คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้นอกศาลของผู้ค้ำประกันและการยกฟ้องคดี การไต่สวนข้อเท็จจริงนอกประเด็นข้อพิพาท
จำเลยทั้งหกให้การต่อสู้คดีขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งหกเสร็จสิ้น ในวันนัดอ่าน คำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 จำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ไม่คัดค้าน แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แถลงคัดค้านว่าทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เสียเปรียบและยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ 10,000,000 บาท ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมกันในวงเงิน 400,000 บาท หากจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ชำระเงินให้โจทก์ 10,000,000 บาท จริง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมพ้นความรับผิดไปด้วย ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ 10,000,000 บาท ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำพิพากษา เป็นการกล่าวอ้างว่ามีการชำระหนี้นอกศาลและเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวมาให้ศาลไต่สวนเพื่อวินิจฉัยยกฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ไม่ได้ ทั้งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ตามคำคัดค้านของจำเลยที 2 และที่ 3 แล้ว ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าไม่มีเหตุที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้นอกศาลของผู้ค้ำประกัน: ศาลไม่ไต่สวนคำร้องที่อ้างการชำระหนี้เพื่อยกฟ้อง
ข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 อ้างในคำร้องว่าจำเลยที่ 4แจ้งให้ทราบว่า จำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์10,000,000 บาท ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำพิพากษา จำเลยที่ 2และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6จึงพ้นความรับผิดไปนั้น เป็นการกล่าวอ้างว่ามีการชำระหนี้นอกศาลและเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ทั้งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ตามคำคัดค้านของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฟ้องซ้ำเมื่อคดีแพ่งเกี่ยวข้องกับคดีอาญา และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกและฉ้อโกงเงินไปจากโจทก์ขอให้บังคับจำเลยใช้เงินคืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย แต่ปรากฏว่าพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญารวม 3 คดีในข้อหายักยอกและฉ้อโกงโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้แก่โจทก์เป็นเงินรวม 1,226,172.15 บาท ซึ่งเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้นด้วย เมื่อศาลในส่วนคดีอาญารับคำขอส่วนแพ่งดังกล่าวไว้พิจารณาแล้วย่อมมีผลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินจำนวน 1,226,172.15 บาท ต่อศาลอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารค้ำประกันที่ไม่ติดแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานได้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้
หนังสือที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์เพื่อค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ว่า หากจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายจะยอมชดใช้หนี้สินหรือค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยมีเพียงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกันเท่านั้น ไม่มีลายมือชื่อของโจทก์อยู่ด้วย หนังสือดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานในการค้ำประกันเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้นมิใช่สัญญาค้ำประกัน แม้จะมีข้อความว่าสัญญาค้ำประกันก็ตาม เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่ตราสารที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 104 และบัญชีอากรแสตมป์ลักษณะ 17ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้แทนบริษัทต่างประเทศมีหน้าที่เสียภาษีในไทย ผู้ค้ำประกันต้องชำระแทนหากเรียกจากผู้แทนไม่ได้
บริษัท อ. เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มี พ. เป็นผู้กระทำการแทนในการประกอบกิจการในประเทศไทยซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย พ. จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
โจทก์ส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ. โดย พ. ในฐานะผู้ทำการแทนแสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ได้เรียก พ. ผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรที่ผู้ทำการแทนเป็นผู้ทำให้บริษัท อ.ได้รับในประเทศไทยมาไต่สวนและแจ้งจำนวนเงินที่ประเมินไปยัง พ. เพื่อที่ พ. จะได้มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตาม ป. รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคสาม ก่อนแล้วจึงมิใช่เป็นการออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ. เพื่อให้รับผิดตามมาตรา 66 เท่านั้น และโจทก์ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยัง พ. แยกต่างหาก การออกและส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งการประเมินในลักษณะดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการออกและส่งหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและหนังสือแจ้งการประเมินทั้งบริษัท อ. และ พ. โดยชอบแล้ว
โจทก์ได้ติดตามสืบหาทรัพย์สินของบริษัท อ. และ พ. แต่ไม่มีทรัพย์สินใดให้ยึด นอกจากนี้โจทก์ได้มีหนังสือเตือนให้ พ. ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท อ. นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระ แต่ พ. ไม่ชำระ เช่นนี้ ถือว่าโจทก์ได้พิสูจน์แล้วว่าโจทก์ได้เรียกร้องหนี้ภาษีอากรค้างจาก พ. แล้วแต่เรียกไม่ได้ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องชำระเงินภาษีอากรค้างแทน พ. โดยมิต้องเรียกร้องให้ พ. ชำระก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274-1275/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันมีกำหนดเวลา โจทก์ไม่แจ้งเรียกภายในกำหนด ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2540ถึงวันที่ 8 สิงหาคม 2540 หนี้ที่จำเลยที่ 1 ซื้อสินค้าจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2540 ถึงวันที่ 26 มิถุนายน 2540ย่อมอยู่ภายในอายุสัญญาค้ำประกัน แต่สัญญาค้ำประกันได้ระบุเงื่อนไขว่า โจทก์จะต้องยื่นคำเรียกร้องตามหนังสือสัญญาค้ำประกันภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2540 อันเป็นกรณีที่หากมีการผิดสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแล้ว โจทก์จะต้องแจ้งข้อเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ทราบภายในกำหนดนั้น ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกันได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้วเสียก่อนการที่โจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในหนี้ดังกล่าวไปถึงจำเลยที่ 2 เกินกำหนดเวลาในเงื่อนไขนั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าสัญญาค้ำประกัน คือ สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น และมาตรา 680 วรรคสอง บัญญัติว่าสัญญาค้ำประกันถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ซึ่งมีความหมายว่า สัญญาค้ำประกันต้องการเพียงหลักฐานเป็นหนังสือที่ผู้ค้ำประกันลงชื่อฝ่ายเดียวก็ใช้บังคับได้แล้ว ไม่จำต้องลงลายมือชื่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในค่าเสียหายและราคาขาดประโยชน์จากการไม่ส่งมอบรถยนต์
สัญญาเช่าซื้อเลิกกันนับแต่วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม และมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 และตามมาตรา 392 บัญญัติว่า การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดจากการเลิกสัญญานั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 อันเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถยนต์ตลอดเวลาที่ผู้เช่าซื้อยังครอบครองรถยนต์อยู่ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย
ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยให้ผู้ค้ำประกันชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ แต่วินิจฉัยว่าที่ศาลชั้นต้นฟังว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อมีราคาแท้จริงเท่าใด และกำหนดให้ผู้ค้ำประกันใช้ราคาแทนตามจำนวนดังกล่าวหากผู้ค้ำประกันไม่สามารถส่งมอบรถยนต์คืนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบและเหมาะสมแล้ว ผู้ค้ำประกันมิได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าราคารถยนต์ที่ศาลอุทธรณ์ให้ผู้ค้ำประกันชดใช้แทนในกรณีที่ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์คืนสูงเกินไปหรือไม่ ถูกต้องอย่างไรแต่กลับฎีกาว่าผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เพราะหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อระงับไป ดังนี้ฎีกาของผู้ค้ำประกันมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
สัญญาเช่าซื้อมิได้ระบุถึงการสิ้นสุดของสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อจึงสิ้นสุดลงเมื่อมีการบอกเลิกสัญญา การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและให้ผู้ค้ำประกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน หากไม่สามารถส่งมอบคืนให้ใช้ราคาแทน เป็นเรื่องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ใช้สิทธิในฐานะลูกหนี้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เรียกเอารถยนต์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิยึดครอบครองรถยนต์ของลูกหนี้ ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาในการใช้สิทธิเช่นนี้ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายความได้สิทธิ ส่วนค่าเสียหายอันเกิดจากการที่ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7945/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาเงินกู้: การคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา, ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกัน
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีตราสำคัญของโจทก์ประทับเป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็น ซึ่งจำเลยทั้งสี่เพิ่งยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง อุทธรณ์ข้อนี้จึงมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
โจทก์จำเลยทำสัญญาตกลงอัตราดอกเบี้ยไว้ชัดเจนและไม่ต้องห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินอัตรา ซึ่งโจทก์เป็นสถาบันการเงินได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีที่พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ และตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดแล้ว ก็ต้องผูกพันตามนั้น
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่ากำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดใดยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาทบเป็นต้นเงินได้ และสัญญาไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดจนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญา หรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันระบุว่าจำเลยที่ 1 ใช้เช็คถอนเงินสดครั้งสุดท้ายวันที่ 6 มีนาคม 2535 จำนวน850,000 บาท แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่หักทอนบัญชีคิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระในแต่ละเดือน โดยมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31มีนาคม 2535 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สูงกว่าวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีมาก ทั้งตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันก็ระบุว่า ห้ามผ่านเช็ค ซึ่งแสดงว่าโจทก์ระงับการจ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่าย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะเลิกการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือน สัญญาจึงเลิกกันในวันที่ 31 มีนาคม 2535

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7275/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีต้องปิดแสตมป์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และเจ้าหนี้ฟ้องผู้ค้ำประกันโดยไม่ฟ้องลูกหนี้ก็ได้
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดี มีข้อความว่า "โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้า บริษัท น. โดย ท. กรรมการผู้มีอำนาจ ขอมอบอำนาจให้ ก. และ / หรือ ข. เป็นผู้รับมอบอำนาจ โดยให้มีอำนาจยื่นฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญาต่อศาลที่มีอำนาจกับบริษัท อ. ธนาคาร ก. และ ส. จนคดีถึงที่สุด และในการนี้ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจ ดังต่อไปนี้? เป็นการมอบอำนาจให้มีอำนาจกระทำการได้หลายครั้ง กล่าวคือ ฟ้องคดีแพ่งได้หลายคดี และยังฟ้องคดีอาญาได้อีกหลายคดีทั้งผู้ถูกฟ้องที่ระบุไว้ 3 ราย อาจถูกฟ้องแยกคดีจากกันได้ด้วย ในส่วนของผู้รับมอบอำนาจมี 2 คน เชื่อมด้วยสันธาน "และ / หรือ" จึงอยู่ในบังคับทั้งข้อ 7 (ข) และ (ค) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ต้องปิดแสตมป์ ตามข้อ 7 (ค) ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่า คำนวณได้เป็นเงิน 60 บาท โจทก์ปิดแสตมป์มาเพียง 30 บาท โจทก์จึงใช้ใบมอบอำนาจฉบับนี้เป็นหลักฐานในคดีนี้ไม่ได้ ตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 118
จำเลยให้การต่อสู้ในเรื่องการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีว่า ท. ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนโจทก์ ในขณะทำหนังสือมอบอำนาจ และตราประทับในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ตราสำคัญของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ จึงเกิดภาระแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ว่าการมอบอำนาจกระทำโดยชอบแล้ว
ท.จะใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์หรือไม่ ใบมอบอำนาจย่อมไม่ใช่พยานหลักฐานที่จะพิสูจน์ปัญหาข้อนี้ แต่ตราประทับในหนังสือมอบอำนาจใช่ตราสำคัญของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ โจทก์จำเป็นต้องใช้ ใบมอบอำนาจเป็นพยาน เพื่อการเปรียบเทียบตราประทับในใบมอบอำนาจกับตราสำคัญที่จดทะเบียนไว้ เมื่อใบมอบอำนาจต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานเสียแล้ว และตามหนังสือรับรองมีเงื่อนไขว่าการกระทำในนามบริษัทโจทก์จะต้องประทับตราสำคัญด้วย จึงรับฟังไม่ได้ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยได้กระทำโดยชอบแล้ว
เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะฟ้องเฉพาะผู้ค้ำประกันโดยไม่ฟ้องลูกหนี้ก็ได้ แม้ผู้ค้ำประกันจะไม่ได้เป็นลูกหนี้ร่วมกับ ลูกหนี้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7275/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายภาษีอากร ทำให้ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แม้การฟ้องคดีผู้ค้ำประกันโดยไม่ฟ้องลูกหนี้ทำได้
ใบมอบอำนาจของโจทก์มอบอำนาจให้กระทำการหลายครั้งโดยมีผู้รับมอบอำนาจสองคน เชื่อมด้วยสันธาน "และ/หรือ" หมายความว่ามอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยอาจร่วมกระทำการหรือกระทำกิจการแยกกันก็ได้ จึงอยู่ในบังคับทั้งข้อ 7(ข)และ(ค) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ต้องปิดแสตมป์ตามข้อ 7(ค) ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าคำนวณได้เป็นเงิน 60 บาท โจทก์ปิดแสตมป์มาเพียง 30 บาท เป็นการไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 103 โจทก์จะใช้ใบมอบอำนาจฉบับนี้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
ประเด็นว่า ท. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์ โจทก์นำสืบด้วยพยานหลักฐานอื่นนอกจากใบมอบอำนาจได้ แต่ประเด็นว่าตราประทับในหนังสือมอบอำนาจเป็นตราสำคัญของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ โจทก์จำเป็นต้องใช้ใบมอบอำนาจเป็นพยานเพื่อการเปรียบเทียบตราประทับในใบมอบอำนาจกับตราสำคัญที่จดทะเบียนไว้ เมื่อใบมอบอำนาจต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน การที่โจทก์จะนำสืบโดยวิธีเปรียบเทียบย่อมกระทำไม่ได้ รับฟังไม่ได้ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำโดยชอบ ส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ได้ให้การปฏิเสธในเรื่องการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเท่ากับว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับว่ามีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยถูกต้องโจทก์ไม่ต้องพิสูจน์การมอบอำนาจ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ได้ เพราะเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะฟ้องเฉพาะผู้ค้ำประกันโดยไม่ฟ้องลูกหนี้ด้วยได้ แม้ผู้ค้ำประกันจะไม่ได้เป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้
of 58