พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5518/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัดทรัพย์ในคดีฟอกเงิน: มาตรการทางแพ่งมีผลเหนือกว่าการบังคับคดีสามัญ
มาตรการทางแพ่งตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มุ่งป้องปรามมิให้มีการนำทรัพย์สินที่ได้มาหรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดไปใช้สนับสนุนการก่ออาชญากรรมต่อไป จึงมิใช่การดำเนินคดีแพ่งโดยทั่วไป แม้ตามมาตรา 56 และ 59 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จะบัญญัติให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินและการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินในหมวด 6 ให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ไม่ได้มีบทบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ และสามารถนำมาปรับใช้ได้เท่าที่ไม่ขัดกับหลักการแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติเกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราวไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองชั่วคราว ตาม ป.วิ.พ. มาปรับใช้กับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินชั่วคราวในคดีฟอกเงินได้
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะแจ้งอายัดสิทธิเรียกร้องบัญชีเงินฝากของจำเลยไว้ก่อนที่ศาลชั้นต้นในคดีฟอกเงินจะมีคำสั่งให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินก็ตาม แต่หากเจ้าหนี้สามัญมีสิทธิยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งอายัดไว้ชั่วคราวได้ อาจทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวไม่มีอยู่ จนไม่มีเหตุที่จะไต่สวนและมีคำสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน และหากต่อมาศาลในคดีฟอกเงินมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของจำเลยรวมถึงสิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดิน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นต้นไป ห้ามมิให้ยึดหรืออายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยดังกล่าวเพื่อการบังคับคดีไม่ว่าด้วยเหตุใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 หากโจทก์เห็นว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในเงินตามบัญชีเงินฝากของจำเลย โจทก์ต้องไปดำเนินการในคดีฟอกเงินตามมาตรา 53 ซึ่งบัญญัติถึงขั้นตอนในการดำเนินการไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในหนี้สามัญ ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีเพื่อให้มีผลถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีฟอกเงินได้
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะแจ้งอายัดสิทธิเรียกร้องบัญชีเงินฝากของจำเลยไว้ก่อนที่ศาลชั้นต้นในคดีฟอกเงินจะมีคำสั่งให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินก็ตาม แต่หากเจ้าหนี้สามัญมีสิทธิยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งอายัดไว้ชั่วคราวได้ อาจทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวไม่มีอยู่ จนไม่มีเหตุที่จะไต่สวนและมีคำสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน และหากต่อมาศาลในคดีฟอกเงินมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของจำเลยรวมถึงสิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดิน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นต้นไป ห้ามมิให้ยึดหรืออายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยดังกล่าวเพื่อการบังคับคดีไม่ว่าด้วยเหตุใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 หากโจทก์เห็นว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในเงินตามบัญชีเงินฝากของจำเลย โจทก์ต้องไปดำเนินการในคดีฟอกเงินตามมาตรา 53 ซึ่งบัญญัติถึงขั้นตอนในการดำเนินการไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในหนี้สามัญ ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีเพื่อให้มีผลถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีฟอกเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4227/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัดทรัพย์สินในคดีฟอกเงิน: เจ้าหนี้สามัญบังคับคดีขัดต่อกฎหมายเฉพาะ
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นมาตรการทางกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และกำหนดมาตรการทางแพ่งในการยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ไม่ใช่เป็นการดำเนินคดีแพ่งทั่วไป แม้มาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้การดำเนินการทางศาลตามหมวดนี้ให้ยื่นต่อศาลแพ่งและให้นำป.วิ.พ. มาบังคับใช้โดยอนุโลม ก็ต้องเป็นกรณีที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ไม่ได้มีบทบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ และสามารถนำมาปรับใช้ได้เพียงเท่าที่ไม่ขัดกับหลักการแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งตามมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้บัญญัติเกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราวมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีแพ่งไว้เป็นการเฉพาะแล้ว แม้ว่าหนังสือแจ้งอายัดสิทธิเรียกร้องจะเป็นการอายัดไว้ก่อนที่ศาลแพ่งจะมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินก็ตาม แต่หากให้เจ้าหนี้สามัญยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งอายัดทรัพย์สินของจำเลยไว้ชั่วคราว ตามมาตรา 55 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ได้ อาจทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวไม่มีอยู่จนไม่มีมีเหตุที่จะทำการไต่สวนและมีคำสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และหากต่อมาศาลแพ่งมีคำสั่งให้ทรัพย์สินซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดินจะมีผลทางกฎหมายโดยนับแต่วันที่ศาลแพ่งมีคำสั่งให้ทรัพย์สินซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดินเป็นต้นไป โจทก์ย่อมไม่อาจยึดเพื่อการบังคับคดี ไม่ว่าด้วยเหตุใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. ซึ่งเป็นการดำเนินคดีแพ่งทั่วไปมาปรับใช้กับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราวในคดีฟอกเงิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 อันเป็นกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีแพ่งโดยทั่วไปได้ และหากต่อมาศาลแพ่งมีคำสั่งให้สิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดินแล้ว แต่โจทก์เห็นว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในเงินตามบัญชีเงินฝากของจำเลยโดยเป็นเจ้าของ ผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์ โจทก์ต้องไปดำเนินการในคดีฟอกเงินดังกล่าวตามมาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินการเป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในหนี้สามัญไม่อาจดำเนินการบังคับคดีในคดีนี้เพื่อให้มีผลถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีฟอกเงินดังกล่าวได้ โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยส่งเงินที่อายัดตามคำพิพากษาไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4223/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขัดแย้งกับคดีฟอกเงิน: ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ไม่อาจบังคับคดีได้
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นมาตรการทางกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและเป็นมาตรการทางแพ่งในการยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ไม่ใช่เป็นการดำเนินคดีแพ่งทั่วไป แม้มาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้การดำเนินการตามหมวด 6 ให้นำ ป.วิ.พ. มาบังคับใช้โดยอนุโลม แต่ต้องเป็นกรณีที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ไม่ได้มีบทบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ และนำมาปรับใช้ได้เพียงเท่าที่ไม่ขัดกับหลักการแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้บัญญัติวิธีการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินชั่วคราวไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. ซึ่งเป็นการดำเนินคดีแพ่งทั่วไปมาปรับใช้กับการคุ้มครองชั่วคราวในคดีฟอกเงินได้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งอายัดสิทธิเรียกร้องในขณะที่ศาลแพ่งมีคำสั่งอายัดทรัพย์สินของจำเลยไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นก่อนแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ต้องส่งเงินตามสิทธิเรียกร้องให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี และยังปรากฏว่าต่อมาศาลแพ่งมีคำสั่งให้ทรัพย์สินซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดิน ดังนั้น นับแต่วันที่ศาลแพ่งมีคำสั่งให้ทรัพย์สินซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดินเป็นต้นไป โจทก์ย่อมไม่อาจยึดเพื่อการบังคับคดี ไม่ว่าด้วยเหตุใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 หากโจทก์เห็นว่า ตนเป็นผู้มีสิทธิในเงินตามบัญชีเงินฝากของจำเลยโดยเป็นเจ้าของ ผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์ โจทก์ต้องไปดำเนินการในคดีฟอกเงินดังกล่าวตามมาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินการเป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในหนี้สามัญไม่อาจดำเนินการบังคับคดีในคดีนี้เพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีฟอกเงินดังกล่าวได้ โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 1 ส่งเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3299/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินที่ได้จากโครงการที่เกิดจากการกระทำความผิดมูลฐาน แม้ผู้กระทำผิดถูกฟ้องในความผิดอื่น ก็สามารถบังคับตามกฎหมายป้องกันฟอกเงินได้
ข้อเท็จจริงตามทางวินิจฉัยของศาลแขวงดุสิตปรากฏชัดแจ้งว่า กลุ่มจำเลยที่ 2 ถึงที่ 19 เป็นเอกชน ได้ร่วมกับเจ้าพนักงานรัฐกระทำการอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151 และมาตรา 157 แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 19 มิได้เป็นเจ้าพนักงาน จึงมีความผิดได้เพียงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดของเจ้าพนักงาน เพียงแต่กรมควบคุมมลพิษโจทก์ในคดีดังกล่าวเลือกแยกฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 19 เป็นคดีฉ้อโกงที่มีโทษต่ำกว่า ทั้งยังเป็นคดียอมความได้ เช่นนี้เมื่อการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 19 เป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานในการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (5) แม้โจทก์จะเลือกแยกฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 19 ที่เป็นเอกชนในฐานฉ้อโกง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความผิดมูลฐานที่มีการกระทำเกิดขึ้น ก็หาเป็นเหตุเปลี่ยนแปลงการกระทำความผิดมูลฐานให้แปรเปลี่ยนไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3298/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน กรณีการทุจริตโครงการก่อสร้าง แม้จะเกิดก่อนบังคับใช้กฎหมาย
คำเบิกความของพยานผู้ร้องประกอบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 ซึ่งวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านที่ 2 ร. ก. และ ว. มีความผิดฐานร่วมกันหลอกลวงขายที่ดินให้แก่กรมควบคุมมลพิษตาม ป.อ. มาตรา 341 ประกอบมาตรา 83 และพิพากษาลงโทษผู้คัดค้านที่ 2 ร. ก. และ ว. แล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 ที่เป็นคู่ความในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน
ผู้คัดค้านที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 4 ในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 ร่วมกระทำความผิดฐานฉ้อโกงด้วยการหลอกลวงขายที่ดินก็ตาม แต่ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาตรา 51 วรรคสาม ก็ไม่ได้หมายความเฉพาะผู้ร่วมกระทำความผิดเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงผู้ที่มีการติดต่อสัมพันธ์ใกล้ชิดหรือมีการทำธุรกรรมกับผู้กระทำความผิดด้วย เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบริษัทหนึ่งในกิจการร่วมค้า N และผู้คัดค้านที่ 1 กับบริษัทอื่นในกิจการร่วมค้า N ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ ว. ออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบจากบริษัท ค. ที่ ว. ถือหุ้นอยู่ เพื่อนำมาใช้ก่อสร้างโครงการจัดการน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ ย่อมรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน
เงินที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินเป็นเงินที่ผู้คัดค้านทั้งสามได้รับมาตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างและจ้างเหมาเบ็ดเสร็จที่กิจการร่วมค้า N ทำกับกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งได้ความว่าสัญญาดังกล่าวและสัญญาจัดหาที่ดินก่อสร้างโครงการเกิดขึ้นโดยการทุจริตและกิจการร่วมค้า N เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการทุจริตดังกล่าว โดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาที่ดินและขายที่ดินให้กรมควบคุมมลพิษมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กับบริษัทหุ้นส่วนในกิจการร่วมค้า N กับได้ความว่า บริษัทผู้คัดค้านทั้งสามเป็นบริษัทที่มีความเกี่ยวพันและกรรมการบริษัทของผู้คัดค้านทั้งสามที่เกี่ยวข้องก็ถูกศาลฎีกาพิพากษาลงโทษแล้ว เงินที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ได้รับไปตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างฯ ที่ทำกับกรมควบคุมมลพิษจึงเป็นเงินที่ได้จากการกระทำความผิดมูลฐาน ส่วนผู้คัดค้านที่ 3 แม้มิได้เป็นหุ้นส่วนในกิจการร่วมค้า N แต่ก็เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในกิจการร่วมค้า N นอกจากนี้ผู้คัดค้านที่ 3 ยังมี ร. เป็นกรรมการซึ่งมีความเกี่ยวพันกับบริษัทที่ร่วมกระทำความผิดทั้งในกลุ่มจัดหาที่ดินและกลุ่มประมูลงานก่อสร้างโครงการ และ ร. ได้นำผู้คัดค้านที่ 3 เข้าร่วมกระทำความผิดด้วย เพราะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ ร. จะได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้ ย่อมถือได้ว่าเงินที่ผู้คัดค้านที่ 3 ได้รับไปตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างฯ ที่กิจการร่วมค้า N ทำกับกรมควบคุมมลพิษเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐาน ซึ่งแม้เงินดังกล่าวศาลปกครองสูงสุดพิจารณาให้กรมควบคุมมลพิษจ่ายตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ แต่ก็เป็นการจ่ายตามมูลสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้าง ฯ ที่เชื่อมโยงเกี่ยวพันกับการทุจริตจัดหาที่ดินก่อสร้างโครงการ ทั้งการพิจารณาคดีนี้กับการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดเป็นการพิจารณาวินิจฉัยคนละประเด็น โดยศาลปกครองสูงสุดมิได้พิจารณาประเด็นตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และการทุจริตต่อหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา ถึงแม้การจ่ายเงินตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างฯ ระหว่างกรมควบคุมมลพิษแก่กิจการร่วมค้า N จะเป็นไปตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ก็อาจถูกสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ได้
คดีขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เป็นคดีแพ่ง มิใช่คดีอาญา และมูลเหตุการขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินต้องเริ่มนับแต่วันที่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้รับเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิด ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับแล้ว จึงมิใช่เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ในการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเป็นมาตรการทางแพ่งที่ให้อำนาจรัฐติดตามทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดจากผู้ครอบครองทรัพย์สินเพื่อมิให้นำทรัพย์สินนั้นไปใช้ประโยชน์ในการกระทำความผิดต่อไปได้อีก อันเป็นการตัดวงจรการประกอบอาชญากรรม จึงไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องในหนี้ทางแพ่งระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ไม่อยู่ในบังคับอายุความตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องได้โดยไม่มีอายุความ
ผู้คัดค้านที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 4 ในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 ร่วมกระทำความผิดฐานฉ้อโกงด้วยการหลอกลวงขายที่ดินก็ตาม แต่ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาตรา 51 วรรคสาม ก็ไม่ได้หมายความเฉพาะผู้ร่วมกระทำความผิดเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงผู้ที่มีการติดต่อสัมพันธ์ใกล้ชิดหรือมีการทำธุรกรรมกับผู้กระทำความผิดด้วย เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบริษัทหนึ่งในกิจการร่วมค้า N และผู้คัดค้านที่ 1 กับบริษัทอื่นในกิจการร่วมค้า N ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ ว. ออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบจากบริษัท ค. ที่ ว. ถือหุ้นอยู่ เพื่อนำมาใช้ก่อสร้างโครงการจัดการน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ ย่อมรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน
เงินที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินเป็นเงินที่ผู้คัดค้านทั้งสามได้รับมาตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างและจ้างเหมาเบ็ดเสร็จที่กิจการร่วมค้า N ทำกับกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งได้ความว่าสัญญาดังกล่าวและสัญญาจัดหาที่ดินก่อสร้างโครงการเกิดขึ้นโดยการทุจริตและกิจการร่วมค้า N เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการทุจริตดังกล่าว โดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาที่ดินและขายที่ดินให้กรมควบคุมมลพิษมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กับบริษัทหุ้นส่วนในกิจการร่วมค้า N กับได้ความว่า บริษัทผู้คัดค้านทั้งสามเป็นบริษัทที่มีความเกี่ยวพันและกรรมการบริษัทของผู้คัดค้านทั้งสามที่เกี่ยวข้องก็ถูกศาลฎีกาพิพากษาลงโทษแล้ว เงินที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ได้รับไปตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างฯ ที่ทำกับกรมควบคุมมลพิษจึงเป็นเงินที่ได้จากการกระทำความผิดมูลฐาน ส่วนผู้คัดค้านที่ 3 แม้มิได้เป็นหุ้นส่วนในกิจการร่วมค้า N แต่ก็เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในกิจการร่วมค้า N นอกจากนี้ผู้คัดค้านที่ 3 ยังมี ร. เป็นกรรมการซึ่งมีความเกี่ยวพันกับบริษัทที่ร่วมกระทำความผิดทั้งในกลุ่มจัดหาที่ดินและกลุ่มประมูลงานก่อสร้างโครงการ และ ร. ได้นำผู้คัดค้านที่ 3 เข้าร่วมกระทำความผิดด้วย เพราะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ ร. จะได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้ ย่อมถือได้ว่าเงินที่ผู้คัดค้านที่ 3 ได้รับไปตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างฯ ที่กิจการร่วมค้า N ทำกับกรมควบคุมมลพิษเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐาน ซึ่งแม้เงินดังกล่าวศาลปกครองสูงสุดพิจารณาให้กรมควบคุมมลพิษจ่ายตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ แต่ก็เป็นการจ่ายตามมูลสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้าง ฯ ที่เชื่อมโยงเกี่ยวพันกับการทุจริตจัดหาที่ดินก่อสร้างโครงการ ทั้งการพิจารณาคดีนี้กับการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดเป็นการพิจารณาวินิจฉัยคนละประเด็น โดยศาลปกครองสูงสุดมิได้พิจารณาประเด็นตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และการทุจริตต่อหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา ถึงแม้การจ่ายเงินตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างฯ ระหว่างกรมควบคุมมลพิษแก่กิจการร่วมค้า N จะเป็นไปตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ก็อาจถูกสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ได้
คดีขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เป็นคดีแพ่ง มิใช่คดีอาญา และมูลเหตุการขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินต้องเริ่มนับแต่วันที่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้รับเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิด ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับแล้ว จึงมิใช่เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ในการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเป็นมาตรการทางแพ่งที่ให้อำนาจรัฐติดตามทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดจากผู้ครอบครองทรัพย์สินเพื่อมิให้นำทรัพย์สินนั้นไปใช้ประโยชน์ในการกระทำความผิดต่อไปได้อีก อันเป็นการตัดวงจรการประกอบอาชญากรรม จึงไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องในหนี้ทางแพ่งระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ไม่อยู่ในบังคับอายุความตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องได้โดยไม่มีอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2143/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินในคดีฟอกเงิน: การสันนิษฐานทางกฎหมายและความเกี่ยวข้องกับผู้กระทำผิด
หากปรากฏว่ามีการกระทำความผิดมูลฐาน ไม่ว่าจะจับตัวผู้กระทำความผิดได้หรือไม่ หรือผู้กระทำความผิดถูกลงโทษหรือไม่ แต่มีทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเกิดขึ้น และแม้เจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินไม่ได้ร่วมกระทำความผิดและไม่ได้ถูกฟ้อง ก็ดำเนินมาตรการทางแพ่งแก่ตัวทรัพย์สินนั้นได้
กฎหมายมิได้บัญญัตินิยามคำว่า "เกี่ยวข้องสัมพันธ์" ไว้โดยเฉพาะ การวินิจฉัยว่าเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์หรือไม่จึงต้องอาศัยความหมายอย่างปกติทั่วไป กล่าวคือ มีความเกี่ยวพัน ติดต่อผูกพัน หรือเกี่ยวข้องไม่ว่าจะในทางทรัพย์สินในทางความเป็นอยู่ หรือในทางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับผู้กระทำความผิดมูลฐานอย่างมีนัยสำคัญจนเป็นเหตุให้เชื่อได้ว่ามีส่วนร่วมในการฟอกเงิน
กฎหมายมิได้บัญญัตินิยามคำว่า "เกี่ยวข้องสัมพันธ์" ไว้โดยเฉพาะ การวินิจฉัยว่าเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์หรือไม่จึงต้องอาศัยความหมายอย่างปกติทั่วไป กล่าวคือ มีความเกี่ยวพัน ติดต่อผูกพัน หรือเกี่ยวข้องไม่ว่าจะในทางทรัพย์สินในทางความเป็นอยู่ หรือในทางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับผู้กระทำความผิดมูลฐานอย่างมีนัยสำคัญจนเป็นเหตุให้เชื่อได้ว่ามีส่วนร่วมในการฟอกเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033-1034/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟอกเงินจากคดียาเสพติด: ศาลพิจารณาความเชื่อมโยงทรัพย์สินกับผู้กระทำผิดและผู้เกี่ยวข้อง
การตรวจสอบทรัพย์สินและการทำธุรกรรมของผู้คัดค้านที่ 5 เกิดจากความผิดมูลฐานเกี่ยวกับยาเสพติดเพียงแต่ในขณะตรวจสอบประวัติการกระทำความผิดของผู้คัดค้านที่ 5 พบว่าผู้คัดค้านที่ 5 เคยถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับการลักลอบหนีภาษีศุลกากร จึงมีการขอให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 5 ตกเป็นของแผ่นดินด้วยเหตุความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากร อันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 วรรคหนึ่ง (7) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ด้วย โดยผู้ร้องนำสืบแต่เพียงว่า เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2546 ผู้คัดค้านที่ 5 ถูกจับกุมข้อหาร่วมกันนำสิ่งของที่ยังมิได้เสียภาษีเข้าในราชอาณาจักร แต่ปรากฏว่า ป. พยานผู้ร้องเบิกความตอบคำถามค้านทนายผู้คัดค้านที่ 5 ว่า เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2547 ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องผู้คัดค้านที่ 5 แล้ว ตามคำพิพากษาตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2325/2547 และ 2326/2547 ของศาลจังหวัดกำแพงเพชร คดีดังกล่าวถึงที่สุด โดยผู้ร้องไม่ได้นำสืบให้เห็นพฤติการณ์อื่นของผู้คัดค้านที่ 5 อีกว่ามีการกระทำใดอันจะเป็นการลักลอบหนีศุลกากรภายหลังจากผู้คัดค้านที่ 5 ถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับศุลกากรเมื่อปี 2546 และผู้คัดค้านที่ 5 ได้มาซึ่งเงินหรือทรัพย์สินใดจากการลักลอบหนีศุลกากรนั้น เมื่อมูลเหตุอันเป็นที่มาของการตรวจสอบทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 5 ในคดีนี้มาจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดราย ส. อันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 วรรคหนึ่ง (1) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 การที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 5 ตกเป็นของแผ่นดินตามความผิดมูลฐานอื่นรวมเข้ามาด้วย ผู้ร้องต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่ามีการกระทำความผิดนั้นเกิดขึ้นและมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้คัดค้านที่ 5 ได้มาซึ่งทรัพย์สินใดอันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดนั้น ผู้ร้องจึงจะมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เพราะการร้องขอให้ทรัพย์สินของบุคคลตกเป็นของแผ่นดินเป็นการก้าวล่วงเข้าไปในแดนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้การคุ้มครอง ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัดตามกฎหมาย เมื่อคดีนี้ศาลจังหวัดกำแพงเพชรมีคำพิพากษาตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2325/2547 และ 2326/2547 ยกฟ้องผู้คัดค้านที่ 5 ในความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรและผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่า ผู้คัดค้านที่ 5 มีพฤติการณ์อื่นใดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรและผู้คัดค้านที่ 5 ได้ทรัพย์สินใดไปจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับศุลกากร ผู้คัดค้านที่ 5 จึงมิได้เป็นผู้กระทำความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 วรรคหนึ่ง (7) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4325/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาทุนทรัพย์เพื่ออุทธรณ์ในคดีฟอกเงิน ความสัมพันธ์ผู้กระทำผิดและทรัพย์สิน
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 2 ตกเป็นของแผ่นดินนั้น แม้ปัญหาว่าทรัพย์สินตามคำร้องแต่ละรายการเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือไม่ สามารถพิจารณาทรัพย์สินแต่ละรายการแยกจากกันได้ แต่การพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินแต่ละรายการก็ต้องพิจารณาในประเด็นหลักเดียวกันว่ามีการกระทำความผิดมูลฐานตามคำร้องหรือไม่ และสำหรับผู้คัดค้านที่อ้างว่าเป็นเจ้าของที่แท้จริงหรือเป็นผู้รับโอนโดยสุจริตตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง อาจต้องพิจารณาว่าผู้คัดค้านนั้นเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินหรือไม่ด้วย ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับทรัพย์สินแต่ละรายการของผู้คัดค้านแต่ละราย จึงไม่ได้แยกเป็นแต่ละรายการอย่างแท้จริง และไม่ได้ขึ้นอยู่กับการแยกทรัพย์สินเป็นแต่ละรายการตามคำร้องของผู้ร้อง ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ที่จะพิจารณาเกี่ยวกับข้อห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงต้องเป็นไปตามราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่ผู้คัดค้านแต่ละรายอุทธรณ์คัดค้านเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้คัดค้านรายนั้นรวมกัน กรณีนี้ทรัพย์สินรายการที่ 3 ของผู้คัดค้านที่ 2 แม้มีราคาประเมิน 32,484.24 บาท แต่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทที่ผู้คัดค้านที่ 2 อุทธรณ์รวม 3 รายการ มีราคาประเมินรวม 1,879,495.26 บาท คดีของผู้คัดค้านที่ 2 เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้ง 3 รายการ จึงเกินห้าหมื่นบาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินจากการกระทำผิดฟอกเงิน: การคืนเงินให้ผู้เสียหาย
ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 3 ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดให้รวมถึงเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอนด้วยประการใด ๆ ซึ่งเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐานด้วย ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะมีการจำหน่าย จ่าย โอน หรือเปลี่ยนสภาพไปกี่ครั้ง และไม่ว่าจะโอนไปเป็นของบุคคลใดหรือปรากฏหลักฐานทางทะเบียนว่าเป็นของบุคคลใด เมื่อที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ดังนั้น เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาททั้งหมดจึงเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเช่นกัน การจะนำไปคืนหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหายแทนการสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินหรือจะสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน จึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เมื่อปรากฏตามคำร้องว่า ผู้เสียหายได้รับความเสียหายประมาณ 17,369,000,000 บาท และดำเนินการตามกฎหมายเพื่อค่าเสียหายได้ยังไม่ถึงกึ่งหนึ่งของความเสียหายทั้งหมด จึงให้นำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดและนำเงินจากการขายทอดตลาดทั้งหมดพร้อมดอกผล คืนให้แก่ผู้เสียหาย แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินจำนวนความเสียหายที่ยังไม่ได้รับคืนหรือชดใช้คืนตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 49/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4084-4085/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินในคดีฟอกเงิน ยืนตามศาลอุทธรณ์
การยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของบุคคลตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 อันเป็นกฎหมายที่กำหนดทั้งความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงินซึ่งมีโทษทั้งอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน โดยความผิดอาญาและโทษทางอาญามุ่งบังคับแก่บุคคลส่วนมาตรการทางแพ่งมุ่งบังคับแก่ตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะป้องปรามไม่ให้มีการกระทำความผิดมูลฐาน เพราะถึงอย่างไรทรัพย์สินที่ได้มาหรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดก็ไม่เป็นของผู้กระทำความผิด ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ใด เพื่อตัดวงจรการกระทำความผิดมิให้นำทรัพย์สินนั้นไปใช้สนับสนุนการก่ออาชญากรรมต่อไป ดังนั้น หากเพียงปรากฏว่ามีการกระทำความผิดมูลฐานเกิดขึ้น ไม่ว่าจะจับตัวผู้กระทำความผิดได้หรือไม่ หรือผู้กระทำความผิดถูกลงโทษหรือไม่ แต่มีทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเกิดขึ้น และแม้เจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์ไม่ได้ร่วมกระทำความผิดและไม่ได้ถูกฟ้อง ก็สามารถดำเนินมาตรการทางแพ่งแก่ตัวทรัพย์สินนั้นได้ เพราะเป็นมาตรการส่วนแพ่งในการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เชื่อได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 3 มิใช่เป็นการดำเนินการเกี่ยวกับตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ดังนั้น พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 49 ได้บัญญัติมาตรฐานการสั่งคดีของพนักงานอัยการที่จะพิจารณาว่าจะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่นั้น ย่อมมีเพียงการปรากฏเป็นที่เชื่อได้ว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ตามบทนิยาม "ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด" ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 3 เท่านั้น โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าเจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือไม่ โดยการสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเป็นอำนาจของศาล ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 51 ศาลต้องไต่สวนพยานหลักฐานจนเชื่อว่าทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ดังนี้ แม้จะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้คัดค้านที่ 1 แต่หากผู้ร้องเห็นว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ผู้ร้องก็มีอำนาจยื่นคำร้องขอต่อศาลได้
เมื่อพิจารณา พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง มาตรา 51 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม ประกอบกันแล้ว ย่อมหมายความว่า ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดินสามารถแยกออกได้เป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 50 (1) หากเป็นผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่เคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินมาก่อน จะต้องแสดงให้ศาลเห็นรวม 2 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง ต้องแสดงว่าตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และประการที่สอง ต้องแสดงว่าทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือตามมาตรา 50 (2) เป็นผู้รับโอนโดยสุจริตหรือมีค่าตอบแทน หรือได้มาโดยสุจริตและตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางกุศลสาธารณะ และกรณีที่ 2 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 51 วรรคสาม หากเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินมาก่อน กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยไม่สุจริต ทั้งการให้คำจำกัดความ "ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด" ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงทำให้คำว่า ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นทรัพย์สินในคดีที่ศาลมีคำพิพากษาว่าเจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้กระทำความผิดและถูกลงโทษเท่านั้น เพียงแต่หากปรากฎว่ามีการกระทำความผิดมูลฐานเกิดขึ้น ไม่ว่าจะจับกุมตัวผู้กระทำความผิดได้หรือไม่ หรือผู้กระทำความผิดจะถูกลงโทษหรือไม่ แต่มีทรัพย์สินเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น หรือเป็นทรัพย์สินอื่นที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์สินจากการกระทำดังกล่าวหรือเป็นดอกผลของทรัพย์สินจากการกระทำดังกล่าว ก็ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดแล้ว
เมื่อพิจารณา พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง มาตรา 51 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม ประกอบกันแล้ว ย่อมหมายความว่า ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดินสามารถแยกออกได้เป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 50 (1) หากเป็นผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่เคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินมาก่อน จะต้องแสดงให้ศาลเห็นรวม 2 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง ต้องแสดงว่าตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และประการที่สอง ต้องแสดงว่าทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือตามมาตรา 50 (2) เป็นผู้รับโอนโดยสุจริตหรือมีค่าตอบแทน หรือได้มาโดยสุจริตและตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางกุศลสาธารณะ และกรณีที่ 2 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 51 วรรคสาม หากเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินมาก่อน กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยไม่สุจริต ทั้งการให้คำจำกัดความ "ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด" ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงทำให้คำว่า ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นทรัพย์สินในคดีที่ศาลมีคำพิพากษาว่าเจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้กระทำความผิดและถูกลงโทษเท่านั้น เพียงแต่หากปรากฎว่ามีการกระทำความผิดมูลฐานเกิดขึ้น ไม่ว่าจะจับกุมตัวผู้กระทำความผิดได้หรือไม่ หรือผู้กระทำความผิดจะถูกลงโทษหรือไม่ แต่มีทรัพย์สินเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น หรือเป็นทรัพย์สินอื่นที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์สินจากการกระทำดังกล่าวหรือเป็นดอกผลของทรัพย์สินจากการกระทำดังกล่าว ก็ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดแล้ว