พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,786 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกเสร็จสิ้นแล้ว ทายาทไม่มีสิทธิฟ้องขอส่วนแบ่งเพิ่มเติม แม้จะฟ้องภายในอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกภายหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายเป็นเวลาถึง 37 ปีเศษ จึงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ซึ่งต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แต่หากโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกันก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1748 แล้ว
ทรัพย์มรดกที่ดินของ ผ. เจ้ามรดกได้แบ่งปันให้แก่ ร. บ. และ ส. ทายาทของผ. และบุคคลทั้งสามดังกล่าวเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัด อันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคแรก จึงถือว่าการแบ่งปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว และนับแต่นั้นมาย่อมถือว่า บุคคลทั้งสามครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตน มิใช่ครอบครองแทนโจทก์ซึ่งเป็นทายาท ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งมรดกอีก
ทรัพย์มรดกที่ดินของ ผ. เจ้ามรดกได้แบ่งปันให้แก่ ร. บ. และ ส. ทายาทของผ. และบุคคลทั้งสามดังกล่าวเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัด อันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคแรก จึงถือว่าการแบ่งปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว และนับแต่นั้นมาย่อมถือว่า บุคคลทั้งสามครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตน มิใช่ครอบครองแทนโจทก์ซึ่งเป็นทายาท ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งมรดกอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดา แม้เกิดจากบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (4) นั้น ต้องถือความเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตามความเป็นจริง ผู้ร้องเป็นบุตรนาง น. ผู้ตายเป็นบุตรนาง ท. โดยมีนาย ท. เป็นบิดาเดียวกัน แม้ผู้ร้องและผู้ตายเป็นบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายของนาย ท. ก็ถือว่าผู้ร้องและผู้ตายเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ผู้ร้องจึงเป็นทายาท โดยธรรม ตามบทกฎหมายข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พี่น้องร่วมบิดา แม้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็มีสิทธิรับมรดก
การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(4) นั้น นอกจากกฎหมายมิได้กำหนดว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน จะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาเดียวกันแล้ว การที่จะตีความบทกฎหมายดังกล่าวว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาเดียวกันผลก็จะกลายเป็นว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะมีได้แต่เฉพาะเมื่อการสมรสระหว่างบิดากับมารดาคนก่อนสิ้นสุดลงแล้วเท่านั้น ซึ่งเป็นการตีความที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวแคบเกินกว่าบทบัญญัติตามตัวอักษรของกฎหมายและมิใช่ความมุ่งหมายของบทบัญญัติที่ให้ทายาทโดยธรรมซึ่งอยู่ในฐานะเป็นญาติสนิทที่ใกล้ชิดที่สุดอยู่ในลำดับมีสิทธิรับมรดกก่อนหลังและตัดญาติห่างซึ่งอยู่ในลำดับถัดลงไปไม่ให้มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1630 ทั้งการเป็นพี่น้องด้วยกันนี้ก็หามีบทบัญญัติให้เกิดสิทธิหน้าที่ต่อกันเหมือนเช่นการเกิดสิทธิหน้าที่ระหว่างบิดากับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไม่ ฉะนั้น การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจึงต้องถือตามความเป็นจริง เมื่อผู้ร้องและผู้ตายต่างมีบิดาคนเดียวกัน แม้จะเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาก็ถือว่าผู้ร้องกับผู้ตายเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(4) เมื่อผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมในลำดับอื่นที่สูงกว่าผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนผู้คัดค้านที่เข้ารับมรดกแทนที่บิดาซึ่งเป็นลุงของผู้ตายถือเป็นทายาทในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามมาตรา 1630 จึงไม่มีส่วนได้เสียที่จะยื่นคำร้องคัดค้านการที่ผู้ร้องขอจัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น: สิทธิในทรัพย์สินของบริษัทไม่ใช่สินสมรสหรือมรดก
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจาก ต. ซึ่งเป็นสามีของผู้ร้องสอดที่ 1 และบิดาของผู้ร้องสอดที่ 2 การที่ ต. และผู้ร้องสอดที่ 1เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทโจทก์และ ต. เคยเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัทโจทก์รวมทั้งเคยเป็นกรรมการบริหารบริษัทโจทก์มาก่อน ก็หาก่อให้ ต. เกิดสิทธิหรือหน้าที่ใด ๆในทรัพย์สินหรือหนี้สินของโจทก์เป็นการส่วนตัวไม่ หาก ต. นำสินสมรสระหว่าง ต. กับผู้ร้องสอดที่ 1 ไปลงทุนซื้อหุ้นของโจทก์ ต. คงมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งเท่านั้นการที่โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามสัญญาซื้อขายและฟ้องเรียกเงินค่าสินค้าจากจำเลยหากโจทก์ชนะคดี เงินค่าสินค้าที่จำเลยต้องชำระย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ต. หาได้มีสิทธิใด ๆ ในเงินค่าสินค้าดังกล่าวไม่ จึงไม่ใช่เป็นสินสมรสหรือเป็นทรัพย์มรดกของ ต. จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเงินค่าสินค้าที่โจทก์ฟ้อง ที่จะขอให้ศาลให้ความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิเรียกร้องในเงินค่าสินค้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ไม่มีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถูกกำจัดมิให้รับมรดกต้องเป็นทายาทขณะเจ้ามรดกถึงแก่กรรม และการแบ่งมรดกตามสัดส่วน
ทายาทที่จะถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1605 มุ่งเฉพาะบุคคลที่เป็นทายาทของเจ้ามรดกขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายฉะนั้น เมื่อขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม มีทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิได้รับมรดก คือ พ. ซึ่งเป็นสามีโจทก์ที่ 1 จำเลย อ. และ ซ. มารดาของผู้ตาย แม้ว่าโจทก์ที่ 1 จะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ พ. แต่จะมีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายก็เพียงในฐานะผู้สืบสิทธิของ พ. โดยรับมรดกเฉพาะส่วนของ พ. เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 1 เป็นทายาทอันจะถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9750/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสัญญาประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์เสียชีวิตพร้อมกัน สิทธิยังไม่เกิด ไม่เป็นมรดก แต่ตกแก่ทายาท
ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ถึงแก่ความตายพร้อมกัน สิทธิของผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย จึงยังไม่เกิด จึงไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของผู้รับประโยชน์ เงินตามสัญญาประกันชีวิตก็ไม่ใช่ทรัพย์มรดกที่ ผู้เอาประกันภัยมีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย แต่แม้มิใช่มรดกของผู้เอาประกันภัยเพราะได้มาหลังจากผู้เอาประกันถึง แก่ความตายแล้ว จึงต้องอาศัยกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง เงินดังกล่าวจึงตกแก่ทายาท โดยธรรมของผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9504/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดก vs. สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก: ผลต่ออำนาจการเป็นผู้จัดการมรดก
บันทึกข้อตกลงตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านและ ว. ทำกันหน้าเจ้าพนักงานตำรวจมีข้อความชัดแจ้งว่า ผู้ร้องและ ว. ขอสละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านและยอมให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์มรดกแต่เพียงผู้เดียว แต่การเจาะจงให้ทรัพย์มรดกแก่ผู้คัดค้านเช่นนี้เป็นการยกทรัพย์มรดกส่วนของตนให้แก่ทายาทคนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่การสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 อย่างไรก็ดีแม้ข้อตกลงระหว่างผู้ร้องและ ว. ฝ่ายหนึ่งกับผู้คัดค้านอีกฝ่ายหนึ่ง ดังกล่าว จะไม่ใช่หนังสือสละมรดกตามกฎหมายแต่ก็มีลักษณะเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก เมื่อทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อไว้ในหนังสือดังกล่าวแล้ว ย่อมผูกพันคู่สัญญาตามมาตรา 1750 วรรคสองผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกและไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้ตั้ง ว. เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8676/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในโฉนดที่ดินมรดก: การส่งมอบโฉนดคืนผู้จัดการมรดก แม้มีการทำประโยชน์ในที่ดิน แต่ไม่ถือเป็นการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องเรียกต้นฉบับโฉนดที่ดินพิพาท ซึ่งมีชื่อผู้ตายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จากจำเลย หาใช่ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยไม่ แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทก็ถือว่าจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องคืนต้นฉบับโฉนดเท่านั้น จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ชอบแล้ว
เดิมที่ดินเป็นที่ดินมือเปล่าที่เจ้ามรดกมอบให้จำเลยเข้าทำนาจำเลยเป็นผู้ดูแลแทนผู้ตายซึ่งป่วยเป็นอัมพาต และผู้ตายมอบให้จำเลยดำเนินการออกโฉนดที่ดินแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับในกรรมสิทธิ์ของผู้ตายว่ามีเหนือที่ดินโดยสมบูรณ์ จำเลยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อแสดงว่าตนครอบครองปรปักษ์หรือเมื่อโจทก์ขอออกใบแทนโฉนดที่ดินจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งสิทธิต่อเจ้าพนักงานที่ดิน พยานหลักฐานของจำเลยไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ที่ว่า ถ้าทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง
เดิมที่ดินเป็นที่ดินมือเปล่าที่เจ้ามรดกมอบให้จำเลยเข้าทำนาจำเลยเป็นผู้ดูแลแทนผู้ตายซึ่งป่วยเป็นอัมพาต และผู้ตายมอบให้จำเลยดำเนินการออกโฉนดที่ดินแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับในกรรมสิทธิ์ของผู้ตายว่ามีเหนือที่ดินโดยสมบูรณ์ จำเลยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อแสดงว่าตนครอบครองปรปักษ์หรือเมื่อโจทก์ขอออกใบแทนโฉนดที่ดินจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งสิทธิต่อเจ้าพนักงานที่ดิน พยานหลักฐานของจำเลยไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ที่ว่า ถ้าทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8485/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากสวนยางหลังเจ้ามรดกเสียชีวิตไม่ใช่ส่วนแบ่งมรดก แต่เป็นดอกผลของทรัพย์สิน
รายได้จากการกรีดยางที่ได้มาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว มิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดก แต่เป็นดอกผลของที่ดินทรัพย์มรดกตกได้แก่เจ้าของที่ดินตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336และ 1360 โจทก์ทราบดีว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกได้นำน้ำยางไปจำหน่ายหารายได้ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีก่อนขอแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกและศาลฎีกาได้พิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยแบ่งที่ดินแก่โจทก์โดยที่ดินดังกล่าวเป็นสวนยางพารามีรายได้จากการกรีดยางตั้งแต่ขณะโจทก์ฟ้องคดี ก่อนซึ่งจำเลยได้เอาไว้เป็นประโยชน์แต่ฝ่ายเดียวโจทก์ชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบรายได้จากการกรีดยางดังกล่าวแก่โจทก์เสียในคราวเดียวกัน แต่กลับมาฟ้องเรียกร้องเป็นคดีนี้ จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8286/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น ฟ้องแบ่งมรดกไม่ขาดอายุความ แม้มีการโอนทรัพย์สินให้ผู้จัดการมรดก
ครั้งแรกที่ ล. โอนที่ดินมรดกของ ท. มาเป็นของตนในฐานะผู้จัดการมรดกเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นทุกคน แม้จะมีการโอนที่ดินมรดกดังกล่าวมาเป็นของ ล. ในฐานะส่วนตัวแล้วก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าได้เปลี่ยนเจตนาการครอบครองที่ดินมรดกแทนทายาททุกคนมาเป็นการครอบครองในฐานะส่วนตัวโดยเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวเพราะ ล. ยังมิได้บอกกล่าวไปยังทายาททุกคนว่าไม่มีเจตนายึดถือทรัพย์แทนทายาททุกคนต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ทั้งปรากฏว่าก่อนหน้านี้ ล. ได้ถูก ป. ยื่นฟ้องในอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นเรื่องขอแบ่งมรดก คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่า ล. ครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกับ ส. กับ ป. ทายาทผู้ตายต้องถือว่าครอบครองแทนทายาทของ ส. คำพิพากษาจึงผูกพันล. และจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ล. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ต้องถือว่า ล. ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นอยู่เช่นเดิม ล. ยังคงมีหน้าที่จะต้องจัดแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามสิทธิของทายาทที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้น การจัดการมรดกยังมิได้เสร็จสิ้นจึงจะนำอายุความ 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1733 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ