คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พนักงานสอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยพนักงานสอบสวนร่วมกันปลอมเอกสารขอประกันตัวผู้ต้องหา และรับสินบนเพื่อช่วยเหลือให้ได้รับการปล่อยตัว
จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนมีหน้าที่เสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกัน อ. ทั้งๆ ที่รู้ว่าล. ปลอมลายมือชื่อ ท. ผู้ขอประกัน จำเลยก็ยังเสนอความเห็นว่าควรให้ประกัน อ. ดังนี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยรับทรัพย์สินสำหรับตนเองเพื่อกระทำให้ อ. ได้รับประกันตัวไป ดังนี้เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 201ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดอำนาจพนักงานสอบสวนในการกำหนดหลักประกันเกินจำนวนเงินตามเช็ค สัญญาประกันไม่เป็นโมฆะ
การที่พนักงานสอบสวนสั่งปล่อยชั่วคราว โดยกำหนดหลักประกันเกินจำนวนเงินตามเช็คเป็นแต่เพียงการกระทำที่เกินอำนาจของพนักงานสอบสวน สัญญาประกันมิได้ตกเป็นโมฆะ ดังนั้นเมื่อมีการผิดสัญญาประกัน จึงใช้บังคับนายประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้คือไม่เกินจำนวนเงินตามเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนนอกสถานที่ของพนักงานสอบสวนไม่ถือเป็นเอกสารเท็จ
จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนที่ใด เวลาใดก็ได้ แล้วแต่จะเห็นสมควรตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 130 การที่จำเลยสอบถามข้อเท็จจริงบางประการจากโจทก์ที่โรงพยาบาลแล้วไปจดลงในคำให้การของโจทก์ที่สถานีตำรวจอันเป็นที่ทำการของจำเลยภายหลัง โดย ระบุว่าสอบสวนที่สถานีตำรวจเพียงเหตุเท่านี้หาเป็นการทำและรับรองเอกสารอันเป็นเท็จไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงต่อโจทก์ จึงไม่มีสิทธิฟ้อง
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนละเว้นดำเนินคดีแก่ผู้จำหน่ายเนื้อสุกรชำแหละที่ฆ่าโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการอันเป็นผลเสียหายแก่รัฐ มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกและประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรโดยตรง โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายและไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1560/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานสอบสวนกองปราบปราม: การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ได้รับอนุญาตภายหลัง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหน่วยงานฯให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจรับผิดชอบในความผิดอาญาทั่วราชอาณาจักร ดังนี้ พันตำรวจเอก ส. ซึ่งรับราชการประจำกองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครอยู่แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 18 การที่กรมตำรวจวางระเบียบว่ากองปราบปรามจะสอบสวนความผิดอาญาได้ต่อเมื่อได้รับคำสั่งหรืออนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจหรือรองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ก็เพื่อเป็นการแบ่งแยกความรับผิดชอบในการสอบสวนคดีเท่านั้นเมื่อพันตำรวจเอก ส. ได้รับอนุญาตให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีนี้แล้ว แม้จะได้รับอนุญาตภายหลัง การสอบสวนตั้งแต่ต้นก็เป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4028/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเท็จจริงจากความเห็นพนักงานสอบสวน ไม่ผูกพันศาลในคดีแพ่ง หากไม่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญา
ความเห็นของพนักงานสอบสวนที่วินิจฉัยว่าเหตุเกิดขึ้น เป็นการสุดวิสัยนั้น ไม่ใช่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏใน คำพิพากษาคดีส่วนอาญา จึงไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๖ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามความเห็นของพนักงานสอบสวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4028/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเท็จจริงจากความเห็นพนักงานสอบสวนไม่ผูกพันคดีแพ่ง ศาลไม่จำต้องยึดตามคำพิพากษาคดีอาญา
ความเห็นของพนักงานสอบสวนที่วินิจฉัยว่าเหตุเกิดขึ้นเป็นการสุดวิสัยนั้น ไม่ใช่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามความเห็นของพนักงานสอบสวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3624/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิ่งราวทรัพย์: อำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนกองปราบปราม แม้ได้รับอนุมัติภายหลังการสอบสวน ก็ยังชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยขายสร้อยให้ผู้เสียหาย 4 เส้นในราคา 100 บาทเศษแต่จำเลยกลับหยิบเอาธนบัตรฉบับละ 500 บาทจำนวน 1 ฉบับจากในกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไปโดยพลการในทันทีที่ผู้เสียหายเปิดกระเป๋าสตางค์ ซึ่งผู้เสียหายยังมิทันได้หยิบธนบัตรดังกล่าวส่งให้จำเลย แล้วจำเลยก็หลบหนีไปเช่นนี้ การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการผิดสัญญาในทางแพ่งหรือเข้าใจผิดเพราะสื่อความหมายกันไม่รู้เรื่องแต่อย่างไร การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าจำเลยจึงมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (6) บัญญัติว่า พนักงานสอบสวน หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน มาตรา 18 วรรคสองก็บัญญัติให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปในจังหวัดพระนครและธนบุรีมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2515 ออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2508 ข้อ 8 กำหนดให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร เมื่อได้ความว่าความผิดเกิดบริเวณท่าช้างวังหลวงในกรุงเทพมหานคร ร้อยตำรวจโท ส. ซึ่งรับราชการตำแหน่งรองสารวัตรแผนก 4 กองกำกับการ 8 กองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแม้กรมตำรวจวางระเบียบไว้ว่า กองปราบปรามจะทำการสอบสวนความผิดอาญาได้ต่อเมื่อได้รับคำสั่งหรืออนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจหรือรองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายในของกรมตำรวจดังนั้นเมื่อร้อยตำรวจโท ส. ได้รับอนุญาตให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้วถึงแม้ว่าจะได้รับอนุญาตภายหลังจากร้อยตำรวจโท ส. สอบสวนคดีนี้เสร็จแล้วการสอบสวนที่ร้อยตำรวจโท ส. กระทำแต่ต้นย่อมชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3624/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิ่งราวทรัพย์: การกระทำเข้าข่ายลักทรัพย์โดยฉกฉวย แม้จะมีการโต้แย้งเรื่องอำนาจการสอบสวนของพนักงาน
จำเลยขายสร้อยให้ผู้เสียหาย 4 เส้นในราคา 100 บาทเศษแต่จำเลยกลับหยิบเอาธนบัตรฉบับละ 500 บาทจำนวน 1 ฉบับจากในกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไปโดยพลการในทันทีที่ผู้เสียหายเปิดกระเป๋าสตางค์ ซึ่งผู้เสียหายยังมิทันได้หยิบธนบัตรดังกล่าวส่งให้จำเลย แล้วจำเลยก็หลบหนีไปเช่นนี้ การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการผิดสัญญาในทางแพ่งหรือเข้าใจผิดเพราะสื่อความหมายกันไม่รู้เรื่องแต่อย่างไร การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าจำเลยจึงมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(6) บัญญัติว่า พนักงานสอบสวน หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน มาตรา 18 วรรคสองก็บัญญัติให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปในจังหวัดพระนครและธนบุรีมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่5 ตุลาคม 2515 ออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2508 ข้อ 8 กำหนดให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร เมื่อได้ความว่าความผิดเกิดบริเวณท่าช้างวังหลวงในกรุงเทพมหานครร้อยตำรวจโทส. ซึ่งรับราชการตำแหน่งรองสารวัตรแผนก 4 กองกำกับการ 8 กองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแม้กรมตำรวจวางระเบียบไว้ว่า กองปราบปรามจะทำการสอบสวนความผิดอาญาได้ต่อเมื่อได้รับคำสั่งหรืออนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจหรือรองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายในของกรมตำรวจดังนั้นเมื่อร้อยตำรวจโท ส. ได้รับอนุญาตให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้วถึงแม้ว่าจะได้รับอนุญาตภายหลังจากร้อยตำรวจโท ส. สอบสวนคดีนี้เสร็จแล้วการสอบสวนที่ร้อยตำรวจโท ส. กระทำแต่ต้นย่อมชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานจากพนักงานสอบสวนไม่ใช่พยานบอกเล่า และข้อโต้แย้งเรื่องดุลพินิจศาลเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ฎีกาไม่ได้
คำเบิกความของพนักงานสอบสวนที่ว่าได้ไปตรวจสถานที่เกิดเหตุทำแผนที่เกิดเหตุ และให้ความเห็นจากการตรวจสถานที่เกิดเหตุและแผนที่เกิดเหตุประกอบกันว่าเหตุเกิดเพราะความผิดของฝ่ายใด มิใช่พยานบอกเล่ารับฟังได้.
of 18