พบผลลัพธ์ทั้งหมด 543 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6304/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริต - ยักยอกทรัพย์ - รับของโจร: การมอบทรัพย์สินด้วยความจำยอมมิใช่เจตนาทุจริต
การที่ ส. เช่ารถยนต์ของกลางมาจากโจทก์ร่วม ต่อมาเจ้าหนี้ของ ส. ยึดรถยนต์ของกลางไป และจำเลยได้ครอบครองรถยนต์ของกลางนั้นไว้ แสดงว่า ส. มิได้สมัครใจในการมอบรถยนต์ของกลางให้เจ้าหนี้ไป หากแต่เกิดเพราะความจำยอม จึงฟังไม่ได้ว่า ส. มีเจตนาทุจริตกระทำผิดฐานยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วมแต่ประการใด การกระทำของจำเลยจึงไม่อาจเป็นความผิดฐานรับของโจรจากผู้กระทำผิดฐานยักยอกทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3256/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของนายธนาคาร และการรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญา
จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ร่วม ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ร่วม กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตเบียดบังยักยอกเงินของลูกค้าที่จำเลยรับฝากไว้แทนโจทก์ร่วมเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ร่วมโดยโจทก์ร่วมต้องใช้เงินให้แก่ลูกค้าไป โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย โจทก์ส่งสำเนาใบรับฝากเงิน เนื่องจากต้นฉบับหาไม่พบประกอบกับจำเลยไม่ได้คัดค้านว่าสำเนาใบรับฝากเงินไม่ถูกต้องอย่างไร จึงรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 238 วรรคหนึ่ง จำเลยรับฝากเงินรวม 2 ครั้ง แล้วไม่นำเงินไปมอบให้พนักงานรักษาเงินของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยที่รับฝากเงินและไม่ส่งมอบเงินแต่ละครั้งเป็นความผิดเป็นกรรม ๆ ไป จึงเป็นความผิดหลายกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับยักยอกทรัพย์มรดก ขึ้นอยู่กับความเป็นผู้เสียหายตามพินัยกรรมและสถานะผู้จัดการมรดก
ข้อความตามพินัยกรรม เอกสารหมาย จ.2 ระบุว่า ตั้งนางจรรยา ส.ตันสกุล ซึ่งเป็นมารดาของจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกและระบุให้อำนาจผู้จัดการมรดกจัดแบ่งทรัพย์มรดก ส่วนที่เหลืออีก1 ส่วน แก่ผู้อยู่ในสกุล ส.ตันสกุล ตามแต่ผู้จัดการมรดกจะเห็นสมควร โจทก์จึงมิได้เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมและจำเลยไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์มรดกได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทรัพย์สินราชการชำรุดโดยสุจริตและนำเงินซื้อทรัพย์สินทดแทน ไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
จำเลยขายซากเรือที่ชำรุดใช้การไม่ได้โดยเปิดเผยและสุจริตใจเพียงแต่ไม่ได้ขออนุมัติขายตามระเบียบของทางราชการแล้วจำเลยนำเงินที่ขายได้ซื้อรถตัดหญ้าในราคาสูงกว่าราคาที่ขายเรือได้ 400 บาท ให้แก่ทางราชการในทันทีแสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ของทางราชการเป็นของตนหรือของผู้อื่น จึงไม่ผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 จำเลยได้นำเรือลำใหม่มาใช้แทนเรือลำเก่าที่ขายไปให้แก่กรมชลประทานแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องคืนหรือใช้ราคาเรือแก่ทางราชการกรมชลประทานอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อกล่าวหายักยอกทรัพย์แตกต่างจากข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ ศาลไม่สามารถลงโทษได้
จำเลยไม่ได้เบิกเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยคนไข้นอกจากบัญชีเงินฝากของโรงพยาบาลซึ่งเป็นเงินงบประมาณแผ่นดิน แล้วเบียดบังไปดังที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง แต่จำเลยเบียดบังเงินสดอันเป็นรายได้ของโรงพยาบาลที่ได้รับมาในวันเกิดเหตุ ซึ่งไม่ใช่เงินที่เบิกมาจากเงินงบประมาณแผ่นดินของโรงพยาบาลเงินที่จำเลยเบียดบังไปเป็นเงินคนละจำนวนกับที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกไปข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอกเงินดังกล่าวได้ตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความยักยอกทรัพย์ & อำนาจทนายความรับเงินแทนลูกความ คดีขาดอายุความหากเกิน 3 เดือน และทนายความไม่มีอำนาจรับเงินแทน
การที่ผู้เสียหายมีหนังสือร้องเรียนต่อประธานคณะกรรมการมรรยาททนายความให้ดำเนินการแก่จำเลย ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายรู้เรื่องการยักยอกเงินและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตั้งแต่วันมีหนังสือดังกล่าวเป็นอย่างช้า แต่ผู้เสียหายเพิ่งมาร้องทุกข์และมอบคดีต่อพนักงานสอบสวนเกินกำหนด 3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามป.อ. มาตรา 96 เมื่อผู้เสียหายไม่ได้มอบหมายให้จำเลยมีอำนาจรับเงินจากค. แทนผู้เสียหาย จำเลยในฐานะทนายความของผู้เสียหายจึงเพียงแต่มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนผู้เสียหายได้เท่านั้น ไม่มีอำนาจที่จะรับเงินซึ่งจะชำระแก่ผู้เสียหาย เงินที่จำเลยรับไว้จาก ค. จึงยังไม่ใช่เป็นเงินของผู้เสียหายแม้จะฟังว่าจำเลยได้เบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวไว้เป็นของตนโดยทุจริต ก็ยังไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความรับเงินแทนลูกหนี้โดยไม่ได้รับมอบหมาย ไม่ถือเป็นการยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหาย
จำเลยได้รับแต่งตั้งจากผู้เสียหายให้เป็นทนายความโดยมิได้รับมอบหมายให้รับเงินแทนผู้เสียหาย จำเลยในฐานะเป็นทนายความของผู้เสียหายจึงเพียงแต่มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆแทนผู้เสียหายได้เท่านั้น ไม่มีอำนาจที่จะรับเงินซึ่งลูกหนี้จะชำระแก่ผู้เสียหาย ผู้เสียหายจ้างจำเลยเป็นทนายความให้ฟ้องเรียกเงินกู้จากค.ต่อมาผู้เสียหายกับค. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดย ค. ยอมชำระเงิน 45,000 บาท แก่ผู้เสียหาย ชำระให้ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ 10,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 35,000บาท จะผ่อนชำระ ต่อมา ค. ได้นำเงิน 35,000 บาท ที่เหลือไปชำระให้แก่จำเลย จำเลยรับเงินจำนวน 35,000 บาท โดยผู้เสียหายไม่ได้มอบหมายให้จำเลยมีอำนาจรับเงินจาก ค. แทนผู้เสียหายฉะนั้น เงินที่จำเลยรับไว้จาก ค. จึงยังมิใช่เป็นเงินของผู้เสียหาย แม้จำเลยได้เบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวไว้เป็นของตนโดยทุจริตก็ตาม ก็ยังไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความรับเงินแทนลูกความโดยไม่ได้รับมอบหมาย ไม่ถือเป็นการยักยอกทรัพย์
จำเลยได้รับแต่งตั้งจากผู้เสียหายให้เป็นทนายความของผู้เสียหายโดยมิได้รับมอบหมายให้รับเงินแทนผู้เสียหาย ดังนั้นจำเลยในฐานะเป็นทนายความของผู้เสียหายจึงเพียงแต่มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนผู้เสียหายได้เท่านั้น จำเลยหามีอำนาจที่จะรับเงินซึ่งจะชำระแก่ผู้เสียหายไม่ ผู้เสียหายจ้างจำเลยเป็นทนายความให้ฟ้องเรียกเงินกู้จาก ค.ต่อมาผู้เสียหายกับ ค.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยค.ยอมชำระเงิน 45,000 บาท แก่ผู้เสียหาย ชำระให้ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ 10,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 35,000 บาทจะผ่อนชำระ ต่อมา ค.ได้นำเงิน 35,000 บาท ที่เหลือไปชำระให้แก่จำเลย จำเลยรับเงินดังกล่าวโดยผู้เสียหายไม่ได้มอบหมายให้จำเลยมีอำนาจรับเงินจาก ค.แทนผู้เสียหาย ฉะนั้น เงินที่จำเลยรับไว้จาก ค. จึงยังมิใช่เป็นเงินของผู้เสียหาย แม้จะฟังว่าจำเลยได้เบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวไว้เป็นของตนโดยทุจริตก็ตามก็ยังไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยโจทก์จึงไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 190/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษฐานยักยอกทรัพย์ แม้ฟ้องขอลงโทษฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลอุทธรณ์พิพากษาได้หากไม่ใช่ต่างกันในสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335,357 ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหายตามมาตรา 352 วรรคสอง แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม ถือว่าข้อแตกต่างดังกล่าวระหว่างความผิดฐานลักทรัพย์ รับของโจร ยักยอกมิใช่ต่างกันในข้อสาระสำคัญไม่เกินคำขอ หรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ จึงลงโทษจำเลยฐานยักยอกทรัพย์สินหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: คดีอาญา (ยักยอกทรัพย์) มีอายุความยาวกว่าคดีแพ่ง จึงใช้บังคับ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์ได้ยักยอกเงินค่าสินค้าของโจทก์ไป เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเป็นความผิดมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี มีอายุความที่จะต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำผิดมายังศาลภายใน 10 ปี นับแต่วันที่กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448วรรคแรก จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่ามาบังคับตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองบัญญัติไว้จะนำอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448วรรคแรก มาบังคับแก่จำเลยที่ 1 ตลอดทั้งจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหาได้ไม่