พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4556/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ก่อนอุทธรณ์
จำเลยขาดนัดพิจารณาและศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ถูกยกเลิกเพิกถอนไปได้ ผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น จำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติก่อน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อเท็จจริงตามคำท้าในคดีพิพาทที่ดิน และผลผูกพันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84(1)
โจทก์ฎีกา ความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายพ้นกำหนดหนึ่งปีแล้วไม่ปรากฏว่าผู้ใดมีคำขอเข้าเป็นคู่ความแทน หรือคู่ความฝ่ายใดมีคำขอให้ศาลหมายเรียกผู้ใดเข้าเป็นคู่ความแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 จึงให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 เสียจากสารบบความของศาลฎีกา
ก่อนชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำแผนที่พิพาทโดยให้เจ้าพนักงานที่ดินระบุรายละเอียดเกี่ยวกับแนวเขต ที่ดินพิพาท รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งเพาะปลูกบนดินรวมทั้งสิ่งอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานที่ดินเห็นสมควร เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคดี เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทเสร็จแล้ว ศาลได้ให้คู่ความทั้งสองฝ่ายตรวจดู ต่างรับรองว่าแผนที่พิพาทถูกต้องและอ้างเป็นพยานร่วมกันและคู่ความได้ท้ากันว่า ให้ถือเอาคำเบิกความของ ส. เจ้าพนักงานที่ดินผู้จำลอง แผนที่พิพาทเป็นข้อแพ้ชนะในคดี หาก ส. นำแผนที่พิพาทเปรียบเทียบกับรูปจำลองแผนที่ของที่ดินซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้ว ส. เห็นว่าหรือน่าเชื่อว่าเส้นแนวเขตตามแผนที่พิพาทส่วนที่โจทก์นำชี้หรือส่วนที่จำเลยนำชี้เส้นแนวเขตไหนน่าจะเป็นเขตที่ถูกต้องคู่ความยอมรับตามนั้น หากเส้นแนวเขตที่โจทก์นำชี้ถูกต้อง จำเลยยอมแพ้คดี หากส่วนที่จำเลยนำชี้ถูกต้องโจทก์ยอมแพ้คดีและคู่ความต่างแถลงสละประเด็นข้อพิพาททั้งหมด ต่อมา ส. เบิกความต่อศาลว่าน่าเชื่อว่า เส้นแนวเขตตามแผนที่พิพาทส่วนที่จำเลยนำชี้น่าจะเป็นแนวเขตที่ถูกต้อง การที่โจทก์จำเลยตกลงท้ากันให้ถือเอาคำเบิกความของ ส. เป็นข้อแพ้ชนะในคดีถือว่าเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) โดยมี เงื่อนไขว่าต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดเสียก่อน ถ้าผลแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นเป็นประโยชน์ต่อคู่ความฝ่ายใด อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องยอมรับข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นทั้งหมด เมื่อ ส. เบิกความว่าน่าเชื่อว่าเส้นแนวเขตของแผนที่พิพาทส่วนที่จำเลยชี้น่าจะเป็นเส้นแนวเขตที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของคำท้า ทุกประการ โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
ก่อนชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำแผนที่พิพาทโดยให้เจ้าพนักงานที่ดินระบุรายละเอียดเกี่ยวกับแนวเขต ที่ดินพิพาท รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งเพาะปลูกบนดินรวมทั้งสิ่งอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานที่ดินเห็นสมควร เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคดี เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทเสร็จแล้ว ศาลได้ให้คู่ความทั้งสองฝ่ายตรวจดู ต่างรับรองว่าแผนที่พิพาทถูกต้องและอ้างเป็นพยานร่วมกันและคู่ความได้ท้ากันว่า ให้ถือเอาคำเบิกความของ ส. เจ้าพนักงานที่ดินผู้จำลอง แผนที่พิพาทเป็นข้อแพ้ชนะในคดี หาก ส. นำแผนที่พิพาทเปรียบเทียบกับรูปจำลองแผนที่ของที่ดินซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้ว ส. เห็นว่าหรือน่าเชื่อว่าเส้นแนวเขตตามแผนที่พิพาทส่วนที่โจทก์นำชี้หรือส่วนที่จำเลยนำชี้เส้นแนวเขตไหนน่าจะเป็นเขตที่ถูกต้องคู่ความยอมรับตามนั้น หากเส้นแนวเขตที่โจทก์นำชี้ถูกต้อง จำเลยยอมแพ้คดี หากส่วนที่จำเลยนำชี้ถูกต้องโจทก์ยอมแพ้คดีและคู่ความต่างแถลงสละประเด็นข้อพิพาททั้งหมด ต่อมา ส. เบิกความต่อศาลว่าน่าเชื่อว่า เส้นแนวเขตตามแผนที่พิพาทส่วนที่จำเลยนำชี้น่าจะเป็นแนวเขตที่ถูกต้อง การที่โจทก์จำเลยตกลงท้ากันให้ถือเอาคำเบิกความของ ส. เป็นข้อแพ้ชนะในคดีถือว่าเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) โดยมี เงื่อนไขว่าต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดเสียก่อน ถ้าผลแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นเป็นประโยชน์ต่อคู่ความฝ่ายใด อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องยอมรับข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นทั้งหมด เมื่อ ส. เบิกความว่าน่าเชื่อว่าเส้นแนวเขตของแผนที่พิพาทส่วนที่จำเลยชี้น่าจะเป็นเส้นแนวเขตที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของคำท้า ทุกประการ โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2879/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเรียกค่าเสียหาย: การดำเนินคดีซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ต้องเป็นการฟ้องร้องระหว่างคู่ความเดียวกัน
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 เป็นการห้ามศาลไม่ให้ดำเนินคดีนั้นต่อไปอีกจะเป็นทั้งคดีหรือเฉพาะแต่ประเด็นใดประเด็นหนึ่งก็ได้ซึ่งต้องเป็นคู่ความเดียวกัน เมื่อคดีนี้โจทก์จำเลยยังไม่เคยดำเนินคดีฟ้องร้องว่ากล่าวกันให้อีกฝ่ายหนึ่งรับผิดแต่อย่างใด กรณีจึงไม่เข้าตามมาตรา 144 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การที่ขัดแย้งกันเอง และผลกระทบต่อประเด็นข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177
แม้การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1 จะเป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือไม่ก็ย่อมกระทำได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 (3) แต่เนื่องจากคำให้การของจำเลยที่ 1 กับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกันเอง กลายเป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้งอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ศาลฎีกาจึงไม่อาจอนุญาตให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การตามคำร้องดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับเงินค่าป่วยการของข้าราชการ: เงินค่าป่วยการที่ไม่ใช่เงินเดือนและไม่อยู่ในข่ายได้รับการคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286(2)
เจตนารมย์ของบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 286 (2) มุ่งหมายที่จะให้ความคุ้มครองข้าราชการแห่งรัฐที่เลี้ยงชีพด้วยเงินเดือนอันเป็นรายได้ประจำเพียงอย่างเดียวที่แน่นอนตายตัว แต่เงินที่โจทก์ขออายัดเป็นเงินค่าป่วยการรายเดือน และเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งซึ่งเหมาจ่ายเป็นรายเดือนโดยคำนวณจากรายได้จริงตามงบประมาณทั่วไปที่เทศบาลจัดเก็บเองจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย อากรฆ่าสัตว์ ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับและรายได้จากทรัพย์สินของเทศบาลของปีงบประมาณที่ผ่านมา จึงมีลักษณะไม่คงที่ อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามรายได้ของเทศบาล ซึ่งต่างจากเงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการประจำที่มีลักษณะคงที่แน่นอนไม่ผันแปรโดยง่าย ดังนั้นเงินค่าป่วยการรายเดือนและเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งจึงมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "เงินเดือน" ของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 286 (2) โจทก์ย่อมขอบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์เกินกว่าหนี้ตามคำพิพากษาและการดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 304
โจทก์เพียงแถลงขอยึดทรัพย์ของจำเลยเพิ่มเพราะยังได้รับชำระหนี้จากจำเลยไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษา
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะสั่งอนุญาตแต่ก็มีเงื่อนไขว่าต้องไม่เกินยอดหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการเกี่ยวกับการยึดที่ดินของจำเลยตามคำร้องตามวิธีการที่ ป.วิ.พ. มาตรา 304 บัญญัติไว้แต่อย่างใด ไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้หรือไม่ และต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 284 วรรคหนึ่ง ดังจำเลยอ้างหรือไม่ กรณีตามคำร้องยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้น จำเลยจึงไม่อาจใช้สิทธิทางศาลได้
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะสั่งอนุญาตแต่ก็มีเงื่อนไขว่าต้องไม่เกินยอดหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการเกี่ยวกับการยึดที่ดินของจำเลยตามคำร้องตามวิธีการที่ ป.วิ.พ. มาตรา 304 บัญญัติไว้แต่อย่างใด ไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้หรือไม่ และต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 284 วรรคหนึ่ง ดังจำเลยอ้างหรือไม่ กรณีตามคำร้องยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้น จำเลยจึงไม่อาจใช้สิทธิทางศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล จำเป็นต้องมีพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 การอ้างเหตุค่าธรรมเนียมสูง ไม่ถือเป็นเหตุพิเศษ
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ และกำหนดให้โจทก์นำเงิน ค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายใน 15 วัน แม้โจทก์จะยื่นขอขยายระยะเวลาวางเงินก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดแต่โจทก์คงอ้างแต่เพียงว่าค่าธรรมเนียมศาลที่จะต้องนำมาวางศาลมีจำนวนสูงและการไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาเป็นการปิดโอกาสในการต่อสู้คดีเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่ากรณีมีพฤติการณ์พิเศษที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9866/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมที่ไม่ได้ระบุดอกเบี้ย การนำสืบพยานบุคคลขัดมาตรา 94(ข) ป.วิ.พ. ศาลจำกัดดอกเบี้ย
การกู้ยืมเงินเกินกว่า 50 บาท ขึ้นไป กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อสัญญากู้ไม่ได้ระบุข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงต้องฟังว่าสัญญากู้ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ย ดังนั้น การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาเบิกความว่าสัญญากู้เงินมีข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสาร คำพยานของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามมาตรา 94 (ข) แห่ง ป.วิ.พ. โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
บันทึกข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ตามเอกสารแนบท้ายฎีกานั้น โจทก์มิได้นำสืบแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวในชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น และเป็นเอกสารที่อยู่ใน ความครอบครองรู้เห็นของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว การที่โจทก์นำเสนอเอกสารดังกล่าวในชั้นนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
บันทึกข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ตามเอกสารแนบท้ายฎีกานั้น โจทก์มิได้นำสืบแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวในชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น และเป็นเอกสารที่อยู่ใน ความครอบครองรู้เห็นของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว การที่โจทก์นำเสนอเอกสารดังกล่าวในชั้นนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9662/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ ต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 มิฉะนั้นอุทธรณ์ไม่ชอบ
การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ มีผลเท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้โจทก์จำเลยนำพยานเข้าสืบต่อไป จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 , 247 และถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9519/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 กรณีข้อเท็จจริงใหม่ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
ปัญหาที่โจทก์จะยกขึ้นฎีกาเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง มีได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น
ฎีกาโจทก์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก แม้โจทก์จะอ้างว่าไม่สามารถยกปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในชั้นฎีกาได้ตามมาตรา 249 วรรคสอง ข้อเท็จจริงต้องฟังตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบ มาตรา 247 จึงไม่มีเหตุที่จะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่
ฎีกาโจทก์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก แม้โจทก์จะอ้างว่าไม่สามารถยกปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในชั้นฎีกาได้ตามมาตรา 249 วรรคสอง ข้อเท็จจริงต้องฟังตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบ มาตรา 247 จึงไม่มีเหตุที่จะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่