คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ขับขี่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 182 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่และการแบ่งความรับผิดในอุบัติเหตุทางถนน พิจารณาจากพฤติการณ์และความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล
เมื่อการที่มีรถยนต์เปิดไฟหน้ารถแล่นสวนทางมาหลายคันเป็นเหตุให้คนขับรถยนต์ของฝ่ายโจทก์มองไม่เห็นทางเดินรถด้านหน้าที่อยู่ไกลหลังแสงไฟของรถยนต์ที่แล่นสวนทางมา คนขับรถยนต์ของฝ่ายโจทก์ควรชะลอความเร็วของรถลงเพื่อให้สัมพันธ์กับระยะทางที่ตนสามารถมองเห็นและหยุดรถได้ทัน หากมีสิ่งกีดขวางอยู่บนทางเดินรถ การที่คนขับรถยนต์ของฝ่ายโจทก์ไม่ระมัดระวังดังกล่าว กลับขับรถฝ่าแสงไฟของรถที่แล่นสวนทางมาโดยไม่ชะลอความเร็วลงให้ปลอดภัย จึงเกิดเฉี่ยวชนถูกรถยนต์ของฝ่ายจำเลย ซึ่งจอดกีดขวางทางเดินรถอยู่ เห็นได้ว่าคนขับรถยนต์ของฝ่ายโจทก์ขับรถยนต์ด้วยความประมาทมิได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอกับภาวะเช่นนั้น เหตุที่เกิดความเสียหายขึ้นจึงเป็นเพราะความประมาทของคนขับรถยนต์ของฝ่ายโจทก์ด้วย การกำหนดค่าสินไหมทดแทนจึงตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 223 ที่ว่าฝ่ายผู้ก่อความเสียหายจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายเพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ โดยพิจารณาว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการเปลี่ยนเลนตัดหน้า – ผู้ขับขี่มีหน้าที่ใช้ความระมัดระวัง – การคิดดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทน
ทางเดินรถในถนนพหลโยธินทั้งทางด้านขาเข้าและขาออกจากกรุงเทพมหานครแบ่งเป็น 2 ช่องเดินรถ ระหว่างทางเดินรถขาเข้ากับขาออกจะเว้นช่องว่างไว้เป็นระยะ ๆ เพื่อเป็นทางข้ามให้รถแล่นเลี้ยวไปสู่ทางเดินรถอีกด้านหนึ่งได้ รถยนต์บรรทุกแล่นในทางเดินรถด้านขาออก ถ้าหากจะเลี้ยวขวาเข้าไปในทางเดินรถด้านขาเข้า ตามปกติจะต้องแล่นในช่องเดินรถทางขวาเพื่อจะไม่ต้องเลี้ยวตัดหน้ารถคันอื่น การที่รถยนต์บรรทุกแล่นในช่องเดินรถทางซ้ายของทางเดินรถขาออกและเลี้ยวขวาข้ามช่องเดินรถทางขวาเพื่อจะเข้าไปในช่องว่างทางข้ามไปสู่ทางเดินรถขาเข้าโดยกระชั้นชิดและกะทันหันตัดหน้ารถยนต์เก๋ง ย่อมทำให้รถยนต์เก๋งไม่สามารถจะหยุดได้ทัน ถือได้ว่าคนขับรถยนต์บรรทุกกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง เพราะถ้าหากรถยนต์บรรทุกจะใช้ความระมัดระวังไม่รีบเลี้ยวขวาโดยทันทีโดยขับรถตรงไปก่อน ขอทางชิดขวาแล้วไปเลี้ยวขวาในช่องว่างทางข้ามช่องต่อไปก็ย่อมจะทำได้โดยปลอดภัย ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าฝ่ายรถยนต์เก๋งประมาทเลินเล่ออย่างใด ดังนี้ถือว่าคนขับรถยนต์บรรทุกเป็นฝ่ายประมาทฝ่ายเดียว
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัย ฐานะของโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามป.พ.พ. มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดมีขึ้นนับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหม-ทดแทนเป็นต้นไป จึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยให้นับแต่วันชำระค่าสินไหมทดแทน แต่เมื่อทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าได้ชำระค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวทั้งหมดหรือครั้งสุดท้ายไปเมื่อใดแน่ ศาลเห็นสมควรกำหนดให้แก่โจทก์นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัยไม่คุ้มครองอุบัติเหตุจากผู้ขับขี่ใบอนุญาตหมดอายุเกิน 180 วัน
ข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 3 ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 2.13.6 และข้อ 3.9.2 ระบุว่า การประกันภัยไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดอายุเกินกว่า 180 วัน หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในการขับรถยนต์ในเวลาเกิดเหตุดังนี้ เมื่อใบอนุญาตขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ขาดต่ออายุเกินกว่า 180วัน ในเวลาเกิดเหตุ กรณีจึงต้องด้วยเงื่อนไขในข้อ 2.13.6 และ 3.9.2ที่การประกันภัยของจำเลยที่ 3 ไม่คุ้มครองถึงอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ กรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2.14 ที่ระบุว่าบริษัทจะไม่ยกความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์และอื่น ๆ เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 นั้น ไม่อาจจะนำมาปรับเป็นข้อยกเว้นของข้อ 2.13.6 และ 3.9.2 ได้เพราะความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์ไม่ใช่เป็นข้อยกเว้นแห่งความรับผิดตามข้อ 2.13.6 และ3.9.2 ข้อยกเว้นความรับผิดตามข้อ 2.13.6 และ 3.9.2 ดังกล่าวเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งมีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดเท่านั้น ไม่ทำให้กรมธรรม์ประกันภัยกลายเป็นไม่สมบูรณ์ไป จึงไม่อาจนำมาปรับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนนอกประเด็น และการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยเมื่อผู้ขับขี่มีใบอนุญาต
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดเนื่องจากพ. เป็นผู้ขับรถของจำเลยที่ 1 และขณะเกิดเหตุปฏิบัติงานในกิจการของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าโจทก์มุ่งหมายให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิด ในฐานะที่ พ. เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่อาจแปลว่ามุ่งหมายให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในฐานะหุ้นส่วนของ พ. ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่า พ. ไม่ใช่ลูกจ้างปฏิบัติงานใน ทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และศาลชั้นต้นกำหนด ประเด็นพิพาทในชั้นชี้สองสถานเพียงว่า พ. เป็นลูกจ้างของจำเลย ที่ 1 และกระทำในทางการที่จ้างหรือไม่ โจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน คดีจึงมีประเด็นพิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 เพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลย ที่ 1 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์เนื่องจากเป็นหุ้นส่วนกับ พ.และพ. ก่อเหตุละเมิดขณะกระทำภายในขอบวัตถุประสงค์ของหุ้นส่วนจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น กรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขยกเว้นไม่คุ้มครองความรับผิด อัน เกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตาม กฎหมายหรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมาย การมีเงื่อนไขดังกล่าว ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีความสามารถทำการขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยเพราะจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยต้องเสี่ยงภัยมากขึ้น เมื่อ พ. ได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของกรมตำรวจย่อมมีความรู้ความสามารถในการขับรถยนต์ได้ แม้ไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถของกรมการขนส่งทางบก ก็จะถือว่า เป็นการผิดเงื่อนไข ในกรมธรรม์ประกันภัยมิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทของผู้ขับขี่คันหลัง: หน้าที่ในการระมัดระวังและรักษาระยะห่างจากรถคันหน้า
จำเลยที่ 1 ขับรถประมาทตัดหน้ารถยนต์ของโจทก์โดยกะทันหัน ผู้ขับรถยนต์ของโจทก์ได้ระมัดระวังและหยุดรถยนต์ทันทีเพื่อป้องกันมิให้ชนกับรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ แต่จำเลยที่ 3ซึ่งขับรถยนต์ตามหลังรถยนต์ของโจทก์มา ไม่ใช้ความระมัดระวังทำให้หยุดรถไม่ทันและชนท้ายรถยนต์ ของโจทก์แล้วดันรถยนต์ของโจทก์ไปชนรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ จึงเป็นความประมาทของจำเลยที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์คันหลัง การรักษาระยะห่าง และเหตุสุดวิสัยในกรณีรถชนท้าย
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ประมาทปาดหน้ารถยนต์ของโจทก์โดยกะทันหันคนขับรถยนต์ของโจทก์ได้ระมัดระวังและหยุดรถยนต์ทันทีเพื่อป้องกันมิให้ชนกับรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ จำเลยที่ 3 ซึ่งขับรถยนต์ตามหลังรถยนต์ของโจทก์มา ถ้าระมัดระวังเช่นเดียวกับคนขับรถยนต์ของโจทก์ก็จะหยุดรถได้ทันและไม่เกิดเหตุขึ้น แต่จำเลยที่ 3 ไม่ใช้ความระมัดระวัง ทำให้หยุดรถไม่ทันและชนท้ายรถยนต์ของโจทก์ เช่นนี้ต้องฟังว่าเป็นความประมาทของจำเลยที่ 3 ด้วย ทั้งนี้เพราะผู้ขับรถยนต์ตามหลังรถยนต์คันอื่นต้องระมัดระวังไม่ขับรถให้เร็วหรือกระชั้นชิดกับรถยนต์คันหน้าเกินไป การขับรถเร็วและกระชั้นชิดคันหน้าเกินไป เมื่อรถยนต์คันหน้าเกิดเหตุขึ้น ทำให้คนขับรถยนต์คันหลังหยุดรถไม่ทันและชนท้ายรถยนต์คันหน้า เช่นนี้ มิใช่เหตุสุดวิสัย เพราะคนขับรถยนต์คันหลังมีโอกาสระมัดระวังมิให้เกิดเหตุได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่แต่ละคัน และการแบ่งความรับผิด
รถ 5 คันขับตามกันมาในทิศทางเดียวกัน ธ.เป็นผู้ขับรถคันที่ 4 ซึ่งเป็นคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ จำเลยเป็นผู้ขับรถคันที่ 5 แล่นตามมา ธ. ขับรถโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังหยุดรถไม่ทัน เป็นเหตุให้ไปชนรถคันที่ 3 ที่แล่นนำหน้าอยู่ และเป็นผลทำให้จำเลยที่ขับรถคันที่ 5 ตามมาด้วยความประมาทเช่นกัน หยุดรถไม่ทัน จึงชนท้ายรถคันที่ 4 อักคันหนึ่ง กรณีเช่นนี้ ธ. ผู้ขับรถคันที่ 4ไม่ได้มีส่วนร่วมทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ตนขับแต่ประการใดดังนั้น ค่าเสียหายที่รถคันที่ 4 จะได้รับจากการที่ถูกรถคันที่ 5 ชน จะพิจารณาโดยอาศัยพฤติการณ์ที่ ธ. ผู้ขับรถคันที่ 4 ไปกระทำโดยประมาทก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ 3 โดยถือว่า ธ.หรือจำเลยผู้ใดเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใด ย่อมไม่ได้ ความเสียหายที่รถคันที่ 4 ได้รับ ต้องถือว่าเกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยผู้ขับรถคันที่ 5 แต่เพียงฝ่ายเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประเมินความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่แต่ละฝ่ายเพื่อแบ่งแยกความรับผิดชอบ
ความประมาทเลินเล่อของคนขับรถคันที่ 4 ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ที่ไปชนท้ายรถคันที่ 3 ได้รับความเสียหาย ย่อมเป็นความผิดของคนขับรถคันที่ 4 ที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายที่ตนก่อให้เกิดขึ้นนั้น เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากการที่รถคันที่ 5 ซึ่งจำเลยเป็นผู้ขับโดยประมาทไปชนท้ายรถคันที่ 4 ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ผู้ขับขี่รถคันที่ 4 ไม่ได้มีส่วนร่วมทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ 4 ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ ดังนั้น ค่าเสียหายที่รถคันที่ 4 ได้รับจะนำไปอาศัยพฤติการณ์ที่ผู้ขับรถคันที่ 4 ไปกระทำโดยประมาทก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ 3 มารวมพิจารณาว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรนั้นย่อมไม่ได้ ความเสียหายที่รถคันที่ 4 ได้รับจะต้องถือว่าเกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยผู้ขับรถคันที่ 5 แต่เพียงฝ่ายเดียว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประเมินความประมาทของผู้ขับขี่แต่ละคันเพื่อแบ่งความรับผิด
รถยนต์ 5 คัน ขับตามกันมาในทิศทางเดียวกัน ธ.เป็นผู้ขับรถคันที่ 4 ซึ่งเป็นคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ ธ.ขับรถโดยประมาทหยุดรถไม่ทันเป็นเหตุให้ไปชนรถคันที่ 3ที่แล่นนำหน้าอยู่ และเป็นผลทำให้จำเลยที่ขับรถคันที่ 5ตามมาด้วยความประมาทเช่นกันหยุดรถไม่ทันจึงชนท้ายรถคันที่ 4อีกคันหนึ่ง กรณีเช่นนี้ ธ.ไม่ได้มีส่วนร่วมทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ตนขับดังนั้นความเสียหายที่รถคันที่ 4 ได้รับจากการที่ถูกรถคันที่ 5 ชน จะนำไปอาศัยพฤติการณ์ที่ ธ.ไปกระทำโดยประมาทก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ 3 มารวมพิจารณาโดย ถือว่า ธ.หรือจำเลยผู้ใดเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใดย่อมไม่ได้ความเสียหายที่รถคันที่ 4 ได้รับ ต้องถือว่าเกิดขึ้นเพราะความประมาทของจำเลยผู้ขับรถคันที่ 5 แต่เพียงฝ่ายเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2031/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขับขี่เลี้ยวขวาฝ่าไฟแดงถือเป็นความผิดเอง ไม่ถือว่าจำเลยขับประมาท
ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์มาจอดติดสัญญาณไฟจราจรสีแดงที่สี่แยก ซึ่งการจะเลี้ยวขวาตรงบริเวณสี่แยกได้ต้องรอสัญญาณไฟจราจรลูกศรสีเขียวก่อน การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์เลี้ยวขวาในทันทีโดยไม่รอสัญญานไฟจราจรให้เลี้ยวขวาได้ในขณะที่ทางด้านรถยนต์โดยสารแล่นมามีสัญญาณไฟจราจรสีเขียว จึงเป็นความผิดของผู้ตายเอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาท
of 19