คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟื้นฟูกิจการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 199 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4637/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีแพ่งหลังศาลรับคำร้องฟื้นฟูกิจการ: การพิจารณาข้อจำกัดสิทธิและการแก้ไขคำสั่งที่ไม่ชอบ
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง เป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของผู้ร้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/13 (1) ประกอบมาตรา 90/12 (4) เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ถือว่าเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/79 แต่อย่างไรก็ตาม การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยอ้างว่า มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ทั้ง ๆ ที่คำร้องได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า มูลหนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว ทั้งเป็นคำสั่งซึ่งกระทำโดยผู้พิพากษาคนเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาด ศาลฎีกาเห็นสมควรรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 26
ผู้ร้องอ้างว่า ลูกหนี้ผิดสัญญา จึงฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากลูกหนี้ ย่อมเป็นกรณีที่ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน จึงต้องห้ามตามมาตรา 90/12 (4) แต่ผู้ร้องอาจมีคำร้องเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของตนได้ตามมาตรา 90/13 หากข้อจำกัดสิทธินั้นไม่มีความจำเป็นในการฟื้นฟูกิจการ คดีนี้เมื่อมูลหนี้ระหว่างผู้ร้องและลูกหนี้เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว ผู้ร้องไม่อาจขอคุ้มครองสิทธิด้วยการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 ถือได้ว่าการจำกัดสิทธิมิให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นกรณีที่ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/13 (1) ศาลฎีกาเห็นสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/13 ประกอบมาตรา 90/12 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4637/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีแพ่งหลังศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ: ศาลฎีกาอนุญาตฟ้องได้หากมูลหนี้เกิดหลังมีคำสั่งฟื้นฟู
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลล้มละลายมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง อันเป็นการขอให้ศาลล้มละลายมีคำสั่งเพื่อแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของผู้ร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/13 ประกอบมาตรา 90/12(4) เมื่อศาลล้มละลายได้มีคำสั่งยกคำร้องอันถือได้ว่าเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 90/79(4)
การขออนุญาตฟ้องลูกหนี้ผู้ร้องหลังจากที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) เป็นเรื่องสำคัญ เพราะกรณีของผู้ร้องยังมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยให้กระจ่างชัดว่า ผู้ร้องอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามมาตรา 90/27 หรือไม่ เนื่องจากผู้ร้องกล่าวอ้างว่ามูลแห่งหนี้ของผู้ร้องเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งหากกรณีเป็นดังที่อ้างผู้ร้องก็ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้คงมีเพียงหนทางเดียวที่ผู้ร้องจะขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องได้ก็ด้วยการขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิตามมาตรา 90/12(4) ในกรณีที่ศาลเห็นว่าการจำกัดสิทธิของผู้ร้องนั้นไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/13(1) การที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยอ้างว่ามูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการทั้ง ๆ ที่คำร้องได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว อีกทั้งเป็นคำสั่งซึ่งกระทำโดยผู้พิพากษาคนเดียว จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาด อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 26 ศาลฎีกาเห็นสมควรรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวนั้นได้
ผู้ร้องมีหนังสือถึงลูกหนี้ในวันที่ 14 มิถุนายน 2544 อันเป็นวันก่อนที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 1 วัน ระบุว่า ผู้ร้องขอเชิญลูกหนี้ยื่นข้อเสนอขายสินค้าที่แน่นอนให้ผู้ร้องพิจารณาสัญญาระหว่างผู้ร้องกับบริษัท อ. และลูกหนี้ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัท อ. ในการเสนอขายสินค้าจึงยังไม่เกิด จนกระทั่งวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ลูกหนี้โดยผู้ทำแผนจึงแจ้งแก่บริษัท อ. ว่า ผู้ร้องระบุการประกวดราคาไม่เกิน 69.5 เหรียญดอลลาร์สหรัฐสินค้า20.000เมตริกัน จึงขอให้บริษัท อ. หาเรือที่มั่นคงมีตารางแน่นอน ครั้นวันรุ่งขึ้นลูกหนี้โดยผู้ทำแผนจึงแจ้งแก่บริษัทดังกล่าวว่า ผู้ร้องได้ยืนยันการซื้อสินค้าตามหนังสือสั่งซื้อของผู้ร้องลงวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ที่มีถึงบริษัท อ. ที่อยู่ ณ กรุงปารีส แสดงว่า มูลหนี้ระหว่างผู้ร้องและบริษัท อ. พร้อมทั้งลูกหนี้ได้เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการมิใช่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/27
ผู้ทำแผนกระทำการในนามของลูกหนี้ตามอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 90/25 ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะเป็นการดำเนินกิจการที่ต่อเนื่องมาจากการติดต่อทางการค้ากับผู้ร้องในนามของลูกหนี้ในฐานะของกรรมการลูกหนี้มาตั้งแต่ก่อนศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ จึงไม่ต้องห้ามมิให้ลูกหนี้ก่อหนี้ตามมาตรา 90/12(9)
ผู้ร้องอ้างว่าลูกหนี้ผิดสัญญาจึงดำเนินการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากลูกหนี้ เป็นกรณีที่ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) แต่ผู้ร้องอาจมีคำร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของตนได้ตามมาตรา 90/13 หากข้อจำกัดสิทธินั้นไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ เมื่อผู้ร้องไม่อาจขอคุ้มครองสิทธิด้วยการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 ได้ จึงถือได้ว่าการจำกัดสิทธิมิให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นกรณีที่ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/13(1) ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการ: ลูกหนี้จงใจปกปิดรายชื่อเจ้าหนี้ ทำให้เจ้าหนี้ไม่ทราบกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ ศาลฎีกาอนุญาตให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนด
ตามบทบัญญัติมาตรา 90/6 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า คำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีสาระสำคัญประการหนึ่งที่จะต้องแสดงในคำร้องขอ ก็คือผู้ร้องขอจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้ทั้งหลายด้วยเหตุที่ว่า เมื่อศาลสั่งรับคำร้องขอแล้วให้ส่งสำเนาคำร้องขอแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายเท่าที่ทราบ ตามมาตรา 90/9 วรรคหนึ่ง เพื่อเจ้าหนี้อาจยื่นคำคัดค้านตามมาตรา 90/9 วรรคสาม และเมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายไม่น้อยกว่า 2 ฉบับ ตามมาตรา 90/20 วรรคสี่ นอกจากนั้นยังต้องแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้ทั้งหลายตามบัญชีรายชื่อที่ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เสนอต่อศาลและเจ้าหนี้อื่นเท่าที่ทราบ ตามมาตรา 90/24 วรรคสอง และวรรคสาม เพื่อให้เจ้าหนี้เหล่านั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้ ตามมาตรา 90/26
ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้ในมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้สั่งซื้อจากเจ้าหนี้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2543 ต่อมาวันที่ 12 เมษายน 2544 ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการแต่มิได้ระบุชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้รายนี้ในบัญชีเจ้าหนี้ที่เสนอต่อศาล ทั้งที่ลูกหนี้ทราบชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้ในขณะยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการเป็นอย่างดีแล้ว นอกจากนั้นหลังจากศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้มีการเจรจาเรื่องการชำระหนี้สินระหว่างกันเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2544 ที่เมืองย่างกุ้ง สหภาพพม่า การที่ลูกหนี้ละเลยไม่ระบุชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้ในบัญชีเจ้าหนี้ จึงเป็นการจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 90/6 เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้เพราะเป็นเหตุให้ศาลไม่อาจส่งสำเนาคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการแก่เจ้าหนี้ ตามมาตรา 90/9 วรรคหนึ่ง และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลาเสนอคำขอรับชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ทราบได้ ตามมาตรา 90/24 วรรคสองและวรรคสาม เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ทราบคำสั่งตั้งผู้ทำแผน และกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ก่อนหน้านี้ กรณีจึงมีเหตุตามกฎหมายที่จะรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกินกำหนด 1 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปกปิดรายชื่อเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ทำให้เจ้าหนี้ไม่ทราบกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ ศาลรับคำขอรับชำระหนี้ไว้พิจารณา
ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้ในมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายสินค้าซึ่งลูกหนี้ได้สั่งซื้อเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2543 ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2544โดยลูกหนี้ทราบชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้ในขณะยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการเป็นอย่างดีการที่ลูกหนี้มิได้ระบุชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้ในบัญชีเจ้าหนี้ จึงเป็นการจงใจปกปิดรายชื่อเจ้าหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 90/6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้เพราะเป็นเหตุให้ศาลไม่อาจส่งสำเนาคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการแก่เจ้าหนี้ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้เสนอคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เมื่อเจ้าหนี้ไม่ทราบคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ก่อนหน้านี้กรณีมีเหตุตามกฎหมายที่จะรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจารณาแม้จะยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 90/26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4515/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดชอบหนี้แม้ลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ถูกโจทก์ฟ้องให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกัน แม้ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอของจำเลยที่ 1 ไว้พิจารณา แต่ก็มีผลเพียงให้ศาลชั้นต้นงดการพิจารณาคดีของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนเท่านั้น ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 และหากต่อมาความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จะลดลงตามแผนฟื้นฟูกิจการก็ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์เต็มจำนวน ตามมาตรา 90/60 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4515/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการยื่นฟื้นฟูกิจการต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน: ศาลฎีกาชี้ว่าการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ไม่กระทบความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้ หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือผู้ค้ำประกัน ดังนั้น การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ จึงไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดในอนาคตของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน แม้จำเลยที่ 1 อาจรับผิดไม่เต็มจำนวนหนี้ก็ตาม การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระเงินให้โจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าหากยอดหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดลดลงจำนวนเท่าใดก็ให้นำมาหักจากยอดหนี้ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ต้องรับผิดตามคำพิพากษาจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272-4273/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการและการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกันของเจ้าหนี้รายใหญ่ ศาลฎีกาพิพากษากลับไม่เห็นชอบด้วยแผน
เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 3 ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ปรากฏว่า เจ้าหนี้อื่น ลูกหนี้ หรือผู้ทำแผนมิได้โต้แย้งคัดค้าน เจ้าหนี้รายที่ 3 จึงเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิออกเสียงเต็มจำนวนตามที่ระบุไว้ในคำขอรับชำระหนี้นั้น ตามมาตรา 90/30 เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 3 ไม่ได้เข้าร่วมประชุม ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ที่มิได้ลงมติยอมรับแผนตามมาตรา 90/57 จึงมีสิทธิคัดค้านขอให้ศาลมีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนได้ และเมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนอันไม่เป็นไปตามข้อคัดค้านของเจ้าหนี้และเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิของเจ้าหนี้ เมื่อได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลางแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 3 จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้
การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้เจ้าหนี้รายที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เพียงรายเดียวในเจ้าหนี้กลุ่มที่ 7 และเป็นเจ้าหนี้การค้ารายใหญ่เหมือนเจ้าหนี้กลุ่มที่ 6 และที่ 8 ถูกลดหนี้ต้นเงินลงเพียงรายเดียว และให้ได้สิทธิการชำระเงินจากบริษัท ส. แทนที่จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้อันเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการและคำพิพากษา ซึ่งพิพากษาว่าลูกหนี้ไม่มีสิทธินำเงินที่ตนเป็นเจ้าหนี้มาหักกับเงินที่ต้องชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ และเมื่อเจ้าหนี้รายที่ 3 มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกัน และเจ้าหนี้การค้ารายใหญ่ เช่นเดียวกับเจ้าหนี้กลุ่มที่ 6 และที่ 8 การที่แผนได้นำเจ้าหนี้รายที่ 3 เพียงรายเดียวไปจัดเป็นกลุ่มเจ้าหนี้ต่างหาก และได้รับการปฏิบัติไม่เท่าเทียมกับกลุ่มอื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร อันถือว่ามีความมุ่งหมายที่จะเลือกปฏิบัติ พฤติการณ์ดังกล่าวส่อไปในทางไม่สุจริต แผนฟื้นฟูกิจการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272-4273/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการ: ศาลฎีกาเพิกถอนแผนที่ไม่เป็นธรรมต่อเจ้าหนี้รายใหญ่
เจ้าหนี้รายที่ 3 ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้อื่นลูกหนี้ หรือผู้ทำแผนมิได้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้รายนี้ เจ้าหนี้รายที่ 3 จึงเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนได้เต็มจำนวนหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/30 เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 3 ไม่ได้เข้าร่วมประชุม ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ที่มิได้ลงมติยอมรับแผน จึงมีสิทธิคัดค้านขอให้ศาลมีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนได้ตามมาตรา 90/57 และเมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนอันไม่เป็นไปตามข้อคัดค้านของเจ้าหนี้รายที่ 3 ทั้งยังเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิของเจ้าหนี้ เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 3 ได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลางแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 3 จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/58 บัญญัติว่า "ให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า..." หมายความเพียงว่า เมื่อแผนมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 90/58(1) ถึง (3) อันเป็นมาตรฐานขั้นต่ำแล้วให้ศาลมีดุลพินิจที่จะเห็นชอบด้วยแผนได้ หาได้หมายความว่าถ้าแผนฟื้นฟูกิจการมีลักษณะเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 90/58(1) ถึง (3) แล้ว ศาลต้องมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนทุกกรณีไปไม่
เจ้าหนี้รายที่ 3 มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกันและเป็นเจ้าหนี้การค้ารายใหญ่เช่นเดียวกับเจ้าหนี้กลุ่มที่ 6 และที่ 8 การที่แผนฟื้นฟูกิจการได้นำเจ้าหนี้รายที่ 3 เพียงรายเดียวไปจัดกลุ่มอื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร อันถือว่ามีความมุ่งหมายที่จะเลือกปฏิบัติ พฤติการณ์ดังกล่าวส่อไปในทางไม่สุจริตโดยมีการเสนอแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้สินบางส่วนโดยการโอนหนี้ของบุคคลภายนอกมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายที่ 3 และให้เจ้าหนี้รายที่ 3 รับผิดเองในการติดตามหนี้สินแผนฟื้นฟูกิจการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและทำให้เจ้าหนี้รายที่ 3 เสียเปรียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4191/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดวันเริ่มต้นนับระยะเวลาการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ โดยอ้างอิงวันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 90/20 วรรคสี่ และมาตรา 90/24 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 กำหนดว่า เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และตั้งผู้ทำแผนแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายไม่น้อยกว่าสองฉบับเพื่อเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชน ฉะนั้นกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องถือเอาวันที่ได้มีการโฆษณาคำสั่งต่อสาธารณชนเป็นสำคัญ หากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษากับวันโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน ต้องนับวันที่ประกาศโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาซึ่งลงประกาศเป็นฉบับหลังสุด
เมื่อการลงโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาไม่ได้ความชัดแจ้งว่าได้นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเมื่อใด จึงต้องนับเอาวันที่ได้จัดพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วเสร็จและนำออกเผยแพร่ให้สมาชิกรับไปเป็นวันเริ่มต้นนับระยะเวลาวันยื่นคำขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4191/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดวันเริ่มนับระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ พิจารณาจากวันที่โฆษณาเผยแพร่ต่อสาธารณชน
หลังจากศาลตั้งผู้ทำแผนแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายไม่น้อยกว่าสองฉบับเพื่อเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/20 และ 90/24 ฉะนั้นกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง ต้องถือเอาวันที่ได้มีการโฆษณาคำสั่งต่อสาธารณชนเป็นสำคัญ หากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษากับวันโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน ต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง เมื่อผู้คัดค้านได้โฆษณาประกาศคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในหนังสือพิมพ์ฉบับลงวันที่ 14 มีนาคม 2545 และโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ 2 เมษายน 2545 จึงต้องถือเอาวันที่ได้ลงโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษา แต่การลงโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษายังไม่ได้ความชัดแจ้งว่าได้นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเมื่อใดอันจะเป็นการเริ่มต้นนับวันยื่นคำขอรับชำระหนี้ เมื่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้จัดพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วเสร็จและนำออกเผยแพร่ให้กับสมาชิกที่ไปรับหนังสือราชกิจจานุเบกษาที่ส่วนงานราชกิจจานุเบกษาด้วยตนเองเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 คำสั่งโฆษณาตั้งผู้ทำแผนจึงต้องถือเอาวันที่ได้ลงโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาฉบับหลังซึ่งได้นำเผยแพร่ต่อสาธารณชนครั้งแรกในวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 ไม่ใช่วันที่ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันหรือวันที่ได้ลงในราชกิจจานุเบกษาที่ยังไม่ได้นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะได้ส่งแบบฟอร์มยื่นคำขอรับชำระหนี้พร้อมประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในหนึ่งเดือนให้เจ้าหนี้ทราบเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2545 ก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 90/24 วรรคสอง จะต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลาย เป็นคนละกรณีไม่เกี่ยวกับกำหนดวันที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในวันที่ 13 มิถุนายน 2545 จึงยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง
of 20