พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6207/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ต้องพิจารณาการยินยอมของผู้ปกครองหรือผู้ดูแล หากมีการยินยอม การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด
เด็กชาย ด. มีอายุไม่เกิน 15 ปี หลังจากบิดามารดาของเด็กชาย ด. ถึงแก่ความตาย จ. ผู้เสียหายซึ่งเป็นพี่สาวของบิดาเด็กชาย ด.ได้เป็นผู้ดูแลเด็กชายด. ตลอดมา จ. อนุญาตให้จำเลยพาเด็กชาย ด. ไปทำงานที่กรุงเทพมหานครตามที่จำเลยร้องขอ ไม่ปรากฏว่า การขออนุญาตของจำเลยดังกล่าวมีเลศนัยอันส่อให้เห็น ถึงความไม่สุจริตของจำเลยแต่อย่างใด การที่ จ. อนุญาตให้จำเลยพาเด็กชาย ด. ไป ทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจาก ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก ส่วนกรณีที่เด็กชาย ด. ได้หายไปหลังจากไปอยู่กรุงเทพมหานครกับจำเลยนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ไม่ทำให้จำเลย ต้องรับผิดตามบทมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6207/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี: การยินยอมของผู้ดูแลทำให้ไม่เป็นความผิด
เด็กชายด. มีอายุไม่เกิน 15 ปี หลังจากบิดามารดาของเด็กชายด. ถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายซึ่งเป็นพี่สาวของบิดาเด็กชายด.เป็นผู้ดูแลเด็กชายด.ตลอดมาการที่ผู้เสียหายเป็นผู้อนุญาตให้จำเลยพาเด็กชายด. ไปทำงานที่กรุงเทพมหานครตามที่จำเลยร้องขอ ไม่ปรากฏเลศนัยอันส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลย ดังนี้ การที่จำเลยพาเด็กชายด. ไป การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจาก ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรกส่วนกรณีที่เด็กชายด. ได้หายไปหลังจากไปอยู่กรุงเทพมหานครนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ไม่ทำให้จำเลยต้องรับผิด ตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4134/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภรรยาให้ความยินยอมสัญญาค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันร่วม
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และจำเลยที่ 3 ในฐานะภรรยาของจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือให้ความยินยอมในการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1ดังกล่าวไว้ต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นคู่สมรสของจำเลยที่ 2 ได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 2 ในการทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3ได้ร่วมรับรู้หนี้ที่จำเลยที่ 2 ก่อขึ้นในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว กรณีต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) หนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 กระทำไปจึงเป็นหนี้ร่วม จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วมในฐานะผู้ค้ำประกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปรียบเทียบปรับ พ.ร.บ.โรงงาน: จำเป็นต้องยินยอมก่อนส่งเรื่องให้คณะกรรมการ
กรณีตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 มาตรา 65 เมื่อคดีถึงพนักงานสอบสวน การที่พนักงานสอบสวนจะส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีได้นั้น ผู้ต้องหานั้นต้องแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับเสียก่อน ผู้ต้องหานั้นจะแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับในระหว่างการพิจารณาของศาลหาได้ไม่
คดีนี้จำเลยไม่ได้แสดงความยินยอมต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ พนักงานสอบสวนย่อมไม่จำต้องส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีก่อน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดี โดยไม่ได้ส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจึงมิใช่เป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คดีนี้จำเลยไม่ได้แสดงความยินยอมต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ พนักงานสอบสวนย่อมไม่จำต้องส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีก่อน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดี โดยไม่ได้ส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจึงมิใช่เป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีโรงงาน: การยินยอมเปรียบเทียบปรับต้องแจ้งพนักงานสอบสวนก่อน
กรณีตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 65เมื่อคดีถึงพนักงานสอบสวน การที่พนักงานสอบสวนจะส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีได้นั้น ผู้ต้องหานั้นต้องแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับเสียก่อน ผู้ต้องหานั้นจะแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับในระหว่างการพิจารณา ของศาลหาได้ไม่ คดีนี้จำเลยไม่ได้แสดงความยินยอมต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ พนักงานสอบสวนย่อมไม่จำต้องส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีก่อน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดี โดยไม่ได้ส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจึงมิใช่ เป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวม - เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายที่ดิน - การยินยอม - อายุความ
คดีก่อนมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ต้องไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่ แต่ในคดีนี้มีประเด็นว่า โจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยทั้งสองหรือไม่ นอกจากนี้แล้วโจทก์ก็เพียงแต่ยื่นคำร้องสอดเพื่อขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีก่อน แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ฉะนั้นโจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีฐานะเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ทั้งมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 ด้วย
การยินยอมให้ผู้เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเจ้าของรวมคนอื่นไว้นั้น เป็นความตกลงที่บุคคลสามารถกระทำได้ด้วยไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อของตน แม้จะเป็นด้วยเหตุผลอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม การกระทำเช่นว่านั้นก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นโมฆะ ดังนั้น หากโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนหนึ่ง และจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งนำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปทำสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยที่ 2โดยโจทก์มิได้ยินยอม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้
โจทก์ได้อ้างส่งบันทึกเกี่ยวกับการแบ่งส่วนที่ดินต่อศาล แม้เป็นสำเนาเอกสาร แต่เจ้าพนักงานศาลก็ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว และในเวลาต่อมาโจทก์ก็ได้ส่งต้นฉบับต่อศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ส่วนการพิสูจน์ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือปลอมนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการนำสืบแสดงของคู่ความ
การพิสูจน์ว่าผู้ซึ่งไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารแสดง จึงหาอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ไม่ โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลได้
จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาททั้งแปลงรวมทั้งส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นไม่ทราบเรื่องและมิได้ให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสองอีกทั้งคดีนี้ก็เป็นกรณีโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมมาแต่แรก แต่ลงชื่อจำเลยที่ 1ถือกรรมสิทธิแทนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยการมาตกลงให้ถือกรรมสิทธิ์รวมในภายหลังอันจะต้องตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งที่จะต้องมีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนและการที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นเพียงแต่ตกลงยินยอมให้ลงชื่อจำเลยที่ 1ผู้เดียวในโฉนดที่ดินพิพาทโดยมิได้มีพฤติการณ์อื่นใดอีกนั้น ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นการเชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็มิได้ร่วมอยู่ด้วย ฉะนั้น โจทก์จึงมิใช่ตัวการที่จะต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้
การยินยอมให้ผู้เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเจ้าของรวมคนอื่นไว้นั้น เป็นความตกลงที่บุคคลสามารถกระทำได้ด้วยไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อของตน แม้จะเป็นด้วยเหตุผลอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม การกระทำเช่นว่านั้นก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นโมฆะ ดังนั้น หากโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนหนึ่ง และจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งนำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปทำสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยที่ 2โดยโจทก์มิได้ยินยอม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้
โจทก์ได้อ้างส่งบันทึกเกี่ยวกับการแบ่งส่วนที่ดินต่อศาล แม้เป็นสำเนาเอกสาร แต่เจ้าพนักงานศาลก็ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว และในเวลาต่อมาโจทก์ก็ได้ส่งต้นฉบับต่อศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ส่วนการพิสูจน์ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือปลอมนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการนำสืบแสดงของคู่ความ
การพิสูจน์ว่าผู้ซึ่งไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารแสดง จึงหาอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ไม่ โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลได้
จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาททั้งแปลงรวมทั้งส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นไม่ทราบเรื่องและมิได้ให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสองอีกทั้งคดีนี้ก็เป็นกรณีโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมมาแต่แรก แต่ลงชื่อจำเลยที่ 1ถือกรรมสิทธิแทนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยการมาตกลงให้ถือกรรมสิทธิ์รวมในภายหลังอันจะต้องตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งที่จะต้องมีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนและการที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นเพียงแต่ตกลงยินยอมให้ลงชื่อจำเลยที่ 1ผู้เดียวในโฉนดที่ดินพิพาทโดยมิได้มีพฤติการณ์อื่นใดอีกนั้น ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นการเชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็มิได้ร่วมอยู่ด้วย ฉะนั้น โจทก์จึงมิใช่ตัวการที่จะต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ใช้ที่ดินไม่ถือเป็นการบุกรุก กรณีพิพาทค่าเช่าเป็นเรื่องแพ่ง
โจทก์ยินยอมให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าปลูกร้านค้าเพื่อขายของในที่ดินของโจทก์ ดังนี้การที่จำเลยเข้าปลูกร้านค้าเพื่อขายของในที่ดินของโจทก์จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก คดีโจทก์จึงไม่มีมูลที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
เหตุที่โจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์เนื่องมาจากโจทก์ขอเก็บเงินค่าที่ดินตามเจตนาของโจทก์ที่ประสงค์ให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าปลูกร้านค้าขายของ แต่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าเช่าที่ดินแก่โจทก์จึงเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทกันในทางแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้เช่าที่ดินเป็นรายวันและในวันเกิดเหตุโจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์แล้วกลับเข้ามาใหม่อีกพฤติการณ์จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำต่อเนื่องมาจากวันเกิดเหตุ ย่อมไม่มีความผิดฐานบุกรุก
เหตุที่โจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์เนื่องมาจากโจทก์ขอเก็บเงินค่าที่ดินตามเจตนาของโจทก์ที่ประสงค์ให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าปลูกร้านค้าขายของ แต่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าเช่าที่ดินแก่โจทก์จึงเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทกันในทางแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้เช่าที่ดินเป็นรายวันและในวันเกิดเหตุโจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์แล้วกลับเข้ามาใหม่อีกพฤติการณ์จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำต่อเนื่องมาจากวันเกิดเหตุ ย่อมไม่มีความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้เช่าที่ดินช่วงเทศกาล ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก หากมีข้อพิพาทเรื่องค่าเช่า
โจทก์ยินยอมให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าปลูกร้านค้าเพื่อขายของในที่ดินของโจทก์ ดังนี้การที่จำเลยเข้าปลูกร้านค้าเพื่อขายของในที่ดินของโจทก์จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุกคดีโจทก์จึงไม่มีมูลที่ศาลจะรับไว้พิจารณา เหตุที่โจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์เนื่องมาจากโจทก์ขอเก็บเงินค่าที่ดินตามเจตนาของโจทก์ที่ประสงค์ให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าปลูกร้านค้าขายของ แต่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าเช่าที่ดินแก่โจทก์จึงเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทกันในทางแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้เช่าที่ดินเป็นรายวันและในวันเกิดเหตุโจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์แล้วกลับเข้ามาใหม่อีกพฤติการณ์จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำต่อเนื่องมาจากวันเกิดเหตุ ย่อมไม่มีความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยา: ความยินยอมทำนิติกรรมถือเป็นการให้สัตยาบันหนี้
หนี้ตามสัญญากู้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1สามีจำเลยที่ 2 ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส แม้หนี้ตามสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1และสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองจะเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่หนังสือให้ความยินยอมของจำเลยที่ 2 เป็นหนังสือที่ให้ความยินยอมในการที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามสัญญากู้เงินและจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว หนี้ตามสัญญากู้เงินตามฟ้องที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490(4) จำเลยที่ 2 ในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคน: การยินยอมและผลผูกพันสัญญา
ศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยที่ 1 และ ท.เป็นผู้จัดการมรดกของ ป.ร่วมกัน และตาม ป.พ.พ.มาตรา 1726 ก็มิได้มีความหมายว่าการกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหลายคนนั้น ต้องร่วมกันทำหรือร่วมกันลงชื่อในนิติกรรมทุกคน ดังนั้นการที่ ท.ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกเพียงผู้เดียวหากได้รับความยินยอมพร้อมใจของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งแล้วก็ต้องถือว่าเป็นการจัดการมรดกร่วมกันแล้ว
ขณะที่ ท.ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ป.ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ป.ร่วมกับ ท.ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่า ท.ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ นอกจากนี้หลังจาก ป.ถึงแก่กรรม ท.ได้ไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนบุตรทุกคนและได้เรียกประชุมทายาท ประกอบทั้งบรรดาทายาทของ ป.ไม่เคยโต้แย้งคัดค้านการที่ ท.ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์เลยนับตั้งแต่วันทำสัญญาจนกระทั่ง ท.ถึงแก่กรรมเป็นเวลาถึง 6 ปีเศษ ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมของ ป.ร่วมรู้เห็นและทราบมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า ท. ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์ ทั้งก่อนจะทำสัญญาดังกล่าว ท.ได้ปรึกษากับบรรดาทายาทแล้ว กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยินยอมพร้อมใจให้ ท. ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์ ซึ่งต้องถือว่าเป็นการจัดการมรดกร่วมกันตาม ป.พ.พ มาตรา 1726 แล้ว สัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงผูกพันจำเลยจำเลยที่ 1 และทายาทของ ป.
ขณะที่ ท.ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ป.ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ป.ร่วมกับ ท.ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่า ท.ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ นอกจากนี้หลังจาก ป.ถึงแก่กรรม ท.ได้ไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนบุตรทุกคนและได้เรียกประชุมทายาท ประกอบทั้งบรรดาทายาทของ ป.ไม่เคยโต้แย้งคัดค้านการที่ ท.ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์เลยนับตั้งแต่วันทำสัญญาจนกระทั่ง ท.ถึงแก่กรรมเป็นเวลาถึง 6 ปีเศษ ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมของ ป.ร่วมรู้เห็นและทราบมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า ท. ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์ ทั้งก่อนจะทำสัญญาดังกล่าว ท.ได้ปรึกษากับบรรดาทายาทแล้ว กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยินยอมพร้อมใจให้ ท. ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์ ซึ่งต้องถือว่าเป็นการจัดการมรดกร่วมกันตาม ป.พ.พ มาตรา 1726 แล้ว สัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงผูกพันจำเลยจำเลยที่ 1 และทายาทของ ป.