คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้จัดการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการสมาคม, การใช้เงินผิดหน้าที่, และความรับผิดของผู้จัดการสมาคมต่อความเสียหาย
สมาคมชลประทานราษฎร์มีข้อบังคับให้นายอำเภอเป็นประธานกรรมการควบคุมโดยตำแหน่ง กรมการปกครองตั้งกรรมการสอบสวนหนี้สินของสมาคมได้ ถือว่าสมาคมมอบอำนาจให้กรรมการสอบสวนและฟังผลการสอบสวนเป็นพยานหลักฐานได้ จำเลยเป็นผู้จัดการสมาคมจ่ายเงินของสมาคมใช้หนี้ที่สมาชิกเป็นลูกหนี้คนภายนอกซึ่งสมาคมมิได้เป็นลูกหนี้ กับขายปุ๋ยและเครื่องทุ่นแรงให้สมาชิกไปโดยไม่มีสัญญาเป็นหลักฐาน ทำให้สมาคมเสียหายจำเลยต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินให้ศาลเจ้าต้องจดทะเบียนโอน มิเช่นนั้นศาลเจ้าไม่อยู่ในบังคับกฎหมาย และผู้ว่าฯ ไม่มีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการ
กฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า ลงวันที่ 15 มีนาคม 2463 ใช้แต่เฉพาะกับศาลเจ้าที่ตั้งอยู่ในที่ดินซึ่งรัฐบาลเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ปกปักรักษาเท่านั้น ผู้ใดจะอุทิศที่ดินของตนที่มีศาลเจ้าตั้งอยู่แล้วให้เป็นสมบัติของศาลเจ้าโดยสิทธิ์ขาดต้องยื่นเรื่องราวเป็น ลายลักษณ์อักษรพร้อมทั้งหน้าโฉนด อ. ทำหนังสือยกที่ดินของตนที่มีศาลเจ้าตั้งอยู่แล้วให้แก่กรุงเทพมหานคร แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนโฉนดให้แก่กัน การอุทิศที่ดินของ อ. จึงยังไม่มีผลให้ตกเป็นสมบัติสำหรับศาลเจ้าโดยสิทธิ์ขาด และที่ดินของ อ. ยังไม่ตกมาอยู่ในความปกครองรักษาของรัฐบาล ศาลเจ้านี้จึงไม่อยู่ใสบังคับแห่งกฎเสนาบดีดังกล่าว ดังนั้นการตั้งและถอนผู้จัดการปกครองศาลเจ้าและผู้ตรวจตราสอดส่องที่บัญญัติไว้จึงนำมาใช้บังคับในเรื่องนี้ไม่ได้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่มีอำนาจตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการปกครอง และไม่มีอำนาจตั้ง อ. เป็นผู้ตรวจตราสอดส่องศาลเจ้าดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 310/2483)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการศาลเจ้าและการอุทิศที่ดิน: ศาลเจ้าไม่อยู่ในบังคับกฎเสนาบดีหากที่ดินยังไม่ได้ตกเป็นของรัฐ
กฎเสนาบดีว่าด้วยกุศลสถานชนิดศาลเจ้า ลงวันที่ 15 มีนาคม 2463 ใช้แต่เฉพาะกับศาลเจ้าที่ตั้งอยู่ในที่ดินซึ่งรัฐบาลเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ปกปักรักษาเท่านั้น ผู้ใดจะอุทิศที่ดินของตนที่มีศาลเจ้าตั้งอยู่แล้วให้เป็นสมบัติของศาลเจ้าโดนสิทธิ์ขาดต้องยื่นเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมทั้งหน้าโฉนดอ. ทำหนังสือยกที่ดินของตนที่มีศาลเจ้าตั้งอยู่แล้วให้แก่กรุงเทพมหานคร แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนโฉนดให้แก่กัน การอุทิศที่ดินของ อ. จึงยังไม่มีผลให้ตกเป็นสมบัติสำหรับศาลเจ้าโดยสิทธิ์ขาด และที่ดินของ อ. ยังไม่ตกมาอยู่ในความปกครองรักษาของรัฐบาลศาลเจ้านี้จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งกฏเสนาบดีดังกล่าวดังนั้นการตั้งและถอนผู้จัดการปกครองศาลเจ้าและผู้ตรวจตราสอดส่องที่บัญญัติไว้จึงนำมาใช้บังคับในเรื่องนี้ไม่ได้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่มีอำนาจตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการปกครองและไม่มีอำนาจตั้ง อ. เป็นผู้ตรวจสอดส่องศาลเจ้าดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 310/2483)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของกรรมการบริษัท: ผู้จัดการ vs. กรรมการที่ไม่ใช่ผู้จัดการในคดีล้มละลาย
กรรมการบริษัทที่ไม่ใช่ผู้จัดการ ไม่มีหน้าที่จัดธุรกิจของบริษัท คงเป็นแต่ผู้แทนของบริษัทในฐานะที่บริษัทเป็นนิติบุคคล และมีหน้าที่ให้คำปรึกษาในการประชุมกรรมการแก่ผู้จัดการเท่านั้น ปรากฏว่าการจัดธุรกิจของบริษัทซึ่งอยู่ในความรับผิดของผู้จัดการ ได้ทำให้ต้องเสียหาย ดังนี้ หากกระทำนั้นมิได้อยู่ในข้อหนึ่งข้อใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1168 ซึ่งกรรมการของบริษัทจะต้องรับผิดชอบร่วมกันแล้ว กรรมการที่ไม่ใช่ผู้จัดการก็ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
การที่กรรมการบริษัทละเลยไม่เรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแจ้งให้ทราบว่าบริษัทขาดทุนตลอดมาทุกปี และเมื่อบริษัทขาดทุนลงถึงกึ่งจำนวนต้นทุน กรรมการก็ไม่เคยเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแจ้งให้ทราบถึงการขาดทุนนั้น เป็นข้อที่น่าตำหนิ แต่ก็มิใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้บริษัทเสียหาย กรรมการบริษัทจึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของกรรมการบริษัท: ผู้จัดการ vs. กรรมการที่ไม่ใช่ผู้จัดการ
กรรมการบริษัทที่ไม่ใช่ผู้จัดการ ไม่มีหน้าที่จัดธุรกิจของบริษัท คงเป็นแต่ผู้แทนของบริษัทในฐานะที่บริษัทเป็นนิติบุคคล และมีหน้าที่ให้คำปรึกษาในการประชุมกรรมการแก่ผู้จัดการเท่านั้น ปรากฏว่าการจัดธุรกิจของบริษัทซึ่งอยู่ในความรับผิดของผู้จัดการ ได้ทำให้บริษัทต้องเสียหาย ดังนี้ หากการกระทำนั้นมิได้อยู่ในข้อหนึ่งข้อใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1168 ซึ่งกรรมการของบริษัทจะต้องรับผิดชอบร่วมกันแล้ว กรรมการที่ไม่ใช่ผู้จัดการก็ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
การที่กรรมการบริษัทละเลยไม่เรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแจ้งให้ทราบว่าบริษัทขาดทุนตลอดมาทุกปี และเมื่อบริษัทขาดทุนลงถึงกึ่งจำนวนต้นทุน กรรมการก็ไม่เคยเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแจ้งให้ทราบถึงการขาดทุนนั้น เป็นข้อที่น่าตำหนิ แต่ก็มิใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้บริษัทเสียหาย กรรมการบริษัทจึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองวัตถุระเบิดเพื่อใช้ในกิจการของห้างหุ้นส่วนโดยได้รับอนุญาต แม้ใบอนุญาตออกในนามผู้จัดการ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. มี บ.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ที่บริเวณเขาศูนย์ 3 แปลง ใบอนุญาตให้มีและใช้วัตถุระเบิดออกให้ในนามของ บ.เป็นส่วนตัว แต่ก็ระบุมีไว้ใช้ในการทำเหมืองแร่ที่อยู่ในประทานบัตรของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.เห็นชัดว่าขออนุญาตมีเพื่อใช้ในกิจการของห้างดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการแผนกเหมืองแร่ของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ในการปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้าง ได้นำแก๊ประเบิดตามใบอนุญาตดังกล่าวที่เก็บรักษาไว้ที่เหมืองแร่แปลงที่ 1 เพื่อไปใช้ยังแปลงที่ 3 ของห้างหุ้นส่วนจำกัดนายจ้าง จึงไม่มีความผิดฐานมีแก๊ประเบิดไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองวัตถุระเบิดเพื่อใช้ในกิจการเหมืองแร่ของห้างหุ้นส่วน โดยผู้จัดการแผนกเหมืองแร่ ไม่ถือว่ามีความผิด
ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.มี บ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ที่บริเวณเขาศูนย์ 3 แปลง ใบอนุญาตให้มีและใช้วัตถุระเบิดออกให้ในนามของ บ.เป็นส่วนตัว แต่ก็ระบุมีไว้ใช้ในการทำเหมืองแร่ที่อยู่ในประทานบัตรของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. เห็นชัดว่าขออนุญาตมีเพื่อใช้ในกิจการของห้างดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการแผนกเหมืองแร่ของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ในการปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้าง ได้นำแก๊ประเบิดตามใบอนุญาตดังกล่าวที่เก็บรักษาไว้ที่เหมืองแร่แปลงที่ 1 เพื่อไปใช้ยังแปลงที่ 3 ของห้างหุ้นส่วนจำกัดนายจ้าง จึงไม่มีความผิดฐานมีแก๊ประเบิดไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการร้านสหกรณ์ต่อความเสียหายจากหน้าที่บกพร่อง และขอบเขตการบังคับจำนอง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์โจทก์ตามสัญญาจ้าง ปล่อยปละละเลยให้มีการขายบุหรี่โดยไม่ได้รับชำระราคา กรณีดังนี้ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการบกพร่องอย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการประพฤติผิดสัญญาจ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับจำนองจากทรัพย์จำนองอันเป็นประกันค่าเสียหายนั้นได้
ร้านสหกรณ์โจทก์ได้จ่ายเงินค่าสินค้าไปแล้วแต่หาได้มีการลงบัญชีรับสินค้าไว้ไม่ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการอาจไม่ได้นำสินค้าเข้าร้านสหกรณ์ก็ได้ สินค้าบางรายการลงบัญชีจ่ายเงินซ้ำสองครั้ง เงินสดคงเหลือตามบัญชีจึงผิดไปจากความเป็นจริงร้านสหกรณ์โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายจากการจัดทำบัญชีขัดกับใบสำคัญ ซึ่งทำให้มีการจ่ายเงินไปโดยไม่มีความจำเป็นจะต้องจ่ายจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องเหล่านี้อย่างบกพร่องอันจะต้องชดใช้ค่าเสียหายด้วยดุจกัน จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าเป็นความผิดพลาดของสมุหบัญชีที่ไม่ลงบัญชีให้ถูกต้อง ซึ่งไม่ใช่ความผิดของตนนั้นย่อมเถียงไม่ขึ้นเพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องควบคุมสอดส่องการทำบัญชีของร้านสหกรณ์ให้เป็นไปตามข้อบังคับโดยใกล้ชิด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้จำนองอาจตกลงกับผู้รับจำนองเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ ก็ย่อมกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการร้านสหกรณ์ต่อความเสียหายจากการปล่อยปละละเลยในการขายสินค้าและข้อผิดพลาดในการทำบัญชี
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์โจทก์ตามสัญญาจ้างปล่อยปละละเลยให้มีการขายบุหรี่โดยไม่ได้รับชำระราคากรณีดังนี้ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการบกพร่องอย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการประพฤติผิดสัญญาจ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับจำนองจากทรัพย์จำนองอันเป็นประกันค่าเสียหายนั้นได้
ร้านสหกรณ์โจทก์ได้จ่ายเงินค่าสินค้าไปแล้ว แต่หาได้มีการลงบัญชีรับสินค้าไว้ไม่ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการอาจไม่ได้นำสินค้าเข้าร้านสหกรณ์ก็ได้ สินค้าบางรายการลงบัญชีจ่ายเงินซ้ำสองครั้ง เงินสดคงเหลือตามบัญชีจึงผิดไปจากความเป็นจริงร้านสหกรณ์โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายจากการจัดทำบัญชีขัดกับใบสำคัญ ซึ่งทำให้มีการจ่ายเงินไปโดยไม่มีความจำเป็นจะต้องจ่าย จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องเหล่านี้อย่างบกพร่องอันจะต้องชดใช้ค่าเสียหายด้วยดุจกันจำเลยที่ 1 จะอ้างว่าเป็นความผิดพลาดของสมุหบัญชีที่ไม่ลงบัญชีให้ถูกต้อง ซึ่งไม่ใช่ความผิดของตนนั้น ย่อมเถียงไม่ขึ้นเพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องควบคุมสอดส่องการทำบัญชีของร้านสหกรณ์ให้เป็นไปตามข้อบังคับโดยใกล้ชิด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนผู้จำนองอาจตกลงกับผู้รับจำนองเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ ก็ย่อมกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการสถานธนานุบาลทุจริตตีราคาสูงเอื้อประโยชน์ผู้อื่น ทำให้เทศบาลเสียหาย
จำเลยเป็นผู้จัดการสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) ของเทศบาลนครกรุงเทพ ได้รับจำนำสิ่งของไว้จาก อ. รวม 507รายการ ในราคาสูงกว่าปกติ และส่วนมากสูงกว่าราคาที่จำเลยรับจำนำไว้จากลูกค้ารายอื่น โดยไม่ปรึกษาผู้ช่วยผู้จัดการเมื่อถูกทักท้วง ก็ว่าจะรับผิดชอบเองอ.นำสิ่งของมาจำนำแทบทุกวันวันละหลายๆ ชิ้น มากกว่าลูกค้ารายอื่น สิ่งของบางชิ้น อ.ขอร้องให้จำเลยตีราคาสูงๆ เพื่อเอาเงินไปชำระค่าดอกเบี้ยสิ่งของที่จำนำไว้และจะครบกำหนด ถ้าเอาสิ่งของ 507 ชิ้นที่รับจำนำไว้ออกขายทอดตลาดขาดทุน จำเลยก็ไม่สามารถจะใช้เงินที่ขาดให้ได้หลังจากจำเลยถูกจับ อ.ก็มิได้มาติดต่อกับสถานธนานุบาลอีกเลยแสดงว่าจะปล่อยสิ่งของเหล่านั้นให้หลุด ซึ่งหากนำออกขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคาที่จำนำไว้ เทศบาลนครกรุงเทพก็ต้องขาดทุนพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต และทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
สถานธนานุบาลหรือโรงรับจำนำเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินและธุรกิจนั้นของเทศบาลนครกรุงเทพ กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต ทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 354
of 16