พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7419/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าทดแทนเวนคืน: สิทธิเจ้าของภารจำยอม & หน้าที่จ่ายเงินเมื่อไม่มารับชดใช้
บทบัญญัติมาตรา 18(6) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ระบุไว้ชัดเจนว่า บุคคลผู้มีสิทธิ ได้รับเงินค่าทดแทนนั้น หมายถึงบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ ทางตามมาตรา 1349 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกรณีเกี่ยวกับทางจำเป็น ส่วนกรณีทางภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่ง ต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 29ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ หาอาจนำมาตรา 18(6) มาใช้บังคับโดยอาศัยมาตรา 4 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในฐานะที่เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้ไม่ ผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิหรือทางภารจำยอมตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 29จะต้องร้องขอรับชำระหนี้หรือรับชดใช้ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งตามมาตรา 28, หรือมาตรา 29แล้วแต่กรณี หากในระหว่างเวลา 60 วันนั้นผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนและตกลงกับเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่ง อสังหาริมทรัพย์นั้นได้ จึงจะมีการจ่ายเงินค่าทดแทนให้ตามที่คู่กรณีตกลงกัน หากคู่กรณีตกลงกันไม่ได้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จะต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางทรัพย์ตามมาตรา 31 แต่ในกรณีที่ผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิดังกล่าวมิได้ขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลา 60 วันก็ไม่มีกรณีที่คู่กรณีจะตกลงกันเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย จากเจ้าหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของ หรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอสังหาริมทรัพย์หาชอบที่จะนำเงินค่าทดแทนไปวางทรัพย์ไว้ตามบทบัญญัติมาตรา 31 ไม่ เมื่อจำเลยมีหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนให้แก่โจทก์ แต่จำเลยนำไปวางทรัพย์ไว้ ณ สำนักงานออมสิน โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเงินดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการวางทรัพย์นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6624/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินค่าทดแทนเวนคืนจำกัดเฉพาะผู้เสียสิทธิทางจำเป็น ไม่รวมผู้มีภารจำยอม
ที่ดินของ ซ. ถูกเวนคืน เป็นเหตุให้จำเลยเสียสิทธิในการใช้ทางภารจำยอมในที่ดินดังกล่าว ไม่ว่าจำเลยจะได้จ่ายค่าทดแทนในการใช้ทางภารจำยอมนั้นแก่ ซ. หรือไม่ก็ตามจำเลยก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18(6) เนื่องจาก มาตราดังกล่าวกำหนดบุคคลที่มีสิทธิได้รับค่าทดแทน คือ เฉพาะบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางผ่านที่ดินที่ต้องเวนคืน ในฐานะที่เป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 และบุคคลนั้นได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ซึ่งได้ถูกเวนคืนเท่านั้นมิได้หมายความรวม ถึงบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางภารจำยอมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 ถึงมาตรา 1401ดังกรณีของโจทก์แต่อย่างใด ทั้งเมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องและคำให้การเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ คดีไม่จำต้องสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5527/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมจากการจัดสรรที่ดินและการมีอำนาจฟ้องของผู้เยาว์
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาให้ฟ้องและดำเนินคดีแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนได้หาจำต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาอีกครั้งไม่ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินไว้ในข้อ 1 ว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด เมื่อปรากฏว่า ป. และ ย. ได้ร่วมกันแบ่งแยกที่ดินของตนออกเป็นแปลงย่อย รวม 27 แปลงแล้วประกาศขายให้แก่ประชาชนทั่วไปโดยได้ระบุที่ดินพิพาทอันเป็นรูปตัวทีในหนังสือโฆษณาจัดทำเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ซื้อที่ดิน การกระทำของ ป. และ ย. จึงเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่า บุคคลทั้งสองได้จัดให้มีสาธารณูปโภคคือที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออก อันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ตามข้อ 1 ดังกล่าวประกอบด้วย ข้อ 30 วรรคหนึ่งและข้อ 32 ส่วนการที่ ป. และ ย. จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่เป็นอีกเรื่องต่างหาก หากบุคคลทั้งสองนั้นจะดำเนินการฝ่าฝืนโดยไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการขายที่ดินของบุคคลทั้งสองดังกล่าวไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ที่ดินพิพาท จึงเป็นทางภารจำยอมตามกฎหมายแก่ที่ดินจัดสรรและที่ดินโจทก์ที่ได้รับจาก ส.ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวมาจากป.และย.จำเลยจะอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริตหาได้ไม่ เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างสิ่งของลงบนที่ดินพิพาทเพื่อกีดขวางทางภารจำยอม อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและเครื่องกั้นกีดขวางให้ออกไปจากทางภารจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมเรียกร้องสิทธิภารจำยอม คดีหลังเรียกค่าเสียหายจากเหตุเดิม ศาลยกฟ้อง
เมื่อคดีทั้งสองเรื่องโจทก์อ้างสิทธิอย่างเดียวกันว่าที่ดินโจทก์มีสิทธิภารจำยอมเหนือที่ดินพิพาทที่จำเลยโอนให้ พ. และค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยไม่ยอมให้ที่ดินพิพาทเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว การที่โจทก์กลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้ขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความและการย้ายทางภารจำยอม การได้มาซึ่งภารจำยอมโดยการใช้ทางต่อเนื่อง และผลของการย้ายทางภารจำยอม
เดิม ค. สามีโจทก์ที่ 1 และโจทก์ทั้งสองได้ใช้ทางเดินบนที่ดินของ พ. ทางด้านทิศตะวันออกสู่ทางสาธารณะโดยสงบและเปิดเผยติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี ที่ดินของ พ.ดังกล่าวจึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของ ค. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบกับมาตรา 1382ต่อมา พ.ขอให้ค. ย้ายทางภารจำยอมเดิมมายังทางพิพาทเพื่อประโยชน์ของ พ. ซึ่งประสงค์จัดสรรที่ดินขายทางพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมแทนทางเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 เมื่อโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินสามยทรัพย์มาจาก ค. และโจทก์ที่ 2ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสามยทรัพย์มาจากโจทก์ที่ 1โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินจาก พ. ซึ่งมีทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์ให้เปิดทางพิพาทและจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองได้ เพราะการจดทะเบียนภารจำยอมนั้นถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมประการหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 วรรคแรก โจทก์ทั้งสองใช้ทางเดินในที่ดินของ พ. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภารจำยอมมิใช่ถือวิสาสะจนได้ภารจำยอมโดยอายุความแล้ว แม้โจทก์ที่ 1 จะทราบหรือไม่ทราบระหว่างโจทก์ที่ 1 หรือ ค. เจ้าของที่ดินเดิมที่โจทก์ที่ 1 รับโอนที่ดินมา ผู้ใดเป็นผู้ได้สิทธิภารจำยอมตามกฎหมาย ก็ไม่ใช่สาระสำคัญ เหตุที่ พ.ขอให้ค. ย้ายทางภารจำยอมนั้นเนื่องจากพ. จะนำที่ดินแปลงที่เป็นภารยทรัพย์มาจัดสรรขาย ดังนั้นการย้ายทางภารจำยอมไปใช้ทางพิพาทจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ พ. การย้ายทางภารจำยอมดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ และการที่ค. เจ้าของที่ดินแปลงที่เป็นสามยทรัพย์ตกลงจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ พ.ก็เป็นค่าตอบแทนในส่วนที่ค.จะได้ใช้ทางพิพาทกว้างขึ้นจากเดิมนั้น คู่กรณีย่อมสามารถตกลงกันด้วยความสมัครใจได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1392 โจทก์ทั้งสองจึงสามารถสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงดังกล่าวเพื่ออธิบายประกอบให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของคู่กรณีได้ โจทก์ทั้งสองได้ใช้ทางพิพาทจนได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของจำเลยโดยอายุความ และโจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิที่ได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ มิใช่ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่าง ค. กับโจทก์แม้ว่า ค. จะผิดสัญญาการชำระเงินหรือไม่ก็ตาม ก็หาทำให้สิทธิภารจำยอมในทางพิพาทของโจทก์ทั้งสองที่มีอยู่สิ้นไปไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองทุกแปลง ตามรายละเอียดในแผนที่เอกสารหมาย จ.1 ที่โจทก์อ้างส่ง แต่ในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ระบุเลขโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 ไม่ครบทุกแปลงโดยไม่ระบุที่ดินตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 ด้วย ย่อมทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ดินของโจทก์ที่ 1 แปลงดังกล่าวนั้นไร้ผล เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4041/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินสร้างภารจำยอม แม้ไม่ขออนุญาตจัดสรรก็ถือเป็นการจัดสรรตามกฎหมายได้
การที่ ป.ได้แบ่งแยกที่ดินของตนออกเป็นแปลงย่อยประมาณ300 แปลงเพื่อขาย และได้สร้างโรงภาพยนตร์โดยมีทางพิพาท อยู่ด้านข้างทั้งสองด้านของโรงภาพยนตร์และอยู่หน้าอาคาร ของโจทก์ทั้งสิบสี่แสดงโดยชัดแจ้งว่า ป.จัดทำทางพิพาทเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนเพชรเกษมอันเป็นทางสาธารณะเป็นการแสดงออกโดยปริยายแล้วว่า ป.เจตนาจัดให้มีสาธารณูปโภค คือทางพิพาท ถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515ข้อ 30 แม้ ป. จะมิได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ก็ไม่ทำให้การดำเนินการ ของ ป. กลับไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายไปแต่อย่างใดไม่ ส่วนการจัดสรรที่ดินอันฝ่าฝืนต่อประกาศของ คณะปฏิวัติดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมายเป็นประการอื่นอย่างไรบ้าง เป็นอีกกรณีหนึ่ง ฉะนั้นทางพิพาทจึงเป็นภารจำยอมแก่ที่ดิน ของโจทก์ทั้งสิบสี่โดยผลของกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: การสร้างโครงเหล็กพาดสายไฟบนที่ดินภารยทรัพย์ ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
ที่ดินของโจทก์ร่วมตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยเพื่อใช้เป็นทางเดินให้รถยนต์เข้าออกได้ ปักเสาพาดสายไฟฟ้าท่อประปา ท่อระบายน้ำ โทรศัพท์และอื่น ๆ อีกผ่านโดยตลอดตามบันทึกข้อตกลงเรื่องภารจำยอม การที่จำเลยที่ว่าจ้างให้ทำ โครงเหล็กวางพาดสายไฟและติดหลอดไฟฟ้าเพื่อให้มีแสงสว่างแบบถาวร แม้จะเกินความจำเป็นไปบ้างแต่ก็เป็นการใช้สิทธิของเจ้าของสามทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387ส่วนจะเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์หรือไม่นั้นต้องไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาเข้าไปรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์หรือเข้าไปเพื่อถือครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมทั้งหมดหรือบางส่วน การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3482/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารจำยอมตกติดกับที่ดิน แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ คำพิพากษาผูกพันผู้รับโอน
โจทก์ ได้ สิทธิ ภารจำยอม โดย อายุความ ตาม คำพิพากษา ของ ศาล โจทก์ บอกกล่าว ให้ จำเลย เจ้าของ ภารยทรัพย์ ไป ดำเนินการ จดทะเบียน สิทธิ ภารจำยอม ที่ โจทก์ ได้ มา แต่ จำเลย เพิกเฉย ถือได้ว่า เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าของ สามยทรัพย์ จึง ฟ้อง จำเลย ใน ฐานะ เจ้าของ ภารยทรัพย์ ให้ จดทะเบียน สิทธิ ภารจำยอม ให้ แก่ โจทก์ ได้ คดี ก่อน โจทก์ ฟ้อง ส . เจ้าของ ภารยทรัพย์ ที่ จำเลย รับโอน ต่อมา โดย จำเลย มิได้ เป็น คู่ความ ใน คดี นั้น ก็ ตาม แต่เมื่อ คดี ก่อน ศาล มี คำพิพากษา ว่า โจทก์ ได้ สิทธิ ภารจำยอม ใน ทางพิพาท ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบ มาตรา 1382 จึง เป็น กรณี ที่ โจทก์ ได้ สิทธิ ภารจำยอม อันเป็น ทรัพย์ สิทธิ อัน เกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ โดย ทาง อื่น นอกจาก ทาง นิติกรรม ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง เป็น ทรัพย์ สิทธิ คน ละ ประเภท กับ กรรมสิทธิ์ ที่ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ มีอำนาจ ใน อสังหาริมทรัพย์ ของ ตนเอง และ ภารจำยอม เป็น ทรัพย์ ที่ กฎหมาย บัญญัติ เพื่อ ประโยชน์ แก่ อสังหาริมทรัพย์ มิได้ มุ่ง เพื่อ ประโยชน์ ของ บุคคล หนึ่ง บุคคล ใด โดยเฉพาะ ภารจำยอม จึง ย่อม ตก ติด ไป กับ อสังหาริมทรัพย์ ที่ เป็น สามยทรัพย์ และ ภารยทรัพย์ แม้ จะ มี การ โอน อสังหาริมทรัพย์ ดังกล่าว ไป ให้ แก่ บุคคลอื่น ภารจำยอม ก็ หา ได้ หมดสิ้น ไป ไม่ เว้นแต่ กรณี จะ ต้อง ตาม บทบัญญัติ ของ กฎหมาย เท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่า จำเลย จะ รับโอน ที่พิพาท มา โดยสุจริต หรือไม่ ก็ ตาม ก็ ไม่อาจ จะ ยกขึ้น ต่อสู้ กับ สิทธิ ภารจำยอม ของ โจทก์ ได้ คำพิพากษา ศาล ดังกล่าว จึง ผูกพัน จำเลย ด้วย ใน ฐานะ ที่ เป็น เจ้าของ ภารยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่ระบุแนวเขต ครอบคลุมประโยชน์ใช้สอยทุกส่วนของที่ดิน แม้มีสิ่งปลูกสร้างหรือพื้นที่ไม่ได้ใช้เป็นทางเดินโดยตรง
บันทึกข้อตกลงภารจำยอมเรื่องทางเดินมิได้ระบุแนวเขตเส้นทางภารจำยอมไว้ ภารจำยอมดังกล่าวย่อมครอบคลุมถึงประโยชน์ในการใช้ภารจำยอมในทุกส่วนของที่ดิน ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองยังคงใช้ที่ดินภารจำยอมส่วนที่โรย กรวด หิน ส่วนที่ดินภารจำยอมในส่วนที่มีหญ้าและต้นไม้ขึ้นปกคลุมแม้จำเลยทั้งสองไม่อาจใช้เป็น ทางเดินตามปกติแต่ที่ดินดังกล่าวเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับที่ดิน ที่โรย กรวด หิน ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองใช้ประโยชน์ ในที่ดินดังกล่าวด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองและพนักงานประมาณ 300 คน ตลอดจนใช้ยานพาหนะเข้าออกเส้นทางภารจำยอม ดังกล่าวเป็นเวลาข้านานจนถึงปัจจุบันโดยไม่ได้ ละทิ้งจะถือว่าจำเลยทั้งสองสละสิทธิมิได้ ที่ดินพิพาท ยังคงเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินจำเลยทั้งสองและยัง ไม่หมดประโยชน์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินพร้อมสาธารณูปโภค การตกอยู่ในภารจำยอมตามประกาศคณะปฏิวัติ และสิทธิของผู้ซื้อ
กรณีที่จะถือว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 นั้น สาระสำคัญอยู่ที่การจัดจำหน่าย ที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวน ตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป และมีการให้คำมั่นหรือการแสดงออกว่าจะจัดให้มี สาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือปรับปรุงให้ที่ดินนั้น เป็นที่อยู่อาศัย ที่ประกอบการพาณิชย์ หรือที่ประกอบ การอุตสาหกรรม ส่วนผู้จัดสรรจะขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน ต่อคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง หากจะเป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ก็ไม่ทำให้การดำเนินการของผู้จัดสรรไม่เป็นการจัดสรร ที่ดินตามกฎหมาย จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้นำที่ดินของตนมาแบ่งเป็นแปลงย่อย คนละ 5 แปลง รวมเป็น 10 แปลง แล้วให้บริษัท ส.ทำการจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านโดยที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยรวม 10 แปลง ได้มีการก่อสร้างบ้านจำนวน 9 หลัง ลงในที่ดิน10 แปลง การจัดจำหน่ายที่ดินและบ้าน ทางผู้จัดสรรขายได้มีการแยกทำสัญญาเป็น 3 ฉบับ คือให้ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 3 หรือที่ 4 ส่วน การปลูกสร้างบ้านให้ผู้ซื้อทำสัญญาว่าจ้างให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. เป็นผู้รับจ้างปลูกสร้างบ้าน และให้บริษัท ส. เป็นผู้รับจ้าง ทำถนน น้ำ ไฟฟ้า ท่อระบายน้ำ ตลอดจนปรับปรุงที่ดิน เพื่อแบ่งเบาภาระในเรื่องภาษี แต่การดำเนินจัดจำหน่าย ที่ดินและบ้านของบริษัท ส.กับห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ล้วนกระทำการโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการ ของบริษัท ส. อันมีจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย การที่จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 รู้เห็นและมีส่วนร่วมในการจัดสรรในโครงการ ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินได้นำที่ดินซึ่งแบ่งเป็นแปลงย่อย รวม 10 แปลง เข้าโครงการเพื่อจัดจำหน่ายที่ดินและบ้าน ให้แก่โจทก์และผู้ซื้อทั่วไป อีกทั้งยังได้มีการโฆษณาว่า จะจัดให้มีสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมบริการแก่ผู้ซื้อ ซึ่งต่อมาได้มีการจัดสร้างสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ดังกล่าวขึ้นตามที่ได้โฆษณาหรือให้คำมั่นไว้แล้ว ดังนี้ สโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อม จึงตกอยู่ในภารจำยอม เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรของโจทก์ทั้งสามโดยผล แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว จำเลยทั้งหกได้กระทำการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 โดยนำที่ดินอันเป็นที่ตั้งของสโมสรสระว่ายน้ำ และสวนหย่อม ในส่วนที่ตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรโอนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 6 ทั้งห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามใช้สโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อม กับได้สร้างกำแพงคอนกรีตปิดกั้นมิให้โจทก์ทั้งสามเข้าไปอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสาม เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวกไปโจทก์ทั้งสามย่อมมีอำนาจฟ้องให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ปิดกั้นนั้นได้ แม้การจัดสรรจะปลูกสร้างบ้านขายเพียง 9 หลังแต่จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ได้แบ่งแยกที่ดินเป็นแปลงย่อยจำนวนคนละ 5 แปลง จึงเท่ากับ 10 แปลง กรณีถือได้ว่าเป็นการจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อมมีจำนวน10 แปลงขึ้นไป แม้บ้านเลขที่เดียวจะตั้งอยู่บนที่ดิน 2 โฉนดในพื้นที่จำนวน 1 แปลง เหมือนกับแปลงอื่น ๆ ก็ไม่ทำให้การดำเนินการของจำเลยไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย