คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปรับบท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทความผิดและบทลงโทษในคดีลักทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย และกรรโชกทรัพย์ ศาลจำกัดการเพิ่มโทษ
ความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือมีโทษสถานหนักกว่านั้น แม้จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องได้ต่อเมื่อพยานโจทก์ตามที่นำสืบรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดดังกล่าวจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นรับฟังว่าจำเลยกระทำความผิดและพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง จำเลยก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิด และขอให้กำหนดโทษให้เบาลงและรอการลงโทษได้กรณีมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำรับสารภาพ หรือเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งจะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยเข้าไปกระตุกสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 จนหลุดออก แล้วได้ตบตีผู้เสียหายที่ 1 การกระตุกสร้อยคอกับการตบตีทำร้ายร่างกาย จึงแยกออกเป็น 2 ตอน จำเลยมิได้ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายที่ 1 เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 (1) แต่เป็นการใช้กิริยาฉกฉวยเอาสร้อยคอและรูปสัญลักษณ์ศาสนาอิสลามทองคำของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า จึงเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉกฉวยเอาสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์และคำขอท้ายฟ้องมิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (8) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
จำเลยพูดขอเงินกับผู้เสียหายที่ 2 ว่า หากไม่ให้เงินจะทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 ต่อไป เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ให้ยอมให้เงินจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง แต่ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 ตามฟ้องศาลพิพากษาลงโทษในความผิดฐานดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงปรับบทความผิดและบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง อีกกรรมหนึ่งได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว และการปรับบทมาตรา 86
การที่จำเลยลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว 7 คน แม้จะเป็นการรับรองในวันเดียวกัน พร้อมๆ กัน และมีเจตนาที่จะให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่คนต่างด้าว 7 คน ในเวลาเดียวกัน แต่จำเลยได้กระทำให้แก่คนต่างด้าวแต่ละคน ย่อมเป็นความผิดสำเร็จในตัวของแต่ละคนและอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ป.อ. มาตรา 91
ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 มาตรา 8 ยกเลิกความในมาตรา 13 และมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ จึงต้องใช้กฎหมายขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย นอกจากนี้โจทก์ยังฟ้องว่า จำเลยสนับสนุนในการที่คนต่างด้าวกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 ซึ่งเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 (1) และไม่ปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 86 มาด้วย จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 264, 267, 268, 83 โดยมิได้ระบุวรรคมาด้วยก็ไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13491/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำนากุ้งไม่จัดเป็นการประกอบอาชีพกสิกรรมตามกฎหมายอาญา มาตรา 335 วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทแก้ไขโทษ
การทำนากุ้งไม่ใช่การประกอบอาชีพกสิกรรมตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (12) วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยปรับบทและแก้ไขโทษให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8552/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้บัตร ATM ของผู้อื่นเบิกถอนเงินโดยผิดพลาด ศาลปรับบทเป็นรับของโจรแทนลักทรัพย์
เมื่อโจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่า บัตรเอทีเอ็มที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เบิกถอนเงินไปนั้นเป็นของบุคคลอื่น ก็ต้องฟังว่าเป็นบัตรเอทีเอ็มของจำเลยคนใดคนหนึ่งหรือเป็นของจำเลยทั้งสองเอง และยังต้องรับฟังต่อไปอีกว่า สาเหตุที่จำเลยทั้งสองสามารถใช้บัตรเอทีเอ็มอังกล่าวเบิกถอนเงินออกไปได้นั้น เป็นเพราะมีเงินตามจำนวนที่จำเลยทั้งสองร่วมเบิกถอนโอนเข้าบัญชีของจำเลยทั้งสองโดยการผิดพลาด เพราะมิฉะนั้นแล้ว จำเลยทั้งสองย่อมไม่สามารถใช้บัตรเอทีเอ็มเบิกถอนออกไปได้ ข้อเท็จจริงตามฟ้องตามที่โจทก์ได้บรรยายมาดังกล่าวนี้ ย่อมถือได้ว่าเงินจำนวนที่จำเลยทั้งสองร่วมเบิกถอนไปนั้น ได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองเพราะโจทก์ร่วมส่งมอบให้โดยสำคัญผิด การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้บัตรเอทีเอ็มเบิกถอนไปนั้น จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคสอง หาใช่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องและมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและลงโทษจำเลยทั้งสองให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 เมื่อศาลฎีกาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองใหม่แล้ว ก็ต้องกำหนดโทษจำเลยทั้งสองเสียใหม่ให้เหมาะสมกับความผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6028/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธ และการพิพากษาขัดแย้งเรื่องอาวุธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบมาตรา 340 ตรี, 83 ลงโทษจำคุก 9 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคแรก ประกอบมาตรา 340 ตรี ลงโทษจำคุก 9 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เฉพาะบทจากความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยผู้กระทำคนใดคนหนึ่งมีอาวุธติดตัวไปด้วยเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยไม่ประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์คือ ขณะกระทำผิดจำเลยกับพวกไม่มีอาวุธ อันเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี คดีจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7656/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเพื่อเอื้อประโยชน์ผู้อื่นในการทำบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน ศาลฎีกาปรับบทและลดโทษ
การที่จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการเพื่อสนับสนุนให้ผู้อื่นมีชื่อในทะเบียนบ้านโดยมิชอบ และแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสนับสนุนผู้อื่นในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน เป็นการก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการและสังคมส่วนรวมและยังกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศชาติ นับว่าเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนและมีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัว ก็ไม่เป็นเหตุที่จะรอการโทษให้แก่จำเลย แต่เนื่องจากขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุมากถึง 62 ปี และไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนประกอบกับเป็นโทษจำคุกระยะสั้นเห็นสมควรเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทน
การที่จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนให้ผู้อื่นมีชื่อในทะเบียนบ้านโดยมิชอบและการแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสนับสนุนผู้อื่นในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมานั้น หาใช่เป็นตัวการตามที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 267 พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 (1) วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 และ พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎรฯ มาตรา 50 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 ซึ่งการกระทำดังกล่าวก็ล้วนแล้วแต่มีความมุ่งหมายเพียงประการเดียวคือเพื่อให้เจ้าพนักงานออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ผู้อื่นเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 (1) วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยมานั้น ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยมิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7638/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษตามบทมาตราที่อ้างในฟ้อง และการปรับบทความผิดตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) บัญญัติว่า คำฟ้องจะต้องอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องมาแจ้งชัดว่าจำเลยขับรถจักรยานยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์กระบะของ อ. ที่ ค. เป็นผู้ขับได้รับความเสียหาย และอ้างบทห้ามการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 มาด้วย ซึ่งเท่ากับโจทก์อ้างบทห้ามการกระทำความผิดตามมาตรา 43 (4) อยู่ในตัวแล้ว โจทก์หาจำต้องระบุอนุมาตรา (4) ของมาตรา 43 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วยไม่ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิพากษาปรับบทความผิดในมาตรานั้นๆ ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริรงที่รับฟังได้ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (4) จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4858/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันฐานทำไม้และมีไม้หวงห้าม การปรับบทความผิดและการแก้ไขโทษ
การะกระทำความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ฐานมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง และฐานมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองนั้น ลักษณะของความผิดในแต่ละข้อหาอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ ทั้งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปกับไม้หวงห้ามแปรรูปของกลางเป็นคนละชนิดและคนละจำนวนกัน แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 และที่ 4 จะกระทำความผิดในคราวเดียวกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามดังกล่าว ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 กับพวกร่วมกันมีไม้นนทรี ไม้ติ้ว ไม้โมง อันยังมิได้แปรรูป รวมจำนวน 21 ท่อน ซึ่งเกินกว่า 20 ท่อน ไว้ในครอบครอง จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การรับสารภาพ จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันมีไม้หวงห้ามดังกล่าวอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองเกิน 20 ท่อน ดังที่โจทก์ฟ้อง การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 69 วรรคสอง (2) ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 69 วรรคหนึ่ง จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง แต่เนื่องจากโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขกำหนดอัตราโทษได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 และปัญหาการปรับบทดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 6 จะมิได้ฎีกา แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาแก้ไขให้มีผลตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 6 ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทมาตรา 335 ป.อ. กรณีลักทรัพย์โดยทำลายสิ่งกีดกั้น – การพิจารณาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างเวลากลางคืนก่อนเที่ยงจนถึงเวลากลางวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทำอันตรายกุญแจประตูบ้านพักซึ่งเป็นสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ แล้วผ่านประตูดังกล่าวเข้าไปลักทรัพย์ภายในบ้านพักอันเป็นเคหสถาน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (3) อันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใด ๆ จึงเป็นการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง ซึ่งปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กเพื่ออนาจาร และการปรับบทความผิดตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม มุ่งคุ้มครองอำนาจปกครองดูแลของผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก มิให้ถูกผู้ใดล่วงละเมิดได้ ข้อสาระสำคัญจึงอยู่ที่ว่าขณะมีการกระทำความผิด เด็กนั้นอยู่ในความปกครองดูแลของผู้หนึ่งผู้ใดหรือไม่ หากปรากฏว่าเด็กอยู่ในอำนาจปกครองดูแลไม่ว่าเป็นของบุคคลหนึ่งบุคคลใดแล้ว ผู้ใดก็ไม่อาจมารบกวนหรือทำให้อำนาจปกครองของบุคคลนั้นต้องถูกกระทบกระเทือนโดยปราศจากความรู้เห็นยินยอมของบุคคลดังกล่าวได้
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 อายุ 6 ปีเศษ อยู่ในอำนาจปกครองดูแลของ ห. เพียงแต่เดินผ่านหน้าบ้านของจำเลยจะไปตาม ต. กลับมารับประทานอาหารที่บ้าน เหตุที่แวะไปหาจำเลยเพราะจำเลยเรียกผู้เสียหายที่ 1 ให้เข้าไปหาที่แคร่หน้าบ้านจำเลยแล้วล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เสียหายที่ 1 จึงถือได้ว่าเป็นการพรากเด็กออกจากอำนาจปกครองที่มีอยู่เหนือผู้เสียหายที่ 1 เป็นเหตุให้อำนาจปกครองถูกกระทบกระเทือนแล้ว แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายที่ 1 อยู่ในความปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 มิใช่ ห. ตามที่พิจารณาได้ความก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าวก็ไม่ถือเป็นข้อสำคัญอันกระทบต่อสาระอันเป็นเนื้อหาขององค์ประกอบความผิด ศาลชอบจะลงโทษจำเลยไปตามข้อเท็จจริงซึ่งพิจารณาได้ความดังกล่าวนั้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
of 8