พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: ประโยชน์ที่ได้รับจากการจ้างงาน, ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์สิน, และการประเมินภาษีเกินกำหนด
ค่าจ้างคนทำสวน ค่าซักล้างทำความสะอาดพรม ค่าซักผ้าม่านค่าทำความสะอาดสระว่ายน้ำ ค่าผงคลอรีนสำหรับใส่สระว่ายน้ำ ค่าผงซักฟอกค่ากำจัดปลวก ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปเพื่อบำรุงรักษาทรัพย์สินของโจทก์จึงเป็นประโยชน์ที่เกิดแก่ตัวทรัพย์สินของโจทก์ หาใช่ประโยชน์ที่พนักงานของโจทก์ได้รับโดยตรงที่โจทก์จะต้องคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ ณ ที่จ่ายนำส่งแก่จำเลยไม่
ตามรายการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพนักงานโจทก์ที่เจ้าพนักงานประเมินแสดงไว้ได้คำนวณโดยรวมเอาประโยชน์จากที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มจากการได้ใช้ไฟฟ้า แก๊ส และน้ำประปาทั้งหมดไว้ในรายได้ของพนักงานโจทก์แต่ละคนแล้วจึงคำนวณภาษี หลังจากนั้นได้นำค่าภาษีที่พนักงานโจทก์แต่ละคนได้ชำระไว้แล้วหักออก เหลือเท่าใดถือเป็นจำนวนภาษีที่พนักงานโจทก์ชำระขาด และคำนวณเงินเพิ่มจากยอดเงินดังกล่าว ดังนี้ เห็นได้ว่ายอดเงินค่าไฟฟ้าค่าน้ำประปาที่พนักงานของโจทก์นำไปแสดงเป็นเงินได้บางส่วนและได้ชำระภาษีไว้แล้วนั้น เจ้าพนักงานประเมินได้คิดคำนวณหักให้ถูกต้องแล้ว ไม่ได้คิดซ้ำซ้อนกันแต่อย่างใด
โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ว่าการประเมินค่าเดินทางและค่าธรรมเนียมในการที่พนักงานโจทก์ร่วมประชุมของจำเลยไม่ถูกต้อง ทำให้การคำนวณภาษีผิดพลาดในจำนวนเท่าใด ควรแก้ไขให้ลดลงเหลือเท่าใด
ค่าสมาชิกสโมสรเป็นสิทธิเฉพาะตัวของพนักงาน ข้อตกลงการจ้างก็เพียงแต่โจทก์ตกลงว่าจะจ่ายค่าสมาชิกสโมสรให้แก่พนักงานดังกล่าวเท่านั้น เป็นการให้ประโยชน์แก่พนักงานโดยตรง หาใช่โจทก์มีข้อบังคับว่าพนักงานตำแหน่งใดจะต้องเป็นสมาชิกสโมสรใดเพื่อกระทำกิจกรรมใดในสโมสรให้เกิดประโยชน์แก่โจทก์ไม่ ตามทางนำสืบก็ไม่ปรากฏว่า การที่พนักงานของโจทก์เป็นสมาชิกสโมสรก่อประโยชน์โดยตรงแก่โจทก์อย่างไร จึงเป็นประโยชน์ส่วนตัวของพนักงาน ค่าสมาชิกสโมสรที่โจทก์จ่ายแทนให้แก่พนักงานจึงเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มถือเป็นเงินได้ของพนักงาน
ค่าบังกะโลพัทยาเกิดจากการที่โจทก์จัดสวัสดิการบังกะโลที่พักให้แก่พนักงานของโจทก์ได้ใช้พักผ่อนในวันหยุด ดังนี้ค่าจ้างในการดูแลรักษาและทำความสะอาดบังกะโลนั้นผู้รับจ้างเป็นผู้ได้รับ ส่วนค่าไม้กวาดและผงซักฟอกอันเป็นของใช้ที่นำมาใช้ในการรักษาทำความสะอาดบังกะโลนั้นก็เพื่อประโยชน์แก่ตัวทรัพย์ คือ บังกะโล หาใช่ประโยชน์โดยตรงที่พนักงานโจทก์ได้รับไม่ จึงไม่อาจถือเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มอีก
ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (1) ได้กำหนดชนิดของเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า และประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานแยกออกจากกัน ฉะนั้นในกรณีที่พนักงานโจทก์ได้อยู่บ้านที่โจทก์ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า และโจทก์เป็นผู้จ่ายค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าแก๊สที่พนักงานโจทก์ได้ใช้สิ้นเปลืองไปนั้น ประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับจากการใช้กระแสไฟฟ้า น้ำประปา และแก๊ส ที่โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินให้นี้ เป็นประโยชน์ชนิดหนึ่งต่างจากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่โจทก์จัดให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า ถือว่าค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส ค่าน้ำประปาเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานแยกจากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่โจทก์ให้อยู่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เพียงแต่กำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวน ในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนเท่านั้นมิใช่กำหนดเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน จำนวนเงินที่ต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 20 มิได้กำหนดเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินจำนวนเงินที่จะต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีภายหลัง 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการไว้แล้วจึงกระทำได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่า เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย พ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นรายการไว้จึงเป็นการไม่ชอบ มิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนเนื่องจากพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นรายการ ทั้งมิได้อ้างว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยขาดอายุความแล้ว ฉะนั้นจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนและทำการประเมินเพราะพ้นกำหนด 5 ปีนับแต่วันที่โจทก์ยื่นรายการแล้วหรือไม่ และสิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
เงินเพิ่มตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 กำหนดไว้เป็นอัตราแน่นอนมิได้ยกเว้นให้ อาจงดเก็บเสียได้ ส่วนกรณีที่จะลดเงินเพิ่มได้จะต้องเป็นกรณีตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 27 (1) (2) บัญญัติไว้คือ ถ้าผู้ต้องเสียหรือนำส่งได้นำเงินมาชำระโดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ก็ให้เสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 5 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น หรือถ้าผู้ต้องเสียหรือนำส่งได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือแล้วแต่ได้นำเงินมาชำระภายในสิบวันนับแต่วันได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวน ก็ให้เสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ดังกล่าว ฉะนั้นจึงไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเงินเพิ่ม
ตามรายการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพนักงานโจทก์ที่เจ้าพนักงานประเมินแสดงไว้ได้คำนวณโดยรวมเอาประโยชน์จากที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มจากการได้ใช้ไฟฟ้า แก๊ส และน้ำประปาทั้งหมดไว้ในรายได้ของพนักงานโจทก์แต่ละคนแล้วจึงคำนวณภาษี หลังจากนั้นได้นำค่าภาษีที่พนักงานโจทก์แต่ละคนได้ชำระไว้แล้วหักออก เหลือเท่าใดถือเป็นจำนวนภาษีที่พนักงานโจทก์ชำระขาด และคำนวณเงินเพิ่มจากยอดเงินดังกล่าว ดังนี้ เห็นได้ว่ายอดเงินค่าไฟฟ้าค่าน้ำประปาที่พนักงานของโจทก์นำไปแสดงเป็นเงินได้บางส่วนและได้ชำระภาษีไว้แล้วนั้น เจ้าพนักงานประเมินได้คิดคำนวณหักให้ถูกต้องแล้ว ไม่ได้คิดซ้ำซ้อนกันแต่อย่างใด
โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ว่าการประเมินค่าเดินทางและค่าธรรมเนียมในการที่พนักงานโจทก์ร่วมประชุมของจำเลยไม่ถูกต้อง ทำให้การคำนวณภาษีผิดพลาดในจำนวนเท่าใด ควรแก้ไขให้ลดลงเหลือเท่าใด
ค่าสมาชิกสโมสรเป็นสิทธิเฉพาะตัวของพนักงาน ข้อตกลงการจ้างก็เพียงแต่โจทก์ตกลงว่าจะจ่ายค่าสมาชิกสโมสรให้แก่พนักงานดังกล่าวเท่านั้น เป็นการให้ประโยชน์แก่พนักงานโดยตรง หาใช่โจทก์มีข้อบังคับว่าพนักงานตำแหน่งใดจะต้องเป็นสมาชิกสโมสรใดเพื่อกระทำกิจกรรมใดในสโมสรให้เกิดประโยชน์แก่โจทก์ไม่ ตามทางนำสืบก็ไม่ปรากฏว่า การที่พนักงานของโจทก์เป็นสมาชิกสโมสรก่อประโยชน์โดยตรงแก่โจทก์อย่างไร จึงเป็นประโยชน์ส่วนตัวของพนักงาน ค่าสมาชิกสโมสรที่โจทก์จ่ายแทนให้แก่พนักงานจึงเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มถือเป็นเงินได้ของพนักงาน
ค่าบังกะโลพัทยาเกิดจากการที่โจทก์จัดสวัสดิการบังกะโลที่พักให้แก่พนักงานของโจทก์ได้ใช้พักผ่อนในวันหยุด ดังนี้ค่าจ้างในการดูแลรักษาและทำความสะอาดบังกะโลนั้นผู้รับจ้างเป็นผู้ได้รับ ส่วนค่าไม้กวาดและผงซักฟอกอันเป็นของใช้ที่นำมาใช้ในการรักษาทำความสะอาดบังกะโลนั้นก็เพื่อประโยชน์แก่ตัวทรัพย์ คือ บังกะโล หาใช่ประโยชน์โดยตรงที่พนักงานโจทก์ได้รับไม่ จึงไม่อาจถือเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มอีก
ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (1) ได้กำหนดชนิดของเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า และประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานแยกออกจากกัน ฉะนั้นในกรณีที่พนักงานโจทก์ได้อยู่บ้านที่โจทก์ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า และโจทก์เป็นผู้จ่ายค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าแก๊สที่พนักงานโจทก์ได้ใช้สิ้นเปลืองไปนั้น ประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับจากการใช้กระแสไฟฟ้า น้ำประปา และแก๊ส ที่โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินให้นี้ เป็นประโยชน์ชนิดหนึ่งต่างจากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่โจทก์จัดให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า ถือว่าค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส ค่าน้ำประปาเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานแยกจากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่โจทก์ให้อยู่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เพียงแต่กำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวน ในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนเท่านั้นมิใช่กำหนดเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน จำนวนเงินที่ต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 20 มิได้กำหนดเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินจำนวนเงินที่จะต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีภายหลัง 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการไว้แล้วจึงกระทำได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่า เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย พ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นรายการไว้จึงเป็นการไม่ชอบ มิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนเนื่องจากพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นรายการ ทั้งมิได้อ้างว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยขาดอายุความแล้ว ฉะนั้นจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนและทำการประเมินเพราะพ้นกำหนด 5 ปีนับแต่วันที่โจทก์ยื่นรายการแล้วหรือไม่ และสิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
เงินเพิ่มตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 กำหนดไว้เป็นอัตราแน่นอนมิได้ยกเว้นให้ อาจงดเก็บเสียได้ ส่วนกรณีที่จะลดเงินเพิ่มได้จะต้องเป็นกรณีตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 27 (1) (2) บัญญัติไว้คือ ถ้าผู้ต้องเสียหรือนำส่งได้นำเงินมาชำระโดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ก็ให้เสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 5 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น หรือถ้าผู้ต้องเสียหรือนำส่งได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือแล้วแต่ได้นำเงินมาชำระภายในสิบวันนับแต่วันได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวน ก็ให้เสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ดังกล่าว ฉะนั้นจึงไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเงินเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย: การประเมินค่าประโยชน์ที่ได้รับจากนายจ้าง และการคำนวณเงินเพิ่ม
ค่าจ้างคนทำสวน ค่าซักล้างทำความสะอาดพรม ค่าซักผ้าม่านค่าทำความสะอาดสระว่ายน้ำ ค่าผงคลอรีน สำหรับใส่สระว่ายน้ำค่าผงซักฟอก ค่ากำจัดปลวก ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปเพื่อบำรุงรักษาทรัพย์สินของโจทก์จึงเป็นประโยชน์ที่เกิดแก่ตัวทรัพย์สินของโจทก์ หาใช่ประโยชน์ที่พนักงานของโจทก์ได้รับโดยตรงที่โจทก์จะต้องคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ ณ ที่จ่ายนำส่งแก่จำเลยไม่ ตามรายการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพนักงานโจทก์ที่เจ้าพนักงานประเมินแสดงไว้ได้คำนวณโดยรวมเอาประโยชน์จากที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มจากการได้ใช้ไฟฟ้าแก๊ส และน้ำประปาทั้งหมดไว้ในรายได้ของพนักงานโจทก์แต่ละคนแล้วจึงคำนวณภาษี หลังจากนั้นได้นำค่าภาษีที่ พนักงานโจทก์แต่ละคนได้ชำระไว้แล้วหักออก เหลือเท่าใดถือเป็นจำนวนภาษีที่พนักงานโจทก์ชำระขาด และคำนวณเงินเพิ่มจากยอดเงินดังกล่าว ดังนี้ เห็นได้ว่ายอดเงินค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปาที่พนักงานของโจทก์นำไปแสดงเป็นเงินได้บางส่วนและได้ชำระภาษีไว้แล้วนั้น เจ้าพนักงานประเมินได้คิดคำนวณหักให้ถูกต้องแล้ว ไม่ได้คิดซ้ำซ้อนกันแต่อย่างใด โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ว่าการประเมินค่าเดินทางและค่าธรรมเนียมในการที่พนักงานโจทก์ร่วมประชุมของจำเลยไม่ถูกต้อง ทำให้การคำนวณภาษีผิดพลาดในจำนวนเท่าใดควรแก้ไขให้ลดลงเหลือเท่าใด ค่าสมาชิกสโมสรเป็นสิทธิเฉพาะตัวของพนักงาน ข้อตกลงการจ้างก็เพียงแต่โจทก์ตกลงว่าจะจ่ายค่าสมาชิกสโมสรให้แก่พนักงานดังกล่าวเท่านั้น เป็นการให้ประโยชน์แก่พนักงาน โดยตรง หาใช่โจทก์มีข้อบังคับว่าพนักงานตำแหน่งใดจะต้อง เป็นสมาชิกสโมสรใดเพื่อกระทำกิจกรรมใดในสโมสรให้เกิดประโยชน์แก่โจทก์ไม่ ตามทางนำสืบก็ไม่ปรากฏว่า การที่พนักงานของโจทก์เป็นสมาชิกสโมสรก่อประโยชน์โดยตรงแก่โจทก์อย่างไรจึงเป็นประโยชน์ส่วนตัวของพนักงาน ค่าสมาชิกสโมสรที่โจทก์จ่ายแทนให้แก่พนักงานจึงเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มถือเป็นเงินได้ของพนักงาน ค่าบังกะโลพัทยาเกิดจากการที่โจทก์จัดสวัสดิการบังกะโลที่พักให้แก่พนักงานของโจทก์ได้ใช้พักผ่อนในวันหยุดดังนี้ค่าจ้างในการดูแลรักษาและทำความสะอาดบังกะโลนั้นผู้รับจ้างเป็นผู้ได้รับ ส่วนค่าไม้กวาดและผงซักฟอกอันเป็น ของใช้ที่นำมาใช้ในการรักษาความสะอาดบังกะโลนั้นก็เพื่อประโยชน์แก่ตัวทรัพย์ คือ บังกะโล หาใช่ประโยชน์โดยตรงที่พนักงานโจทก์ได้รับไม่ จึงไม่อาจถือเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มอีก ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) ได้กำหนดชนิดของเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า และประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานแยกออกจากกัน ฉะนั้นในกรณีที่พนักงานโจทก์ได้อยู่บ้านที่โจทก์ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า และโจทก์เป็นผู้จ่ายค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าแก๊สที่พนักงานโจทก์ได้ใช้สิ้นเปลืองไปนั้น ประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับจากการใช้กระแสไฟฟ้า น้ำประปา และแก๊ส ที่โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินให้นี้ เป็นประโยชน์ชนิดหนึ่งต่างจากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่โจทก์จัดให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าถือว่าค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส ค่าน้ำประปาเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานแยกจากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่โจทก์ให้อยู่ ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เพียงแต่กำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวน ในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ภายในกำหนด 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนเท่านั้นมิใช่กำหนดเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน จำนวนเงินที่ต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว ประมวลรัษฎากร มาตรา 20 มิได้กำหนดเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินจำนวนเงินที่จะต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีภายหลัง 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการไว้แล้วจึงกระทำได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่า เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย พ้นกำหนด5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นรายการไว้จึงเป็นการไม่ชอบมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนเนื่องจากพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นรายการ ทั้งมิได้อ้างว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยขาดอายุความแล้ว ฉะนั้นจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนและทำการประเมินเพราะพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นรายการแล้วหรือไม่ และสิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย เงินเพิ่มตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 กำหนดไว้เป็นอัตราแน่นอนมิได้ยกเว้นให้ อาจงดเก็บเสียได้ ส่วนกรณีที่จะลดเงินเพิ่มได้จะต้องเป็นกรณีตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 27(1)(2) บัญญัติไว้คือ ถ้าผู้ต้องเสียหรือนำส่ง ได้นำเงินมาชำระโดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ก็ให้เสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 5แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น หรือถ้าผู้ต้องเสียหรือนำส่งได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือแล้วแต่ได้นำเงินมาชำระภายในสิบวันนับแต่วันได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวน ก็ให้เสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้นข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามที่กฎหมาย ได้บัญญัติไว้ดังกล่าว ฉะนั้นจึงไม่มีเหตุที่จะงดหรือ ลดเงินเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากธุรกิจขนส่ง ต้องใช้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้เป็นกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502มาตรา 8 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ประเภทการขนส่งหรือรับจ้างด้วยยานพาหนะให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 80โจทก์เป็นผู้ประกอบการขนส่ง แม้ พระราชกฤษฎีกา ฉบับนี้ใช้บังคับแก่กรณีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่เมื่อจำเลยนำมาใช้เป็นเกณฑ์หักค่าใช้จ่ายเพื่อประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลก็ต้องหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 80 จะหักเป็นการเหมาร้อยละ 70 โดยอ้างมติ กพอ. ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การหักค่าลดหย่อน และอำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการกำหนดราคาทรัพย์สิน
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินประกอบโฉนดที่ดินทั้ง 4 แปลง ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำต่อเจ้าพนักงานต่างระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินที่โจทก์อ้างว่ามีชื่อถือแทนบิดาซึ่งเป็นคนจีนนั้น ฟังได้ว่าที่ดินเป็นของโจทก์ การขายที่ดินดังกล่าวจึงมิใช่ขายทรัพย์อันเป็นมรดกโจทก์ได้ขายที่ดินดังกล่าวไปในเวลาอันรวดเร็ว แสดงเจตนาว่าซื้อมาเพื่อหากำไร การขายที่ดินทั้ง 4 แปลงของโจทก์จึงมุ่งในทางค้าหรือหากำไร ป.รัษฎากร มาตรา 20 และ 30(2) มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวต่อศาล จะต้องมีเหตุผลอย่างไร และเหตุผลนั้นจะต้องเป็นเหตุผลเช่นเดียวกัน ดังนั้น โจทก์จึงอ้างเหตุที่มิได้อ้างไว้ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ก็เป็นการกล่าวอ้างว่าการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ไม่ชอบ อันเป็นเรื่องเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นศาลได้ เมื่อจำเลยนำสืบได้ว่าการโอนขายที่ดินของโจทก์มีค่าตอบแทนต่ำกว่าที่ควรจะเป็นและต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดราคาทรัพย์สินโดยอาศัย ป.รัษฎากรมาตรา 87 ทวิ(6) ได้และเมื่อเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยทำการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์โดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 หาได้ใช้อำนาจตามมาตรา 29ทวิไม่ เมื่อได้จัดการตามมาตรา 19 และทราบข้อความแล้วเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจที่จะแก้จำนวนเงินที่ประเมิน หรือที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏตามมาตรา 20.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ภาษี: โจทก์อ้างเหตุเพิ่มเติมในชั้นศาลได้ หากเป็นเรื่องเดียวกันกับการอุทธรณ์เดิม
ประมวลรัษฎากร มาตรา 20 และ 30(2) มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวต่อศาลจะต้องมีเหตุผลอย่างไร และเหตุผลนั้นจะต้องเป็นเหตุผลเช่นเดียวกัน การอุทธรณ์ต่อศาลจึงอาจอ้างเหตุอื่นนอกเหนือหรือเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ได้ดังนั้น ที่โจทก์ยกเหตุเกี่ยวกับการที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้นำค่าธรรมเนียมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าอากรแสตมป์กับดอกเบี้ยเงินกู้มาหักเป็นค่าใช้จ่ายและมิได้หักค่าลดหย่อนบุตรให้โจทก์ขึ้นอุทธรณ์ต่อศาล แม้จะมิได้อ้างเหตุดังกล่าวไว้ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ก็เป็นการกล่าวอ้างว่าการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ไม่ชอบอันเป็นเรื่องเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงชอบที่จะอ้างเหตุดังกล่าวในชั้นศาลได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5766/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทภาษีการค้าและภาษีเงินได้ของตัวแทนจำหน่ายต่างประเทศ โดยพิจารณาจากลักษณะการกระทำและผลประโยชน์ที่ได้รับ
การที่จะพิจารณาว่าผู้ประกอบการค้าจะต้องเสียภาษีในประเภทการค้าใด ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้า ท้ายหมวด 4 ตาม ป.รัษฎากรนั้น จะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ได้กระทำการของผู้ประกอบการค้าที่เกิดขึ้นแล้วว่าลักษณะของการกระทำเช่นนั้น เข้าในลักษณะของการประกอบการค้าในประเภทใดตามที่กฎหมายกำหนด จะเอาวัตถุที่ประสงค์ในตราสารของผู้ประกอบการหรือการที่มีบทกฎหมายอื่นบัญญัติเป็นข้อห้ามมิให้กระทำการนั้น มาเป็นตัวกำหนดในการวินิจฉัยว่าผู้ประกอบการค้าได้กระทำการประกอบการค้าที่จะต้องเสียภาษีการค้าในประเภทใดนั้น ย่อมไม่ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 78 วรรคแรก กรณีของโจทก์นั้นมีข้อพิจารณาจากการกระทำที่เกิดขึ้นแล้ว 3 ประการด้วยกันคือ ข้อปฏิบัติของโจทก์กับบริษัท อ. ข้อปฏิบัติของโจทก์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและข้อปฏิบัติขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกับบริษัท อ.ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท อ.ในการปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวนั้น บริษัท อ.จะส่งใบแจ้งราคาและแคตตาล็อกมาให้โจทก์โดยไม่คิดเงิน โจทก์จะต้องจัดให้มีห้องแสดงสินค้าของบริษัท อ.ด้วย และต้องไม่ขายสินค้าชนิดเดียวกันแข่งขันกับบริษัท อ.ทั้งห้ามมิให้โจทก์ส่งสินค้าไปจำหน่ายยังประเทศอื่นและจะเปิดเผยความลับทางธุรกิจให้ผู้อื่นทราบไม่ได้ ส่วนในการที่โจทก์ทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนั้น ราคาสินค้าที่โจทก์จำหน่ายเป็นราคาที่บริษัท อ.เป็นผู้กำหนด องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจะต้องจ่ายเงินให้แก่บริษัท อ.และบริษัท อ.จะรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องของสินค้า การซ่อมแซมสินค้าดังกล่าว บริษัท อ.จะส่งช่างเข้ามาซ่อมในประเทศไทยหรือส่งสินค้าไปให้บริษัท อ.ซ่อมที่ประเทศสวีเดนก็ได้และการจ่ายเงินตามสัญญาระหว่างโจทก์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนั้นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจ่ายให้แก่บริษัท อ.ในประเทศสวีเดน โดยธนาคารโลกเป็นผู้จ่ายให้ในนามขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จากนั้นบริษัท อ.จะส่งราคาส่วนต่างระหว่างราคาตามที่ระบุไว้กับองค์การโทรศัพท์กับราคาที่โจทก์กำหนดไว้กับบริษัท อ.มาให้โจทก์ในประเทศไทย สำหรับสัญญาที่โจทก์ทำกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนั้น โจทก์มิใช่เป็นผู้ที่จะได้รับเงินค่าสินค้าตามสัญญาจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบในการออกของและค่าใช้จ่ายในการขนส่งภายในประเทศรวมทั้งรับผิดชอบในการจัดเก็บอุปกรณ์ด้วย โจทก์ไม่มีหน้าที่อะไรจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับตัวสินค้าที่กำหนดในสัญญา ส่วนองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยคงมีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องส่งเงินค่าสินค้าให้แก่บริษัท อ.และได้ส่งให้ตามสัญญาโดยครบถ้วนแล้ว การกระทำของทั้งสามฝ่ายดังที่กล่าวข้างต้นนั้น ฝ่ายใดจะถือว่าเป็นผู้ขายหรือผู้ซื้อหรือตัวแทนของฝ่ายใดนั้นจะต้องพิจารณาจากความหมายของคำว่า "ขาย" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรมาตรา 77 เสียก่อน ซึ่งจะเห็นได้ว่า คำว่า ขาย นั้น จะต้องมีประโยชน์ตอบแทนด้วย และประโยชน์ตอบแทนในความหมายของมาตรานี้ก็คือราคาอันผู้ประกอบการค้าพึงได้รับจากทรัพย์สินตามราคาตลาดของทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในความหมายของคำว่า "มูลค่า" ดังที่บัญญัติไว้ในมาตราเดียวกัน ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นนั้น บริษัท อ.มิได้รับประโยชน์ตอบแทนจากโจทก์ตามมูลค่าของสินค้าที่มีการขายเลย กลับจะต้องจ่ายเงินให้โจทก์ตามราคาส่วนต่างที่ตกลงกันไว้การกระทำระหว่างโจทก์กับบริษัท อ.จึงมิใช่ลักษณะของคำว่าขายตามนัยแห่งบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อไม่มีการขายระหว่างกันเสียแล้วเช่นนี้ กรณีตามสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท อ.จึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นผู้ซื้อและผู้ขายในระหว่างกันและตามสัญญาที่โจทก์ทำกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยซึ่งได้ปฏิบัติต่อกันเสร็จสิ้นไปแล้วนั้น โจทก์มิได้รับเงินจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นคู่สัญญาตามมูลค่าของสินค้าที่ระบุไว้ในฐานะที่เป็นของตนเองแต่ประการใดข้อปฏิบัติมีการขายระหว่างกัน โจทก์จะนำการกระทำที่ปฏิบัติกันไปแล้วเช่นนั้นมาอ้างว่า กรณีเช่นนี้ตนเป็นผู้ประกอบการค้า ประเภทประกอบการขายของไม่ได้แต่คำว่า ขายนั้นมีขึ้นระหว่างองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกับบริษัท อ.เท่านั้นโจทก์เป็นเพียงผู้ได้รับประโยชน์บางส่วนในจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าของการขายระหว่างคู่กรณี โดยโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนประมาณร้อยละ 4 ของราคาขายมิได้รับค่าตอบแทนที่เป็นส่วนในมูลค่าของสินค้าที่ขายกัน และในกรณีเช่นนี้โจทก์จะไม่มีทางขาดทุนในการขายเลย อันเป็นการผิดหลักของการค้าขายโดยทั่วไปที่อาจจะต้องมีทั้งกำไรและขาดทุน ค่าตอบแทนของโจทก์ในลักษณะอย่างนี้เป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนในการเป็นตัวแทนที่เข้าทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยแทนบริษัท อ.นั่นเอง จึงต้องถือว่ากรณีที่เป็นข้อพิพาทกันนี้โจทก์กระทำการประกอบการค้าในประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทนตามบัญชีอัตราภาษีการค้า
การกระทำของโจทก์ในอาณาเขตของประเทศไทย โจทก์จะต้องจัดให้มีห้องแสดงสินค้าของบริษัท อ.ต้องไม่ขายสินค้าชนิดเดียวกันแข่งกับบริษัท อ. และขายสินค้าของบริษัทดังกล่าวได้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นจะส่งไปจำหน่ายยังประเทศอื่นอีกไม่ได้ ต้องรายงานการขายให้บริษัทดังกล่าวทราบ และจะเปิดเผยความลับทางธุรกิจให้ผู้อื่นทราบไม่ได้ อีกทั้งปรากฏว่าในการประกอบกิจการของโจทก์ ตั้งแต่ปี 2508-2515 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของการประกอบธุรกิจในประเทศไทยของโจทก์ โจทก์ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเพียงพอที่จะประกอบกิจการขายอุปกรณ์โทรคมนาคมขนาดใหญ่ได้ ดังนั้น บริษัท อ.จึงต้องส่งเจ้าหน้าที่ของตนเข้ามาในประเทศไทยเพื่อจำหน่ายสินค้าให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยโดยตรง โจทก์เพียงอำนวยความสะดวกแก่พนักงานของบริษัท อ.ที่เข้ามาจำหน่ายโทรคมนาคมขนาดใหญ่ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเท่านั้น โดยในขณะนั้นโจทก์ไม่มีอำนาจในการเจรจาการทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า ผู้ขายที่แท้จริงคือบริษัท อ. ฐานะของโจทก์เป็นเพียงตัวแทนในการทำสัญญาเท่านั้น การที่โจทก์ตกลงทำสัญญาต่าง ๆ เพื่อหรือแทนบริษัท อ.อันเป็นวิสาหกิจสวีเดนในประเทศไทยโจทก์จึงมีฐานะเป็นสถานประกอบการถาวรของบริษัท อ.อันเป็นวิสาหกิจสวีเดนในอาณาเขตของประเทศไทย ตามที่กำหนดไว้ในความตกลงระหว่างประเทศไทยกับประเทศสวีเดน เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากรายได้และจากทุนข้อ 2 ช. (4) 1. นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาถ้อยคำว่า "สาขา"แล้วไม่มีนิยามไว้เป็นอย่างอื่น ในความตกลงดังกล่าวต้องถือตามความหมายที่กำหนดไว้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77 (2) อันเป็นกฎหมายของรัฐบาลคู่ภาคีตามที่กำหนดไว้ในความตกลงดังกล่าว ข้อ 2 (2) จึงย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ทำสัญญาหรือทำการใด ๆ อันเกี่ยวกับการประกอบการค้าในราชอาณาจักรแทนบริษัท อ. ผู้อยู่นอกราชอาณาจักร จึงต้องถือว่าโจทก์มีสถานะเป็นสาขาของบริษัท อ. อีกฐานะหนึ่งด้วย อันต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ และภาษีที่โจทก์จะต้องเสียในอาณาเขตของรัฐบาลไทยอันเป็นคู่กรณีนั้น ไม่อยู่ในข้อยกเว้นที่โจทก์จะได้รับประโยชน์จากความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน
โจทก์มีฐานะเป็นสาขาและสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยของบริษัท อ.ด้วย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้จ่ายเงินตามสัญญาให้บริษัท อ.โดยโจทก์เป็นตัวแทนในการทำสัญญาซื้อขายในประเทศไทยสัญญาที่โจทก์ทำกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นการซื้อขายที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทางองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องจ่ายเงินตามสัญญาให้บริษัท อ.ในประเทศสวีเดนและได้มีการจ่ายกันไปแล้ว เหตุที่มีข้อสัญญาให้มีการจ่ายเงินในวิธีการดังกล่าวนี้ โจทก์อ้างว่าเพื่อประโยชน์แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่จะไม่ต้องเสียค่าปริวรรตเงินตราถึงสองครั้ง ทำให้ราคาสินค่าต่ำลง แต่เมื่อพิจารณาถึงวิธีการจ่ายเงินตามข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวแล้ว เห็นว่าเป็นสัญญาที่มีข้อตกลงในลักษณะพิเศษ มิได้เป็นไปตามปกติธรรมดาของการซื้อขายสินค้าทั่ว ๆ ไป ที่คู่กรณีในสัญญาจะต้องจ่ายเงินค่าสินค้าให้แก่กัน แต่กลับระบุให้จ่ายแก่บริษัท อ.ซึ่งมิได้ปรากฏในสัญญาว่าเป็นคู่สัญญากัน และการที่ตกลงจ่ายเงินกันในลักษณะอย่างนี้ ไม่อาจมองเห็นได้ว่าจะเป็นเรื่องที่เกิดประโยชน์แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ซื้อในประเทศแต่ประการใด ทั้งนี้เพราะองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยใช้เงินกู้จากธนาคารโลกในการซื้อสินค้าตามสัญญา และธนาคารโลกนั้นมีเงินหลายสกุลที่จะจ่ายให้ แม้กระทั่งเงินในสกุลของประเทศสวีเดนที่บริษัท อ.มีภูมิลำเนาอยู่ ถ้าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจะตกลงจ่ายเงินสกุลนี้ในประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยก็มิต้องเสียค่าปริวรรตเงินตราแต่ประการใด คงมีแต่โจทก์หรือบริษัท อ.เท่านั้นที่จะต้องเสียประโยชน์ในการปริวรรตเงินตราหรือจะต้องเสียประโยชน์ในกรณีที่จะต้องจำหน่ายเงินนี้ออกไปจากประเทศไทย อันเป็นข้อแสดงให้เห็นว่าข้อตกลงนี้มีขึ้นเพื่อที่จะเอื้ออำนวยให้ประโยชน์ตกได้แก่โจทก์และบริษัท อ.ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปริวรรตเงินตราหรือการภาษีอากร ในเมื่อการเช่นนี้ถ้าทำตามหลักการค้าทั่วไปจะต้องมีการจ่ายเงินจำนวนที่ปรากฏตามสัญญาในประเทศไทย และอยู่ในบังคับความรับผิดในเรื่องภาษีอากรตามที่ ป.รัษฎากรกำหนด แต่ด้วยวิธีการในการทำสัญญาของโจทก์เป็นเหตุให้เงินจำนวนมากนี้มิได้เข้าจ่ายในประเทศไทย โจทก์เพียงใช้สถานที่ในประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่โจทก์และบริษัท อ.ในต่างประเทศ โดยที่ประเทศไทยในฐานะเจ้าของพื้นที่ที่ประกอบการให้เกิดประโยชน์นั้นมิได้รับประโยชน์ในเงินส่วนนี้เลย ทั้ง ๆ ที่โดยความชอบธรรมแล้วเงินจำนวนนี้จะต้องตกอยู่ในประเทศไทย กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินดังกล่าวออกไปจากประเทศไทย
ในการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนั้น บริษัท อ.เป็นผู้กำหนดราคาตามสัญญา และบริษัท อ.นั้น ประกอบธุรกิจในการขายเครื่องโทรคมนาคมในหลายประเทศมานานแล้ว แสดงว่าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในเชิงธุรกิจด้านนี้ในระหว่างประเทศ ดังนั้น ในการกำหนดราคาขายจะต้องมีการวิเคราะห์คำนวณถึงส่วนได้เสียที่ตนจะได้รับอย่างครบถ้วนแล้ว คงจะไม่กำหนดราคาขายเพียงเท่าต้นทุนการผลิตของตนและค่าใช้จ่ายที่เห็นชัดแจ้งล่วงหน้าแล้วเท่านั้นจะต้องรวมเอาส่วนที่เป็นผลกำไรไว้ด้วย ทั้งข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่า ในช่วงที่มีการทำสัญญาซื้อขายส่งมอบสินค้าและชำระเงินกันนั้น มีวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่จะทำให้ผลกำไรที่คิดคำนวณไว้ที่จะได้โดยปกติธรรมดาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ทำให้มีการขาดทุนขึ้น ดังนั้น เงินที่โจทก์ในฐานะเป็นสถานประกอบการถาวรของบริษัท อ.จำหน่ายออกไปทั้งหมดนั้น จึงมิใช่เฉพาะส่วนที่เป็นเงินค่าสินค้าเท่านั้นแต่เป็นเงินที่เป็นส่วนของเงินกำไรรวมอยู่ด้วย และกำไรส่วนนี้เป็นกำไรที่เกิดจากการซื้อขายในประเทศไทย มิใช่กำไรส่วนที่อยู่ต่างประเทศ เมื่อโจทก์เป็นผู้ส่งเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้ในจำนวนเงินกำไรที่จำหน่ายนั้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 70 ทวิ
การกระทำของโจทก์ในอาณาเขตของประเทศไทย โจทก์จะต้องจัดให้มีห้องแสดงสินค้าของบริษัท อ.ต้องไม่ขายสินค้าชนิดเดียวกันแข่งกับบริษัท อ. และขายสินค้าของบริษัทดังกล่าวได้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นจะส่งไปจำหน่ายยังประเทศอื่นอีกไม่ได้ ต้องรายงานการขายให้บริษัทดังกล่าวทราบ และจะเปิดเผยความลับทางธุรกิจให้ผู้อื่นทราบไม่ได้ อีกทั้งปรากฏว่าในการประกอบกิจการของโจทก์ ตั้งแต่ปี 2508-2515 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของการประกอบธุรกิจในประเทศไทยของโจทก์ โจทก์ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเพียงพอที่จะประกอบกิจการขายอุปกรณ์โทรคมนาคมขนาดใหญ่ได้ ดังนั้น บริษัท อ.จึงต้องส่งเจ้าหน้าที่ของตนเข้ามาในประเทศไทยเพื่อจำหน่ายสินค้าให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยโดยตรง โจทก์เพียงอำนวยความสะดวกแก่พนักงานของบริษัท อ.ที่เข้ามาจำหน่ายโทรคมนาคมขนาดใหญ่ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเท่านั้น โดยในขณะนั้นโจทก์ไม่มีอำนาจในการเจรจาการทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า ผู้ขายที่แท้จริงคือบริษัท อ. ฐานะของโจทก์เป็นเพียงตัวแทนในการทำสัญญาเท่านั้น การที่โจทก์ตกลงทำสัญญาต่าง ๆ เพื่อหรือแทนบริษัท อ.อันเป็นวิสาหกิจสวีเดนในประเทศไทยโจทก์จึงมีฐานะเป็นสถานประกอบการถาวรของบริษัท อ.อันเป็นวิสาหกิจสวีเดนในอาณาเขตของประเทศไทย ตามที่กำหนดไว้ในความตกลงระหว่างประเทศไทยกับประเทศสวีเดน เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากรายได้และจากทุนข้อ 2 ช. (4) 1. นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาถ้อยคำว่า "สาขา"แล้วไม่มีนิยามไว้เป็นอย่างอื่น ในความตกลงดังกล่าวต้องถือตามความหมายที่กำหนดไว้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77 (2) อันเป็นกฎหมายของรัฐบาลคู่ภาคีตามที่กำหนดไว้ในความตกลงดังกล่าว ข้อ 2 (2) จึงย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ทำสัญญาหรือทำการใด ๆ อันเกี่ยวกับการประกอบการค้าในราชอาณาจักรแทนบริษัท อ. ผู้อยู่นอกราชอาณาจักร จึงต้องถือว่าโจทก์มีสถานะเป็นสาขาของบริษัท อ. อีกฐานะหนึ่งด้วย อันต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ และภาษีที่โจทก์จะต้องเสียในอาณาเขตของรัฐบาลไทยอันเป็นคู่กรณีนั้น ไม่อยู่ในข้อยกเว้นที่โจทก์จะได้รับประโยชน์จากความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน
โจทก์มีฐานะเป็นสาขาและสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยของบริษัท อ.ด้วย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้จ่ายเงินตามสัญญาให้บริษัท อ.โดยโจทก์เป็นตัวแทนในการทำสัญญาซื้อขายในประเทศไทยสัญญาที่โจทก์ทำกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นการซื้อขายที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทางองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องจ่ายเงินตามสัญญาให้บริษัท อ.ในประเทศสวีเดนและได้มีการจ่ายกันไปแล้ว เหตุที่มีข้อสัญญาให้มีการจ่ายเงินในวิธีการดังกล่าวนี้ โจทก์อ้างว่าเพื่อประโยชน์แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่จะไม่ต้องเสียค่าปริวรรตเงินตราถึงสองครั้ง ทำให้ราคาสินค่าต่ำลง แต่เมื่อพิจารณาถึงวิธีการจ่ายเงินตามข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวแล้ว เห็นว่าเป็นสัญญาที่มีข้อตกลงในลักษณะพิเศษ มิได้เป็นไปตามปกติธรรมดาของการซื้อขายสินค้าทั่ว ๆ ไป ที่คู่กรณีในสัญญาจะต้องจ่ายเงินค่าสินค้าให้แก่กัน แต่กลับระบุให้จ่ายแก่บริษัท อ.ซึ่งมิได้ปรากฏในสัญญาว่าเป็นคู่สัญญากัน และการที่ตกลงจ่ายเงินกันในลักษณะอย่างนี้ ไม่อาจมองเห็นได้ว่าจะเป็นเรื่องที่เกิดประโยชน์แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ซื้อในประเทศแต่ประการใด ทั้งนี้เพราะองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยใช้เงินกู้จากธนาคารโลกในการซื้อสินค้าตามสัญญา และธนาคารโลกนั้นมีเงินหลายสกุลที่จะจ่ายให้ แม้กระทั่งเงินในสกุลของประเทศสวีเดนที่บริษัท อ.มีภูมิลำเนาอยู่ ถ้าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจะตกลงจ่ายเงินสกุลนี้ในประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยก็มิต้องเสียค่าปริวรรตเงินตราแต่ประการใด คงมีแต่โจทก์หรือบริษัท อ.เท่านั้นที่จะต้องเสียประโยชน์ในการปริวรรตเงินตราหรือจะต้องเสียประโยชน์ในกรณีที่จะต้องจำหน่ายเงินนี้ออกไปจากประเทศไทย อันเป็นข้อแสดงให้เห็นว่าข้อตกลงนี้มีขึ้นเพื่อที่จะเอื้ออำนวยให้ประโยชน์ตกได้แก่โจทก์และบริษัท อ.ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปริวรรตเงินตราหรือการภาษีอากร ในเมื่อการเช่นนี้ถ้าทำตามหลักการค้าทั่วไปจะต้องมีการจ่ายเงินจำนวนที่ปรากฏตามสัญญาในประเทศไทย และอยู่ในบังคับความรับผิดในเรื่องภาษีอากรตามที่ ป.รัษฎากรกำหนด แต่ด้วยวิธีการในการทำสัญญาของโจทก์เป็นเหตุให้เงินจำนวนมากนี้มิได้เข้าจ่ายในประเทศไทย โจทก์เพียงใช้สถานที่ในประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่โจทก์และบริษัท อ.ในต่างประเทศ โดยที่ประเทศไทยในฐานะเจ้าของพื้นที่ที่ประกอบการให้เกิดประโยชน์นั้นมิได้รับประโยชน์ในเงินส่วนนี้เลย ทั้ง ๆ ที่โดยความชอบธรรมแล้วเงินจำนวนนี้จะต้องตกอยู่ในประเทศไทย กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินดังกล่าวออกไปจากประเทศไทย
ในการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนั้น บริษัท อ.เป็นผู้กำหนดราคาตามสัญญา และบริษัท อ.นั้น ประกอบธุรกิจในการขายเครื่องโทรคมนาคมในหลายประเทศมานานแล้ว แสดงว่าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในเชิงธุรกิจด้านนี้ในระหว่างประเทศ ดังนั้น ในการกำหนดราคาขายจะต้องมีการวิเคราะห์คำนวณถึงส่วนได้เสียที่ตนจะได้รับอย่างครบถ้วนแล้ว คงจะไม่กำหนดราคาขายเพียงเท่าต้นทุนการผลิตของตนและค่าใช้จ่ายที่เห็นชัดแจ้งล่วงหน้าแล้วเท่านั้นจะต้องรวมเอาส่วนที่เป็นผลกำไรไว้ด้วย ทั้งข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่า ในช่วงที่มีการทำสัญญาซื้อขายส่งมอบสินค้าและชำระเงินกันนั้น มีวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่จะทำให้ผลกำไรที่คิดคำนวณไว้ที่จะได้โดยปกติธรรมดาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ทำให้มีการขาดทุนขึ้น ดังนั้น เงินที่โจทก์ในฐานะเป็นสถานประกอบการถาวรของบริษัท อ.จำหน่ายออกไปทั้งหมดนั้น จึงมิใช่เฉพาะส่วนที่เป็นเงินค่าสินค้าเท่านั้นแต่เป็นเงินที่เป็นส่วนของเงินกำไรรวมอยู่ด้วย และกำไรส่วนนี้เป็นกำไรที่เกิดจากการซื้อขายในประเทศไทย มิใช่กำไรส่วนที่อยู่ต่างประเทศ เมื่อโจทก์เป็นผู้ส่งเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้ในจำนวนเงินกำไรที่จำหน่ายนั้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 70 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5668/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้า ต้องพิจารณาเจตนาในการได้มาและขายทรัพย์สิน หากมิได้มีเจตนาค้าหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
แม้โจทก์ที่ 2 จะได้ทำสัญญาว่า ย. เป็นผู้ทำการก่อสร้างแต่การขออนุญาตและการรับเงินทั้งค่าที่ดินและค่าก่อสร้าง โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการและเป็นผู้รับเงินนั้นทั้งหมด นอกจากนี้ การแบ่ง เงินชำระเป็นงวด ๆ ก็ได้คิดราคาทั้งที่ดินและค่าก่อสร้างเข้าด้วยกัน พฤติการณ์เห็นได้ว่า การก่อสร้างตึกแถวรายนี้เป็นการดำเนินการ ของโจทก์ที่ 2เงินค่าก่อสร้างจึงเป็นเงินได้หรือ รายรับของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 ได้แลกเปลี่ยนที่ดินกับกรมธนารักษ์ แล้วนำมา แบ่งแยกเป็นแปลง ๆ และปลูกอาคารขาย เป็นการได้ทรัพย์มาโดย มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร และขายทรัพย์ไปเป็นทางการค้าหรือหากำไรจึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า โจทก์ที่ 2 ได้ทรัพย์สินมาในเบื้องต้นโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เพราะจะใช้เพื่ออยู่อาศัยและต่อมาขายไปราคาเท่าเดิมกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือ หากำไรอันจะต้องเสียภาษีการค้า เงินได้ที่โจทก์ที่ 2 ได้รับจากการขายที่ดินและตึกแถวจะต้อง เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ โจทก์มิได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ว่ามีข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดสนับสนุนให้เห็นว่าโจทก์ไม่ต้อง เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่แจ้งชัด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ พ.ศ. 2528 มาตรา 29 โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อ วันที่ 30มีนาคม 2522,31 มีนาคม 2523 และ 31 มีนาคม 2524 และ เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนโดยมีเหตุอันควร เชื่อว่าโจทก์ ยื่นรายการไว้ไม่ถูกต้องเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2525 จึงเป็นการออก หมายเรียกภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นรายการ และเมื่อนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลายื่นรายการจนถึงวันที่ เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมิน เรียกเก็บภาษีจากโจทก์เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2531 แล้ว ยังอยู่ภายในกำหนด 10 ปีปี เจ้าพนักงานประเมิน จึงมีอำนาจประเมิน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 19แห่ง ป.รัษฎากรได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5668/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้า: การพิสูจน์เจตนาในการค้าและอายุความทางภาษี
แม้โจทก์มีหลักฐานสัญญาที่ทำขึ้นเป็น 3 ฝ่าย คือ โจทก์ผู้ขายที่ดินฝ่ายหนึ่ง ผู้ซื้อฝ่ายหนึ่ง และผู้รับจ้างปลูกสร้างตึกแถวฝ่ายหนึ่ง แต่การขออนุญาตและการรับเงินค่าก่อสร้างโจทก์เป็นผู้ดำเนินการและเป็นผู้รับเงินทั้งหมด นอกจากนี้การแบ่งเงินชำระเป็นงวดของผู้ซื้อก็ได้คิดรวมทั้งค่าที่ดินและค่าก่อสร้างเข้าด้วยกัน ทั้งยังปรากฏว่าโจทก์ได้ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารบนที่ดินก่อนที่ผู้ซื้อจะทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นผู้จัดการขออนุญาตเสียอีก พฤติการณ์ทั้งหมดแสดงว่าการก่อสร้างตึกแถวรายนี้เป็นการดำเนินการของโจทก์ เงินค่าก่อสร้างจึงเป็นเงินได้หรือรายรับของโจทก์ ที่ดินที่ขายไปโจทก์ได้แลกเปลี่ยนกับกรมธนารักษ์ เมื่อได้รับมาแล้วนำมาแบ่งแยกเป็นแปลง ๆ และปลูกอาคารขาย เป็นการได้ทรัพย์มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรและขายทรัพย์ไปเป็นทางค้าหรือหากำไรอันจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเสียภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เมื่อมีการยื่นรายการแล้ว หากเจ้าพนักงานประเมินจะเรียกไต่สวน ก็ให้เรียกภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการและเมื่อนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลายื่นรายการจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บยังอยู่ภายในกำหนด10 ปี เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินโดยอาศัยบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้ โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินและตึกแถวให้ ส.ภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 อยู่อาศัย แต่ในการจดทะเบียนมีชื่อโจทก์ที่ 2 ภริยาชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 กับ ส.เป็นผู้ซื้อ เมื่อซื้อแล้วส.ได้เข้าอยู่อาศัยแต่มิได้ย้ายชื่อเข้าในทะเบียนบ้านเมื่อส.แยกทางกับโจทก์ที่ 1 ก็ได้รับเงินไปจำนวนหนึ่ง จึงได้โอนที่ดินและตึกแถวให้โจทก์ที่ 2 แสดงว่าโจทก์ที่ 2 มิได้ซื้อที่ดินและตึกแถวเพื่อมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ต่อมาโจทก์ที่ 2 ขายที่ดินและตึกแถวดังกล่าวไปในราคาเท่ากับที่ซื้อมา กรณีจึงมิใช่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรอันจะต้องเสียภาษีการค้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5563/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินและตึกแถวเพื่อหากำไร ถือเป็นการค้า ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า
โจทก์กับพวกซื้อที่ดินตามโฉนดรวม 9 แปลง ในปลายปี พ.ศ.2526นำมาขอรวมโฉนดแล้วแบ่งแยกโฉนดเป็นแปลงย่อม และโจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างตึกแถวลงบนที่ดินดังกล่าวแล้วขายที่ดินพร้อมตึกแถวไปเป็นห้อง ๆ ในปี พ.ศ.2527 และ 2528 แสดงว่าโจทก์ขายที่ดินดังกล่าวในทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสีย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5528/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอำเภอใจ และการคิดเงินเพิ่มจากกำหนดเวลาที่ถูกต้อง
ตามคำฟ้อง โจทก์ได้บรรยายถึงวิธีการและหลักเกณฑ์การคำนวณหายอดขายจากกิจการต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ว่าได้มาอย่างไร แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 17 แล้ว โจทก์ไม่จำต้องเสนอพยานหลักฐานและข้ออ้างอิงมาในคำฟ้องเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.5/2527 กำหนดห้ามใช้อำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1) แก่กิจการที่สามารถหาหลัก-ฐานเพื่อคำนวณกำไรสุทธิได้โดยง่าย เช่น กิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลย นั้น ปัญหาข้อนี้จำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้ในคดีสำนวนแรก หรือกล่าวไว้ในคำฟ้องคดีสำนวนหลังจึงเป็นการอุทธรณ์นอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้กิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลยจะสามารถคำนวณหากำไรขั้นต้นได้ โดยนำยอดขายน้ำมันหน้าปั้ม หักด้วยยอดซื้อก็ตาม แต่จำเลยก็เถียงอยู่ว่า กำไรขั้นต้นนี้ไม่อาจถือเป็นกำไรสุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษีได้ จะต้องนำไปหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีอีก และจำเลยส่งบัญชี เอกสาร และหลักฐานประกอบการลงบัญชีให้โจทก์ไม่เพียงพอแก่การคำนวณกำไรสุทธิได้ อีกทั้งเจ้าพนักงาน-ประเมินได้พยายามหาวิธีคำนวณค่าใช้จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยพิจารณาย้อนหลังขึ้นไป3 รอบระยะเวลาบัญชี ก็ไม่สามารถคำนวณหาค่าใช้จ่ายที่แน่นอนได้ เพราะค่าใช้จ่ายแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่สัมพันธ์และสอดคล้องกัน บางปีมีค่าใช้จ่ายบางอย่างสูงแต่บางปีไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นนั้นเลย จึงมีเหตุผลให้รับฟังว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเลย โดยวิธีคำนวณหากำไรสุทธิได้ ชอบที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีจำเลยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1)
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินภาษีไปชำระภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ดังนี้ กำหนดเวลาดังกล่าว เป็นเพียงโจทก์ให้โอกาสจำเลยชำระเงินภาษีแก่โจทก์ ก่อนที่โจทก์จะดำเนิน-การฟ้องคดีต่อศาลหาใช่กำหนดเวลาการเสียภาษีหรือนำส่งภาษีที่บัญญัติไว้ในประมวล-รัษฎากรมาตรา 27 วรรคหนึ่งไม่ ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มคิดตั้งแต่วันครบ-กำหนดเวลาการเสียภาษีหรือนำส่งภาษี มิใช่คิดตั้งแต่วันครบกำหนดเวลาตามหนังสือแจ้ง-การประเมินดังกล่าว
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.5/2527 กำหนดห้ามใช้อำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1) แก่กิจการที่สามารถหาหลัก-ฐานเพื่อคำนวณกำไรสุทธิได้โดยง่าย เช่น กิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลย นั้น ปัญหาข้อนี้จำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้ในคดีสำนวนแรก หรือกล่าวไว้ในคำฟ้องคดีสำนวนหลังจึงเป็นการอุทธรณ์นอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้กิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลยจะสามารถคำนวณหากำไรขั้นต้นได้ โดยนำยอดขายน้ำมันหน้าปั้ม หักด้วยยอดซื้อก็ตาม แต่จำเลยก็เถียงอยู่ว่า กำไรขั้นต้นนี้ไม่อาจถือเป็นกำไรสุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษีได้ จะต้องนำไปหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีอีก และจำเลยส่งบัญชี เอกสาร และหลักฐานประกอบการลงบัญชีให้โจทก์ไม่เพียงพอแก่การคำนวณกำไรสุทธิได้ อีกทั้งเจ้าพนักงาน-ประเมินได้พยายามหาวิธีคำนวณค่าใช้จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยพิจารณาย้อนหลังขึ้นไป3 รอบระยะเวลาบัญชี ก็ไม่สามารถคำนวณหาค่าใช้จ่ายที่แน่นอนได้ เพราะค่าใช้จ่ายแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่สัมพันธ์และสอดคล้องกัน บางปีมีค่าใช้จ่ายบางอย่างสูงแต่บางปีไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นนั้นเลย จึงมีเหตุผลให้รับฟังว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเลย โดยวิธีคำนวณหากำไรสุทธิได้ ชอบที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีจำเลยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1)
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินภาษีไปชำระภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ดังนี้ กำหนดเวลาดังกล่าว เป็นเพียงโจทก์ให้โอกาสจำเลยชำระเงินภาษีแก่โจทก์ ก่อนที่โจทก์จะดำเนิน-การฟ้องคดีต่อศาลหาใช่กำหนดเวลาการเสียภาษีหรือนำส่งภาษีที่บัญญัติไว้ในประมวล-รัษฎากรมาตรา 27 วรรคหนึ่งไม่ ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มคิดตั้งแต่วันครบ-กำหนดเวลาการเสียภาษีหรือนำส่งภาษี มิใช่คิดตั้งแต่วันครบกำหนดเวลาตามหนังสือแจ้ง-การประเมินดังกล่าว