พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างระบุโบนัส 4 เดือน มีผลผูกพัน แม้ระเบียบบริษัทจะกำหนดหลักเกณฑ์อื่น
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง และตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ 4 เดือน จึงมีผลผูกพันให้โจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้างดังกล่าวตลอดเวลาที่โจทก์และจำเลยยังเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันอยู่ ตามสัญญาจ้างดังกล่าวมิได้ระบุกำหนดข้อยกเว้นในกรณีที่จะไม่จ่ายเงินโบนัสประจำปีลดเงินโบนัสประจำปีหรือจำกัดการจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ไว้ ดังนี้ เมื่อโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตลอดทั้งปี จำเลยจะต้องจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ตามจำนวนที่ระบุในสัญญาจ้าง แม้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะกำหนดว่า การจ่ายโบนัส จำเลยจะพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน สถิติการมาทำงาน ความประพฤติ การปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับในการทำงานหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในรอบปี ที่ผ่านมา การจ่ายเงินโบนัสตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าว ไม่แน่นอนว่าลูกจ้างแต่ละคนจะได้เงินโบนัสประจำปีจำนวนเท่าใด ทั้งแต่ละคนอาจจะได้ไม่เท่ากันซึ่งถ้านำมาใช้แก่กรณีของโจทก์ โจทก์อาจจะได้เงินโบนัสประจำปีในแต่ละปีไม่แน่นอนและอาจ จะได้ไม่ถึงปีละ 4 เดือน ตามที่ตกลงไว้ในสัญญาจ้าง และถ้า โจทก์จำเลยมีเจตนาให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสประจำปีมากน้อยตาม ผลการปฏิบัติงาน การมาทำงานความประพฤติ และการปฏิบัติ ตามระเบียบข้อบังคับเช่นลูกจ้างคนอื่น ๆ ก็สามารถนำ ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวมาใช้บังคับ แก่โจทก์ เช่นลูกจ้างคนอื่น ๆ ได้อยู่แล้ว หากจำต้องตกลง จ่ายเงินโบนัสไว้โดยเฉพาะในสัญญาจ้างให้ผิดแผก ไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอีกไม่ การที่โจทก์จำเลยตกลงการจ่ายเงินโบนัสประจำปีไว้ โดยเฉพาะในสัญญาจ้างเช่นนี้ จึงเป็นการชี้ชัดว่า โจทก์จำเลยมีเจตนาให้ผูกพันกันในกรณีการจ่ายเงินโบนัส ประจำปีให้โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว สัญญาจ้างระบุไว้เพียงว่า จำเลยตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี 4 เดือน โดยมิได้ระบุว่าจำเลยตกลงจ่ายให้เฉพาะปีแรก เมื่อปรากฏว่าผลการปฏิบัติงานในปีที่เกิดกรณีพิพาท โจทก์ มีสิทธิได้รับเงินโบนัสประจำปี 4 เดือน จำเลยจึงมี ความผูกพันต้องจ่ายเงินโบนัสประจำปีตามที่ตกลงกันตามสัญญาจ้างนั้นให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงทรัพย์สินก่อนอยู่กินเป็นสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียนสมรสมีผลผูกพันทางกฎหมาย
ผู้ตายกับจำเลยทำข้อตกลงก่อนอยู่กินร่วมกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสว่าทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินร่วมกัน ผู้ตายยินยอมยกให้จำเลยทั้งหมด แต่จำเลยต้องกันเงินส่วนหนึ่งเพื่อส่งเสียเลี้ยงดูภรรยาเก่าและบุตรทั้งหกที่เกิดจากภรรยาเก่าของผู้ตายด้วย ข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลบังคับตามกฎหมาย ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างที่ผู้ตายอยู่กินกับจำเลยจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียว หาได้เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายครึ่งหนึ่งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6878/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คำพิพากษาศาลฎีกาผูกพันโจทก์ ห้ามรื้อร้องประเด็นเดิม แม้ข้ออ้างเปลี่ยนแปลง
คดีก่อนโจทก์ที่ 2 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยโดยมีโจทก์ที่ 1 คดีนี้เข้าเป็นโจทก์ร่วม ขอให้บังคับจำเลยคืนคู่ฉบับสัญญากู้ยืมเงิน และโฉนดที่ดินรวม7 ฉบับ ที่โจทก์ที่ 2 มอบให้จำเลยไว้เป็นการประกันหนี้เงินกู้ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีไว้แล้วว่า โจทก์ทั้งสองพิสูจน์ไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่จำเลยเรียบร้อยแล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมไม่อาจเรียกเอาโฉนดที่ดินที่วางไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมจากจำเลยได้ จึงพิพากษายกคำขอที่ให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ส่วนคู่ฉบับสัญญากู้ยืมเงินศาลฎีกาในคดีก่อนวินิจฉัยว่า จำเลยเอาสัญญากู้ยืมเงินคู่ฉบับของโจทก์ที่ 2 ไปจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งสัญญากู้ยืมเงินคู่ฉบับดังกล่าวเป็นสิทธิของโจทก์ที่ 2 จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงเอกสารดังกล่าวไว้ จึงต้องคืนให้โจทก์ที่ 2 คดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เพื่อให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ ดังกล่าวและสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดียวกันนั้นอีกด้วยความประสงค์เช่นเดิม เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันแม้ในคดีก่อนโจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าโจทก์ที่ 2 ทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวโดยมอบโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ นั้นแก่จำเลยเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืม และโจทก์ที่ 2 ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวเป็นเช็คแก่จำเลยเรียบร้อยแล้ว แต่จำเลยมาขอสัญญากู้ยืมเงินคู่ฉบับจากพนักงานของโจทก์ที่ 2 โดยอ้างว่าจะคืนให้แล้วไม่คืน ส่วนในคดีนี้โจทก์ทั้งสองกลับอ้างว่าโจทก์ที่ 2 ขอสินเชื่อจากจำเลยโดยวิธีนำเช็คของโจทก์ที่ 1 ไปขายลดให้แก่จำเลย และโจทก์ที่ 2 ทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวมอบให้จำเลยไว้โดยไม่มีการมอบเงินกันจริง พร้อมทั้งมอบโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ ให้จำเลยไว้เป็นประกันหนี้ขายลดเช็คดังกล่าวและอ้างว่าสัญญาขายลดเช็คดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่มีหนี้ติดค้างต่อจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองก็คงอาศัยเหตุอย่างเดียวกันคือโจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ และสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยยึดถือไว้ให้แก่โจทก์ได้หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไปในคดีก่อนแล้วมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองไม่อาจอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นได้อีก ดังนั้น ฟ้องของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6878/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ศาลฎีกาผูกพัน โจทก์ไม่อาจอ้างเหตุใหม่เมื่อประเด็นเคยถูกวินิจฉัยแล้ว
คดีก่อนโจทก์ที่ 2 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยโดยมีโจทก์ที่ 1 คดีนี้เข้าเป็นโจทก์ร่วม ขอให้บังคับจำเลยคืนคู่ฉบับสัญญากู้ยืมเงิน และโฉนดที่ดินรวม 7 ฉบับที่โจทก์ที่ 2 มอบให้จำเลยไว้เป็นการประกันหนี้เงินกู้ศาลฎีกาได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีไว้แล้วว่า โจทก์ทั้งสองพิสูจน์ไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่จำเลยเรียบร้อยแล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมไม่อาจเรียกเอาโฉนดที่ดินที่วางไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมจากจำเลยได้จึงพิพากษายกคำขอที่ให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ส่วนคู่ฉบับสัญญากู้ยืมเงินศาลฎีกาในคดีก่อนวินิจฉัยว่าจำเลยเอาสัญญากู้ยืมเงินคู่ฉบับของโจทก์ที่ 2 ไปจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งสัญญากู้ยืมเงินคู่ฉบับดังกล่าวเป็นสิทธิของโจทก์ที่ 2 จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงเอกสารดังกล่าวไว้จึงต้องคืนให้โจทก์ที่ 2 คดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เพื่อให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ ดังกล่าว และสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดียวกันนั้นอีกด้วยความประสงค์เช่นเดิม เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันแม้ในคดีก่อนโจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าโจทก์ที่ 2 ทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว โดยมอบโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ นั้นแก่จำเลยเป็นประกัน หนี้เงินกู้ยืมและโจทก์ที่ 2 ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าว เป็นเช็คแก่จำเลยเรียบร้อยแล้ว แต่จำเลยมาขอสัญญากู้ยืมเงินคู่ฉบับจากพนักงานของโจทก์ที่ 2 โดยอ้างว่าจะคืนให้แล้วไม่คืน ส่วนในคดีนี้โจทก์ทั้งสองกลับอ้างว่า โจทก์ที่ 2 ขอสินเชื่อจากจำเลยโดยวิธีนำเช็คของโจทก์ที่ 1ไปขายลดให้แก่จำเลย และโจทก์ที่ 2 ทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวมอบให้จำเลยไว้โดยไม่มีการมอบเงินกันจริงพร้อมทั้งมอบโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ ให้จำเลยไว้เป็นประกันหนี้ขายลดเช็คดังกล่าวและอ้างว่าสัญญาขายลดเช็คดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่มีหนี้ติดค้างต่อจำเลยก็ตามแต่โจทก์ทั้งสองก็คงอาศัยเหตุอย่างเดียวกันคือโจทก์ทั้งสอง มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับและสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยยึดถือไว้ให้แก่โจทก์ได้หรือไม่ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไปในคดีก่อนแล้วมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองไม่อาจอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นได้อีก ดังนั้น ฟ้องของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5944/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับโอนอาคารที่ดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องผูกพันตามคำพิพากษาเดิม แม้รับโอนโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลแพ่งซึ่งถึงที่สุดแล้วได้พิพากษาให้ ป. รื้อถอนตึกแถวพิพาทส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งมีผลผูกพันคู่ความในคดีหรือ ป. แม้โจทก์จะรับโอนตึกแถวพิพาทโดยสุจริตก็ตาม ก็ตกอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิของ ป. หรืออยู่ในฐานะเช่นเดียวกับ ป. ที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาและหมายบังคับคดีของศาลแพ่งซึ่งมีผลผูกพันโจทก์ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากคำพิพากษาให้รื้อถอนอาคารเช่นคดีนี้มิใช่วิธีการเยียวยาในทางแพ่ง หากแต่เป็นการเยียวยาเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย และการอื่นที่จำเป็นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารอันเป็นกฎหมายมหาชน เพราะฉะนั้น การที่จำเลยทั้งสองดำเนินการตามคำพิพากษาและหมายบังคับคดีของศาลแพ่งจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย หาได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5585/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลยังมิได้จดทะเบียน ผู้บริหารร่วมกระทำการผูกพันสัญญา
ป.พ.พ. มาตรา 1108, 1110, 1113
แม้ในขณะที่โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับจำเลยที่ 2 ตามเอกสารที่พิพาท จำเลยที่ 1 ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3ก็เป็นผู้ร่วมก่อการและกรรมการของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ชำระเงินค่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์หลังจากจำเลยที่ 2 ทำสัญญาแล้ว ประกอบกับจำเลยที่ 3เป็นผู้บริหารโรงแรมร่วมกับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 มีส่วนรู้เห็นร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ด้วย และเมื่อโจทก์ส่งมอบอาคารให้แก่จำเลยทั้งสามในวันรุ่งขึ้นจำเลยทั้งสามก็ได้เปิดดำเนินกิจการโรงแรมในอาคารดังกล่าว จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 ยอมรับเอาสัญญาที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์มาใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการของตน จำเลยที่ 1 ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย
สำหรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวอาคาร จำเลยที่ 2 เป็นผู้ตกลงกับโจทก์ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลนเป็นอาคารโรงแรมเอง เมื่อโจทก์ก่อสร้างอาคารเสร็จ จำเลยทั้งสามก็ได้ยอมรับมอบอาคารจากโจทก์โดยดีและเปิดดำเนินกิจการเป็นโรงแรมเช่นนี้ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาแก้ไขแบบแปลนอาคารดังกล่าว
แม้ในขณะที่โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับจำเลยที่ 2 ตามเอกสารที่พิพาท จำเลยที่ 1 ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3ก็เป็นผู้ร่วมก่อการและกรรมการของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ชำระเงินค่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์หลังจากจำเลยที่ 2 ทำสัญญาแล้ว ประกอบกับจำเลยที่ 3เป็นผู้บริหารโรงแรมร่วมกับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 มีส่วนรู้เห็นร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ด้วย และเมื่อโจทก์ส่งมอบอาคารให้แก่จำเลยทั้งสามในวันรุ่งขึ้นจำเลยทั้งสามก็ได้เปิดดำเนินกิจการโรงแรมในอาคารดังกล่าว จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 ยอมรับเอาสัญญาที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์มาใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการของตน จำเลยที่ 1 ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย
สำหรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวอาคาร จำเลยที่ 2 เป็นผู้ตกลงกับโจทก์ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลนเป็นอาคารโรงแรมเอง เมื่อโจทก์ก่อสร้างอาคารเสร็จ จำเลยทั้งสามก็ได้ยอมรับมอบอาคารจากโจทก์โดยดีและเปิดดำเนินกิจการเป็นโรงแรมเช่นนี้ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาแก้ไขแบบแปลนอาคารดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีขัดทรัพย์ผูกพันคู่กรณี ไม่อาจยกกรรมสิทธิ์ร่วมในภายหลัง
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินและอาคารพิพาทซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามกฎหมายการที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ว่าที่ดินและอาคารดังกล่าวเป็นของผู้ร้อง แต่ศาลได้พิพากษายกคำร้องขัดทรัพย์ คดีถึงที่สุดไปแล้วเช่นนี้ จึงมีผลว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่ดินและอาคารพิพาทเป็นของผู้ร้อง คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันผู้ร้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ผู้ร้องจะมาร้องขอกันส่วนในคดีนี้อีกโดยอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์รวมในอาคารพิพาทหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความประนีประนอมและผลผูกพันคำพิพากษา
จำเลยได้แต่งตั้ง ส.เป็นทนายความเข้าดำเนินคดี และระบุข้อความไว้ในใบแต่งทนายให้ ส.มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยเมื่อจำเลยยังมิได้ถอน ส.ออกจากการเป็นทนายความ การที่ ส.ไปตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ แม้จะไม่ได้ปรึกษากับจำเลยก่อน ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณา มิใช่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลชั้นต้นได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.พ.พ.มาตรา 145 จนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี และจำเลยได้แต่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าฝ่ายโจทก์ฉ้อฉลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 วรรคสอง(1) เท่านั้น จำเลยจะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณานั้นและให้พิจารณาคดีใหม่หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แม้ไม่ปรึกษา
จำเลยแต่งตั้ง ส. เป็นทนายความเข้าดำเนินคดี และระบุข้อความไว้ในใบแต่งทนายความให้ ส. มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย เมื่อจำเลยยังมิได้ถอน ส.ออกจากการเป็นทนายความ การที่ ส. ไปตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ แม้จะไม่ได้ปรึกษากับจำเลยก่อน ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณามิใช่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลชั้นต้นได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 จนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าฝ่ายโจทก์ฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง (1)เท่านั้น แต่จำเลยจะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณานั้น และให้พิจารณาคดีใหม่หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีสิทธิครอบครองที่ดินที่ถึงที่สุดแล้วย่อมผูกพันคู่ความ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป และศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีภาระการพิสูจน์ แต่โจทก์ไม่มีพยานมาสืบในประเด็นข้อพิพาทที่ว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีนั้นแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องและพิสูจน์ถึงสิทธิของโจทก์ในการครอบครองที่ดินพิพาทในคดีนี้อีกได้ ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องคดีหลังว่าจำเลยขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ขอให้ศาลเพิกถอนโฉนดที่ดินของจำเลยในส่วนที่ออกทับที่ดินที่โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยกับพวกเกี่ยวข้องกับที่ดินส่วนนี้อีกต่อไป เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลย ถึงที่สุดโดยศาลฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ผลของคดีย่อมผูกพันคู่ความ โจทก์จะมากล่าวอ้างในคดีนี้ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหาได้ไม่ เพราะเป็นของโจทก์ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนที่ถึงที่สุดไปแล้ว ฟ้องของโจทก์คดีหลังจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 148
โจทก์ฟ้องคดีหลังว่าจำเลยขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ขอให้ศาลเพิกถอนโฉนดที่ดินของจำเลยในส่วนที่ออกทับที่ดินที่โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยกับพวกเกี่ยวข้องกับที่ดินส่วนนี้อีกต่อไป เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลย ถึงที่สุดโดยศาลฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ผลของคดีย่อมผูกพันคู่ความ โจทก์จะมากล่าวอ้างในคดีนี้ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหาได้ไม่ เพราะเป็นของโจทก์ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนที่ถึงที่สุดไปแล้ว ฟ้องของโจทก์คดีหลังจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 148