คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องซ้อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7629/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: สภาพแห่งข้อหาต่างกันแม้หนี้รายเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้อน
สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับในคดีแพ่งเรื่องก่อน เป็นเรื่องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง โดยโจทก์นำเช็คที่จำเลยได้รับจากลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของจำเลยไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน ปรากฏว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงขอให้บังคับจำเลยกับผู้ค้ำประกันชำระหนี้แก่โจทก์ ดังนี้ แม้หนี้ตามเช็คที่โจทก์ฟ้องจำเลยรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ในฐานะผู้สลักหลังในคดีนี้เป็นหนี้รายเดียวกับสิทธิเรียกร้องบางส่วนของจำเลยที่โอนแก่โจทก์ในคดีแพ่งเรื่องก่อน แต่เมื่อสภาพแห่งข้อหาของฟ้องโจทก์ทั้งสองเรื่องมิใช่เรื่องเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6344/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การโอนที่ดินมรดกต่างแปลงกัน ถือเป็นเรื่องไม่เดียวกัน แม้ฟ้องขอแบ่งมรดกเดียวกัน
แม้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกนายตามเท่านั้นที่ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 5 เป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขดำที่ 283/2535ของศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า เมื่อฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 5เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขดำที่ 283/2535 โจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 5 ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อแบ่งทรัพย์มรดกตามฟ้อง ฟ้องโจทก์ที่ 2ถึงโจทก์ที่ 5 ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนย่อมตกไปด้วยก็ตาม แต่เมื่อการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 5 คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 283/2535 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ เป็นการกำหนดประเด็นแบบกว้าง เป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 เกี่ยวกับจำเลยที่ 1เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ และเมื่อฟังว่าเป็นฟ้องซ้อนศาลก็ต้องวินิจฉัยต่อไปว่าฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ย่อมตกไปด้วยหรือไม่ ดังนั้น ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดมาชอบแล้ว
คดีก่อนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายตามโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 659 มรดกส่วนหนึ่งของ ต.ให้แก่จ.โดยไม่ชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับ จ. และนำที่ดินมาแบ่งแก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นทายาทของ ต.ส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายตามโอนที่ดินโฉนดเลขที่6278 ให้จำเลยที่ 2 โดยมิชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนำที่ดินดังกล่าวมาแบ่งแก่ทายาท ดังนี้ แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ทั้งสองคดีจะฟ้องจำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นทายาทของ ต.และขอให้แบ่งมรดกของต.ก็ตาม แต่มูลคดีที่ฟ้องเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินมรดกคนละแปลงโอนให้แก่บุคคลอื่นโดยไม่ชอบคนละคราวกัน ซึ่งถือได้ว่ามิใช่เรื่องเดียวกัน ดังนั้นฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6344/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนหรือไม่เมื่อฟ้องแบ่งมรดกจากจำเลยผู้จัดการมรดก โดยอ้างการโอนที่ดินมรดกคนละแปลงให้บุคคลอื่น
คดีก่อนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต.โอนที่ดินมรดกส่วนหนึ่งของ ต. ให้แก่ จ. โดยไม่ชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับ จ. และนำที่ดินมาแบ่งแก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นทายาท ส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต. โอนที่ดินอีกแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 2 โดยมิชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนำที่ดินดังกล่าวมาแบ่งแก่ทายาท แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ทั้งสองคดีจะฟ้องจำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นทายาทและขอให้แบ่งมรดกของ ต. แต่มูลคดีฟ้องเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินมรดกคนละแปลงโอนให้แก่บุคคลอื่นโดยไม่ชอบคนละคราวกัน ซึ่งถือได้ว่ามิใช่เรื่องเดียวกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีแบ่งสินสมรสที่มีประเด็นและคำขอซ้ำกับคดีก่อน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอแบ่งสินสมรส คิดเป็นเนื้อที่ดิน 7 ไร่เศษที่ศาลชั้นต้น ขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่ดินทั้งสามแปลงเป็นสินสมรส จำเลยนำไปขายขอให้บังคับจำเลยแบ่งเงินค่าที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กับคดีก่อน จึงมีสภาพแห่งข้อหา ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย และคำขอบังคับอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องแบ่งสินสมรสซ้ำกับคดีเดิมที่มีประเด็นและคำขอเดียวกัน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอแบ่งที่ดินสินสมรส คิดเป็นเนื้อที่ดิน 7 ไร่เศษที่ศาลจังหวัดปราจีนบุรี คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดปราจีนบุรี โจทก์มาฟ้องจำเลยอีกโดยยกข้ออ้างว่าที่ดินทั้งสามแปลงเป็นสินสมรส จำเลยนำไปขาย ขอให้บังคับจำเลยแบ่งค่าที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กับคดีก่อนจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยและคำขอบังคับอย่างเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีแบ่งสินสมรสที่ฟ้องซ้ำประเด็นเดิมกับคดีที่กำลังพิจารณาอยู่
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอแบ่งสินสมรส คิดเป็นเนื้อที่ดิน7 ไร่เศษที่ศาลชั้นต้น ขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่ดินทั้งสามแปลงเป็นสินสมรส จำเลยนำไปขายขอให้บังคับจำเลยแบ่งเงินค่าที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กับคดีก่อน จึงมีสภาพแห่งข้อหาประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย และคำขอบังคับอย่างเดียวกันฟ้อง โจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4439/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้อน: แม้ผลลัพธ์คล้ายกัน แต่หากประเด็นข้อพิพาทต่างกัน ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้อน
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันฉ้อฉลโจทก์ด้วยการให้จำเลยที่ 2 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1778 ซึ่งรวมทั้งที่ดินส่วนพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินโฉนดดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ให้กลับคืนสู่จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 โอนคืนแก่จำเลยที่ 1 ทำการแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกมาให้แก่โจทก์อันเป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ส่วนข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีแพ่งเรื่องก่อนเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงโอนที่ดินพิพาทเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 71 ตารางวา ให้แก่โจทก์แล้วแต่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงขอให้บังคับจำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกมาให้โจทก์พร้อมกับให้จำเลยที่ 1 และบุคคลภายนอกอีก 2 คน ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ถึงแม้คำขอของโจทก์จะมีผลสุดท้ายเป็นอย่างเดียวกัน คือ ขอให้โอนที่ดินพิพาทจำนวน 15 ไร่ 3 งาน71 ตารางวา เป็นของโจทก์ก็ตาม กรณีก็ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่เป็นการยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันอันจะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3317/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเดิม กับการฟ้องขอทรัพย์สินคืนเมื่อเลิกสัญญา มิใช่ฟ้องซ้อน
คดีแรกโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาโดยสั่งปิดกิจการภัตตาคารและสั่งห้ามมิให้โจทก์เข้าเกี่ยวข้องกับการเก็บรายได้จากภัตตาคารดังกล่าวโดยจำเลยที่ 1เป็นผู้เก็บรายได้เองและไม่ยอมมอบเงินรายได้นั้นให้โจทก์ทั้ง ๆ ที่สัญญาระบุว่าให้โจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บรายได้นั้นทั้งหมด ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ส่งมอบการเก็บรายได้จากการประกอบกิจการภัตตาคารดังกล่าวให้โจทก์เข้าไปเป็นผู้เก็บรายได้นั้นต่อไปและใช้ค่าเสียหายอันเป็นรายได้จากการประกอบกิจการนั้นที่จำเลยที่ 1 เก็บไว้คืนให้โจทก์คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อีกโดยเรียกเอาค่าหลักประกันสัญญาค่าตกแต่งสถานที่ ค่าวัสดุอุปกรณ์ และค่าวัตถุดิบคงเหลืออันเป็นทรัพย์สินของโจทก์คืนทั้งนี้ก็เพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งเลิกสัญญาแล้ว มิใช่เป็นการเรียกให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาอย่างคดีแรก จึงเป็นคนละเรื่องกัน อีกทั้งในคดีแรกจำเลยที่ 2 มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแรก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9654/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีล้มละลายกับฟ้องชำระหนี้ตามเช็ค: ไม่เป็นฟ้องซ้อน
ฟ้องเรื่องเดิมเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยตกเป็นคนล้มละลายเพื่อที่จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่มีอยู่ทั้งหมดแบ่งปันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยทุกคนที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ และการที่ศาลจะต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยตกเป็นคนล้มละลายนั้นก็ต่อเมื่อปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท และหนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือหนี้ในอนาคตก็ตาม อีกทั้งกระบวนพิจารณาต่าง ๆ ที่ก่อนศาลจะพิพากษาคดีและภายหลังที่พิพากษาคดีไปแล้ว มีการกำหนดวิธีการแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.อย่างมาก ซึ่งเป็นไปตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ที่กำหนดไว้หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าการฟ้องคดีล้มละลายเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้จัดการทรัพย์สินของจำเลยโดยเจ้าพนักงานของรัฐที่เรียกว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าจัดการทรัพย์สินของจำเลยเพื่อประโยชน์ของบรรดาเจ้าหนี้ทั่ว ๆ ไปของจำเลย และเป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะของจำเลยเสียใหม่ โดยมิได้เป็นการฟ้องหรือเรียกร้องให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามมูลหนี้ที่ฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงอันเป็นเรื่องของบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อันเป็นการฟ้องให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระหนี้ในมูลหนี้ตามเช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับด้วยจำนวนเงิน 550,000 บาท พร้อมอัตราดอกเบี้ยตามฟ้องให้แก่โจทก์คนเดียวเท่านั้น โดยต้องวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. จึงเห็นว่าการฟ้องคดีนี้เป็นคนละเรื่องกับการฟ้องคดีล้มละลายดังกล่าว ดังนั้นฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงมิได้เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9654/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องคดีล้มละลายกับฟ้องเรียกค่าเช็คไม่เป็นฟ้องซ้อน เพราะมีวัตถุประสงค์และวิธีการต่างกัน
ฟ้องเรื่องเดิมเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยตกเป็นคนล้มละลายเพื่อที่จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่มีอยู่ทั้งหมดแบ่งปันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยทุกคนที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้และการที่ศาลจะต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยตกเป็นคนล้มละลายนั้นก็ต่อเมื่อปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า50,000บาทและหนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือหนี้ในอนาคตก็ตามอีกทั้งกระบวนพิจารณาต่างๆที่ก่อนศาลจะพิพากษาคดีและภายหลังที่พิพากษาคดีไปแล้วมีการกำหนดวิธีการแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อย่างมากซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช2483ที่กำหนดไว้หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าการฟ้องคดีล้มละลายเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้จัดการทรัพย์สินของจำเลยโดยเจ้าพนักงานของรัฐที่เรียกว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าจัดการทรัพย์สินของจำเลยเพื่อประโยชน์ของบรรดาเจ้าหนี้ทั่วๆไปของจำเลยและเป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะของจำเลยเสียใหม่โดยมิได้เป็นการฟ้องหรือเรียกร้องให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามมูลหนี้ที่ฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงอันเป็นเรื่องของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อันเป็นการฟ้องให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระหนี้ในมูลหนี้ตามเช็คพิพาททั้ง2ฉบับด้วยจำนวนเงิน550,000บาทพร้อมอัตราดอกเบี้ยตามฟ้องให้แก่โจทก์คนเดียวเท่านั้นโดยต้องวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงเห็นว่าการฟ้องคดีนี้เป็นคนละเรื่องกับการฟ้องคดีล้มละลายดังกล่าวดังนั้นฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงมิได้เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)
of 31