คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผิดนัดชำระหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: ผู้ซื้อผิดนัดชำระหนี้ จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่คืนเงินมัดจำ
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยจำเลยที่1พร้อมชำระหนี้และรับชำระหนี้แต่โจทก์มิได้ชำระหนี้และรับชำระหนี้ตามกำหนดโจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา204วรรคสองแม้สัญญาจะซื้อจะขายมีข้อสัญญาให้จำเลยบอกเลิกสัญญาได้แต่จำเลยก็ให้โอกาสชำระหนี้และรับชำระหนี้ถึงสองครั้งโดยให้โจทก์เป็นผู้กำหนดวันนัดภายใน7วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วครั้งแรกโจทก์อ้างเหตุขัดข้องเรื่องเนื้อที่น้อยกว่าเนื้อที่ตามโฉนดที่ดินและหมุดหลักเขตไม่แน่นอนครั้งหลังโจทก์รับทราบและพ้นเวลาที่จำเลยกำหนดแล้วโจทก์ยังเพิกเฉยกรณีเช่นนี้จำเลยย่อมหลุดพ้นจากข้อผูกพันที่ให้โอกาสโจทก์ชำระหนี้และรับชำระหนี้และสิทธิในการเลิกสัญญาโดยข้อสัญญายังคงมีอยู่หาได้ระงับสิ้นไปไม่เมื่อจำเลยได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์โดยชอบแล้วจำเลยย่อมสิ้นความผูกพันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและมีสิทธิไม่คืนเงินมัดจำที่โจทก์ชำระแล้วทั้งหมดดังนั้นการที่จำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามฟ้องย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาและเมื่อโจทก์ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะรับชำระหนี้หรือชำระหนี้ตอบแทนฝ่ายจำเลยทั้งสามได้ย่อมถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9255/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ถือเป็นการผิดนัดทั้งหมด ศาลอนุญาตบังคับคดีได้
การที่สัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผ่อนชำระเงินเดือนละ 100,000 บาทโดยวิธีนำมาวางศาลเพื่อให้โจทก์รับไปภายในวันสิ้นเดือนของทุกเดือน หากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมดเป็นการกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะต้องชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อมิได้วางเงินตามกำหนดถือว่าผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8086/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดิน และสิทธิของเจ้าหนี้
โจทก์ไม่ชำระเงินมัดจำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกำหนดให้เงินมัดจำเป็นส่วนหนึ่งของการชำระเงินตามสัญญา เงินดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสนอชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1เมื่อโจทก์ไม่เสนอ โจทก์ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 210จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะไม่ชำระหนี้จนกว่าโจทก์จะชำระหนี้หรือขอชำระหนี้ตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 369

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7971/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาผิดนัดชำระหนี้: เริ่มนับจากวันฟ้องคดี หากยังไม่ได้ทวงถามก่อนหน้านี้
จำเลยรับปากว่าจะคืนเงินค่าหุ้นให้โจทก์ แต่เมื่อถึงกำหนดจำเลยไม่คืนเงินให้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา ในข้อหายักยอกเงินค่าหุ้นต่อศาลแขวง และศาลยกฟ้องถือไม่ได้ว่าเป็นการทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ อันจะนำมาคำนวณคิดดอกเบี้ยระหว่างเวลาผิดนัดได้ แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ เรียกให้จำเลยชำระเงินคืน ย่อมถือว่าโจทก์ได้ทวงถาม ให้ชำระหนี้แล้วจำเลยไม่ชำระ ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัด นับแต่วันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7863/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้ใช้บ้านเป็นหลักประกันและตกลงยกให้หากผิดนัดชำระหนี้เป็นโมฆะ หากไม่ได้กำหนดเวลาชำระ
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินมีใจความว่า ถ้าโจทก์ผู้กู้ไม่นำเงินมาชำระคืนแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้กู้ตามกำหนดผู้กู้ยินยอมยกบ้านให้แก่ผู้ร้อง และสัญญากู้ยืมไม่ได้กำหนดเวลาชำระเงินคืนไว้ ความตกลงดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้กู้ยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่ให้กู้ยืมโดยไม่ได้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งทรัพย์สินนั้น ในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบซึ่งขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองความตกลงของโจทก์และผู้ร้องตามสัญญาข้อนี้จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม ดังนั้น แม้โจทก์ยื่นคำแถลงรวมทั้งเบิกความยืนยันว่าขอยกบ้านให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์บ้านจึงยังคงเป็นของโจทก์ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6853/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างเหมา: เริ่มนับแต่วันจำเลยผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยให้ทำการย่อยและขนส่งหินคลุกกองรายทางใช้สำหรับราดยางในทางหลวง ตามสัญญาดังกล่าวกำหนดให้จำเลยส่งมอบงานงวดที่ 1 ให้เสร็จภายในวันที่ 3 ตุลาคม 2522 และส่งมอบงานงวดที่ 2 ให้เสร็จภายในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2522 เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้มาตั้งแต่ครบกำหนดส่งมอบงานงวดที่ 1 คือ วันที่3 ตุลาคม 2522 จำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและบังคับตามสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดดังกล่าว ดังนั้น อายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่โจทก์อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เดิม (มาตรา 193/12ที่แก้ไขใหม่) โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2532จึงเกินกำหนด 10 ปี คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 164 เดิม|มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) จำเลยจึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ตามมาตรา 188 เดิม(มาตรา 193/10 ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6847/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามข้อตกลงประนอมหนี้ และผลกระทบต่อการล้มละลาย รวมถึงข้อผิดพลาดในการพิจารณาคดี
คำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแล้วนั้น มีความว่า ข้อ 1. ลูกหนี้ที่ 2 ยอมชำระค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามมาตรา130 (1)-(7) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 โดยเต็มจำนวนและในทันทีเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ข้อ 2 นอกจากหนี้ที่กล่าวในข้อ 1 ลูกหนี้ที่ 2 ยอมชำระบรรดาหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้แล้วเป็นจำนวนร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้มีกำหนดดังนี้ คือ งวดแรกชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ภายในวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ ส่วนที่เหลือจะชำระภายใน 1 ปี โดยแบ่งออกเป็น 3 งวด งวดละเท่า ๆ กัน โดยมีกำหนด 4 เดือน ต่อ 1 งวด ข้อ 3.หนี้ตามข้อ 1. และ 2. นั้น ลูกหนี้ที่ 2 จะชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อปรากฏว่ามีเจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 จำนวน 10 รายซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้และคดีถึงที่สุดแล้วจำนวน 9 ราย แม้คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 3 คดียังไม่ถึงที่สุดก็เป็นเพียงทำให้ไม่สามารถคำนวณค่าธรรมเนียมตามมาตรา 130 (4) กับจำนวนเงินที่ต้องวางชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ข้อ 1. และข้อ 2. เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 3 นี้เท่านั้น แต่สำหรับค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามมาตรา130 (1)-(7) และจำนวนที่ต้องชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ทั้งเก้ารายซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้และคดีถึงที่สุดแล้ว มิใช่ไม่อาจคำนวณได้ และหากต้องรอให้คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ทุกรายถึงที่สุดก่อนย่อมไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ในรายที่คดีถึงที่สุดซึ่งจะทำให้ได้รับชำระหนี้ล่าช้าออกไป ทั้งยังเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อตกลงในการประนอมหนี้ซึ่งกำหนดเวลาการชำระหนี้ไว้โดยชัดแจ้งลูกหนี้ที่ 2 จะนำเหตุที่คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 3 ยังไม่ถึงที่สุดมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในการประนอมหนี้เสียทั้งหมดเลยหาได้ไม่เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ที่ 3 นำเงินค่าธรรมเนียมและเงินที่ต้องชำระแก่เจ้าหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ไปวางชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 ก็ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนการวางเงินโดยอ้างว่ากำลังรวบรวมเงินอยู่ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ให้โอกาสให้เลื่อนการวางเงินออกไปตามที่ลูกหนี้ที่ 2 ขอแต่เมื่อครบกำหนดแล้วลูกหนี้ที่ 2 กลับเพิกเฉยเสีย ย่อมเป็นข้อแสดงว่าลูกหนี้ที่ 2ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ ถือได้ว่าลูกหนี้ที่ 2 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ ศาลชอบที่จะมีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ลูกหนี้ที่ 2 ล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 60วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาด และคำพิพากษาให้ล้มละลายลับหลังลูกหนี้ที่ 2 โดยในวันนัดลูกหนี้ที่ 2 ไม่ได้มาฟังคำสั่งและคำพิพากษาและระยะเวลานับแต่วันปิดหมายถึงวันอ่านคำสั่งและคำพิพากษาเป็นเวลาน้อยกว่า15 วัน เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ประกอบกับพระราชบัญญัติ-ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ซึ่งเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 แม้จะมีผลที่ให้ถือว่าลูกหนี้ที่ 2 ทราบวันนัดอ่านคำสั่งและคำพิพากษาไม่ได้ และถือว่าลูกหนี้ที่ 2ยังไม่ทราบคำสั่งและคำพิพากษาที่ศาลชั้นต้นได้อ่านนั้นก็ตาม แต่ต่อมาลูกหนี้ที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์ แสดงว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้ทราบคำสั่งและคำพิพากษานั้นแล้ว ลูกหนี้ที่ 2 จึงไม่ได้รับผลเสียหายใด ๆ จากการอ่านคำสั่งและคำพิพากษาที่ผิดระเบียบนั้นเลย จึงไม่มีประโยชน์ที่จะเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยให้ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำสั่งและคำพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5740/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน: โจทก์ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญา
เดิมโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดไม่ไปรับโอนที่ดินพิพาทในวันนัด แต่เมื่อโจทก์จำเลยไม่ถือเอาเวลาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสาระสำคัญจำเลยผู้จะขายซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจึงมีสิทธิบอกกล่าวให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์และชำระราคาที่ค้างโดยกำหนดเวลาตามสมควรได้ เมื่อต่อมาโจทก์ไม่มีเงินมาชำระหนี้ตามกำหนดนัด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยผู้จะขายปฏิบัติตามสัญญาอีกไม่ได้ เพราะการชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างไร ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรงตาม ป.พ.พ.มาตรา 208 วรรคแรกทั้งไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท และเมื่อตามคำฟ้องคำให้การมีประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2ให้การว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาเพราะไม่สามารถหาเงินมาชำระค่าที่ดินที่ค้างได้ขอขยายระยะเวลาการชำระเงินอีกหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม2532 โจทก์ก็ผิดนัดอีก ดังนี้ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ ผลกระทบต่อสิทธิในการผ่อนชำระ และการคำนวณดอกเบี้ย
การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลา แต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วง ย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้ว ประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22เมษายน 2534 ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก 95,460.45 บาท แต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัด โดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่ 5มิถุนายน 2534 หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัด เมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่5 มิถุนายน 2534 ตามที่กำหนดไว้ หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ 3 ปี ตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 ไม่
มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่ แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 อยู่อีกต่อไป จึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ข้อ 1.3 วรรคสองตอนท้าย โดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้น เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น 149,600 บาทยังคงค้างชำระอยู่อีก 95,460.45 บาท จึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12ดังกล่าว จึงต้องคิด ณ วันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 มีผลบังคับคือวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2534 มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้ว ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใด ผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน 95,460.45 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไป คือตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534
ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534 แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2534 เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไข จึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้เมื่อใด? มติที่ประชุมเจ้าหนี้มีผลอย่างไร? การคิดดอกเบี้ยหลังผิดนัด
การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลาแต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วงย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้ว ประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2534 ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก 95,460.45บาท แต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัด โดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่ 5 มิถุนายน 2534 หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัด เมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534 ตามที่กำหนดไว้ หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ 3 ปี ตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 ไม่ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่ แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 อยู่อีกต่อไป จึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ข้อ 1.3 วรรคสอง ตอนท้าย โดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้น เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น 149,600 บาท ยังคงค้างชำระอยู่อีก95,460.45 บาท จึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ดังกล่าว จึงต้องคิด ณ วันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 มีผลบังคับคือวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2534มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้ว ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใด ผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน95,460.45 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไป คือตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534 ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2534เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไข จึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23 เมษายน 2534
of 18