คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระงับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด
++ คดีแดงที่ 4800 - 5216/2534
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 7 มีนาคม 2534มีความว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาททั้งปวงดังต่อไปนี้ (1) ลูกจ้างตกลงยินยอมรับค่าชดเชยตามกฎหมายเนื่องจากบริษัทได้เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2534 ไว้ตามจำนวนที่ตกลงกันถูกต้องแล้วในขณะทำสัญญานี้ (2) บริษัทตกลงยอมจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว (3) ลูกจ้างยอมรับว่าการที่บริษัทได้เลิกจ้างครั้งนี้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว (4) ลูกจ้างสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ จากบริษัทอีก หมายความว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีอยู่นั้น ให้ถือตามความที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเงินใด ๆ รวมทั้งค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่มีข้อพิพาทกันอยู่ก่อนวันทำสัญญานี้เป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าวอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดระงับด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความ
ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่โจทก์เรียก เป็นค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่มีมาก่อนวันที่ 7 มีนาคม 2534 ซึ่งเป็น วัน ที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่า "ทั้งสอง ฝ่าย ตกลงระงับข้อพิพาททั้งปวง" หมายความว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ก่อนวันทำสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีอยู่ให้ถือตามความที่ตกลงกันไว้ ในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ ซึ่งในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ตามจำนวนที่ตกลงกัน และโจทก์ ได้ตกลงไว้ในสัญญาข้อ 4 ว่าจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ จากจำเลย อีก กรณีจึงเป็นที่เห็นได้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ เกี่ยวกับเงินใด ๆ รวมทั้งค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด ที่มีข้อพิพาทกัน อยู่ก่อนวันทำสัญญานี้เป็นอันระงับไปโดยผลของ สัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 852.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวทำให้สิทธิฟ้องระงับ
(คำสั่งศาลฎีกาที่ 2573/2534) คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีอาญาทำให้สิทธิฟ้องระงับ การถอนคำร้องขอถอนฟ้องเป็นไปไม่ได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัวในชั้นฎีกาตามคำร้องขอถอนฟ้องระบุว่าจำเลยทั้งสองได้นำเงิน 40,000 บาทมาชำระให้แก่โจทก์พร้อมใบคู่มือจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ โดยสัญญาว่าจะทำการโอนทะเบียนกรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์แก่โจทก์ภายใน 10 วันหากไม่สามารถโอนได้ จะยอมรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ 20,000 บาทโจทก์จึงไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไป จึงขอถอนฟ้อง และท้ายคำร้องจำเลยก็ได้ร่วมลงลายมือชื่อด้วย ดังนี้ ตามคำร้องขอถอนฟ้องดังกล่าวเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตั้งแต่มีการยอมความกันตามป.วิ.อ. มาตรา 35 (2) โจทก์จึงไม่อาจมายื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอถอนฟ้องในภายหลังอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีอาญาและการระงับสิทธิเรียกร้อง โดยการถอนฟ้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัวในชั้นฎีกาตามคำร้องขอถอนฟ้องระบุว่าจำเลยทั้งสองได้นำเงิน 40,000 บาทมาชำระให้แก่โจทก์พร้อมใบคู่มือจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ โดยสัญญาว่าจะทำการโอนทะเบียนกรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์แก่โจทก์ภายใน 10 วัน หากไม่สามารถโอนได้ จะยอมรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์20,000 บาท โจทก์จึงไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไปจึงขอถอนฟ้อง และท้ายคำร้องจำเลยก็ได้ร่วมลงลายมือชื่อด้วยดังนี้ ตามคำร้องขอถอนฟ้องดังกล่าวเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตั้งแต่มีการยอมความกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)โจทก์จึงไม่อาจมายื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอถอนฟ้องในภายหลังอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5704/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังเช็คปฏิเสธ ทำให้คดีอาญาตาม พ.ร.บ. เช็ค ระงับ
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ควันที่ 1 มิถุนายน 2530 ต่อมาวันที่ 12 มิถุนายน 2530 จำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ เป็นการชำระเงินตามเช็คใน 15 วันนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงิน คดีเป็นอันเลิกกันตามความหมายแพ่ง ป.วิ.อ.ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 5สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5704/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังเช็คปฏิเสธ ทำให้คดีอาญาจากเช็คระงับตามกฎหมาย
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ควันที่ 1 มิถุนายน 2530ต่อมาวันที่ 12 มิถุนายน 2530 จำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ เป็นการชำระเงินตามเช็คใน 15 วันนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงิน คดีเป็นอันเลิกกันตามความหมายแพ่ง ป.วิ.อ.ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 5สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันระงับข้อเรียกร้องทั้งหมด
โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้งเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งชำระเงินแก่ตน ครั้นถึงวันนัดสืบพยาน คู่ความยอมตกลงกันตามที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ย ศาลแรงงานกลางจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความและได้มีคำพิพากษาตามยอม ในวันนั้นตามข้อ 2 แห่งสัญญาประนีประนอมยอมความได้ระบุไว้ว่า โจทก์จำเลยต่างไม่ติดใจเรียกร้องอื่นใดกันอีก ซึ่งหมายความว่า จำเลยได้สละข้อเรียกร้องของตนตามฟ้องแย้งแล้ว ถือว่าข้อเรียกร้องตามฟ้องแย้งของจำเลยได้ระงับสิ้นไปด้วยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 และคำพิพากษาตามยอมของศาลแรงงานกลาง ได้พิพากษารวมถึงข้อเรียกร้องตามฟ้องแย้งของจำเลยด้วยแล้ว ศาลแรงงานกลางจึงไม่จำต้องมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีบุกรุก: การฟ้องเกิน 1 ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครอง ทำให้สิทธิฟ้องระงับ แม้จำเลยยังไม่ได้ให้การ
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุก ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทในขณะฟ้องคดีนี้ตามที่บรรยายมาในฟ้อง การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้ออกจากที่ดินพิพาทและห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทมาพร้อมกับฟ้องคดีอาญา ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง เมื่อปรากฏจากคำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนดังกล่าวว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องแม้จำเลยจะยังมิได้ให้การต่อสู้คดี ปัญหาเรื่องสิทธิฟ้องร้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4601/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อทรัพย์สินสูญหาย ผู้เช่าซื้อไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อคงเหลือ แต่ต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เหมาะสม
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่ง เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 567 นอกจากนี้ตามหนังสือบอกกล่าวของทนายโจทก์ถึงจำเลยทั้งสองก็ระบุชัดว่าโจทก์เลิกสัญญา จึงฟังได้ว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระต่อไปแม้ตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 5จะระบุให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าเช่าซื้อจนครบในกรณีที่ทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้ออีกต่อไปก็ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ตกลงชำระค่าเสียหายเท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างให้แก่โจทก์ในกรณีนี้ซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่ศาลมีอำนาจลดหย่อนลงได้หากเห็นว่าค่าเสียหายที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินควร เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อไปตามสัญญาข้อ 7 แต่จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตรารอยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
of 20