คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ถือหุ้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8278/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจฟ้องเบิกความเท็จ หากความเสียหายตกแก่บริษัท ไม่ใช่ผู้ถือหุ้น
ราคาที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยเบิกความกล่าวอ้างถึงในคดีแพ่งที่โจทก์ทั้งสองกับพวกเป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท อ. จำกัด กับพวก เป็นจำเลย เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท อ. จำกัด ดังนั้น ไม่ว่าคำเบิกความของจำเลยเกี่ยวกับราคาค่าที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยซื้อมาจะจริงหรือเท็จ หากศาลในคดีแพ่งพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองกับพวกเป็นฝ่ายชนะคดีค่าเสียหายสำหรับราคาค่าที่ดินดังกล่าวย่อมตกได้แก่บริษัท อ. จำกัด มิได้ตกแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยในข้อหาเบิกความเท็จ
แม้โจทก์ทั้งสองจะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท อ. จำกัด แต่โดยที่โจทก์ทั้งสองไม่ได้เป็นกรรมการของบริษัท โจทก์ทั้งสองจึงมิใช่ตัวแทนของบริษัทผู้ได้รับความเสียหายและไม่มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีกับจำเลย หากโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการดำเนินกิจการของกรรมการของบริษัท โจทก์ทั้งสองก็มีอำนาจที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากกรรมการนั้นได้ตามกฎหมายโดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6692/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้น - สัญญาเพื่อบุคคลภายนอก - การโอนหุ้น - ความรับผิดของผู้ขายและผู้ถือหุ้นเดิม
การซื้อขายตราสารใบหุ้นซึ่งเจ้าของหุ้นได้ลงชื่อโอนหุ้นโดยมิได้ระบุชื่อผู้รับโอน แต่ส่งมอบใบหุ้นให้ไปซึ่งเรียกกันในวงการค้าหุ้นว่าเป็นการโอนหุ้นลอยนี้ คู่สัญญาทำการซื้อขายกันอย่างทรัพย์สินชนิดหนึ่ง มิได้ซื้อขายกันตามมูลค่าของหุ้นเพราะมูลค่าของหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การซื้อขายตราสารใบหุ้นดังกล่าวกับการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 จึงเป็นนิติกรรมคนละอย่างกัน การซื้อขายใบหุ้นจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ว่าด้วยการซื้อขายทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ทั่วไป
การที่จำเลยที่ 4 ลงชื่อในใบโอนหุ้นลอยแล้วมอบให้ ธ. พร้อมใบหุ้นที่จำเลยร่วมที่ 4 ลงชื่อโอนลอยไว้นั้น เป็นการแสดงเจตนาโดยปริยายว่าจะโอนหุ้นตามใบโอนหุ้นลอยนั้นให้แก่บุคคลภายนอกผู้ที่ได้รับหรือซื้อใบหุ้นนั้นไปจาก ธ. โดยสุจริต ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขาย แลกเปลี่ยน หรือยกให้ก็ตาม ซึ่งข้อตกลงกันดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บังคับต้องทำเป็นหนังสือ จึงบังคับกันได้ ดังนั้น ข้อตกลงจะโอนหุ้นตามใบโอนหุ้นลอยระหว่างจำเลยกับ ธ. จึงเป็นสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 374 ธ. ขายใบหุ้นพิพาทให้จำเลยร่วมที่ 2 โจทก์ซื้อจากจำเลยผู้เป็นตัวแทนของจำเลยร่วมที่ 2 และโจทก์ได้แสดงเจตนาจะถือประโยชน์ตามสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกระหว่างจำเลยร่วมที่ 4 กับ ธ. แล้ว จำเลยร่วมที่ 4 จึงผูกพันตามสัญญาต้องโอนหุ้นพิพาทให้โจทก์
โจทก์ยังไม่ได้รับโอนหุ้นพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 ยังมิใช่เป็นผู้ถือหุ้นพิพาท จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาผลประโยชน์ใด ๆจากหุ้นพิพาทนี้ได้ และตัวหุ้นนั้นมีมูลค่าอยู่ในตัวของมันเอง ทั้งเปลี่ยนแปลงอยู่เสมออาจจะสูงขึ้นหรือต่ำลงก็ได้ ไม่แน่นอน จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายในส่วนนี้
สำหรับเงินปันผลนั้นเมื่อโจทก์ยังไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นพิพาทตามกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินปันผลอันเป็นดอกผลของหุ้นพิพาท
ส่วนดอกเบี้ยในต้นเงินที่โจทก์อ้างว่าได้กู้มาซื้อหุ้นพิพาทนั้น เมื่อไม่เกี่ยวกับหนี้ที่จำเลยร่วมที่ 4 จะต้องปฏิบัติการชำระให้โจทก์ กล่าวคือจำเลยร่วมที่ 4 จะต้องไปดำเนินการแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ในฐานะผู้ถือหุ้นพิพาทขอเปลี่ยนเป็นใบหุ้นใหม่แล้วโอนให้โจทก์ มิได้ชำระเป็นเงินจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ย หากโจทก์จะได้ไปกู้เงินมาซื้อหุ้นพิพาทจริงก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องรับผิดชอบเอง หามีสิทธิมาเรียกเอาจากจำเลยร่วมที่ 4 ไม่ นอกจากจำเลยร่วมที่ 4 ไม่สามารถโอนหุ้นพิพาทให้โจทก์และต้องคืนเงินค่าหุ้นให้โจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 4 จึงจะต้องรับผิดเสียดอกเบี้ย ส่วนอัตราดอกเบี้ยนั้นไม่มีข้อตกลงว่าจะต้องเสียให้กันในอัตราเท่าใด และโจทก์ก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์มีสิทธิคิดเอาเกินกว่าอัตราขั้นต่ำตามกฎหมายเพราะเหตุใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดเอาได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5510/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และผลกระทบต่อมติที่ประชุม
ป.พ.พ.มาตรา 1175 และ 1195 ได้บัญญัติเรื่องการบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ไว้โดยมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าว่าบริษัทจะได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ในกิจการใด ที่ใด เมื่อใด เพื่อผู้ถือหุ้นจะได้มีโอกาสเตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้โดยเต็มที่ ไม่ให้ผู้บริหารเอาเปรียบรวบรัดในการประชุม แม้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าถ้าไม่ปฏิบัติตามแล้วการแจ้งดังกล่าวจะต้องเป็นโมฆะเสียเปล่าก็ตาม แต่ก็ให้สิทธิกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสีย โดยต้องร้องขอภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมตินั้นถ้าหากไม่มีการร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบภายในเดือนหนึ่งแล้ว มติของที่ประชุมดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ ผู้ใดจะขอให้เพิกถอนไม่ได้ ดังนั้น เมื่อคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ของผู้คัดค้านที่ส่งไปยังผู้ร้องก่อนวันนัดประชุมน้อยกว่าเจ็ดวัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งให้ผู้ร้องทราบคำบอกกล่าวก่อนกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1175ดังกล่าวข้างต้น การนัดเรียกประชุมใหญ่ในครั้งนี้จึงไม่ชอบและเป็นผลให้มติของที่ประชุมใหญ่ในวันดังกล่าวเป็นมติอันผิดระเบียบตามมาตรา 1195 ซึ่งกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดสามารถร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4364/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะ สัญญา สัมปทาน เจตนาลวง กรรมการ ผู้ถือหุ้น
โจทก์ทราบดีว่า ว. มีปัญหาอยู่กับผู้ถือหุ้นมาก่อน และโจทก์ทราบมาก่อนแล้วว่าจะมีการประชุมถอดถอน ว.ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยร่วมสัญญาสัมปทานฉบับพิพาททำขึ้นภายหลังที่ผู้ถือหุ้นขอให้มีการประชุมถอดถอน ว.และก่อนวันประชุมถอดถอนว.เพียง 9 วัน โจทก์กับ ว. ทำสัญญาสัมปทานฉบับพิพาทโดยไม่สุจริตโดยการแสดงเจตนาลวงสมรู้กันระหว่างโจทก์กับ ว.สัญญาสัมปทานจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 ที่แก้ไขใหม่ ศาลชั้นต้นได้กำชับโจทก์ให้เตรียมพยานมาให้พร้อมจะไม่ให้เลื่อน คดีอีกเพราะเสียเวลามามากแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องขวนขวายมาศาลให้ทันตามเวลานัด การที่โจทก์ไม่มาศาล ให้ทันตามเวลานัด แสดงว่าโจทก์ไม่สนใจที่จะปฏิบัติตามคำสั่ง ศาลชั้นต้น ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นสั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีชำระค่าหุ้น: สิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา vs. ข้อจำกัดการหักกลบลบหนี้ของผู้ถือหุ้น
จำเลยที่ 2 อ้างว่า ไม่ได้ค้างชำระค่าหุ้นเพราะได้ชำระค่าหุ้นไปแล้วร้อยละ 25 และต่อมาจำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินจำเลยที่ 2 ไปไม่ได้ชำระคืนจึงได้ตกลงหักกลบลบหนี้กันก่อนที่โจทก์จะบังคับคดีนี้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1119 วรรคสองที่กำหนดไว้ว่าในการใช้เงินค่าหุ้นนั้นผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1121 เป็นเรื่องกรรมการบริษัทเรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นตามปกติแต่กรณีของโจทก์เป็นการดำเนินการบังคับคดีอายัดเงินค่าหุ้นที่จำเลยที่ 2 ค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 เพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้อง โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาอันเป็นวิธีบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้โดยตรง ย่อมไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 1121

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6778/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองทรัพย์สินของนิติบุคคลแยกจากผู้ถือหุ้น แม้รับมรดกหุ้นเดิม
แม้อ. บิดาผู้ร้องจะเคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยและมีหุ้นอยู่ในบริษัทจำเลยซึ่งผู้ร้องจะมีสิทธิรับมรดกของอ. ก็ตามแต่จำเลยก็เป็นนิติบุคคลซึ่งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้นการรับมรดกของอ. ในหุ้นบริษัทจำเลยของผู้ร้องจึงหาก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ร้องจะอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลยไม่ เมื่อผู้ร้องเข้ามาอาศัยอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทก็โดยอาศัยสิทธิของอ. ซึ่งเคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลยและไม่มีอำนาจพิเศษที่จะอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงมติของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสีย และความชอบด้วยกฎหมายของการแจ้งนัดประชุม
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1185 ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนใดที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใด ซึ่งที่ประชุมจะลงมติออกเสียงลงคะแนนด้วยในมติข้อนั้น หมายความเฉพาะผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเท่านั้น ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตน ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ เพราะแม้ไม่มีมติของบริษัทดังกล่าว ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทก็ชอบที่จะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้ว อีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมด มิได้เลือกปฏิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษแต่อย่างใด มติดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 1185
การที่ ป.พ.พ. มาตรา 1175 กำหนดให้แจ้งนัดประชุมใหญ่บริษัทด้วยการลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน โดยกำหนดเวลาว่าต้องแจ้งก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันนั้น ก็เพื่อมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า เพื่อที่ผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่ ดังนั้นการที่ผู้ร้องที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการบริษัทได้มีหนังสือลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534เรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 3 ธันวาคม 2534 โดยส่งให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่7 คน ทราบ และผู้ถือหุ้นรวมทั้งผู้ร้องต่างก็ทราบนัดแล้ว ครั้นถึงกำหนดนัดผู้คัดค้านทั้งห้าซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้ไปประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ส่วนผู้ร้องและบุตรผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยไม่ได้เข้าประชุม มีแต่ชาย 2 คนมาประชุมแทน แต่เข้าประชุมไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจ จึงฟังได้ว่าการแจ้งกำหนดนัดประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ผู้ถือหุ้น: ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทไม่ถือว่ามีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1185 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนใดที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใดซึ่งที่ประชุมจะลงมติออกเสียงลงคะแนนด้วยในมติข้อนั้นผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตนไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ เพราะไม่มีมติของบริษัทดังกล่าวผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทก็ชอบที่จะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้ว อีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมด มิได้เลือกปฎิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษ มติดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประชุมผู้ถือหุ้น การชำระหนี้ และการแจ้งนัดประชุมชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตนไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเพราะชอบจะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้วอีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมดมิได้เลือกปฏิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1185 บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1175ที่กำหนดให้แจ้งวันนัดประชุมใหญ่บริษัทโดยกำหนดเวลาว่าต้องแจ้งก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า7วันก็เพื่อให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเพื่อผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่เมื่อผู้คัดค้านที่1ในฐานะประธานกรรมการบริษัทมีหนังสือลงวันที่25พฤศจิกายน2534เรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่3ธันวาคม2534โดยส่งให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่7คนทราบและผู้ถือหุ้นทั้งหมดต่างก็ทราบนัดแล้วครั้นถึงกำหนดนัดมีชาย2คนมาประชุมแทนผู้ร้องและบุตรซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยแต่เข้าประชุมไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจจากผู้ร้องและบุตรจึงฟังได้ว่าการแจ้งกำหนดนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทชอบแล้วโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้านั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า7วันหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประชุมผู้ถือหุ้นชอบด้วยกฎหมาย แม้มีผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าหนี้ และไม่มีการเลือกปฏิบัติในการชำระหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1185ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนใดที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใดซึ่งที่ประชุมจะลงมติออกเสียงลงคะแนนด้วยในมติข้อนั้นหมายความเฉพาะผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเท่านั้นผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตนไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเพราะแม้ไม่มีมติของบริษัทดังกล่าวผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทก็ชอบที่จะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้วอีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมดมิได้เลือกปฏิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษแต่อย่างใดมติดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1185 การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1175กำหนดให้แจ้งนัดประชุมใหญ่บริษัทด้วยการลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนโดยกำหนดเวลาว่าต้องแจ้งก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า7วันนั้นก็เพื่อมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเพื่อที่ผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่ดังนั้นการที่ผู้ร้องที่1ในฐานะประธานกรรมการบริษัทได้มีหนังสือลงวันที่25พฤศจิกายน2534เรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่3ธันวาคม2534โดยส่งให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่7คนทราบและผู้ถือหุ้นรวมทั้งผู้ร้องต่างก็ทราบนัดแล้วครั้นถึงกำหนดนัดผู้คัดค้านทั้งห้าซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้ไปประชุมโดยพร้อมเพรียงกันส่วนผู้ร้องและบุตรผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยไม่ได้เข้าประชุมมีแต่ชาย2คนมาประชุมแทนแต่เข้าประชุมไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจจึงฟังได้ว่าการแจ้งกำหนดนัดประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทชอบด้วยกฎหมายแล้ว
of 26