คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิจารณา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 380 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5197/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในคดีล้มละลาย: ศาลล้มละลายมีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ
ปัญหาเรื่องอำนาจในการยื่นคำร้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่มีคำสั่งไม่เข้าดำเนินคดีร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยตามคำขอของจำเลย ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งยืนตามกลับหรือแก้ไขหรือสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรได้ คดีตามคำร้องของจำเลยเป็นสาขาคดีหนึ่งของกระบวนพิจารณาในคดีล้มละลาย ที่จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลในคดีส่วนล้มละลายจึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามคำร้องของจำเลยศาลในคดีส่วนแพ่งคดีนี้ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามคำร้องของจำเลยได้การที่จำเลยยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3834/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาที่ ศก.1/2531 และ ศก.7/2531 - ประเด็นการพิจารณาคดีและการวินิจฉัยของศาล
ศก.1/2531 และ ศก.7/2531

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3474/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟ้องแย้งหลังศาลชั้นต้นพิพากษาคดีเดิมแล้ว ศาลฎีกาเห็นว่าไม่มีเหตุรื้อฟื้นพิจารณา
ศาลชั้นต้น ไม่รับฟ้องแย้ง จำเลย อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวแต่ศาลอุทธรณ์มิได้ให้ศาลชั้นต้นงดการพิจารณาไว้ในระหว่างอุทธรณ์และเมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาพิพากษาคดีเดิมเสร็จโดยอยู่ระหว่างอุทธรณ์จึงไม่มีเหตุให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งและรื้อฟื้นพิจารณาพิพากษาประเด็นตามฟ้องแย้งใหม่กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าฟ้องแย้งเกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รับ ฟ้องแย้งจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช่าที่ดินทำนาต้องรอผลการพิจารณาของ คชก. หากยังไม่สิ้นสุด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
กรณีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยเกี่ยวกับการเช่าทำนาในที่ดินพิพาทเป็นการพิพาทกันในข้อที่ว่าจำเลยมีสิทธิเช่าที่ดินพิพาททำนาต่อไปหรือไม่จึงเป็นข้อพิพาทอันเกิดจากการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทที่การเช่าที่ดินเพื่อการนั้นมีการควบคุมตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคชก.ตำบลจะเป็นผู้วินิจฉัยตามมาตรา13(2)แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวและการเสนอคดีต่อศาลเกี่ยวกับข้อพิพาทในเรื่องนี้พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะเป็นขั้นตอนแล้วตามมาตรา56วรรคหนึ่งและมาตรา57วรรคหนึ่งซึ่งก็มีการดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวในกรณีนี้โดยเมื่อคชก.ตำบลวินิจฉัยให้จำเลยมีสิทธิเช่าที่ดินพิพาททำนาต่อไปแล้วโจทก์ได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคชก.จังหวัดซึ่งวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิเช่าที่ดินทำนาต่อไปและโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดต่อศาลโดยการฟ้องคชก.จังหวัดต่อศาลแล้วแต่ก่อนคดีดังกล่าวจะถึงที่สุดประการใดโจทก์ก็มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524ยังไม่เสร็จสิ้นโจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยจะมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้หรือฎีกาขึ้นมาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6994/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคู่ความอื่นก่อนออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา254 (2) แม้ว่ากฎหมายจะบัญญัติให้ทำเป็นคำขอฝ่ายเดียวก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ ได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 21 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6935/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีและการขาดนัดพิจารณา: ศาลต้องพิจารณาคำร้องเลื่อนคดีก่อนมีคำสั่งขาดนัด
คดีนี้ศาลนัดสืบพยานสองนัดติดต่อกัน โดยนัดแรกนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน นัดต่อมานัดสืบพยานโจทก์ ก่อนถึงวันนัดสืบพยานจำเลยโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลย โจทก์ไม่มาศาล ศาลไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีและมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาเช่นนี้ ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติป.วิ.พ. มาตรา 197 วรรคสอง เพราะโจทก์ได้มีการร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่มาศาลไม่ได้ให้ศาลทราบก่อนลงมือสืบพยานแล้ว ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ไม่มาศาลและไม่แจ้งเหตุขัดข้องอันจะถือว่าเป็นการขาดนัดพิจารณา การที่ศาลไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีและมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ การพิจารณาคดีนี้จึงมิใช่การพิจารณาโดยขาดนัด การที่โจทก์ไม่มาศาลในนัดแรกจึงไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะสืบพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6538/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการทำร้ายร่างกาย: พิจารณาจากลักษณะการลงมือและเหตุจูงใจ
มีดพร้าของกลางเป็นมีดสำหรับใช้มือทั้งสองจับเพราะด้ามมีดยาว 14 นิ้ว แต่เก้าอี้ไม้สักที่ถูกจำเลยฟันเป็นรอยถากเนื้อไม้หายไปเล็กน้อยแสดงว่าจำเลยจับมีดพร้าของกลางด้วยมือข้างเดียวและฟันไม้แรงนัก อีกทั้งจำเลยทะเลาะกับมารดา มิได้ทะเลาะกับผู้เสียหายเหตุที่จำเลยฟันผู้เสียหายก็เพราะผู้เสียหายเข้าไปขอมีดจากจำเลยจำเลยจึงฟันผู้เสียหายเพื่อระบายความโกรธนอกจากนี้เมื่อจำเลยฟันไม่ถูก จำเลยก็มิได้ฟันซ้ำอีก จนญาติพี่น้องเข้าแย่งมีดทำให้มีดหล่นจากมือจำเลย เช่นนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยฟันผู้เสียหายโดยมีเพียงเจตนาทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลมิได้พิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีก่อนสั่งขาดนัด ถือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 23 พฤศจิกายน 2533 ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยที่ 1 มาศาลและยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่นซึ่งได้นัดไว้ก่อนแล้ว ส่วนโจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอเลื่อนคดีว่า "สั่งในรายงาน"แล้วมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแสดงว่าตั้งใจที่จะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201จึงมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้นัดสืบพยานจำเลยที่ 1 ต่อไปในวันที่ 20 ธันวาคม 2533 เวลา 13.30 นาฬิกา และให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความจึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาคำร้อง ขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1เลยว่าทนายจำเลยที่ 1 มาศาลไม่ได้เพราะติดว่าความที่ศาลอื่นจริงหรือไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องก็ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ชอบที่จะสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไว้ และวันที่23 พฤศจิกายน 2533 ก็มิใช่วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานอีกต่อไปแม้โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันดังกล่าว กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัด การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิจารณาสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40แต่กลับก้าวล่วงไปสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความ เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณา ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2),247 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานแล้วพิพากษาใหม่โดยไม่ถูกต้อง เนื่องจากศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษา ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าเพื่อการจดทะเบียน: หลักเกณฑ์และข้อพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่า เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียน ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ดำเนินการจดทะเบียนให้นั้นคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเลยให้การว่า เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทในการชี้สองสถานไว้ว่า คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ก็ย่อมมีความหมายจำกัดเฉพาะประเด็นที่โต้เถียงกันในคำฟ้องคำให้การเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คำวินิจฉัยของจำเลยชอบแล้วเพราะเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนได้มีการจดทะเบียนในต่างประเทศผู้ขอจดทะเบียนได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาแล้วในต่างประเทศโดยสุจริตแม้เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนจะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันก็ตาม นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมรับจดทะเบียนได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 18คำวินิจฉัยของจำเลยในฐานะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ให้รับจดทะเบียนโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ในส่วนประกอบ 3 ส่วน ส่วนบนเป็นอักษรโรมันคำว่า "ANCHORBRAND" มีลักษณะโค้งเลี้ยวเป็นวงกลมคว่ำลง ส่วนกลางเป็นรูปสมอเรือและส่วนล่างเป็นอักษรภาษาไทยคำว่า "ตราสมอ" ส่วนเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนเป็นอักษรโรมัน 2 คำ อยู่ตรงบรรทัดเดียวกัน คำหนึ่งว่า "ULYSSE"อีกคำหนึ่งว่า "NARDIN" ระหว่างคำทั้งสองนี้มีรูปภาพสมอเรือตั้งเอียงไปทางขวาเล็กน้อย ลักษณะภาพสมอเรือเองตัดกับอักษรโรมันเป็นรูปกากบาท เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนแล้ว ลักษณะโครงสร้างหรือการวางรูปของเครื่องหมายการค้าทั้งสองรายต่างกันมากเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนจึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ส่วนเครื่องหมายการค้าอีกเครื่องหมายหนึ่งของโจทก์เป็นรูปสมอเรือ (ไม่มีโซ่) ตั้งอยู่บนข้อความอักษรโรมันว่า "SPERA"แตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนทั้งในภาพรวมตัวรูปสมอเรือ การวางรูป ข้อความภาษาโรมันเครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนจึงไม่คล้ายกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลระหว่างพิจารณา ทำให้เสียสิทธิอุทธรณ์ในภายหลัง
โจทก์ยื่นคำร้องฉบับแรกขอให้เรียกบิดามารดาจำเลยเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา การที่โจทก์ยื่นคำร้องฉบับที่ 2 ซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกับคำร้องฉบับแรกโดยมิได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นแต่ประการใด ถือไม่ได้ว่ามีการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
of 38