คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผลผูกพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 804 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเล่นแชร์มีผลผูกพันตามกฎหมาย แม้จัดตั้งวงแชร์ผิด พ.ร.บ.เล่นแชร์ สิทธิเรียกร้องเฉพาะสมาชิกวงแชร์
พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ฯ มาตรา 6 ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดที่ระบุไว้ ในมาตรา 6 และมีมาตรา 7 ให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ฝ่ายเดียวที่จะฟ้องคดี หรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่ฝ่าฝืน มาตรา 6 ไว้เท่านั้น ส่วนสมาชิกผู้เข้าเล่นแชร์ด้วยกันหาได้มีบทบัญญัติ ห้ามเล่นแชร์ไม่ ทั้งการเล่นแชร์เป็นสัญญาเกิดจากการตกลงกันระหว่าง ผู้เล่นที่จะชำระเงินให้แก่ผู้ประมูลแชร์ได้ จึงมีผลผูกพันและบังคับกันได้ ตามกฎหมาย การที่ผู้เล่นซึ่งเป็นผู้ประมูลแชร์ไปได้ก่อนนำเช็คของจำเลย มาชำระให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประมูลแชร์ได้ การชำระหนี้ค่าแชร์ดังกล่าว จึงหาเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมผิดกฎหมาย และผลผูกพันทางกฎหมายจากคำพิพากษาถึงที่สุด
วิธีพิจารณาความแพ่ง คำพิพากษา ผลผูกพัน (ม.145)พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 (ม.42, 43)ป.วิ.พ. มาตรา 146พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42, 43
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอยอันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแบบซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43ให้อำนาจไว้ โจทก์มิได้ฟ้องคดีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่น สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อาคารตั้งอยู่ มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ ย่อมจะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัย มีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกัน ไม่มีข้อยกเว้นว่าพื้นที่ใดอยู่นอกเขตการบังคับใช้เมื่ออาคารของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของข้อบัญญัติดังกล่าว หาได้อยู่เหนือการบังคับใช้ไม่ จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฎิบัติตามกฎหมายด้วยไม่ได้
ฎีกาเนฯ ตอนที่ 2/2544

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5534/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพชั้นจับกุมมีผลผูกพันจำเลย แม้เกิดจากการต่อรอง ไม่ใช่การถูกบังคับจากเจ้าพนักงาน
พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบรับฟังได้ความชัดว่า ว. ได้พบเห็นจำเลยอยู่ในร้านค้าของ ว. โดย ส. ลูกจ้างของ ว. อยู่นอกร้านค้า และจำเลยเดินหนีออกจากร้านค้าโดยในมือถือสิ่งของไปด้วย ต่อมาหลังจาก ว. คาดคั้นและทราบจาก ส. ว่าถูกจำเลยข่มขู่และเอาทรัพย์สินไปแล้ว ว. ไปสถานีตำรวจพร้อมจำเลย จำเลยรับสารภาพและลงลายมือชื่อในบันทึกชั้นจับกุมว่าเอาทรัพย์สินของ ว. ไปจริง แม้ข้อนี้จำเลยจะนำสืบว่า เหตุที่รับสารภาพในชั้นจับกุมเนื่องจากถูก ว. หลอกว่าจะไม่เอาเรื่อง หากเป็นจริงก็ไม่ได้ทำให้คำรับสารภาพในชั้นจับกุมเสียไปเพราะมิได้เกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงาน แต่เกิดจากการต่อรองและการตัดสินใจของจำเลยโดยสมัครใจ ย่อมรับฟังยันจำเลยได้ พยานหลักฐานโจทก์รับฟังลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าในศาล: ข้อตกลงให้รังวัดที่ดินเพื่อวินิจฉัยสิทธิ และผลผูกพันตามข้อตกลง
การท้ากันในศาลก็คือการแถลงร่วมกันของคู่ความตกลงกันให้ศาลตัดสินชี้ขาดตามข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่คู่ความมีความเห็นตรงกันข้ามในเหตุการณ์ภายหน้าอันไม่แน่นอนและจะแน่นอนได้ต่อเมื่อเหตุการณ์นั้นผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งถ้าเหตุการณ์นั้นตรงกับความเห็นของฝ่ายใด ศาลจะต้องตัดสินให้ในฝ่ายนั้นชนะ
คู่ความมีข้อตกลงกันตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ให้นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดที่ดินพิพาทใหม่ หากปรากฏว่าหลักหมุด จ. 1078 ล้ำเข้าไปในที่ดินส่วนของจำเลยทั้งห้า โจทก์จะเป็นฝ่ายแก้ไขโฉนดให้มาในแนวตรงที่วัดระหว่างหลักหมุด ค. 4463 กับหลักหมุด คก. 5 หรือหลักหมุด ค. 4483 แต่ถ้าหากหลักหมุด จ. 1078 ไม่ได้ล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยทั้งห้า จำเลยทั้งห้าจะรื้อถอนรั้วที่ล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แล้วคู่ความจะเลิกคดีกันโดยโจทก์จะถอนฟ้อง ปัญหาว่าหลักหมุด จ. 1070 อยู่ในที่ดินของโจทก์หรือจำเลยทั้งห้าเป็นข้อเท็จจริงที่จะทำให้คดีแพ้ชนะกันในประเด็นข้อพิพาทข้อตกลงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าว เป็นเรื่องที่คู่ความไม่ประสงค์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานไปตามปกติแต่จะยอมรับข้อเท็จจริงกันตามที่เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตมาแล้ว จึงมีลักษณะเป็นคำท้าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 มีผลใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการมาตามข้อตกลงแล้ว ศาลชั้นต้นก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดไปตามนั้น ไม่ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5200/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างเดิมมีผลผูกพัน แม้มีข้อบังคับใหม่ขัดแย้ง หากลูกจ้างไม่ยินยอม
ประกาศว่าด้วยการให้เงินบำเหน็จแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีผลผูกพันให้นายจ้างต้องปฏิบัติตามนับแต่วันที่นายจ้างประกาศใช้เป็นต้นไป แม้ต่อมานายจ้างจะประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานขึ้นใหม่โดยมีบทเฉพาะกาลขัดแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมและมิใช่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เป็นคุณยิ่งกว่า เมื่อลูกจ้างมิได้ตกลงยินยอมด้วย ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องการให้เงินบำเหน็จให้เป็นไปตามบทเฉพาะกาลของข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย จึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20
ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำผิดโดยมีหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ ส่วนเงินบำเหน็จตามประกาศว่าด้วยการให้เงินบำเหน็จแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้เป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานหรือเป็นสวัสดิการพิเศษแก่ลูกจ้างที่ได้ปฏิบัติงานให้นายจ้างด้วยดีตลอดมาโดยไม่มีความผิดอันมีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนคุณงามความดีของลูกจ้าง วัตถุประสงค์และหลักการของการจ่ายค่าชดเชยกับเงินบำเหน็จจึงแตกต่างกัน เมื่อประกาศการให้เงินบำเหน็จมิได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่า เงินบำเหน็จที่โจทก์พึงจะได้รับนั้นให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างในกรณีที่ค่าชดเชยมีจำนวนมากกว่าเงินบำเหน็จจึงไม่อาจถือได้ว่าเงินค่าชดเชยที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นได้รวมเอาเงินบำเหน็จที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับจากจำเลยตามประกาศการให้เงินบำเหน็จแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและค่าล่วงเวลาหลังการเลิกจ้าง: ผลผูกพันทางกฎหมาย
จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลเป็นการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2542 ซึ่งโจทก์ทราบการเลิกจ้างและไม่ไปทำงานตั้งแต่วันดังกล่าว ต่อมาโจทก์ไปทำหนังสือยินยอมรับเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโดยการสละสิทธิไม่เรียกร้องค่าชดเชยหรือเงินใด ๆ จากโจทก์อีก หลังจากโจทก์ไม่ไปทำงานถึง 2 เดือนเศษ โจทก์จึงมีอิสระแก่ตน พ้นพันธะกรณีและอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยโดยสิ้นเชิง การสละสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามเอกสารดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและไม่เป็นโมฆะ
เอกสารฉบับพิพาทระบุว่า จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2542 โดยจำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ 169,600 บาท โจทก์ทราบแล้วตกลงรับเงินจำนวนดังกล่าวโดยจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกค่าชดเชยหรือเงินใด ๆ จากจำเลยอีก ซึ่งเงินใด ๆ ที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอีกดังกล่าวนั้น ย่อมหมายถึงเงินทุกประเภท รวมทั้งค่าล่วงเวลาที่โจทก์อาจจะมีสิทธิได้รับจากจำเลยด้วย เมื่อการสละสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3039/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาจำนองและการคิดดอกเบี้ยเกินคำขอ
จำเลยมอบอำนาจให้ ก.ทำสัญญาจำนองเพื่อให้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน และตามสัญญาจำนองมีข้อความระบุชัดแจ้งว่า คู่สัญญาตกลงให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วย สัญญาจำนองดังกล่าวมีผู้รับมอบอำนาจจำเลยเป็นผู้ลงชื่อไว้แทนจำเลย ซึ่งมีผลเสมอกับลายมือชื่อของจำเลย สัญญาจำนองย่อมมีผลเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่ผูกพันจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันถัดวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์มิได้แก้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ จึงไม่ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับลูกจ้างพ้นสภาพแล้ว: มีผลผูกพันและครอบคลุมสิทธิเรียกร้องทั้งหมด
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า โจทก์ตกลงยินยอมและสัญญาว่าจะไม่ดำเนินการฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและอาญาแก่จำเลย และไม่ติดใจเรียกร้องเงินใด ๆ จากจำเลยอีกต่อไป กับจำเลยไม่มีหนี้สินใด ๆ ที่จะต้องชำระให้โจทก์อีก เมื่อสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี แม้จะเป็นเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 แต่ก็อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใด ๆตามสัญญาประนีประนอมยอมความเช่นเดียวกัน ซึ่งสัญญาดังกล่าวทำขึ้นหลังจากที่โจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีอิสระพ้นพันธะและอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยโดยสิ้นเชิง การทำสัญญาเป็นไปโดยความสมัครใจของคู่สัญญาโดยแท้จริง จึงไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพัน แม้คู่สัญญาไม่ได้ลงลายมือชื่อพร้อมกัน และเอกสารมีชื่อบริษัทอื่นปรากฏ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสองบัญญัติเพียงว่า "อนึ่งสัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่" การที่จำเลยลงลายมือชื่อในเอกสารหนังสือสัญญาค้ำประกันพิพาทแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญาด้วยก็หาทำให้จำเลยพ้นจากความผูกพันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวที่มีอยู่กับโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์สำเร็จ แม้ยังมิได้จดทะเบียน การซื้อโดยไม่สุจริตมีผลผูกพัน
ผู้ร้องทั้งสองเข้าครอบครองที่พิพาททั้งสามแปลงไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันตั้งแต่ปี 2518 ตลอดมาจนถึงวันยื่นคำร้องขอเป็นเวลาเกินสิบปีแล้ว และเมื่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ซื้อที่พิพาททั้งสามแปลงจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลฟ้องขับไล่ผู้ร้องทั้งสองออกจากที่พิพาทดังกล่าว ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้คัดค้านมิใช่ผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันผู้คัดค้านและผู้ร้องทั้งสอง ซึ่งเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของคดีดังกล่าวให้ฟังได้ว่าผู้คัดค้านซื้อที่พิพาททั้งสามแปลงโดยไม่สุจริต แม้ผู้ร้องทั้งสองจะยังไม่จดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาททั้งสามแปลง ก็ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้คัดค้านได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง
คดีนี้ไม่เป็นการร้องขอซ้ำกับคดีของศาลชั้นต้นที่ผู้คัดค้านฟ้องผู้ร้องทั้งสองเรื่องละเมิดและขับไล่ออกจาก ที่พิพาท เพราะคดีดังกล่าวแม้ผู้ร้องทั้งสองจะฟ้องแย้งขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่พิพาททั้งสามแปลง แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและมิได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว โดยถือว่าผู้ร้องทั้งสองสละประเด็นแล้ว ซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืน กรณีจึงยังมิได้มีการวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้แต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาททั้งสามแปลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ชอบแล้ว
of 81