พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในสัญญาจ้างผ่านตัวแทน: ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดแต่ผู้เดียว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาจ้างโจทก์ทำป้ายโฆษณา โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงนามรับผิดในสัญญา ขอให้ร่วมกันรับผิด เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ว่าจ้างในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ก็เท่ากับจำเลยที่ 1 เป็นผู้จ้าง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดแต่ผู้เดียวจะให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อความเสียหายจากการก่อสร้าง แม้จ้างเหมาแล้วก็ตาม
ฟ้องว่า รั้วสังกะสีเสียหายไปประมาณ 50 แผ่นรวมทั้งทรัพย์สินอื่นอีกด้วย คิดค่าเสียหายจำนวนหนึ่ง โดยมิได้ตีราคาเฉพาะสังกะสีว่าเสียหายเท่าใดก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
การที่ผู้ว่าจ้างสั่งคนไปควบคุมผู้รับจ้างเหมาทำงานให้เป็นไปตามสัญญา หากเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นขึ้น ผู้ว่าจ้างก็ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายนั้น
การที่ผู้ว่าจ้างสั่งคนไปควบคุมผู้รับจ้างเหมาทำงานให้เป็นไปตามสัญญา หากเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นขึ้น ผู้ว่าจ้างก็ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อความเสียหายจากงานเหมา แม้จะควบคุมการทำงาน
ฟ้องว่า รั้วสังกะสีเสียหายไปประมาณ 50 แผ่นรวมทั้งทรัพย์สินอื่นอีกด้วย คิดค่าเสียหายจำนวนหนึ่ง โดยมิได้ตีราคาเฉพาะสังกะสีว่าเสียหายเท่าใดก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
การที่ผู้ว่าจ้างสั่งคนไปควบคุมผู้รับจ้างเหมาทำงานให้เป็นไปตามสัญญา หากเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นขึ้นผู้ว่าจ้างก็ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายนั้น
การที่ผู้ว่าจ้างสั่งคนไปควบคุมผู้รับจ้างเหมาทำงานให้เป็นไปตามสัญญา หากเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นขึ้นผู้ว่าจ้างก็ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับเหมาผิดสัญญาเนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ และมิอาจถือประโยชน์จากการที่ผู้ว่าจ้างดำเนินการเอง
เมื่อผู้รับเหมาก่อสร้างมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาต้องจัดหาสิ่งก่อสร้างและให้คนงานทำ ครั้นตอนหลังไม่สามารถชำระค่าแรงแก่ผู้ก่อสร้างก็แปลว่าหยุดงานได้ กับทั้งไม่มีเงินซื้อสิ่งของที่จะก่อสร้างต่อไป ดังนี้ย่อมเห็นได้ว่าผู้รับเหมาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญา จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดสัญญาที่ไม่ทำการให้เสร็จตามสัญญา
ในกรณีที่ผู้รับเหมาผิดสัญญาแล้วจนผู้ว่าจ้างจัดหาสิ่งก่อสร้างและจ่ายค่าจ้างแก่ผู้ก่อสร้างที่เขาเคยจ้างไว้ต่อไปเช่นนี้ ผู้รับเหมานั้นหาอาจถือเอาประโยชน์มาเป็นการกระทำของตนได้ไม่
ในกรณีที่ผู้รับเหมาผิดสัญญาแล้วจนผู้ว่าจ้างจัดหาสิ่งก่อสร้างและจ่ายค่าจ้างแก่ผู้ก่อสร้างที่เขาเคยจ้างไว้ต่อไปเช่นนี้ ผู้รับเหมานั้นหาอาจถือเอาประโยชน์มาเป็นการกระทำของตนได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เช่าเรือต่อความเสียหายจากการเดินเรือ: ผู้เช่าไม่ใช่ผู้ว่าจ้างคนเรือ
เช่าเรือกลไฟมาเดินโดยมีข้อสัญญากันว่า เจ้าของเรือเป็นผู้ออกค่าจ้างคนเรือและค่าใช้จ่ายในเรือ ผู้เช่าไม่พอใจนายเรือหรือคนประจำเรือให้แจ้งแก่เจ้าของเรือเพื่อเปลี่ยนให้ดังนี้ นายเรือและคนประจำเรือจึงเป็นลูกจ้างของเจ้าของเรือ ผู้เช่ามิได้เป็นนายจ้างของนายเรือหรือคนประจำเรือ ไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดในผลละเมิดร่วมกับนายเรือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิในงานปั้นและรูปหล่อ โดยผู้ว่าจ้างไม่ได้มีสิทธิในลิขสิทธิ
การรูปหล่อซึ่งผู้อื่นเขาไว้มาจัดทำแบบแม่+ขึ้นโดยวิธีเอาวัตถุสิ่ง+ของมาพอกรูปหล่อนั้นแล้วการหล่อขึ้นเหมือนรูป+เช่นนี้ เป็นการเลิมดสิทธิ +ให้เขาหล่อรูปรับจ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิในรูปที่หล่อนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดเมื่อผู้ว่าจ้างไม่จัดหาสิ่งของตามสัญญา และการประเมินค่าเสียหายจากงานบกพร่อง
ผู้รับจ้างมีหน้าที่จัดหาสัมภาระที่ดีสำหรับทำการงานผู้รับจ้างทำการไม่แล้วตามกำหนดเพราะผู้ว่าจ้างจัดหาสัมภาระส่งให้ไม่ทัน ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดในการส่งมอบชักช้า วิธีพิจารณาแพ่ง ค่าเสียหายในการชำรุดบกพร่อง เมื่อผู้ว่าจ้างไม่นำสืบ ศาลกะให้พอสมควรราคาที่จะขายได้เมื่อของที่จ้างทำนั้นแล้วเสร็จเรียบร้อย ไม่ใช่ค่าเสียหายในการทำของบกพร่อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4304/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดในความเสียหายจากการตอกเสาเข็ม แม้จะจ้างผู้รับเหมาช่วง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตอกเสาเข็มในโครงการบ้านพักอาศัยของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ติดกับอาคารพิพาทของโจทก์ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องระบุเพียงว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อสร้าง ก็มีความหมายอยู่ในตัวว่า จำเลยที่ 1 คือผู้ว่าจ้าง ส่วนจำเลยที่ 2 คือผู้รับจ้าง และแม้ความจริงจะปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เพียงรับจ้างก่อสร้างอาคาร มิได้รับจ้างตอกเสาเข็มด้วย อันทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ตาม แต่สำหรับจำเลยที่ 1 นั้น ไม่ว่าจะจ้างใครเข้าไปตอกเสาเข็มในที่ดินพิพาท ก็ยังคงสถานะความเป็นผู้ว่าจ้างอยู่เช่นเดิม จำเลยที่ 1 จึงไม่พ้นความผูกพันในฐานะผู้ว่าจ้างทำของ ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 428 ฉะนั้น การพ้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 เนื่องเพราะมิได้เป็นผู้รับจ้างจากจำเลยที่ 1 ในการตอกเสาเข็มจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัว คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะจำเลยที่ 1 ให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นเรื่องของการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
โจทก์นำสืบเพียงว่าจำเลยที่ 1 เริ่มก่อสร้างบ้านโดยใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็มเมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2554 แต่โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดในวันใด จึงให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2554 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือนมิถุนายน 2558
โจทก์นำสืบเพียงว่าจำเลยที่ 1 เริ่มก่อสร้างบ้านโดยใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็มเมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2554 แต่โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดในวันใด จึงให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2554 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือนมิถุนายน 2558
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4202/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการก่อสร้าง: ผู้รับเหมาและผู้ว่าจ้างต้องร่วมรับผิดชอบต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนและเป็นผู้เข้ารับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างถนนกาญจนาภิเษกจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของโครงการ วันเกิดเหตุ อ. ขับรถยนต์คันเกิดเหตุไปตามถนนกาญจนาภิเษกบริเวณซึ่งเป็นที่เกิดเหตุ โดยทางเดินรถช่องขวาสุดกำลังก่อสร้างทางมีลักษณะเป็นทางต่างระดับกับทางปกติ และมีวัสดุอุปกรณ์วางเกะกะอยู่ โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ติดตั้งสัญญาณและไฟส่องสว่าง เพื่อเตือนให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะทราบ เป็นเหตุให้ อ. ขับรถเฉี่ยวชนวัสดุก่อสร้างจนรถยนต์ได้รับความเสียหาย คำฟ้องโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาโดยละเอียดแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว แม้ตามสำเนารายงานประจำวันเอกสารท้ายฟ้องจะระบุว่าขณะเกิดเหตุ อ. ขับรถมาในช่องทางเดินรถซ้ายสุดแตกต่างจากที่ระบุในฟ้อง แต่คำฟ้องโจทก์อยู่ในวิสัยที่จำเลยทั้งสองสามารถเข้าใจได้ว่า รถยนต์คันเกิดเหตุชนกับวัสดุก่อสร้างในช่องเดินรถด้านขวาซึ่งเป็นทางต่างระดับ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่จำเลยที่ 1 ไม่ติดตั้งเครื่องหมายหรือสัญญาและไฟส่องสว่าง เพื่อให้ผู้ขับขี่รถยนต์ในเวลากลางคืนมีโอกาสเห็นถนนที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ เป็นเหตุให้ อ. ขับรถชนแท่งเหล็กที่จำเลยที่ 1 วางไว้ จนได้รับความเสียหาย และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของโครงการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลจำเลยที่ 1 ในการก่อสร้าง แต่ละเลยไม่ควบคุมดูแล ถือเป็นความประมาทของจำเลยที่ 2 ร่วมด้วย แม้ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างจะกำหนดให้จำเลยที่ 1 รับผิดชอบในการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ก็เป็นเรื่องตกลงกันภายในระหว่างจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดดังกล่าวด้วย
ส่วนที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย เพราะโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 บัญญัติว่า หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนั้น โจทก์ในฐานะผู้เข้ารับช่วงสิทธิจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าซ่อมรถครั้งสุดท้ายได้
การที่จำเลยที่ 1 ไม่ติดตั้งเครื่องหมายหรือสัญญาและไฟส่องสว่าง เพื่อให้ผู้ขับขี่รถยนต์ในเวลากลางคืนมีโอกาสเห็นถนนที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ เป็นเหตุให้ อ. ขับรถชนแท่งเหล็กที่จำเลยที่ 1 วางไว้ จนได้รับความเสียหาย และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของโครงการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลจำเลยที่ 1 ในการก่อสร้าง แต่ละเลยไม่ควบคุมดูแล ถือเป็นความประมาทของจำเลยที่ 2 ร่วมด้วย แม้ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างจะกำหนดให้จำเลยที่ 1 รับผิดชอบในการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ก็เป็นเรื่องตกลงกันภายในระหว่างจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดดังกล่าวด้วย
ส่วนที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย เพราะโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 บัญญัติว่า หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนั้น โจทก์ในฐานะผู้เข้ารับช่วงสิทธิจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าซ่อมรถครั้งสุดท้ายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อความเสียหายจากการก่อสร้างอันเกิดจากผู้รับเหมาที่ขาดความรู้ความสามารถ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้าง ท. ให้รับเหมาก่อสร้างบ้านโดยจำเลยที่ 2 เป็นคนมาติดต่อรับเงินค่าจ้างจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิที่จะบอกกล่าวให้ ท. ทำงานตรงไหนก็ได้ตามที่ต้องการ จำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งให้ ท. เปลี่ยนแปลงขนาดเสาเข็มที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ราคาแพงกล่าวเดิม และเป็นคนเอาเงินให้ ท. ไปซื้อ จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบในการกระทำของตัวแทน ดังนั้น แม้ ท. จะเป็นผู้ดำเนินการตอกเสาเข็ม แต่จำเลยที่ 1 ก็มีส่วนผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ และการที่ ท. ไม่ได้เรียนวิชาช่างมาโดยตรง เพิ่งรับเหมางานก่อสร้างให้จำเลยที่ 1 เป็นงานแรก ก็เกิดเหตุทำให้บ้านของโจทก์ทั้งสองเกิดรอยร้าว เสียหาย แสดงว่า ท. เป็นผู้ขาดความรู้ความสามารถ การที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้ ท. เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างถือว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ในการเลือกหาผู้รับจ้างมาก่อสร้างด้วย ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นคดีอาญา จำเลยที่ 1 ก็ให้การรับสารภาพ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง และแม้โจทก์ทั้งสองจะมิได้ฟ้อง ท. ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิด