พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ต้องเป็นการครอบครองที่ดินของผู้อื่นที่มีกรรมสิทธิ์อยู่แล้ว
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ย่อมหมายถึงการครอบครองที่ดินที่ผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์ เมื่อที่ดินที่ผู้ร้องครอบครองเป็นที่ดินไม่มีโฉนดหรือยังไม่เคยมีผู้ใดมีกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องก็จะใช้สิทธิทางศาลเสนอคดีไม่มีข้อพิพาทขอให้ศาลแสดงว่าผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 995/2497)
กรณีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแสดงว่าที่นามีใบไต่สวนเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้น ไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ร้องขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์ได้ ศาลย่อมยกคำร้องขอของผู้ร้อง
แม้เจ้าของที่นาจะไปขอออกโฉนดที่นา แต่ตราบใดที่เจ้าของที่นายังไม่ได้ขอรับโฉนดมา ที่นานั้นก็ยังไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่นา ผู้ยึดถือที่นานั้นมีแต่สิทธิครอบครองเท่านั้นหากมีผู้ใดมาแย่งสิทธิประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ก็ให้ใช้อายุความ 1 ปี ไม่ใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382
กรณีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแสดงว่าที่นามีใบไต่สวนเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้น ไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ร้องขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์ได้ ศาลย่อมยกคำร้องขอของผู้ร้อง
แม้เจ้าของที่นาจะไปขอออกโฉนดที่นา แต่ตราบใดที่เจ้าของที่นายังไม่ได้ขอรับโฉนดมา ที่นานั้นก็ยังไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่นา ผู้ยึดถือที่นานั้นมีแต่สิทธิครอบครองเท่านั้นหากมีผู้ใดมาแย่งสิทธิประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ก็ให้ใช้อายุความ 1 ปี ไม่ใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดสิทธิข้าราชการ: ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน ใช้ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448
กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัยแต่การสั่งตั้งกรรมการพิจารณาโทษที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการนั้นเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนี้ กรณีเป็นเรื่องละเมิดสิทธิในการรับราชการของโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่ฉะนั้น การที่โจทก์จะฟ้องเรียกเงินเดือนที่ไม่ได้รับในระหว่างถูกปลดจากราชการย่อมต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 จะใช้อายุความ 5 ปี ตามมาตรา 166 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อจดทะเบียน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลว่าที่ดินโฉนดที่ 259มีชื่อผู้ร้องนายทองสามีผู้ร้องและนางชดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน เมื่อ20 ปีเศษมานี้นางชดได้สละกรรมสิทธิ์ส่วนของตนโดยอพยพไปอยู่จังหวัดสระบุรี และมิได้กลับเข้ามาครอบครองที่ดินแปลงนี้อีก และวันที่ 20 ตุลาคม 2493 นางทองสามีผู้ร้องถึงแก่กรรมผู้ร้องจึงได้ครอบครองที่แปลงนี้ทั้งหมดแต่ผู้เดียวโดยสงบเปิดเผยโดยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า10 ปีแล้ว ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนของนางชดและส่วนของนายทองสามีผู้ร้อง. จึงขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินส่วนของนางชดและของนายทองเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง คำร้องขอเช่นว่านี้เป็นการอ้างว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินด้วยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ซึ่งผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอฝ่ายเดียวเพื่อให้ศาลไต่สวนแสดงว่าตนมีกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 78และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188(1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ของมีค่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 620: สินค้าธรรมดาไม่ใช่ของมีค่าพิเศษ
สินค้าผ้าเป็นสิ่งของธรรมดาสามัญทั่ว ๆ ไป เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นของมีค่าพิเศษอย่างไร จะถือว่าเป็นของมีค่าตามความหมายแห่ง ม. 620 ยังไม่ได้
ของมีค่าอย่างอื่น ๆตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 620 บัญญัติไว้นั้น น่าจะหมายถึงสิ่งของมีค่าทำนองเดียวกับของตามที่ระบุไว้ในบทมาตรานี้
ของมีค่าอย่างอื่น ๆตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 620 บัญญัติไว้นั้น น่าจะหมายถึงสิ่งของมีค่าทำนองเดียวกับของตามที่ระบุไว้ในบทมาตรานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้จำนอง: หลักฐานการชำระหนี้ต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรค 2 พยานบุคคลเพียงอย่างเดียวไม่พอ
เมื่อคดีได้ความว่าหนี้จำนองรายนี้เป็นเรื่องที่จำเลยรับเงินจากโจทก์ไปใช้ ในลักษณะยืมเงินแล้วทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้ ดังนั้น การที่จะนำสืบถึงการชำระหนี้จะต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรค 2 มาใช้บังคับ จำเลยคงมีแต่พยานบุคคลมาสืบว่าได้ชำระหนี้แล้ว ข้อนำสืบของจำเลยดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังการแยกกันอยู่และการซื้อทรัพย์สินแทนเดิมตาม ป.พ.พ. บรรพ 5
สมรสก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 ขณะจะขาดจากการสมรสใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 แล้ว เหตุที่จะขาดจากการสมรสต้องใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 บังคับและการที่สามีภริยามาร้างกันระหว่างใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 สามีขายทรัพย์สินสมรสไปแล้วซื้อทรัพย์อื่นมาแทน ทรัพย์นั้นก็ต้องเป็นสินสมรส แต่ทรัพย์ที่สามีหาได้มาระหว่างร้างกันไม่เป็นสินสมรส
ในชั้นฎีกา ผู้ฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในชั้นฎีกา ถ้าทรัพย์ที่เรียกร้องมีหลายอย่างตีราคารวมกันมา แต่ผู้ฎีกา ๆ เฉพาะทรัพย์บางอย่าง การคำนวณค่าขึ้นศาลศาลควรจัดการตีราคาทรัพย์แยกจากกันก่อน แล้วจึงเรียกค่าขึ้นศาล
ในชั้นฎีกา ผู้ฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในชั้นฎีกา ถ้าทรัพย์ที่เรียกร้องมีหลายอย่างตีราคารวมกันมา แต่ผู้ฎีกา ๆ เฉพาะทรัพย์บางอย่าง การคำนวณค่าขึ้นศาลศาลควรจัดการตีราคาทรัพย์แยกจากกันก่อน แล้วจึงเรียกค่าขึ้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือหย่าตาม ป.พ.พ. บรรพ 5: การบังคับให้จดทะเบียนหย่าหลังทำหนังสือหย่าโดยความยินยอม
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันภายหลังใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 ต่อมาได้ตกลงทำหนังสือหย่ากันไว้โดยความยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย และมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คนถูกต้องตาม ม.1498 วรรค 2 แต่จำเลยบิดพริ้วไม่ยอมไปจดทะเบียนการหย่า ตาม ม.1499 โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการหย่าเพื่อความสมบูรณ์ตาม ม.1499 ได้ และถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ก็ให้ถือคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาตาม ป.พ.พ.มาตรา 213
ถ้าผัวเมียสมรสกันก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 หนังสือหย่านี้จะใช้ได้สมบูรณ์ทันทีในขณะได้ทำหนังสือสัญญาหย่านี้เสร็จ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2500)
ถ้าผัวเมียสมรสกันก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 หนังสือหย่านี้จะใช้ได้สมบูรณ์ทันทีในขณะได้ทำหนังสือสัญญาหย่านี้เสร็จ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด: การบังคับใช้ ป.พ.พ. มาตรา 1330 และ 1332
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ซื้อทรัพย์ของโจทก์ไปจากการขายทอดตลาดของศาล โจทก์ประสงค์จะขอซื้อทรัพย์คืนจากจำเลย คำฟ้องเช่นนี้จะนำ ป.พ.พ. ม.1332 มาบังคับใช้ในคดีนี้หาได้ไม่เพราะ ม.1332 เป็นเรื่องซื้อทรัพย์ในการขายทอดตลาดหรือในท้องตลาดหรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ไม่เกี่ยวกับการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลซึ่ง ป.พ.พ. ม.1330 บัญญัติได้โดยเฉพาะแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนที่ดินเวนคืนตามคำพิพากษา ไม่ถือเป็นการโอนตาม ป.พ.พ. ม.1305
ที่ดินที่ถูกทางราชการเวนคืนไป แล้วต่อมามีคำพิพากษาให้คืนที่ ๆ ถูกเวนคืนแก่เจ้าของ การคืนนั้นไม่ต้องกระทำตาม ป.พ.พ. ม. 1305 เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องการโอนแก่กัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสและมรดก: การพิสูจน์สถานะคู่สมรสที่ไม่จดทะเบียน และสิทธิในทรัพย์สินที่ได้มาหลังใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันมาก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 จึงขอให้ศาลแสดงว่าทรัพย์ที่พิพาทเป็นสินสมรส โจทก์มีสิทธิสองส่วนจำเลยหนึ่งส่วน
จำเลยต่อสู้ว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวจำเลย ๆ เป็นภรรยาโจทก์หลังใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ภายหลังได้หย่าขาดและแบ่งทรัพย์กันแล้ว ดังนี้ แม้ในคดีก่อนที่จำเลยฟ้องโจทก์ว่าลักตัดยางในสวนพิพาทศาล่จะฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ5 ก็ดี ในคดีใหม่นี้ ศาลก็ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันเมื่อใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 แล้ว และไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันได้ เพราะคดีใหม่นี้+หาได้เกี่ยวเนื่องมาจากคดีอาญาที่หากันว่าลักตัดยางในสวนพิพาทไม่ คู่ความมาพิพาทกันด้วยสิทธิในครอบครัว และทรัพย์สินในทางแพ่ง เป็นเรื่องใหม่อีกโสดหนึ่งต่างหาก
จำเลยต่อสู้ว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวจำเลย ๆ เป็นภรรยาโจทก์หลังใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ภายหลังได้หย่าขาดและแบ่งทรัพย์กันแล้ว ดังนี้ แม้ในคดีก่อนที่จำเลยฟ้องโจทก์ว่าลักตัดยางในสวนพิพาทศาล่จะฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ5 ก็ดี ในคดีใหม่นี้ ศาลก็ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันเมื่อใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 แล้ว และไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันได้ เพราะคดีใหม่นี้+หาได้เกี่ยวเนื่องมาจากคดีอาญาที่หากันว่าลักตัดยางในสวนพิพาทไม่ คู่ความมาพิพาทกันด้วยสิทธิในครอบครัว และทรัพย์สินในทางแพ่ง เป็นเรื่องใหม่อีกโสดหนึ่งต่างหาก