโทษปรับและจำคุกตามกฎหมายฝิ่น โดยอ้างอิงมาตรา 23 แห่งกฎหมายลักษณะอาญา
ตาม มาตรา 11 แห่งกฎหมายลักษณะอาญาอาจนำมาตรา 23 แห่งกฎหมายลักษณะอาญามาบังคับกับ พระราชบัญญัติฝิ่นได้
เมื่อนำ มาตรา 23 แห่งกฎหมายลักษณะอาญามาใช้แล้ว ศาลก็อาจจำคุกจำเลยสถานเดียวโดยไม่ปรับได้
ข้อความที่บัญญัติไว้ในกฎหมายฝิ่นว่าให้ปรับเท่านั้นๆเท่า หมายความว่าเมื่อศาลจะปรับจึงจะปรับตามส่วนที่กฎหมายฝิ่นกำหนด เมื่อศาลใช้ดุลพินิจจำคุกอย่างเดียวโดยไม่ปรับ บทบัญญัติในเรื่องปรับก็เป็นอันพ้นไป
การฎีกาให้ศาลใช้ดุลพินิจลงโทษปรับด้วย เป็นข้อเท็จจริงฎีกาไม่ได้
of 11