คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป่าสงวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังประกาศเป็นป่าสงวน: เจตนาและหนังสือแจ้งผลคดี
จำเลยครอบครองที่พิพาทมาก่อนที่ทางราชการจะประกาศให้ที่ดินบริเวณที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติ แม้จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีครั้งแรกและพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏเหตุผลที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยในครั้งนั้น ทั้งไม่ได้ความจากการนำสืบของโจทก์ว่าได้มีการแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการให้จำเลยทราบ หรือได้มีการแจ้งให้จำเลยออกจากที่พิพาท และจำเลยยังคงครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา แม้การที่จำเลยจะไม่ได้ไปแจ้งการครอบครองที่พิพาทต่อนายอำเภอท้องที่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ทางราชการประกาศให้ที่ดินบริเวณที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติมีผลจะถือว่าจำเลยได้สละสิทธิในที่พิพาทและไม่มีสิทธิครอบครองอีกต่อไปก็ตาม แต่การที่พนักงานอัยการมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยไปยังหัวหน้าพนักงานสอบสวนโดยไม่ระบุเหตุผลการสั่งไม่ฟ้องและไม่ได้ความว่าได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบและแจ้งให้จำเลยออกจากที่พิพาทด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้จำเลยซึ่งเป็นชาวบ้านธรรมดาในชนบทเข้าใจได้ว่ายังคงมีสิทธิครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทได้อีกต่อไป ประกอบกับเมื่อจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีในครั้งนี้ จำเลยก็ให้การภาคเสธตลอดมาตั้งแต่ชั้นจับกุมว่าที่พิพาทเป็นที่ดินที่มีหนังสือแจ้งการครอบครองมาก่อน คดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนายึดถือครอบครองป่าสงวนแห่งชาติ ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำลายป่าสงวนฯ,แปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต,และข้อหาเกี่ยวกับศุลกากรที่ขาดการสืบพยาน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ลักลอบนำพาเลื่อยยนต์ซึ่งเป็นของที่มีถิ่นกำเนิดผลิตในต่างประเทศซึ่งยังมิได้เสียภาษีและยังมิได้ผ่านศุลกากร โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลที่จะต้องเรียกค่าภาษีอากรขาเข้า หรือมิฉะนั้น จำเลยได้ซื้อ รับจำนำ รับไว้ซึ่งเลื่อยยนต์ และช่วยพาเอาไปเสีย ช่วยจำหน่าย ช่วยซ่อนเร้นซึ่งของดังกล่าวโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นลักลอบนำพาหนีศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากรที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 27,27 ทวิ แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในข้อหาใดข้อหนึ่งเพียงข้อหาเดียวเพราะความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวเป็นคนละความผิดกันจะลงโทษจำเลยในทั้งสองข้อหาย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยให้การว่าขอให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรฐานใดจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรของจำเลย เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยในความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในเขตป่าสงวนฯ ความผิดสำเร็จหรือพยายาม? การคำนวณสินบนรางวัลตามกฎหมาย
คำว่า "ทำไม้" ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(4)หมายความว่า ตัด ฟัน กานโค่นลิดเลื่อยผ่าถาก ทอน ขุดชักลากไม้ในป่า หรือนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใด ๆ แต่เมื่อพระราชบัญญัติ ป่าไม้ฯ มิได้ให้ความหมายพิเศษของคำเหล่านี้ไว้จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำเหล่านั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ซึ่งให้ความหมายของคำว่า "ตัด"ว่าทำให้ขาดด้วยของมีคม คำว่า "ฟัน" หมายถึง เอาของมีคมฟันลงไปคำว่า "กาน" หมายถึง ตัดเพื่อให้แตกใหม่ คำว่า "โค่น" หมายถึงล้มหรือทำให้ล้ม คำว่า "ลิด"หมายถึงเด็ดหรือตัดเพื่อแต่งคำว่า "เลื่อย" หมายถึงตัดด้วยเลื่อย จึงเห็นได้ว่าคำว่า"ทำไม้" ไม่ว่าด้วยวิธีตัด ฟัน กานโค่นลิดเลื่อยผ่าถากทอน ขุด ชักลาก หรือนำไม้ออกจากป่า ล้วนแต่เป็นการทำให้ต้นไม้ขาดจากลำต้นหรือจากพื้นดินที่ต้นไม้นั้นปลูกอยู่ทั้งสิ้นประกอบกับวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ที่ห้ามมิให้ทำไม้โดยมิได้รับอนุญาตก็เพื่อมิให้มีการทำลายป่าและเพื่อรักษาทรัพยากรและความสมดุล ทาง ธรรมชาติไว้ ฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าต้นยางที่จำเลยตัดมีขนาดเส้นรอบวงของลำต้นตรงที่ถูกตัดถึง 1.80 เมตร และสูง 16 เมตร มีร่องรอยการตัดด้วยเลื่อยเพียง 2 รอย ลึกเพียง 1 นิ้ว และยาว 5 นิ้วเท่านั้นและต้นยางดังกล่าว มิได้โค่นล้มหรือตายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นเพียงการลงมือกระทำความผิดฐานทำไม้แต่กระทำไปไม่ตลอด เป็นความผิดฐานพยายามทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตมิใช่ความผิดสำเร็จพระราชบัญญัติ ญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิดฯ มาตรา 8ให้จ่ายเงินรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางที่ศาลสั่งริบไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษาซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขอแก้ไข เพราะประกาศดังกล่าวไม่อาจแก้บทกฎหมายที่ตราไว้แล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและการพกพาอาวุธปืนในพื้นที่ป่าสงวน
จำเลยคว้าเอาอาวุธปืนแก๊ปยาวที่ผู้ตายพิงไว้ที่ต้นไม้มายิงผู้ตายในทันทีทันใดโดยไม่มีเหตุป้องกันตน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตาม ป.อ.มาตรา 288
ที่เกิดเหตุอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หลังเกิดเหตุจำเลยพาอาวุธปืนเดินไปตามป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่ปรากฏว่าเป็นทางที่ประชาชนใช้ในการจราจร ไม่มีหมู่บ้าน เพราะเดินอ้อมภูเขา จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิวรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในห้องแถวบนป่าสงวน: สัญญาเช่าผูกพันแม้ราษฎรยึดครองโดยมิชอบ สิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเช่า
แม้ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัยในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัยไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกัน เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างห้องแถวพิพาทบนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยก็มีสิทธิยึดถือและใช้สอยห้องแถวพิพาท กับมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับห้องแถวพิพาทโดยมิชอบ รวมทั้งมีสิทธิที่จะจำหน่ายห้องแถวพิพาทในสถานะเช่นเดียวกับเจ้าของ เมื่อโจทก์ได้ซื้อห้องแถวพิพาทจากจำเลย และจำเลยได้ยอมรับสิทธิของโจทก์โดยได้ทำหนังสือสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทจากโจทก์ สัญญาเช่าจึงใช้บังคับได้มีผลผูกพันจำเลยเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากห้องแถวพิพาทและเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1789/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดครองก่อนเป็นป่าสงวนฯ และอำนาจศาลสั่งขับไล่ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ
จำเลยที่ 1 เข้ายึดถือที่พิพาทก่อนที่ทางราชการจะกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีเจตนากระทำผิด คำขอให้จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่ยึดถือครอบครองเป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคท้าย เมื่อศาลมิได้พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามบทมาตราดังกล่าว ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งตามที่โจทก์ขอได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 ไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน น.ส.3 ที่มีมาก่อนเขตป่าสงวน การยึดถือแทนเจ้าของ และการบอกกล่าวเปลี่ยนแปลงเจตนา
ที่ดินของโจทก์ออก น.ส.3 มาก่อนกฎกระทรวงประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินของโจทก์ยังไม่ถูกเพิกถอน น.ส.3 โจทก์จึงยังคงมีสิทธิในที่ดินตามมาตรา 12 วรรคท้าย ของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ การที่จำเลยทั้งห้าทำนาในนาพิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ต้องถือว่าจำเลยทั้งห้ายึดถือนาพิพาทแทนโจทก์ จำเลยทั้งห้าจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือได้ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าไม่เจตนาจะยึดถือนาพิพาทแทนโจทก์ต่อไป ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 เท่านั้น เพียงแต่การไปขอให้ทางราชการออกหนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินในนาพิพาทได้ชั่วคราว หรือ สทก.1 ยังไม่ถือว่าเป็นการบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษทางอาญาที่ถูกต้องตามกฎหมายป่าไม้และป่าสงวนแห่งชาติ โดยพิจารณาบทหนักและอำนาจแก้ไขโทษของศาล
ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507มาตรา 31 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 วางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทห้าหมื่นบาท แต่โทษฐานทำไม้หวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสองแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2525มาตรา 4 วางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท โทษจำคุกที่จำเลยทั้งแปดจะได้รับตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ดังกล่าวสูงถึงยี่สิบปีจึงเป็นโทษ ที่หนักกว่าโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าว ซึ่งมีโทษขั้นสูงเพียงสิบห้าปี โดยไม่ต้องคำนึงว่าโทษขั้นต่ำ ของกฎหมายใดจะสูงกว่ากัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จำเลยทั้งแปดมีความผิดฐานแผ้วถางป่าและทำไม้หวงห้าม โดยไม่รับอนุญาต แต่ให้ลงโทษฐานแผ้วถางป่าตามพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนัก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จึงไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความ ฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ และเมื่อศาลฎีกา เห็นอีกว่า ที่ศาลล่างลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ที่ 6 ที่ 7 และที่ 8 ในข้อหาดังกล่าวคนละ 8 ปีนั้นหนักเกินไปก็กำหนดโทษ ให้น้อยลงอีกได้ ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึง จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ที่มิได้ฎีกาได้ด้วยเพราะ เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225 สำหรับข้อหามีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งแปดคนละ 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยทั้งแปดคนละ 4 ปี เช่นเดิม แม้ข้อหาดังกล่าวนี้ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดมานั้นหนักเกินไป ก็มีอำนาจแก้ไขเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และสำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งถอนอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้แก้ไข กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2488 มาตรา 69,72 ตรีโดยไม่ระบุวรรค ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยระบุวรรคให้ถูกต้องได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสำคัญในการกระทำผิดป่าสงวน - ศาลไม่มีอำนาจสั่งขับไล่หากขาดองค์ประกอบความผิด
จำเลยไม่รู้ว่าที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งจำเลยอาศัยอยู่เป็นป่าสงวนการกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานยึดถือครอบครอง แผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง
คำขอของโจทก์ที่ขอให้ศาลสั่งจำเลยกับบริวารออกไปจากที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองเป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคท้าย เมื่อศาลมิได้พิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำผิดตามมาตราดังกล่าว ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งให้ตามที่โจทก์ขอได้ การที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นการไม่ชอบเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสำคัญในการกระทำผิดป่าสงวนฯ – การพิพากษาต้องมีก่อนสั่งขับไล่
บริเวณที่เกิดเหตุไม่มีป้ายแสดงว่าเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีบ้านราษฎรปลูกอยู่สองข้างทางหลายหลัง และทางราชการได้ออก น.ส.3ก.สำหรับที่ดินใกล้เคียงหลายแปลง จำเลยซึ่งเป็นคนต่างท้องที่ไม่รู้ว่าที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งจำเลยอาศัยอยู่เป็นป่าสงวนแห่งชาติจึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิด คำขอให้สั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตาม พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคท้าย ศาลจะสั่งได้ต่อเมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าว ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
of 18