คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผลกระทบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง: พิจารณาเหตุผล, ความจำเป็น, และผลกระทบต่ออีกฝ่าย
การที่ศาลจะอนุญาตให้ถอนฟ้องหรือไม่นั้นเป็นดุลพินิจ ของศาลโดยพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นว่าสมควรหรือไม่ เป็นการถอนฟ้องไปเพื่อเจตนาที่จะฟ้องใหม่ โดยแก้ไขฟ้องเดิมที่บกพร่องอันเป็นการเอาเปรียบในเชิง คดีกับอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ ดังนั้น แม้จำเลยจะคัดค้าน แต่ศาลก็ใช้ดุลพินิจ อนุญาต ให้โจทก์ถอนฟ้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6022-6023/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้างต้องพิจารณาความร้ายแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่แค่ระเบียบ
กรณีจะถือว่าการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาจากพฤติการณ์ของการฝ่าฝืนคำสั่งและผลที่เกิดขึ้นจากการฝ่าฝืนนั้นว่าเป็นเรื่องร้ายแรงหรือไม่เป็นหลัก มิใช่ว่าระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกำหนดไว้อย่างไรก็ต้องถือตามนั้นเสมอไป การที่จำเลยมีคำสั่งให้ครูอาจารย์ที่ได้ยื่นใบสมัครงานไว้ยังหน่วยงานหรือองค์การอื่น ซึ่งถือว่ามีเจตนาเปลี่ยนงานให้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้โรงเรียนทราบโดยแจ้งต่อผู้อำนวยการนั้น เป็นคำสั่งที่มิใช่เกี่ยวกับการทำงานในหน้าที่โดยตรงอันจะถือได้ว่าถ้าฝ่าฝืนแล้วจะเกิดความเสียหายแก่งานในหน้าที่ของลูกจ้างจำเลยโดยตรง แต่เป็นคำสั่งที่จำเลยเห็นว่าลูกจ้างควรปฏิบัติในระหว่างที่เป็นลูกจ้างนายจ้างกันอยู่ การที่โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นกรณีร้ายแรงตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) กำหนดไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาพิจารณาถึงเจตนาและผลกระทบต่อการเสียชีวิตของผู้ถูกทำร้าย
จำเลยใช้ไม้ขนาดหน้า 3 นิ้วฟุต ยาวราว 1 ศอก ไม่ปรากฏว่าหนาเท่าใดตีผู้ตายเมื่อผู้ตายล้มลงก็เข้าไปกระทืบซ้ำ และเมื่อจำเลยต้อนผู้ตายไปติดอยู่ที่รถปิกอัพ จำเลยก็จับศีรษะผู้ตายโขกกับเสาเหล็กโครงหลังคารถปิกอัพซึ่งเป็นเสากลมกลวงขนาดโตไม่เกิน 1 นิ้ว กับเมื่อผู้ตายเดินกลับบ้านจำเลยก็หักไม้รั้วบ้านซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นไม้ขนาดเท่าใด ตีผู้ตายแล้วก็เลิกรากันไป ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย คงถือได้เพียงว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้ตายเท่านั้น เมื่อปรากฏว่า ก่อนถูกจำเลยทำร้ายร่างกายผู้ตายยังมีอาการปกติดีอยู่ ไม่ปรากฏว่ามีอาการผิดปกติอันส่อว่าจะถึงแก่ความตายในเวลาอันรวดเร็ว กลับถึงแก่ความตายหลังจากถูกจำเลยทำร้ายเพียงประมาณ 17 ชั่วโมง แม้แพทย์จะเห็นว่าผู้ตาย ถึงแก่ความตายด้วยโรคตับแข็ง มิได้ตายเพราะบาดแผลที่ถูกจำเลยทำร้ายก็ตาม ก็ถือว่าความตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงจากการถูกจำเลยทำร้ายเพราะทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเร็วขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไม่เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะผู้ขอถอน หากถอนแล้วยื่นฟ้องใหม่ ถือเป็นการเอาเปรียบ
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว
โจทก์ทราบข้อบกพร่องของคำฟ้องจากคำให้การของจำเลยแล้วไม่ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อนวันนัดชี้สองสถาน ในวันนัดชี้สองสถานทนายโจทก์แถลงด้วยวาจาว่า กรณีเดียวกันนี้ทนายโจทก์ยื่นฟ้องวันเดียวกัน ๒ เรื่อง การกลัดเอกสารท้ายคำฟ้องสับสนผิดเรื่อง จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ได้คัดค้านหากโจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องเสียให้ถูกต้อง โจทก์จึงขอถอนฟ้อง แต่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒แถลงคัดค้าน ดังนี้ในวันนั้นถ้าโจทก์ไม่ขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ต้องทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไปตามคำฟ้องคำให้การของคู่ความ และเมื่อมีการชี้สองสถานแล้ว ศาลอาจไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา๑๘๐ วรรคสอง(๒) จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ได้ยกข้อบกพร่องของคำฟ้องของโจทก์ขึ้นมาต่อสู้คดีไว้แล้ว คดีเห็นได้ชัดว่าเมื่อไม่อาจแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ยกขึ้นต่อสู้คดีไว้ให้แจ้งชัดและถูกต้องได้แล้ว โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อนำคำฟ้องที่ได้เรียบเรียงใหม่แก้ไขข้อบกพร่องและความไม่ถูกต้องต่าง ๆ ที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ยกขึ้นต่อสู้ไว้แล้วมายื่นใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลยในเชิงคดี ทำให้จำเลยเสียหาย จึงไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องต้องพิจารณาผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะโจทก์ การถอนฟ้องเพื่อแก้ไขคำฟ้องใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลย
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ทราบข้อบกพร่องของคำฟ้องจากคำให้การแล้วไม่ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อนวันนัดชี้สองสถาน ในวันนัดชี้สองสถานทนายโจทก์แถลงด้วยวาจาว่า กรณีเดียวกันนี้ทนายโจทก์ยื่นฟ้องวันเดียวกัน 2 เรื่องการกลัดเอกสารท้ายคำฟ้องสับสนผิดเรื่อง โจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องเสียให้ถูกต้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 คัดค้าน โจทก์จึงขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 แถลงคัดค้าน ดังนี้ คดีเห็นได้ชัดว่าเมื่อไม่อาจแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้คดีไว้ให้แจ้งชัดและถูกต้องได้แล้ว โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อนำคำฟ้องที่ได้เรียบเรียงใหม่แก้ไขข้อบกพร่องและความไม่ถูกต้องต่าง ๆที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้ไว้แล้วมายื่นใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลยในเชิงคดี ทำให้จำเลยเสียหายไม่ชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะโจทก์ หากมีข้อบกพร่องในคำฟ้องเดิมแล้วต้องการแก้ไขใหม่ ย่อมสร้างความเสียหายแก่จำเลย
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ทราบข้อบกพร่องของคำฟ้องจากคำให้การของจำเลยแล้วไม่ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อนวันนัดชี้สองสถาน ในวันนัดชี้สองสถานทนายโจทก์แถลงด้วยวาจาว่า กรณีเดียวกันนี้ทนายโจทก์ยื่นฟ้องวันเดียวกัน 2 เรื่อง การกลัดเอกสารท้ายคำฟ้องสับสนผิดเรื่อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้คัดค้านหากโจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องเสียให้ถูกต้อง โจทก์จึงขอถอนฟ้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2แถลงคัดค้าน ดังนี้ในวันนั้นถ้าโจทก์ไม่ขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ต้องทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไปตามคำฟ้องคำให้การของคู่ความ และเมื่อมีการชี้สองสถานแล้ว ศาลอาจไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา180 วรรคสอง(2) จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ยกข้อบกพร่องของคำฟ้องของโจทก์ขึ้นมาต่อสู้คดีไว้แล้ว คดีเห็นได้ชัดว่าเมื่อไม่อาจแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้คดีไว้ให้แจ้งชัดและถูกต้องได้แล้ว โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อนำคำฟ้องที่ได้เรียบเรียงใหม่แก้ไขข้อบกพร่องและความไม่ถูกต้องต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้ไว้แล้วมายื่นใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลยในเชิงคดี ทำให้จำเลยเสียหาย จึงไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการประนอมหนี้ต่อคดีหนี้เดิม โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้จำเลยร่วมกันชำระหนี้ต่อโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โฆษณาคำสั่งศาลชั้นต้นให้เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2ยื่นคำขอรับชำระหนี้ และต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของจำเลยที่ 2 แล้ว ดังนั้น หนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ โจทก์จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 27,91 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 แม้โจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้โจทก์ก็ถูกผูกมัดโดยการประนอมหนี้ด้วยตามมาตรา 56 โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้อีกไม่ได้ ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง และให้จำหน่ายคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2ในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ผูกพันบุคคลภายนอก และผลกระทบต่อสิทธิในสัญญาจะซื้อขาย
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาจะขายที่ดินแก่โจทก์ 3โฉนด ต่อมาจำเลยที่ 4 ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินในโฉนดหนึ่งที่ทำสัญญาจะขาย และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จะบังคับเอาที่ดินจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่เต็มตามส่วนที่ควรจะได้ทำให้โจทก์เสียเปรียบและเสียหาย แต่โจทก์เป็นบุคคลภายนอกจะฟ้องขอให้หเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมของคู่ความในคดีอื่นซึ่งถึงที่สุดแล้วไม่ได้ ทั้งสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวไม่ใช่คำพิพากษาแสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ที่ดิน ดังนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 ลูกหนี้กับจำเลยที่ 4 จึงไม่ผูกพันโจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาและฐานปลอมแปลงเอกสาร ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งหกเบิกความเท็จ และแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ ในคดีที่จำเลยที่ 2 ร้องขอให้ศาลสั่งว่า อ.เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและขอให้ตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้พิทักษ์กับคดีที่จำเลยที่ 2 ร้องขอให้ศาลสั่งว่า อ. เป็นคนไร้ความสามารถและตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้อนุบาล โดยโจทก์อ้างว่าจำเลยเบิกความและแสดงหลักฐานว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตร อ. ซึ่งเป็นความเท็จดังนี้ เมื่อโจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีทั้งสอง การเบิกความก็ดีการนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานก็ดี เป็นการกระทำต่อศาล เนื้อความก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับ อ. มิได้เกี่ยวกับโจทก์ คดีเป็นเพียงเรื่องขอให้สั่งให้ อ. เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและไร้ความสามารถเท่านั้น แม้โจทก์จะเป็นทายาทอันดับ 3 ความเท็จที่จำเลยเบิกความหรือนำสืบยังไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือส่วนได้เสียของโจทก์โดยตรง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายอันจะมีอำนาจฟ้องคดีในความผิดดังกล่าว ส่วนความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมนั้น โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ปลอมสูติบัตรของจำเลยที่ 2 และจำเลยทั้งหกร่วมกันปลอมสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยทั้งหก แล้วใช้อ้างเป็นพยานต่อศาลในคดีที่ร้องขอให้ อ. เป็นคนไร้ความสามารถ สูติบัตร และสำเนาทะเบียนบ้านต่างเป็นเอกสารที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทำขึ้น หากจะมีการปลอมแปลงก็มิใช่เป็นการกระทำต่อโจทก์ ข้อความในสูติบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านไม่เกี่ยวกับโจทก์ การอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานก็กระทำต่อศาล มิได้กระทำต่อโจทก์ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายในความผิดดังกล่าวเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1194/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัย: น้ำท่วมฉับพลัน vs. ระดับน้ำสูงตามฤดูกาล และผลกระทบต่อสัญญา
เหตุสุดวิสัยหมายถึงเหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นและให้ผลพิบัติโดยไม่มีใครอาจจะป้องกันได้ การที่น้ำป่าพัดสะพานพัง ถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยแต่กรณีระดับน้ำในแม่น้ำเมยสูงขึ้นเป็นสิ่งที่เป็นไปโดยปกติตามฤดูกาล โดยระดับน้ำในหน้าฝนจะสูงขึ้นเช่นนี้ทุกปี ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
of 17