คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิจารณาคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 477 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7340/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ต้นยูคาลิปตัสเป็นส่วนควบของที่ดิน แม้จะปลูกเพื่อการค้า การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี
ต้นยูคาลิปตัสเป็นต้นไม้ที่มีอายุหลายปี โดยสภาพถือว่าเป็นไม้ยืนต้น แม้โจทก์จะอ้างว่าปลูกไว้เพื่อตัดขาย เป็นการปลูกลงในพื้นดินเป็นการชั่วคราว แต่ก็จะต้องใช้เวลาปลูกนานประมาณ 3 ถึง 5 ปี จึงจะตัดฟันนำไปใช้ประโยชน์ได้ และหลังจากตัดฟันแล้วตอที่เหลือก็จะแตกยอดเจริญเติบโตขึ้นเป็นลำต้นใหม่ หลังจากนั้นประมาณ 3 ปี ก็จะเจริญงอกงามเหมือนเดิม แสดงให้เห็นว่า โจทก์มีเจตนาปลูกต้นยูคาลิปตัสไว้เพื่อใช้ประโยชน์เป็นช่วงระยะเวลานานตลอดไป หาใช่ปลูกแล้วตัดฟันใช้ครั้งเดียวก็สิ้นสุด ฉะนั้น ต้นยูคาลิปตัสจึงเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท
คดีนี้จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะเข้าปลูกต้นยูคาลิปตัสโดยสุจริต ก็หาอาจใช้ยันจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐไม่ และต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทที่โจทก์ปลูกย่อมไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะถือว่าไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ฉะนั้น หากให้โจทก์ตัดต้นยูคาลิปตัสไปในระหว่างพิจารณา ภายหลังจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้ จึงสมควรที่จะสั่งห้ามไม่ให้โจทก์เข้าตัดฟันต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทระหว่างพิจารณาคดีไว้เป็นการชั่วคราว
การขอคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 บัญญัติให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอระหว่างพิจารณาได้ หากเห็นว่าการกระทำของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้ตนได้รับความเสียหายหากภายหลังตนชนะคดี กฎหมายหาได้บัญญัติว่าหากผู้ขอเป็นฝ่ายจำเลยจะต้องฟ้องแย้งดังที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6883/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีรื้อฟื้นคดีอาญาซ้ำๆ และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526มาตรา 16 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีโดยอนุโลมด้วย การพิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 40 แห่ง ป.วิ.พ. ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15ว่ามีเหตุจำเป็นและสมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่
ในวันนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถมาศาลได้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วอนุญาต แต่เมื่อถึงวันนัดที่เลื่อนไป ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี อ้างเหตุว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถเดินได้และระบุในคำร้องว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังมีอาการป่วยมาศาลไม่ได้ก็จะขอถอนคำร้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดไต่สวนคำร้องและกำชับให้ผู้ร้องนำพยานมาสืบในนัดหน้า แต่เมื่อถึงวันนัดทนายความของผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าผู้ร้องป่วยเนื่องจากกระดูกต้นคองอกทับเส้นประสาทพึ่งได้รับการผ่าตัด มีอาการมึนงงไม่สามารถตอบคำถามได้และไม่สามารถลุกนั่งได้ด้วยตนเอง และรับรองว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังไม่สามารถมาศาลได้ ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบและยกคำร้องของผู้ร้องเสีย ศาลชั้นต้นอนุญาต เมื่อรวมระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นเวลาถึง 6 เดือนเศษ การที่ผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุผลอย่างเดิมอีกพฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมิได้ให้ความสนใจต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีตามที่ร้องขอ
กระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่ พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526มาตรา 9 วรรคสาม บัญญัติไว้ชัดเจนว่า เมื่อได้ไต่สวนคำร้องแล้ว ให้ศาลที่ไต่สวนคำร้องส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์โดยไม่ชักช้า ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องได้
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 13 (2)ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ บทบัญญัติดังกล่าวหาได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบถามจำเลยเรื่องทนายก่อนเริ่มพิจารณาคดีอาญาอัตราโทษสูง
คดีที่มีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงสิบปี ศาลชั้นต้นจะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีทนายความหรือไม่ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาไปโดยไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการดังกล่าว การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องย้อนสำนวนเพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินการใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบถามจำเลยเรื่องทนายก่อนพิจารณาคดีอัตราโทษสูงสิบปีเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่ต้องดำเนินการ หากไม่ทำ กระบวนการพิจารณาไม่ถูกต้อง
คดีที่มีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงสิบปี ศาลชั้นต้นจะต้อง สอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีทนายความหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาไปโดยไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการ ดังกล่าว การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องย้อนสำนวนเพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินการใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3971/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลในการสอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนพิจารณาคดีที่มีอัตราโทษจำคุก หากไม่ดำเนินการ กระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง
เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาคดีที่มีอัตราโทษจำคุกเสียก่อนว่าจำเลยมีและต้องการทนายความหรือไม่ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีการดำเนินการดังกล่าว การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องดำเนินการใหม่ให้ถูกต้อง แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาของผู้มีจิตบำบัด: ศาลต้องตรวจสอบสภาพจิตจำเลยก่อนพิพากษา
ข้อเท็จจริงหรือเหตุที่ทำให้ศาลเชื่อหรือสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ศาลอาจสังเกตเห็นจากอากัปกิริยาของจำเลยเองหรือมีผู้เสนอข้อเท็จจริงให้ศาลทราบก็ได้ ในวันที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นธ. น้องจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นพร้อมใบตรวจโรคของแพทย์โรงพยาบาลว่าจำเลยเป็นโรคจิตเภท มีอาการระแวงพูดจาวกวน จำเลยเป็นผู้ป่วยรักษาตัวที่โรงพยาบาลมาตั้งแต่พ.ศ. 2530 โรงพยาบาลรับตัวจำเลยไว้รักษารวม 4 ครั้งครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2540 ถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2540 และหลังเกิดเหตุคดีนี้เพียง 3 วัน โรงพยาบาล ก็ได้รับตัวจำเลยไว้รักษาอีกครั้งหนึ่งครั้งนี้จำเลยมีอาการ หงุดหงิด ง่าย พูดและยิ้มคนเดียว โรงพยาบาลจำต้องดูแลรักษา ต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้อาการกำเริบยิ่งขึ้น ตามใบตรวจโรคของแพทย์เอกสารท้ายฎีกา ดังนี้เมื่อกรณี มีเหตุควรเชื่อในเบื้องต้นว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและ ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ศาลจึงชอบที่จะสั่งให้แพทย์ตรวจจำเลย โดยละเอียด แล้วเรียกแพทย์ผู้ตรวจมาให้ถ้อยคำต่อศาลหรือ มาให้การว่าตรวจได้ผลประการใดคือวิกลจริตถึงขนาดไม่สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่เสียก่อน แล้วจึงพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้พิจารณาคำร้อง ของ ธ.น้องจำเลยจึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและ พิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ก่อน จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและ ศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้และศาลฎีกามีอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบด้วยมาตรา 225 สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ ให้ถูกต้องต่อไปได้และให้ศาลชั้นต้นส่งตัวจำเลยไปให้แพทย์ โรงพยาบาลตามที่ระบุในคำร้อง ของ ธ. หรือโรงพยาบาลอื่นที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรตรวจสภาพจิต และเรียกแพทย์ผู้ตรวจ จำเลยมาให้ถ้อยคำหรือให้การต่อศาลว่าตรวจได้ผลประการใด แล้วดำเนินการพิจารณาพิพากษาไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาของผู้มีจิตบำบัด: จำเป็นต้องตรวจสอบสภาพจิตก่อนพิพากษา
ข้อเท็จจริงหรือเหตุที่ทำให้ศาลเชื่อหรือสงสัยว่าจำเลย เป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ อาจเป็นเพราะศาลสังเกต เห็นจากอากัปกิริยาของจำเลยเอง หรือมีผู้เสนอข้อเท็จจริง ให้ศาลทราบก็ได้ ในวันที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น ธ. น้องจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นพร้อมใบตรวจโรคของแพทย์โรงพยาบาลว่า จำเลยเป็นโรคจิตเภท มีอาการระแวง พูดจาวกวน โรงพยาบาลรับตัวจำเลยไว้รักษารวม 4 ครั้งและหลังเกิดเหตุคดีนี้เพียง 3 วัน โรงพยาบาลก็ได้รับตัว จำเลยไว้รักษาอีกครั้งหนึ่งครั้งนี้จำเลยมีอาการหงุดหงิด ง่าย พูดและยิ้มคนเดียว โรงพยาบาลจำต้องดูแลรักษาต่อไป อย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้อาการกำเริบยิ่งขึ้น ดังนี้เมื่อ กรณีมีเหตุควรเชื่อในเบื้องต้นว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ศาลจึงชอบที่จะสั่งให้แพทย์ตรวจ จำเลยโดยละเอียด แล้วเรียกแพทย์ผู้ตรวจมาให้ถ้อยคำต่อศาล หรือมาให้การว่าจำเลยวิกลจริตถึงขนาดไม่สามารถต่อสู้ ได้หรือไม่เสียก่อน แล้วจึงพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้พิจารณาคำร้องของธ. น้องจำเลยเป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาลงโทษ จำเลยโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ก่อน จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นฎีกาได้ และศาลฎีกา ย่อมมีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบด้วยมาตรา 225 สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้ศาลชั้นต้นส่งตัวจำเลยไป ให้แพทย์โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาหรือโรงพยาบาลอื่นที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควร ตรวจสภาพจิตและเรียกแพทย์ผู้ตรวจจำเลย มาให้ถ้อยคำหรือให้การต่อศาลว่าตรวจได้ผลประการใดแล้ว ดำเนินการพิจารณาพิพากษาไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งย้ายภูมิลำเนา และการไต่สวนเหตุจำเป็นเมื่อไม่ทราบกำหนดนัดพิจารณาคดี
โจทก์และทนายโจทก์ระบุสำนักงานบริษัท ร.เป็นภูมิลำเนาของโจทก์ในคำฟ้องและภูมิลำเนาของทนายโจทก์ ในใบแต่งทนายความ แต่ตามคำเบิกความของโจทก์ ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและคำร้อง ของ ทนายโจทก์มิได้ระบุ ภูมิลำเนาของตนตามที่ระบุไว้ในคำฟ้องและใบแต่งทนายความ ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ โดยอ้างว่าโจทก์ไม่ทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์เนื่องจาก ย้ายภูมิลำเนา ศาลชั้นต้นจึงควรทำการไต่สวนว่าเหตุที่ โจทก์ยกขึ้นอ้างนั้นฟังได้หรือไม่ เพียงใด ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 วรรคสอง และมาตรา 181 จะอาศัยเพียงโจทก์และทนายโจทก์ย้ายภูมิลำเนา ไม่แจ้งให้ศาลทราบมาเป็นเหตุยกคำร้องโดยไม่ทำการไต่สวน หาสมควรไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการพิจารณาคดีโดยไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นนัดให้โจทก์มาศาลเพื่อสอบถาม ไม่ปรากฏว่าเป็นเรื่องอะไร จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้องหรือนัดสืบพยานโจทก์ ศาลจะพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166 และ 181 ไม่ได้ แต่เมื่อโจทก์มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์มายื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นโดยไม่มีใบมอบฉันทะตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 การยื่นคำฟ้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลชั้นต้นจะสั่งประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาไม่ได้ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6951/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ไม่ชอบ การพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ และผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรม
ตามคำฟ้องโจทก์ระบุที่ตั้งของจำเลยอยู่บ้านเลขที่ 210จังหวัดชลบุรี หรือสำนักงานใหญ่ อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ชั้น 20และ 21 เลขที่ 191 กรุงเทพมหานคร แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 191 อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ชั้น 20 และ 21 กรุงเทพมหานคร เพียงแห่งเดียวโดยไม่ปรากฏว่ามีสาขาอื่น เมื่อการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ให้จำเลยเฉพาะที่ตั้งอยู่เลขที่ 210 แห่งเดียวโดยมิได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยณ ที่สำนักงานใหญ่ของจำเลย แต่ตอนส่งคำบังคับตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลับมีการส่งให้จำเลยที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยและส่งได้ จำเลยจึงทราบว่าถูกฟ้องคดีนี้ ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เลขที่ 210 กรณีจึงถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยชอบ กระบวนพิจารณาคดีของศาลแรงงานภายหลังต่อมาไปจนถึงมีคำพิพากษาจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบศาลฎีกาให้ศาลแรงงานดำเนินการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยใหม่และพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
of 48