คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 831 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8793/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน: การพิสูจน์สิทธิก่อนคำสั่งเจ้าพนักงานที่ดิน
บทบัญญัติมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินฯ เป็นเพียงการกำหนดวิธีการให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการสอบสวนเปรียบเทียบและสั่งการในกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิกันในการขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เท่านั้น แม้จะมีข้อกำหนดไว้ว่าเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินสั่งการอย่างไรแล้ว ให้ฝ่ายที่ไม่พอใจไปดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งก็ตาม แต่ข้อกำหนดดังกล่าวคงเป็นเพียงการกำหนดขั้นตอนเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติภายหลังจากที่ได้สั่งการไปแล้ว คือหากมีการฟ้องคดีต่อศาลก็ให้เจ้าพนักงานที่ดินรอเรื่องไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดประการใดก็ให้ดำเนินการไปตามนั้น ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดก็ให้ดำเนินการไปตามที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสั่งหาใช่เป็นเงื่อนไขในการฟ้องคดีต่อศาลไม่ ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวก็มิได้ห้ามมิให้ฟ้องคดีหากมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ดังที่บัญญัติห้ามไว้ในกฎหมายอื่นดังนั้น เมื่อโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8176/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: นับแต่วันพ้น 60 วันจากรับคำอุทธรณ์ หรือแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี
แม้ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ใช้ถ้อยคำว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความด้วย แต่ก็ให้การต่อสู้โดยอ้างถึงบทบัญญัติของมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับวันที่รัฐมนตรีฯ ได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์และต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีเสียภายในหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันตามกฎหมายดังกล่าว อันเป็นคำให้การที่ยกข้อต่อสู้ในเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ที่จำเลยที่ 1 ใช้ถ้อยคำว่า คดีของโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้นเป็นเพียงการใช้ถ้อยคำที่ผิดพลาดไปเท่านั้น ไม่ถึงกับทำให้คำให้การของจำเลยที่ 1 ไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นแห่งคดีแล้ว มิได้วินิจฉัยนอกประเด็นหรือนอกประเด็นข้อต่อสู้
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการดำเนินคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรก รัฐมนตรีได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสอง ซึ่งผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี ส่วนในกรณีที่สอง เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง กำหนดเวลาฟ้องคดีภายในหนึ่งปีจะเริ่มนับแต่วันพ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ไม่ได้นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีอย่างกรณีแรก กรณีที่สองนี้หากเริ่มนับกำหนดเวลาฟ้องคดีนับแต่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีแล้ววันเริ่มต้นนับกำหนดเวลาฟ้องคดีก็จะเหลือเพียงกรณีเดียว และจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลทอดยาวนานออกไปตามแต่เวลาที่รัฐมนตรีจะใช้วินิจฉัยอุทธรณ์โดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ซึ่งไม่สอดคล้องกับถ้อยคำของมาตรา 25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ทั้งขัดกับเหตุผลและเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่ประสงค์ให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นไปโดยรวดเร็ว
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความอันเป็นเหตุให้กำหนดเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นนับใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8176/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: นับจากวันพ้นกำหนด 60 วันของอุทธรณ์ หรือวันรับแจ้งคำวินิจฉัย
แม้ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ใช้ถ้อยคำว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความด้วยแต่ก็ให้การต่อสู้โดยอ้างถึงบทบัญญัติของมาตรา 26แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ และข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับวันที่รัฐมนตรีฯ ได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์และต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีเสียภายในหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันตามกฎหมายดังกล่าว อันเป็นคำให้การที่ยกข้อต่อสู้ในเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ที่จำเลยที่ 1 ใช้ถ้อยคำว่าคดีของโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้นเป็นเพียงการใช้ถ้อยคำที่ผิดพลาดไปเท่านั้น ไม่ถึงกับทำให้คำให้การของจำเลยที่ 1 ไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นแห่งคดีแล้ว มิได้วินิจฉัยนอกประเด็นหรือนอกข้อต่อสู้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนยังไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนไว้เป็น2 กรณี กรณีแรกรัฐมนตรีได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสอง ซึ่งผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีและในกรณีที่สองที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง กำหนดเวลาฟ้องคดีภายในหนึ่งปีจะเริ่มนับแต่วันที่พ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ไม่ได้นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี เพราะจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลทอดยาวนานออกไปตามแต่เวลาที่รัฐมนตรีจะใช้วินิจฉัยอุทธรณ์โดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ซึ่งไม่สอดคล้องกับถ้อยคำของมาตรา 25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ทั้งขัดกับเหตุผลและเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯที่ประสงค์ให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นไปโดยรวดเร็ว
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความอันจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นนับใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7665/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีก่อสร้างผิดแบบ: ความผิดสำเร็จเมื่อก่อสร้างโครงสร้างเสร็จ โจทก์ฟ้องเกินกำหนด ยุติคดี
การตกแต่งภายในมิใช่งานเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงสร้างของอาคาร การก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนย่อมเป็นความผิดสำเร็จในวันที่ทำการก่อสร้างโครงสร้างและส่วนประกอบของโครงสร้างแล้วเสร็จ
จำเลยทั้งเจ็ดกระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ต้องระวางโทษตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 70 เป็นความผิดสำเร็จในวันที่การก่อสร้างโครงสร้างแล้วเสร็จ แต่โจทก์นำคดีอาญาฟ้องเกินกว่าห้าปี นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (4)
คดีขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7584/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีลักทรัพย์และการใช้ดุลพินิจลดโทษ
ป.อ.มาตรา 76 เป็นดุลพินิจของศาล ถ้าเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยก็เป็นดุลพินิจที่เห็นว่า จำเลยที่ 1 อายุ 19 ปีเศษ รู้สึกผิดชอบชั่วดีแล้วจึงไม่ลดมาตราส่วนโทษให้โดยไม่จำต้องกล่าวถึงข้อกฎหมายดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรโดยบรรยายฟ้องถึงวันเวลาที่เกิดเหตุ และว่ามีคนร้ายลักเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต แม้คำฟ้องโจทก์มิได้ระบุโดยชัดเจนว่าใครเป็นผู้กระทำความผิดและสถานที่กระทำผิดอยู่ที่ใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องระบุถึงสถานที่เกิดเหตุในข้อต่อมาว่าเหตุทั้งหมดเกิดที่ใด และภายหลังเกิดเหตุลักทรัพย์เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไป ขณะที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นของกลาง และจำเลยได้เป็นคนร้ายร่วมกันลักทรัพย์ดังกล่าวของผู้เสียหายไปโดยทุจริต คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ทั้งจำเลยให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ มิได้หลงต่อสู้ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7275/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีต้องปิดแสตมป์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และเจ้าหนี้ฟ้องผู้ค้ำประกันโดยไม่ฟ้องลูกหนี้ก็ได้
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดี มีข้อความว่า "โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้า บริษัท น. โดย ท. กรรมการผู้มีอำนาจ ขอมอบอำนาจให้ ก. และ / หรือ ข. เป็นผู้รับมอบอำนาจ โดยให้มีอำนาจยื่นฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญาต่อศาลที่มีอำนาจกับบริษัท อ. ธนาคาร ก. และ ส. จนคดีถึงที่สุด และในการนี้ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจ ดังต่อไปนี้? เป็นการมอบอำนาจให้มีอำนาจกระทำการได้หลายครั้ง กล่าวคือ ฟ้องคดีแพ่งได้หลายคดี และยังฟ้องคดีอาญาได้อีกหลายคดีทั้งผู้ถูกฟ้องที่ระบุไว้ 3 ราย อาจถูกฟ้องแยกคดีจากกันได้ด้วย ในส่วนของผู้รับมอบอำนาจมี 2 คน เชื่อมด้วยสันธาน "และ / หรือ" จึงอยู่ในบังคับทั้งข้อ 7 (ข) และ (ค) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ต้องปิดแสตมป์ ตามข้อ 7 (ค) ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่า คำนวณได้เป็นเงิน 60 บาท โจทก์ปิดแสตมป์มาเพียง 30 บาท โจทก์จึงใช้ใบมอบอำนาจฉบับนี้เป็นหลักฐานในคดีนี้ไม่ได้ ตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 118
จำเลยให้การต่อสู้ในเรื่องการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีว่า ท. ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนโจทก์ ในขณะทำหนังสือมอบอำนาจ และตราประทับในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ตราสำคัญของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ จึงเกิดภาระแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ว่าการมอบอำนาจกระทำโดยชอบแล้ว
ท.จะใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์หรือไม่ ใบมอบอำนาจย่อมไม่ใช่พยานหลักฐานที่จะพิสูจน์ปัญหาข้อนี้ แต่ตราประทับในหนังสือมอบอำนาจใช่ตราสำคัญของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ โจทก์จำเป็นต้องใช้ ใบมอบอำนาจเป็นพยาน เพื่อการเปรียบเทียบตราประทับในใบมอบอำนาจกับตราสำคัญที่จดทะเบียนไว้ เมื่อใบมอบอำนาจต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานเสียแล้ว และตามหนังสือรับรองมีเงื่อนไขว่าการกระทำในนามบริษัทโจทก์จะต้องประทับตราสำคัญด้วย จึงรับฟังไม่ได้ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยได้กระทำโดยชอบแล้ว
เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะฟ้องเฉพาะผู้ค้ำประกันโดยไม่ฟ้องลูกหนี้ก็ได้ แม้ผู้ค้ำประกันจะไม่ได้เป็นลูกหนี้ร่วมกับ ลูกหนี้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7275/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายภาษีอากร ทำให้ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แม้การฟ้องคดีผู้ค้ำประกันโดยไม่ฟ้องลูกหนี้ทำได้
ใบมอบอำนาจของโจทก์มอบอำนาจให้กระทำการหลายครั้งโดยมีผู้รับมอบอำนาจสองคน เชื่อมด้วยสันธาน "และ/หรือ" หมายความว่ามอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยอาจร่วมกระทำการหรือกระทำกิจการแยกกันก็ได้ จึงอยู่ในบังคับทั้งข้อ 7(ข)และ(ค) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ต้องปิดแสตมป์ตามข้อ 7(ค) ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าคำนวณได้เป็นเงิน 60 บาท โจทก์ปิดแสตมป์มาเพียง 30 บาท เป็นการไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 103 โจทก์จะใช้ใบมอบอำนาจฉบับนี้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
ประเด็นว่า ท. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์ โจทก์นำสืบด้วยพยานหลักฐานอื่นนอกจากใบมอบอำนาจได้ แต่ประเด็นว่าตราประทับในหนังสือมอบอำนาจเป็นตราสำคัญของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ โจทก์จำเป็นต้องใช้ใบมอบอำนาจเป็นพยานเพื่อการเปรียบเทียบตราประทับในใบมอบอำนาจกับตราสำคัญที่จดทะเบียนไว้ เมื่อใบมอบอำนาจต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน การที่โจทก์จะนำสืบโดยวิธีเปรียบเทียบย่อมกระทำไม่ได้ รับฟังไม่ได้ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำโดยชอบ ส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ได้ให้การปฏิเสธในเรื่องการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเท่ากับว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับว่ามีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยถูกต้องโจทก์ไม่ต้องพิสูจน์การมอบอำนาจ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ได้ เพราะเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะฟ้องเฉพาะผู้ค้ำประกันโดยไม่ฟ้องลูกหนี้ด้วยได้ แม้ผู้ค้ำประกันจะไม่ได้เป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7199/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีสรรพสามิตต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการคัดค้านและอุทธรณ์ตามกฎหมายก่อน มิฉะนั้นไม่มีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 96 ประกอบมาตรา 86 และ 89 กำหนดให้การฟ้องคดีเกี่ยวกับการประเมินภาษีสรรพสามิตจะกระทำได้ต่อเมื่อได้ทำการคัดค้านการประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตจำเลยที่ 2หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายและต้องได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายภายในกำหนดเวลาด้วย แต่ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าหลังจากโจทก์ได้รับแจ้งการประเมินให้ชำระภาษีสรรพสามิตแล้วโจทก์ได้คัดค้านการประเมินหรือได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพสามิตจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ก่อนที่จะฟ้องร้องดำเนินคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
แม้กรมศุลกากรจำเลยที่ 1 จะได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิตให้ดำเนินการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตแทนจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าอธิบดีกรมสรรพสามิตได้มอบหมายให้กรมศุลกากรจำเลยที่ 1 หรือเจ้าหน้าที่คนใดในกรมศุลกากรเป็นผู้รับคำคัดค้านหรือรับอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพสามิตจำเลยที่ 2 การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร ยังฟังไม่ได้ว่ายื่นอุทธรณ์ต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6797/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดก: การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเมื่อใด และมีอายุความฟ้องคดีอย่างไร
ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกมีเพียงที่ดินสองแปลงที่พิพาทกันในคดีนี้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จดทะเบียนโอนให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 แล้ว ถือได้ว่าการจัดการมรดกได้สิ้นสุดลงแล้วนับแต่วันที่จดทะเบียนโอนให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าจัดการมรดกไม่ถูกต้องเกินกว่า 5 ปี นับแต่จำเลยที่ 1 จัดการมรดกเสร็จสิ้น คดีย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง
จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เป็นทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิจะรับมรดก เมื่อผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ย่อมมีความชอบธรรมที่จะรับไว้ด้วยสิทธิความเป็นทายาทและย่อมจะครอบครองทรัพย์มรดกได้ด้วยอำนาจของตน กรณีไม่เข้าข่ายการปิดบังยักย้ายทรัพย์มรดก และไม่ถือว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เพื่อรับเอาทรัพย์มรดก จึงเป็นคดีมรดกมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 โจทก์ฟ้องเกินกว่า 1 ปีแล้ว จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5647/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาหลังยื่นอุทธรณ์แล้ว ศาลต้องพิจารณาว่าตกเป็นคนยากจนภายหลังจริงหรือไม่
จำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์โดยเสียค่าขึ้นศาลในลักษณะคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้กับคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนค่าเสียหายที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นเงิน 400 บาท ต่อมาศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และให้ศาลชั้นต้นตีราคาที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นตีราคาแล้วเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มขึ้น 95,000 บาท จำเลยที่ 2 ไม่ชำระ แต่ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ตกเป็นคนยากจนลงภายหลังแล้ว ชอบที่จะยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์ในภายหลังที่ได้ยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ไว้แล้วได้
of 84