คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้แทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3154/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้แทนสหภาพแรงงาน: การแต่งตั้งทนายความต้องเป็นไปตามมติคณะกรรมการ
คณะกรรมการของสหภาพแรงงานเป็นผู้แทนที่มีอำนาจดำเนินกิจการของสหภาพแรงงาน หากคณะกรรมการของสหภาพแรงงานไม่ประสงค์จะดำเนินกิจการในฐานะเป็นผู้แทนทั้งหมด ก็มีสิทธิที่จะตกลงมอบหมายให้กรรมการของสหภาพแรงงานคนหนึ่งคนใดหรือหลายคนรวมกันทำกิจการแทนคณะกรรมการของสหภาพแรงงานได้
การดำเนินคดีของสหภาพแรงงานจำเลยที่ 1 ต้องกระทำร่วมกันโดยจำเลยที่ 2 - 14 ซึ่งเป็นคณะกรรมการ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ผู้เดียวลงชื่อแต่งตั้ง ส. เป็นทนายความให้มีสิทธิอุทธรณ์ในนามจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 - 14 ซึ่งเป็นคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 มิได้มอบหมายให้จำเลยที่ 3 ดำเนินคดีแทนคณะกรรมการแต่อย่างใดจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ ส. ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3154/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้แทนสหภาพแรงงาน: การแต่งตั้งทนายความต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการทั้งหมด
คณะกรรมการของสหภาพแรงงานเป็นผู้แทนที่มีอำนาจดำเนินกิจการของสหภาพแรงงาน หากคณะกรรมการของสหภาพแรงงานไม่ประสงค์จะดำเนินกิจการในฐานะเป็นผู้แทนทั้งหมด ก็มีสิทธิที่จะตกลงมอบหมายให้กรรมการของสหภาพแรงงานคนหนึ่งคนใดหรือหลายคนร่วมกันทำกิจการแทนคณะกรรมการสหภาพแรงงานได้ ในการดำเนินคดีของสหภาพแรงงานจำเลยที่ 1 จึงต้องกระทำร่วมกันโดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 ซึ่งเป็นคณะกรรมการ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 ได้ตกลงมอบหมายให้จำเลยที่ 3 แต่ผู้เดียวเป็นผู้ดำเนินคดีแทนคณะกรรมการ การที่จำเลยที่ 3 แต่เพียงผู้เดียวได้ลงลายมือชื่อแต่งตั้งทนายความให้มีสิทธิอุทธรณ์ในนามของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 มีอำนาจเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ที่จะปฏิบัติเช่นนั้นได้ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ทนายความดังกล่าวลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจโดยชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3154/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้แทนสหภาพแรงงาน: คณะกรรมการต้องร่วมกันดำเนินการ หรือมอบหมายให้กรรมการอื่นทำแทน
คณะกรรมการของสหภาพแรงงานเป็นผู้แทนที่มีอำนาจดำเนินกิจการของสหภาพแรงงาน หากคณะกรรมการของสหภาพแรงงานไม่ประสงค์จะดำเนินกิจการในฐานะเป็นผู้แทนทั้งหมด ก็มีสิทธิที่จะตกลงมอบหมายให้กรรมการของสหภาพแรงงานคนหนึ่งคนใดหรือหลายคนรวมกันทำกิจการแทนคณะกรรมการของสหภาพแรงงานได้ การดำเนินคดีของสหภาพแรงงานจำเลยที่ 1 ต้องกระทำร่วมกันโดยจำเลยที่ 2-14 ซึ่งเป็นคณะกรรมการ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3ผู้เดียวลงชื่อแต่งตั้ง ส. เป็นทนายความให้มีสิทธิอุทธรณ์ในนามจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2-14 ซึ่งเป็นคณะกรรมการของจำเลยที่ 1มิได้มอบหมายให้จำเลยที่ 3 ดำเนินคดีแทนคณะกรรมการแต่อย่างใดจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ ส. ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจโดยชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2308/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เยาว์เป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ แม้มีผู้แทน
ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718(1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ เมื่อผู้คัดค้านยังไม่บรรลุนิติภาวะ แม้จะมีมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมดำเนินการแทนตาม กฎหมาย ศาลก็ไม่อาจตั้ง ผู้คัดค้านซึ่ง เป็นบุคคลที่ต้องห้ามตาม กฎหมายเป็นผู้จัดการมรดกได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างระหว่างผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คกับผู้ทำการแทนทางกฎหมาย ไม่กระทบความผิดฐานออกเช็ค
การที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลออกเช็คโดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับตราของจำเลยที่ 1 แม้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจะได้ความว่าผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมิใช่จำเลยที่ 2 ก็เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดของการบรรยายฟ้องอันเกี่ยวกับตัวผู้ทำการแทนนิติบุคคลเท่านั้น มิใช่ข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญอันจะเป็นเหตุให้ศาลลงโทษจำเลยที่ 1 ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3669/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับเมื่อผู้แทนโจทก์รู้การละเมิดและตัวผู้รับผิด
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบแบบแผน ไม่ควบคุมดูแลการรับเงินและการส่งเงินจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ยักยอกเงินของโจทก์ไปได้และทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลละเมิดและเรียกค่าสินไหมทดแทน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องได้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยมูลละเมิดทั่วไป มิใช่มูลละเมิดอันเป็นความผิดมีโทษทางอาญา จึงมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก ซึ่งต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนและในกรณ์นิติบุคคลเป็นผู้เสียหายย่อมต้องนับจากวันที่ผู้แทนของนิติบุคคล ได้รู้ดังกล่าว
โจทก์เป็นสุขาภิบาลตูมใต้มีนายอำเภอกุมภวาปีเป็นประธานโดยตำแหน่ง ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นนายอำเภอกุมภวาปี สารวัตรใหญ่แจ้งความว่าได้รับคำสั่งให้ดำเนินคดีอาญากับจำเลยทั้งสี่และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้เข้ามอบตัวในวันเดียวกัน การแจ้งความดังกล่าวมิใช่การแจ้งความของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้แทนโจทก์ และจำเลยที่ 1 ก็ตกเป็นผู้ต้องหาด้วย จะถือว่ารู้ตัวผู้จะต้องรับผิดรายอื่น ๆ ไม่ได้ จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นผู้แทนโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดอันจะนับอายุความในวันดังกล่าว ต้องถือว่าโจทก์รู้ตัวบุคคลผู้ต้องรับผิดเพื่อละเมิดเกี่ยวกับจำเลยในวันที่นายอำเภอกุมภวาปีคนใหม่รับทราบจากรายงานของคณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดชอบทางแพ่งเกี่ยวกับการทุจริตรายนี้ เมื่อโจทก์ฟังยังไม่เกิน 1 ปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3669/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: การนับอายุความเริ่มเมื่อผู้แทนโจทก์รู้การละเมิดและตัวผู้รับผิด
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบแบบแผน ไม่ควบคุมดูแลการรับเงินและการส่งเงินจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ยักยอกเงินของโจทก์ไปได้และทำให้โจทก์เสียหายเป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลละเมิดและเรียกค่าสินไหมทดแทนโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องได้ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยมูลละเมิดทั่วไป มิใช่มูลละเมิดอันเป็นความผิดมีโทษทางอาญา จึงมีอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก ซึ่งต้องเริ่มนับอายุความ ตั้งแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนและในกรณีนิติบุคคลเป็นผู้เสียหายย่อมต้องนับจากวันที่ผู้แทนของนิติบุคคลได้รู้ดังกล่าว โจทก์เป็นสุขาภิบาลตูมใต้มีนายอำเภอกุมภวาปีเป็นประธานโดยตำแหน่งขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นนายอำเภอกุมภวาปีสารวัตรใหญ่แจ้งความว่าได้รับคำสั่งให้ดำเนินคดีอาญากับจำเลยทั้งสี่และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้เข้ามอบตัวในวันเดียวกัน การแจ้งความดังกล่าวมิใช่การแจ้งความของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แทนโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ต้องหาด้วยจะถือว่ารู้ตัวผู้จะต้องรับผิดรายอื่น ๆ ไม่ได้ จึงยังถือไม่ได้ว่าผู้แทนโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดอันจะนับอายุความในวันดังกล่าวต้องถือว่าโจทก์รู้ตัวบุคคลผู้ต้องรับผิดเพื่อการละเมิดเกี่ยวกับจำเลยในวันที่นายอำเภอกุมภวาปีคนใหม่รับทราบจากรายงานของคณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดชอบทางแพ่งเกี่ยวกับการทุจริตรายนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องยังไม่เกิน 1 ปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของวัดต่อหนี้ที่เกิดจากการก่อสร้างโบสถ์ และการให้สัตยาบันโดยผู้แทนวัด
วัดจำเลยที่ 1 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วจึงเป็นนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา 72 เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนวัด ขณะที่วัดจำเลยที่ 1 ยังไม่มีเจ้าอาวาส จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพระลูกวัดเป็นผู้ติดต่อให้โจทก์มาช่วยสร้างโบสถ์ บอกบุญให้ประชาชนมาร่วมบริจาคเงินสร้างโบสถ์และคิดบัญชีกับโจทก์ เมื่อคิดบัญชีปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างที่โจทก์ออกเงินทดรองจ่ายไปก่อน จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยจำเลยที่ 1 ระบุฐานะว่าเป็นตัวแทนคณะกรรมการจัดงานฝังลูกนิมิตวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 ระบุว่าเป็นกรรมการของวัดจำเลยที่ 1 พฤติการณ์เหล่านี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1
เจ้าคณะตำบลอาศัยอำนาจตามกฎหมายมหาเถระสมาคม ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2506) ข้อ 4 วรรคหนึ่ง แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าอาวาสตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
หลังจากจำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสอันเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ได้รู้ถึงพฤติการณ์ตามวรรคแรกของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ก็มิได้ทักท้วงหรือเพิกถอนการกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 หาต้องร่วมรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
โจทก์เข้าช่วยเหลือในการสร้างโบสถ์โดยมิได้หวังผลตอบแทนในทางการค้าจากจำเลยที่ 1 การกระทำของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นผู้ค้าในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ การที่โจทก์เรียกเอาค่าที่ได้ดอกเงินทดรองไปในการก่อสร้างโบสถ์จึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 165 (7) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 210 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5119/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีของทายาทและผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหาย
ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้สืบสันดานตามความเป็นจริงของผู้เสียหายซึ่งแม้จะไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก็มีสิทธิดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 วรรคแรก และเมื่อผู้สืบสันดานของผู้เสียหายยังเป็นผู้เยาว์ มารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ก็ดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยมารดาไม่ต้องขออนุญาตเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เยาว์ต่อศาลก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดเว้นภาษีโรงเรือนต้องเป็นการอยู่อาศัยหรือมีผู้แทนรักษา ไม่ใช่ใช้เพื่อกิจการค้า
โจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้า ผลิต ซื้อ ขายซีเมนต์ โจทก์เป็นเจ้าของโรงเรือนพิพาท การที่โจทก์ใช้โรงเรือนพิพาทบางหลัง เป็นที่ทำงานฝ่ายบริหารติดต่อกับลูกค้ารายใหญ่และทำนิติกรรมสัญญา บางหลังเป็นห้องรับประทานอาหารของพนักงานของโจทก์บางหลังเป็นที่ติดตั้งเครื่องทำความเย็น และบางหลังเป็นโรงจอดรถของพนักงานของโจทก์นั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์อยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่ เฝ้ารักษาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2475 มาตรา 3 โจทก์จึงมิได้รับงดเว้นการเสียภาษีโรงเรือนตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2528)
of 15