คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ขนส่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ติดต่อท่าเรือไม่ใช่ผู้ขนส่ง - ไม่ต้องรับผิดชอบสินค้าสูญหาย
จำเลยเป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อขอนำเรือเข้าเทียบท่าและขนถ่ายสินค้าจากเรือเข้าโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยรายงานเรื่องเรือเข้าออกต่อกรมเจ้าท่าและกรมศุลกากรติดต่อกองตรวจคนเข้าเมืองให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจคนที่มากับเรือแจ้งให้บริษัทอ.ผู้รับสินค้าทราบถึงการมาถึงของสินค้าและให้ผู้รับสินค้าไปรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยจำเลยเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้าเป็นการกระทำแทนบริษัทผู้ขนส่งสินค้าเท่านั้นไม่พอให้ถือว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งสินค้าพิพาทร่วมกับบริษัทดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616และมาตรา618ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทและเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับเรื่องรับขนของทางทะเลเพราะในขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการนั้นและไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าวเมื่อจำเลยไม่ได้เป็นผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งร่วมในการขนส่งสินค้าพิพาทจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดในการที่สินค้าพิพาทสูญหายไปในระหว่างการขนส่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายทอด: ความรับผิดของผู้ขนส่ง
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเรือต่างประเทศ เป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อนำเรือดังกล่าวเข้าเทียบท่าเรือที่เกาะสีชัง เมื่อเรือดังกล่าวเดินทางถึง จำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าทราบและติดต่อว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้นำเรือลำเลียง 2 ลำ ไปขนถ่ายสินค้าจากเรือต่างประเทศ โดยมีเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ไปดูแล เมื่อเรือลำเลียงถึงท่าเรือกรุงเทพ ฯ จำเลยที่ 1ต้องจ้างคนงานพร้อมด้วยอุปกรณ์ในการขนส่งสินค้าไปเก็บที่โกดังของการท่าเรือแห่งประเทศไทยแล้วออกใบปล่อยสินค้าเพื่อให้โจทก์หรือตัวแทนไปรับสินค้า พฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการขนส่งสินค้าของผู้ขนส่งสินค้าของผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตาม ป.พ.พ.มาตรา 618 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4805/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในกรณีสินค้าเสียหายจากการขนส่งหลายทอดทางทะเล
จำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งการนำเรือเข้าต่อกรมศุลกากรและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และจ้างเรือฉลอมไปขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่มาส่งที่โกดังของบริษัทผู้ซื้อสินค้าที่กรุงเทพมหานคร โดยจำเลยที่ 1 ได้รับบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าว พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 609 และมาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง
เมื่อการขนส่งสินค้าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ผู้รับขนส่งต้องรับผิดร่วมกันในการที่สินค้านั้นสูญหายหรือบุบสลาย แม้ความเสียหายจะเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 1จะรับขนเป็นทอดสุดท้ายก็ตาม
ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยให้โจทก์รับช่วงสิทธิและมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีแล้ว แต่ไม่ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายของคำพิพากษา ส่วนศาลอุทธรณ์ก็เพียงแต่วงเล็บข้อความไว้เมื่อกล่าวถึงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นศาลฎีกาสมควรกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ไว้ในคำพิพากษาให้ครบถ้วนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4805/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในกรณีสินค้าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล
จำเลยที่1เป็นผู้แจ้งการนำเรือเข้าต่อกรมศุลกากรและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและจ้างเรือฉลอมไปขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่มาส่งที่โกดังของบริษัทผู้ซื้อสินค้าที่กรุงเทพมหานครโดยจำเลยที่1ได้รับบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าวพฤติการณ์ของจำเลยที่1เห็นได้ว่าจำเลยที่1เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยที่1เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา609และมาตรา618ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเลจำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง เมื่อการขนส่งสินค้าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยที่1เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายผู้รับขนส่งต้องรับผิดร่วมกันในการที่สินค้านั้นสูญหายหรือบุบสลายแม้ความเสียหายจะเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่1จะรับขนเป็นทอดสุดท้ายก็ตาม ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยให้โจทก์รับช่วงสิทธิและมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีแล้วแต่ไม่ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายของคำพิพากษาส่วนศาลอุทธรณ์ก็เพียงแต่วงเล็บข้อความไว้เมื่อกล่าวถึงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นศาลฎีกาสมควรกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีไว้ในคำพิพากษาให้ครบถ้วนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งทางทะเลหลายทอด: ผู้รับขนในต่างประเทศร่วมกับผู้ดำเนินการภายในประเทศมีหน้าที่รับผิดร่วมกัน
ผู้ขายสินค้าในต่างประเทศได้ว่าจ้างจำเลยที่2ผู้รับขนในต่างประเทศให้ขนส่งสินค้ามายังกรุงเทพมหานครจำเลยที่1เป็นผู้แจ้งกำหนดวันที่เรือจะเข้าให้ผู้รับตราส่งทราบติดต่อกรมศุลกากรกองตรวจคนเข้าเมืองกรมเจ้าท่าการท่าเรือแห่งประเทศไทยค้ำประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องว่าจ้างบริษัทอื่นให้ขนถ่ายสินค้าจากเรือบรรทุกสินค้าลงเรือฉลอมเพื่อนำไปเก็บไว้ที่คลังสินค้าและออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่ผู้รับใบตราส่งเพื่อนำไปรับสินค้าการที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้รับขนในต่างประเทศไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยจึงย่อมไม่สามารถจะดำเนินการติดต่อและค้ำประกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องว่าจ้างบริษัทอื่นให้ขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงเรือเล็กและออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งเพื่อนำไปรับสินค้าได้การกระทำดังกล่าวเป็นขั้นตอนสำคัญในการรับขนทางทะเลจำเลยที่1จึงเป็นผู้ร่วมขนส่งกับจำเลยที่2อันเป็นการขนส่งโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา618แล้วหาใช่เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่2ไม่จำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าในกรณีขนส่งหลายทอดและการจำกัดความรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนผู้ขนส่งสินค้าพิพาทของโจทก์ซึ่งอยู่ต่างประเทศ และในระหว่างที่จำเลยทั้งสองร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือขึ้นรถบรรทุกเพื่อนำไปเก็บในคลังสินค้า ลูกจ้างของจำเลยทั้งสองได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าพิพาทตกจากรถเสียหาย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นผู้ขนส่งแต่เป็นเพียงตัวแทนเรือและจำเลยทั้งสองมิได้เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือไปเก็บในคลังสินค้าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อ 3 ว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาทหรือไม่ เช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาท แล้ววินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ร่วมขนส่งในการขนส่งหลายทอดโดยเป็นผู้รับขนทอดสุดท้าย จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคำฟ้องและคำให้การซึ่งรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทข้อนี้นั่นเอง หาได้วินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทไม่
ผู้ขนส่งสินค้าของโจทก์มีหน้าที่ในการนำสินค้าจากเรือขึ้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยก่อนส่งมอบให้แก่โจทก์จำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งทราบ ออกใบปล่อยสินค้าให้แก่โจทก์ เรียกเก็บเงินค่าเปิดตู้จากโจทก์ไปจ่ายให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อรับสินค้าจากคลังสินค้า รับมอบสินค้าจากเรือปิยะภูมิเพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์ และมีหน้าที่แจ้งความเสียหายของสินค้าแก่โจทก์และบริษัท ส. ผู้ขนส่งทอดแรก ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อทำพิธีการต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเรือเข้าเทียบท่าคือ การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรมศุลกากรกรมเจ้าท่าและกองตรวจคนเข้าเมือง และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือนำเข้าเก็บในคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าจ้างให้บริษัท อ. ดำเนินการดังกล่าว จึงถือได้ว่ากรณีเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยทั้งสองต่างมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 608 และ 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล
แม้ที่ด้านหลังใบตราส่งจะมีลายเซ็นพร้อมตราประทับของบริษัท จ.ผู้ขนส่งลงไว้ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการลงชื่อไว้ลอย ๆ หาได้มีข้อความใดระบุลงไว้ให้ชัดแจ้งว่าผู้ส่งทราบและยอมรับข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่ปรากฏในใบตราส่ง การลงชื่อสลักหลังดังกล่าวน่าจะเป็นเพียงเพื่อโอนใบตราส่งให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำใบตราส่งไปเป็นหลักฐานในการรับสินค้า จึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดดังกล่าว ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่ 1 อ้างจึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 625

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งหลายทอดร่วมกันรับผิดชอบความเสียหายสินค้า - ข้อจำกัดความรับผิดโมฆะหากไม่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนผู้ขนส่งสินค้าพิพาทของโจทก์ซึ่งอยู่ต่างประเทศและในระหว่างที่จำเลยทั้งสองร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือขึ้นรถบรรทุกเพื่อนำไปเก็บในคลังสินค้าลูกจ้างของจำเลยทั้งสองได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าพิพาทตกจากรถเสียหายจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นผู้ขนส่งแต่เป็นเพียงตัวแทนเรือและจำเลยทั้งสองมิได้เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือไปเก็บในคลังสินค้าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อ3ว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาทหรือไม่เช่นนี้การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาทแล้ววินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ร่วมขนส่งในการขนส่งหลายทอดโดยเป็นผู้รับขนทอดสุดท้ายจึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคำฟ้องและคำให้การซึ่งรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทข้อนี้นั่นเองหาได้วินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทไม่ ผู้ขนส่งสินค้าของโจทก์มีหน้าที่ในการนำสินค้าจากเรือขึ้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยก่อนส่งมอบให้แก่โจทก์จำเลยที่1เป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งทราบออกใบปล่อยสินค้าให้แก่โจทก์เรียกเก็บเงินค่าเปิดตู้จากโจทก์ไปจ่ายให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อรับสินค้าจากคลังสินค้ารับมอบสินค้าจากเรือปิยะภูมิเพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์และมีหน้าที่แจ้งความเสียหายของสินค้าแก่โจทก์และบริษัทส. ผู้ขนส่งทอดแรกส่วนจำเลยที่2เป็นผู้ติดต่อทำพิธีการต่าง ๆกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเรือเข้าเทียบท่าคือการท่าเรือแห่งประเทศไทยกรมศุลกากรกรมเจ้าท่าและกองตรวจคนเข้าเมืองและจำเลยที่2เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือนำเข้าเก็บในคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยจำเลยที่2เป็นผู้ว่าจ้างให้บริษัทอ. ดำเนินการดังกล่าวจึงถือได้ว่ากรณีเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยทั้งสองต่างมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมีผู้ซื้อถือได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา608และ618ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล แม้ที่ด้านหลังใบตราส่งจะมีลายเซ็นพร้อมตามประทับของบริษัทจ. ผู้ขนส่งลงไว้ก็ตามแต่ก็เป็นเพียงการลงชื่อไว้ลอยๆหาได้มีข้อความใดระบุลงไว้ให้ชัดแจ้งว่าผู้ส่งทราบและยอมรับข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่ปรากฏในใบตราส่งการลงชื่อสลักหลังดังกล่าวน่าจะเป็นเพียงเพื่อโอนใบตราส่งให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำใบตราส่งไปเป็นหลักฐานในการรับสินค้าจึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดดังกล่าวข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่1อ้างจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา625

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ร่วมขนส่งและผู้ขนส่งทอดสุดท้ายกรณีสินค้าสูญหายระหว่างการขนส่งทางทะเล
จำเลยประกอบอาชีพตัวแทนเดินเรือของบริษัทในต่างประเทศซึ่งไม่มีสาขาอยู่ในประเทศไทย และเป็นตัวแทนของบริษัทผู้ขนส่ง เมื่อเรือสินค้าจากต่างประเทศมาถึงท่าเรือเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี จำเลยได้ดำเนินการติดต่อกรมศุลกากรเพื่อให้พนักงานศุลกากรไปตรวจสินค้าในเรือ ติดต่อกองตรวจคนเข้าเมืองเพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจบนเรือ แจ้งเวลาเรือเข้าให้บริษัทผู้รับตราส่งทราบ และให้นำใบตราส่งมาแลกใบปล่อยสินค้าจากจำเลย สั่งให้นายเรือปล่อยสินค้า และวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในการใช้บริการทางท่าเรือ เมื่อเรือสินค้ามาถึงท่าเรือเกาะสีชัง จำเลยเป็นผู้ว่าจ้างบริษัท จ. ขนถ่ายสินค้าจากเรือสินค้าสู่เรือฉลอมเพื่อส่งให้แก่บริษัทผู้รับตราส่งที่ท่าเรือกรุงเทพตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง และบริษัท จ. ได้ทำรายงานสินค้าขาดเกินมอบให้แก่จำเลย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายขึ้นจากเรือสินค้า เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งและเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ร่วมขนส่งและเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนส่งทางทะเลในขณะเกิดมูลคดีนี้ เมื่อสินค้าที่ขนส่งสูญหายระหว่างการขนส่งจำเลยจำต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการสูญหายของสินค้าให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2382/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนส่งสินค้าทางทะเลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการขนส่ง
จำเลยมีวัตถุประสงค์รับขนส่งสินค้าทางทะเลและลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ว่าจำเลยเป็นตัวแทนเรือของบริษัท ซ. ซึ่งเป็นบริษัทขนส่งสินค้าต่างประเทศที่ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย เป็นผู้แจ้งต่อกรมเจ้าท่าให้จัดส่งเรือนำร่องลากจูงเรือเดินทะเลเข้ามายังท่าเรือคลองเตย ติดต่อกับกองตรวจคนเข้าเมืองให้จัดส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบรายชื่อของลูกเรือ ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยให้ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือ ติดต่อกับกรมศุลกากรเพื่อขออนุญาตเปิดระวางเรือ แจ้งให้โจทก์ผู้ขายสินค้าจัดส่งสินค้ามามอบให้กัปตันเรือเดินทะเล และออกใบตราส่งให้โจทก์ในนามของบริษัท ซ. จำเลยได้ค่าตอบแทน 1 เปอร์เซ็นต์ของค่าระวางขนส่ง พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้เข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับการขนส่งสินค้าดังกล่าว การเกี่ยวข้องของจำเลยหาใช่เพียงเป็นตัวแทนของบริษัท ซ.ไม่ แต่เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าหรือผู้ขนส่งหลายทอดตาม ป.พ.พ. มาตรา618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะยกมาปรับแก่คดีรับขนของทางทะเลในขณะเกิดข้อพิพาทนี้ซึ่งยังไม่มีบทกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น
ป.พ.พ. มาตรา 615 บัญญัติว่า "ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กันท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่งหรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร" การที่ผู้ขนส่งมอบสินค้ารายพิพาทให้แก่ผู้ที่มิใช่ผู้รับตราส่งหรือผู้ทรงใบตราส่ง จึงเป็นการส่งโดยมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจากการขนส่งสินค้า: เริ่มนับเมื่อส่งมอบสินค้าแล้วเสร็จ, ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง
การที่จำเลยที่1ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่บริษัทก.เป็นเพียงหลักฐานเพื่อให้บริษัทดังกล่าวนำไปขอรับสินค้าจากเรือได้เท่านั้นแต่ถ้ายังมิได้มีการขนถ่ายสินค้าก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัทก. แล้วเพราะสินค้ายังอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่1เมื่อเริ่มมีการขนถ่ายสินค้าในวันที่4มิถุนายน2533ก็ต้องถือว่าจำเลยที่1เริ่มส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัทก. แต่เมื่อการขนถ่ายสินค้าไม่แล้วเสร็จในวันนั้นและได้มีการขนถ่ายสินค้าต่อมาทุกวันจนแล้วเสร็จในวันที่9เดือนเดียวกันก็ต้องถือว่าจำเลยที่1ได้ทยอยส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัทดังกล่าวตลอดมาจนส่งมอบเสร็จสิ้นในวันที่9มิถุนายน2533การนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624จึงต้องนับตั้งแต่วันที่ส่งมอบสินค้าแล้วเสร็จคือวันที่9มิถุนายน2533โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่5มิถุนายน2534ยังไม่พ้นกำหนด1ปีนับแต่วันส่งมอบสินค้าจึงไม่ขาดอายุความ ใบตราส่งมีเงื่อนไขจำกัดความรับผิดของจำเลยที่1ผู้ขนส่งไว้แต่เมื่อทางนำสืบของจำเลยที่1ไม่ปรากฎว่าผู้ส่งสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยในการจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งสินค้าตกลงโดยชัดแจ้งให้จำเลยที่1จำกัดความรับผิดดังกล่าวข้อจำกัดความรับผิดจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา625
of 19