พบผลลัพธ์ทั้งหมด 235 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5834/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติไทยโดยการเกิด แม้ไม่มีเอกสารหลักฐานทะเบียนราษฎร์ครบถ้วน ศาลพิจารณาจากพยานบุคคลและพยานแวดล้อมได้
โจทก์เดินทางจากประเทศจีนมาประเทศไทย และยื่นคำร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองยกคำร้อง โจทก์จึงฟ้องศาล เมื่อโจทก์พิสูจน์ได้ว่า โจทก์เกิดในประเทศไทยโจทก์จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดเป็นบุคคลสัญชาติไทย ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2456 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1382 พยานบุคคลใช้ได้
การนำสืบข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง ไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 คู่ความอาจสืบพยานบุคคลได้ การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังพยานบุคคลประกอบระวางรูปแผนที่แบ่งแยก แล้วเชื่อข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของพยานบุคคล จึงเป็นเรื่องใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน หาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารหรือหักล้างพยานเอกสารในกรณีที่มีกฎหมายบังคับต้องมีเอกสารมาแสดงไม่
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดว่า จำเลยได้ขายที่พิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์และโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยได้ให้การว่า โจทก์ครอบครองที่พิพาทจริง แต่ไม่ได้ครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ จำเลยไม่ได้ขายที่พิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์ขอทำนาในที่พิพาทแล้วตกลงให้ข้าวเปลือกเป็นค่าตอบแทนบิดาโจทก์และโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนจำเลยเท่านั้น สาระสำคัญที่เป็นประเด็นพิพาทก็คือ โจทก์ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของจนได้กรรมสิทธิ์โดยผลของกฎหมายหรือเป็นเพียงครอบครองที่พิพาทแทนจำเลย ดังนั้นแม้การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้แต่เพียงว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนจำเลยหรือไม่ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการครอบครองของโจทก์นั้น ถ้าโจทก์ไม่ได้ครอบครองแทนจำเลยโจทก์ก็ต้องครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้สละประเด็นแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้วจึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดว่า จำเลยได้ขายที่พิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์และโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยได้ให้การว่า โจทก์ครอบครองที่พิพาทจริง แต่ไม่ได้ครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ จำเลยไม่ได้ขายที่พิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์ขอทำนาในที่พิพาทแล้วตกลงให้ข้าวเปลือกเป็นค่าตอบแทนบิดาโจทก์และโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนจำเลยเท่านั้น สาระสำคัญที่เป็นประเด็นพิพาทก็คือ โจทก์ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของจนได้กรรมสิทธิ์โดยผลของกฎหมายหรือเป็นเพียงครอบครองที่พิพาทแทนจำเลย ดังนั้นแม้การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้แต่เพียงว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนจำเลยหรือไม่ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการครอบครองของโจทก์นั้น ถ้าโจทก์ไม่ได้ครอบครองแทนจำเลยโจทก์ก็ต้องครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้สละประเด็นแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้วจึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 การรับฟังพยานบุคคลแทนเอกสาร
การนำสืบข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 คู่ความจึงสืบพยานบุคคลได้ โจทก์บรรยายว่า จำเลยได้ขายที่พิพาทให้แก่บิดาโจทก์บิดาโจทก์และโจทก์ได้ครอบครองมาโดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การ ว่า โจทก์ครอบครองที่พิพาทจริง แต่ไม่ได้ครอบครองอย่างเป็น เจ้าของ จำเลยไม่ได้ขายพิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์ขอทำนา ในที่พิพาทแล้วตกลงให้ข้าวเปลือกเป็นค่าตอบแทน บิดาโจทก์และ โจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนจำเลยเท่านั้น สาระสำคัญที่เป็น ประเด็นพิพาทก็คือ โจทก์ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของ จนได้กรรมสิทธิ์โดยผลของกฎหมาย หรือเป็นเพียงครอบครองที่ พิพาทแทนจำเลย แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้แต่เพียงว่า โจทก์ครอบครองแทนจำเลยหรือไม่ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้แน่แท้ว่าการครอบครองของโจทก์นั้น ถ้าโจทก์ไม่ได้ครอบครองแทนจำเลยโจทก์ก็ต้องครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของโดยความสงบและ โดยเปิดเผยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ มิใช่เรื่องที่โจทก์สละประเด็น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา เกินกว่า 10 ปี โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท ตามมาตรา 1382 แล้ว จึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3673/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานหนังสือยินยอม การสืบพยานบุคคลแทนหนังสือยินยอมขัดต่อกฎหมาย
โจทก์มิได้นำสืบหนังสือยินยอมของสามีจำเลยที่ให้จำเลยขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ แต่กลับสืบพยานบุคคลแทนหนังสือให้ความยินยอม และการที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยมีหนังสือยินยอมของสามีมาด้วย ก็ถือได้ว่าเป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อแสดงว่าสามีจำเลยได้ให้ความยินยอมนั่นเอง จึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้รับความยินยอมจากสามีให้ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3673/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินสมรสต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่สมรส หากไม่มีหลักฐานแสดงความยินยอม ศาลไม่อาจรับฟังพยานบุคคลแทนได้
โจทก์มิได้นำสืบหนังสือยินยอมของสามีจำเลยที่ให้จำเลยขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ แต่กลับสืบพยานบุคคลแทนหนังสือให้ความยินยอม และการที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยมีหนังสือยินยอมของสามีมาด้วย ก็ถือได้ว่าเป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อแสดงว่าสามีจำเลยได้ให้ความยินยอมนั่นเอง จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้รับความยินยอมจากสามีให้ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสาร การชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อชำระราคาตามสัญญาซื้อขายน้ำเกลือ จำเลยให้การและนำสืบว่าได้ชำระราคาแก่โจทก์แล้วโดยโจทก์ได้ออกใบเสร็จรับเงินให้ไว้ ดังนี้ การชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบได้ว่า ใบเสร็จรับเงินดังกล่าวที่จำเลยอ้างนั้นเป็นใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ได้ออกให้แก่จำเลยไปก่อนเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการตั้งฎีกาเบิกเงินมาชำระราคาแก่โจทก์ตามที่เคยปฏิบัติมา แต่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระราคาเพราะเจ้าหน้าที่การเงินของจำเลยทุจริต กรณีหาเป็นการต้องห้ามมิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระดอกเบี้ยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ อนุญาตให้ใช้พยานบุคคลยืนยันได้
การชำระดอกเบี้ยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคสอง จึงนำสืบพยานบุคคลว่าได้ชำระดอกเบี้ยแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระดอกเบี้ยไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานหนังสือ สามารถนำสืบพยานบุคคลได้
การชำระดอกเบี้ยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง จึงนำสืบพยานบุคคลว่าได้ชำระดอกเบี้ยแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ศาลรับฟังพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงข้อความหนังสือรับสภาพหนี้ได้
การรับสภาพหนี้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 172 เดิม (มาตรา 193/14 (1)ใหม่) ดังนั้นการที่ศาลรับฟังพยานบุคคลแล้วนำไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตามหนังสือรับสภาพหนี้ จึงไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ศาลรับฟังพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือรับสภาพหนี้ได้
การรับสภาพหนี้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม (มาตรา 193/14(1) ใหม่)ดังนั้นการที่ศาลรับฟังพยานบุคคลแล้วนำไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตามหนังสือรับสภาพหนี้ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)