พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6664/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดำเนินคดีหลังพิทักษ์ทรัพย์: การดำเนินคดีที่ผิดขั้นตอนหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นโมฆะ
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจเข้าว่าคดีแพ่งเรื่องนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 และ 25 โดยโจทก์ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือเข้าว่าคดีแพ่งเรื่องนี้ได้อีก แต่ปรากฎว่าโจทก์ยังคงเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาและเข้าว่าคดีนี้ในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์จนกระทั่งศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาคดีนี้ไปแล้วแม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของโจทก์แต่โจทก์ก็ได้ทราบถึงข้อที่โจทก์ไม่มีอำนาจดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ดังนั้นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นรวมตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22และ 25 และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่ 2 จะเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยให้ได้ และให้ยกการดำเนินกระบวนพิจารณาให้ศาลชั้นต้นรวมตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้น และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6402/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีที่ไม่บริบูรณ์ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ทำให้ใช้ยันต่อ จ.พ.ท. ไม่ได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงการรับจ่ายเงินแล้วเสร็จ และได้โอนเงินของจำเลยที่เหลือ ตามที่โจทก์ในคดีนี้ขออายัดมาไว้ในคดีนี้เมื่อภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 เด็ดขาดและเพิ่งมีการส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้เมื่อเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2แล้ว ดังนี้ เมื่อการบังคับคดีแพ่งเรื่องนี้ยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 จึงใช้ยันแก่ จ.พ.ท.ของจำเลยที่ 2 ไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 110 จ.พ.ท.จึงมีอำนาจจัดการเงินที่เหลือดังกล่าวรวมเข้าไปไว้ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ โจทก์คดีนี้จะขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีสั่งให้โอนเงินที่ส่งมาตามที่อายัดไปไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ในคดีล้มละลายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5643/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ ผู้รับชำระต้องคืนเงินและเสียดอกเบี้ย
คำว่า "ศาล" ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 24 หมายถึงศาลที่มีคำสั่งหรือความเห็นชอบในการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้เฉพาะในกรณีที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เท่านั้น พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มิได้บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งหรือให้ความเห็นชอบในกรณีที่จำเลยผ่อนชำระเงินตามเช็คให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเพื่อให้ผู้คัดค้านถอนฟ้องคดีอาญาแก่จำเลย แม้ศาลในคดีอาญาจดรายงานกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านและให้เลื่อนการพิพากษาคดีอาญาไป ก็หาใช่ศาลที่ให้ความยินยอมตามกฎหมายแห่งพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 24 ไม่ ปัญหาที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 24 ไม่ได้บัญญัติให้อำนาจผู้ร้องที่จะร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ของจำเลยได้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้นั้น แม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวไว้ในคำคัดค้าน และมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่กรณีเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง และ 249 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้ให้เป็นการไม่ชอบ และแม้ผู้คัดค้านจะมิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้แต่กลับยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็วินิจฉัยให้ได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ การชำระหนี้ของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านเป็นการชำระหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 22 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 จึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องซึ่งมีอำนาจในการจัดการและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยย่อมมีอำนาจร้องขอให้ผู้คัดค้านคืนเงินที่จำเลยชำระได้ ปัญหาที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ต้องคืนด้วยนั้นไม่ชอบเพราะผู้คัดค้านรับชำระหนี้จากจำเลยโดยสุจริต เข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 และที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการชำระหนี้ของจำเลยขัดต่อมาตรา 22และ 24 ไม่ว่าผู้คัดค้านจะทราบว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่นั้น ไม่ชอบด้วยเช่นกัน เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้าน ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้ การชำระหนี้ของจำเลยตกเป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 22 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483เงินที่ผู้คัดค้านรับไว้จากจำเลย จะต้องคืนให้แก่จำเลยฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 412แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนยื่นคำร้องคดีนี้ ผู้ร้องได้เรียกร้องให้ผู้คัดค้านคืนเงินให้จึงต้องถือว่าผู้ร้องเรียกร้องให้ผู้คัดค้านคืนเงินนับแต่วันยื่นคำร้องในคดีนี้เป็นต้นไป คดีนี้ผู้คัดค้านจะอ้างว่าได้รับชำระหนี้จากจำเลยโดยสุจริตเข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 ไม่ได้ เพราะผู้ร้องมิได้ร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามบทมาตราดังกล่าว ทั้งการร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามมาตรา 114 จะต้องเป็นการกระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังเท่านั้นอันหมายถึงการชำระหนี้ที่กระทำก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หาใช่เป็นการชำระหนี้ที่กระทำหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดดังเช่นคดีนี้ไม่ ดังนี้ การชำระหนี้ของจำเลยจึงต่อมาตรา 22 และ 24 ไม่ว่าผู้คัดค้านจะทราบว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่ และตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับผู้ร้องย่อมร้องขอให้ผู้คัดค้านคืนเงินในส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4716/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
หนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเป็นหนี้ค่าเช่าและหนี้อย่างอื่นซึ่งมีกำหนดระยะเวลาให้ชำระโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระตั้งแต่งวดที่ 14 ประจำวันที่ 20 มกราคม 2538เป็นต้นไป จึงมิใช่ได้กำหนดระยะเวลาให้ชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2537 แต่เป็นการกำหนดระยะเวลาให้ชำระภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 99
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4716/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ไม่ได้
หนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเป็นหนี้ค่าเช่าและหนี้อย่างอื่นที่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระตั้งแต่ งวดที่ 14 ประจำวันที่ 20 มกราคม 2538 เป็นต้นไปมิใช่กำหนดระยะเวลาให้ชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2537 แต่เป็นการกำหนดระยะเวลาให้ชำระภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิทักษ์ทรัพย์เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาคดี
จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตายระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 14 ดังโจทก์ฎีกาขอมาได้ ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 84
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องก่อน/หลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และมูลหนี้ที่ถูกต้อง
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษาในคดีแพ่งโดยผู้ร้องมีสิทธิได้รับค่าเสียหายเดือนละ 50,000 บาท นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2528 จนกว่าจำเลยและบริวารจะออกไปจากที่พิพาท มูลหนี้ดังกล่าวสามารถแบ่งแยกกันได้ว่าค่าเสียหายเดือนใดเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว ค่าเสียหายเดือนใดที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวย่อมมีสิทธินำมาหักกลบลบหนี้ได้ ส่วนมูลหนี้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 16 เมษายน 2529 ซึ่งเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นต้นไปไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้ที่ผู้ร้องต้องชำระให้แก่จำเลยได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 102
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการพิสูจน์สิทธิเจ้าหนี้
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 โดยผู้ร้อง มีสิทธิได้รับค่าเสียหายเดือนละ 50,000 บาท นับแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2528 จนกว่าจำเลยที่ 2 และบริวารจะออกไปจากที่พิพาท จึงเท่ากับศาลพิพากษากำหนดค่าเสียหาย ให้ผู้ร้องได้รับเป็นรายเดือนทุกเดือนไปจนกว่าจำเลยที่ 2จะส่งมอบที่ดินและอาคารพิพาทให้ผู้ร้อง ดังนั้น มูลหนี้รายนี้จึงสามารถแบ่งแยกกันได้ว่าค่าเสียหายเดือนใดเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ถ้าหากค่าเสียหายเดือนใดที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 2ก็ย่อมมีสิทธินำมาหักกลบลบหนี้ได้ แต่ภายหลังจำเลยที่ 2ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวในวันที่ 16 เมษายน 2529 แล้วมูลหนี้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 16 เมษายน 2529 เป็นต้นไปจึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่ผู้ร้องได้รับภายหลังจากมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 102ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธินำค่าเสียหายส่วนนี้มาหักกลบลบหนี้ จำเลยที่ 4 เคยฟ้องจำเลยที่ 2 กับพวกเป็นจำเลยฐานผิดสัญญา ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลมีคำสั่ง ให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยให้จำเลยที่ 4 เข้าทำ ประโยชน์ในที่ดินและอาคารพิพาทมีกำหนด 3 เดือน แต่จำเลยที่ 4 ต้องวางเงินต่อศาลชั้นต้นเดือนละ 400,000 บาท ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ไม่ได้วางเงินต่อศาลชั้นต้น ต่อมาศาลชั้นต้นได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งใหม่โดยให้บริษัทอ.และบริษัทท. เข้าทำประโยชน์มีกำหนด 3 เดือน โดยให้วางเงินต่อศาลชั้นต้นเดือนละ 200,000 บาทบริษัททั้งสองได้วางเงินเพียง 200,000 บาท และผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอรับเงินค่าตอบแทนดังกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในอาคารที่ปลูกสร้างบนที่ดินปรากฏผลคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะขอรับเงินค่าตอบแทนดังกล่าว ดังนี้ จึงเท่ากับผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าตอบแทนในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 2ไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อผู้ร้อง เพราะการที่ศาลชั้นต้นให้คู่ความในคดีวางเงินต่อศาลเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา จะผูกพันก็เฉพาะคู่ความในคดีนั้น ผู้ร้องจึงมิใช่เป็นเจ้าหนี้ในจำนวนเงินค่าตอบแทนดังกล่าวแม้มูลหนี้จะเกิดก่อนจำเลยที่ 2 ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ร้องจะต้องไปว่ากล่าวเป็นกรณีต่างหาก ผู้ร้องไม่มีสิทธินำเงินค่าตอบแทนในคดีดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้เลิกกันในวันที่ 30 พฤษภาคม 2528 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือและผู้ร้องมีสิทธิริบเงินตามสัญญาเพียง7,000,000 บาท โดยผู้ร้องต้องคืนเงินแก่จำเลยที่ 2 จำนวน4,400,000 บาท ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่คืนจึงต้องถือว่าผู้ร้องผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ผู้ร้องบอกเลิกสัญญา ผู้ร้องต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่สัญญาเลิกกันคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2528จนกว่าชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9546/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบการล้มละลายต่อความรับผิดทางอาญา: ผู้ล้มละลายยังต้องรับผิดชอบคดีอาญาที่เกิดขึ้นก่อนการพิทักษ์ทรัพย์
กรณีที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์บุคคลใดหรือมีคำพิพากษาให้บุคคลใดเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว คำสั่งหรือคำพิพากษานั้นเกี่ยวกับสิทธิและสภาพของบุคคล บุคคลผู้ล้มละลายจะจัดการทรัพย์สินได้หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยที่ 2 ย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้
ตามหลักกฎหมายล้มละลายเพียงบัญญัติมิให้บุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเองหรือก่อหนี้สินขึ้นอีกในระหว่างพิทักษ์ทรัพย์อยู่ ถ้าหากไปก่อหนี้สินขึ้นในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จะถือเอามูลหนี้นั้นไปขอรับชำระหนี้ไม่ได้แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้หนี้สินนั้นสูญสิ้นไป โดยเฉพาะกฎหมายล้มละลายมิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย การกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิด-อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ได้เกิดขึ้นก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ ไม่เกี่ยวข้องกับการถูกพิทักษ์ทรัพย์ในภายหลังแต่อย่างใด ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดดังกล่าวได้
ตามหลักกฎหมายล้มละลายเพียงบัญญัติมิให้บุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเองหรือก่อหนี้สินขึ้นอีกในระหว่างพิทักษ์ทรัพย์อยู่ ถ้าหากไปก่อหนี้สินขึ้นในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จะถือเอามูลหนี้นั้นไปขอรับชำระหนี้ไม่ได้แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้หนี้สินนั้นสูญสิ้นไป โดยเฉพาะกฎหมายล้มละลายมิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย การกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิด-อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ได้เกิดขึ้นก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ ไม่เกี่ยวข้องกับการถูกพิทักษ์ทรัพย์ในภายหลังแต่อย่างใด ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และผลกระทบต่อสิทธิลูกหนี้ในการดำเนินคดี
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22กำหนดว่าเมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วจำเลยไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดีเพราะกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวจำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอในคดีแพ่งเรื่องอื่นที่จำเลยถูกฟ้องเพื่อมิให้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยและปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยมาตรา246,247และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153