พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทำสัญญาซื้อขายกับบริษัทที่ตนเองเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ไม่ถือว่ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์ตนเอง หากการจัดซื้อเป็นไปตามระเบียบและราคาต่ำกว่างบประมาณ
ผู้ที่จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152จะต้องเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น เมื่อปรากฏว่าในการจัดซื้อดินถมพร้อมบดอัดแน่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นั้น เทศบาลได้ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบของทางราชการและราคาที่ตกลงซื้อก็ต่ำกว่าราคาที่เทศบาลตั้งงบประมาณไว้ แสดงว่าการจัดซื้อดินดังกล่าวจำเลยที่ 1 ในฐานะนายกเทศมนตรีได้กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ของตนไม่ได้มุ่งหวังประโยชน์ของเทศบาลเป็นสำคัญ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ก็ตามกรณีก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยการทำสัญญาซื้อขายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 152 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ก็ไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมหย่าที่ชอบด้วยกฎหมาย และผลสมบูรณ์ของการจดทะเบียนหย่า แม้ไม่แจ้งตามระเบียบ
การทำหนังสือยินยอมหย่าจะทำกันที่ไหนก็ได้ก่อนจดทะเบียนการหย่าเมื่อโจทก์และ ว. ทำหนังสือยินยอมหย่ากัน ณ ที่ว่าการอำเภอก่อนที่จะจดทะเบียนการหย่าโดยทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อและมีพยานสองคนลงลายมือชื่อครบถ้วน จึงเป็นหนังสือยินยอมหย่าที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514 วรรคสอง การที่โจทก์และ ว. นำหนังสือยินยอมหย่าไปแสดงและเจ้าพนักงานได้จดทะเบียนหย่าให้ตามความต้องการแล้ว การหย่าย่อมมีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 และพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 18 แม้นายทะเบียนจะมิได้แจ้งการจดทะเบียนการหย่าไปยังที่ว่าการอำเภอที่จดทะเบียนสมรสหรือสำนักงานทะเบียนกลางตามระเบียบการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2483ก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4121/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของกรรมการรับจ่ายเงินที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบและปล่อยปละละเลยให้เกิดการยักยอกเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่ จ. ยักยอกเงินไปได้เป็นเพราะจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่วางระเบียบการเก็บรักษาเงินและเบิกจ่ายเงินเพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดฉวยโอกาสเอาเงินไปใช้ส่วนตัว ได้ละเลยไม่วางข้อกำหนดการเบิกจ่ายเงินจากธนาคารอย่างเช่นผู้อื่นพึงปฏิบัติคือยินยอมให้ จ. เบิกเงินของทางราชการไปได้ ดังนี้คำฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดแล้วว่าความประมาทเลินเล่อของจำเลย ที่ 1 คือ การไม่วางข้อกำหนดหรือระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากธนาคารตามหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้ จ. เบิกเงินของทางราชการไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวได้ ทั้งจำเลยที่ 1 ได้ให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยที่ 1ไม่ต้องรับผิดเพราะไม่มีอำนาจหน้าที่กำหนดระเบียบการเก็บรักษาเงินและการเบิกจ่ายเงิน การที่ จ. ยักยอกเงินไปได้มิใช่เพราะข้อกำหนดหรือระเบียบบกพร่องและมิใช่เพราะจำเลย ที่ 1 ยินยอมให้จ. เบิกเงินจากธนาคารได้แต่อย่างใดแต่เป็นเพราะเหตุอื่นซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 ก็เข้าใจข้ออ้างที่โจทก์อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดีจึงให้การกล่าวแก้เช่นนั้น ส่วนข้อกำหนดการเบิกจ่ายเงินจะต้องวางอย่างไรและการที่จำเลยที่ 1 มิได้วางข้อกำหนดดังกล่าวเป็นเหตุให้จ. ยักยอกเงินไปได้อย่างไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการรับเงินจะต้องปฏิบัติตามระเบียบร่วมกับ จ. ให้เสร็จสิ้นทุกขั้นตอน จนถึงการโอนเงินเข้าบัญชีที่ธนาคารและจัดเก็บเอกสารให้ถูกต้องตามระเบียบการที่จำเลยที่ 2 มิได้ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในบางขั้นตอนและจำเลย ที่ 3มิได้จัดการเกี่ยวกับเอกสารการโอนเงินให้เป็นไปตามระเบียบโดยมิได้นำเข้าเก็บรักษาในตู้นิรภัย แต่ยอมให้ จ. เก็บไว้เอง เป็นเหตุให้ จ. ยักยอกเงินของโจทก์ทั้งสี่ไปได้ถือว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ แม้ รากฏว่ามีการปล่อยปละละเลยให้จ. ปฏิบัติหน้าที่เพียงคนเดียวมานานก็ไม่เป็นเหตุผลที่จำเลยที่ 2ที่ 3 จะอ้าง เพื่อให้พ้นผิด จำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ต้องวางข้อกำหนดเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากธนาคาร โดยให้มีบุคคลสองหรือสามคนลงชื่อร่วมกัน ทั้งไม่ปรากฏว่าการเบิกจ่ายเงินจากธนาคารของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอก่อนหน้าจำเลยที่ 1 ย้ายมาดำรงตำแหน่งศึกษาธิการอำเภอ มี วิธีการแตกต่างไปจากเมื่อจำเลยที่ 1 ย้ายมาดำรงตำแหน่งแล้ว การที่จำเลยที่ 1 มิได้วางข้อกำหนดดังกล่าว ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าจำเลยที่ 1ประมาทเลินเล่อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงแรมต้องรับผิดต่อความเสียหายรถยนต์ของผู้เข้าพัก หากระเบียบจำกัดความรับผิดไม่ชัดเจนและผู้เข้าพักไม่ได้ตกลง
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยอ้างว่าได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องบังคับจำเลย โดยนำเอาสัญญาเช่าซื้อมานำสืบประกอบฐานะของผู้เอาประกันภัยว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ มิได้นำสืบบังคับตามสัญญาเช่าซื้อโดยตรง แม้สัญญาเช่าซื้อมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้
จำเลยประกอบธุรกิจโรงแรมมีระเบียบว่าผู้เข้าพักต้องแจ้งให้ทางจำเลยทราบว่ามีรถยนต์เข้ามาจอดในที่จอดรถด้วย เพื่อจะได้จัดพนักงานดูแล มิฉะนั้นหากเกิดความเสียหายหรือสูญหายจำเลยจะไม่รับผิดชอบ ต่อมา ร.ได้เข้าพักในโรงแรมจำเลยโดยนำรถยนต์ไปจอดในที่จอดรถของโรงแรมจำเลย แต่ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบ เมื่อปรากฏว่า ร.มิได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวของจำเลย ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 677จำเลยจะบอกปัดความรับผิดไม่ได้
เมื่อรถยนต์ของ ร.หายไปจากที่จอดรถของโรงแรมจำเลย ร.ได้แจ้งให้ พ.ซึ่งเป็นผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมจำเลยทราบ แต่ พ.ปฏิเสธความรับผิด ดังนี้ ถือได้ว่า ร.บอกกล่าวให้จำเลยทราบแล้ว เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามสัญญาประกันภัยและรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยเช่นนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน
จำเลยประกอบธุรกิจโรงแรมมีระเบียบว่าผู้เข้าพักต้องแจ้งให้ทางจำเลยทราบว่ามีรถยนต์เข้ามาจอดในที่จอดรถด้วย เพื่อจะได้จัดพนักงานดูแล มิฉะนั้นหากเกิดความเสียหายหรือสูญหายจำเลยจะไม่รับผิดชอบ ต่อมา ร.ได้เข้าพักในโรงแรมจำเลยโดยนำรถยนต์ไปจอดในที่จอดรถของโรงแรมจำเลย แต่ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบ เมื่อปรากฏว่า ร.มิได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวของจำเลย ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 677จำเลยจะบอกปัดความรับผิดไม่ได้
เมื่อรถยนต์ของ ร.หายไปจากที่จอดรถของโรงแรมจำเลย ร.ได้แจ้งให้ พ.ซึ่งเป็นผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมจำเลยทราบ แต่ พ.ปฏิเสธความรับผิด ดังนี้ ถือได้ว่า ร.บอกกล่าวให้จำเลยทราบแล้ว เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามสัญญาประกันภัยและรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยเช่นนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงแรมต้องรับผิดชอบความเสียหายรถยนต์ของผู้เข้าพัก หากระเบียบยกเว้นความรับผิดไม่ชัดเจนและผู้เข้าพักไม่ได้ตกลง
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยอ้างว่าได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องบังคับจำเลย โดยนำเอาสัญญาเช่าซื้อมานำสืบประกอบฐานะของผู้เอาประกันภัยว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ มิได้นำสืบบังคับตามสัญญาเช่าซื้อโดยตรง แม้สัญญาเช่าซื้อมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ จำเลยประกอบธุรกิจโรงแรมมีระเบียบว่าผู้เข้าพักต้องแจ้งให้ทางจำเลยทราบว่า มีรถยนต์เข้ามาจอดในที่จอดรถด้วย เพื่อจะได้จัดพนักงานดูแล มิฉะนั้นหากเกิดความเสียหายหรือสูญหายจำเลยจะไม่รับผิดชอบ ต่อมา ร. ได้เข้าพักในโรงแรมจำเลยโดยนำรถยนต์ไปจอดในที่จอดรถของโรงแรมจำเลย แต่ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบเมื่อปรากฏว่า ร. มิได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวของจำเลย ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 677 จำเลยจะบอกปัดความรับผิดไม่ได้ เมื่อรถยนต์ของ ร.หายไปจากที่จอดรถของโรงแรมจำเลยร.ได้แจ้งให้ พ. ซึ่งเป็นผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมจำเลยทราบ แต่พ.ปฏิเสธความรับผิดดังนี้ถือได้ว่าร. บอกกล่าวให้จำเลยทราบแล้ว เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามสัญญาประกันภัยและรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยเช่นนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาฝึกอบรมต่างประเทศและการเลิกจ้างที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ หากบริษัทเลิกจ้างไม่ถูกต้อง ผู้รับทุนไม่ต้องชดใช้เบี้ยปรับ
สัญญารับทุนไปฝึกอบรมต่างประเทศ มีข้อกำหนดไว้ว่าถ้าผู้รับทุนไม่ทำงานให้แก่บริษัทครบตามระยะเวลาทำงานขั้นต่ำหรือผู้รับทุนถูกบริษัทเลิกจ้างก่อนสิ้นสุดระยะเวลาทำงานขั้นต่ำ ไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ เว้นแต่กรณีบริษัทเลิกจ้างโดยฝ่าฝืนระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท ผู้รับทุนต้องใช้เงินเบี้ยปรับแก่บริษัทนั้นข้อความที่ระบุว่า "เว้นแต่กรณีบริษัทเลิกจ้างโดยฝ่าฝืน ระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท" มีความหมายว่า บริษัทเลิกจ้างผู้รับทุนโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท เมื่อระเบียบข้อบังคับในการทำงานของโจทก์ระบุเกี่ยวกับการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไว้ว่าละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร ดังนี้ การที่จำเลยผู้รับทุนละทิ้งหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 4 ถึง 16 พฤษภาคม 2533 เป็นเวลา 13 วันติดต่อกันโจทก์จึงเลิกจ้างจำเลยโดยถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฉะนั้นจำเลยต้องชดใช้เงินเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อความเสียหายจากลูกน้องละเมิด และการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคลอันเป็นส่วนราชการ ทราบรายงานสรุปผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนและวินิจฉัยสั่งการเกี่ยวกับผู้รับผิดในทางแพ่งเมื่อวันที่ 9 มีนาคม2527 ถือว่าโจทก์เพิ่งรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันนั้น โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2528 ยังไม่ล่วงพ้นระยะเวลา 1 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
อ.นำเอกสารที่ทำปลอมขึ้นเสนอต่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 โดยไม่ผ่านจำเลยที่ 1 ที่ 2 ก่อนตามระเบียบ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 แต่ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในทางแพ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเรื่องละเมิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 อันได้แก่การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ กรณีนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ประมาทเลินเล่อมิได้
จำเลยที่ 3 ที่ 4 จ่ายเงินยืม-ทดรองราชการแก่ อ. ทั้งที่อ. มิได้เสนอผ่านขั้นตอนตามระเบียบ นอกจากนี้ยังมิได้เรียกหนังสือมอบฉันทะจาก อ. และมิได้ดำเนินการทวงถามเงินยืมคืนจากผู้ยืม เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับจากวันรับเงินอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทำให้ อ. สามารถกระทำการทุจริตได้การที่ อ. กระทำการทุจริตได้ จึงเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว
จำเลยที่ 3 ที่ 4 มีหน้าที่ชดใช้เงินแก่โจทก์ หากโจทก์จะได้รับชำระหนี้จาก อ. และ ฉ. ในคดีที่โจทก์ฟ้อง อ. และ ฉ.ให้รับผิดต่อโจทก์ อันเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 เพราะอาจไม่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์อีก ก็เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีต่อไป หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้จึงหาซ้ำซ้อนกับคดีดังกล่าวไม่.
อ.นำเอกสารที่ทำปลอมขึ้นเสนอต่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 โดยไม่ผ่านจำเลยที่ 1 ที่ 2 ก่อนตามระเบียบ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 แต่ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในทางแพ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเรื่องละเมิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 อันได้แก่การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ กรณีนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ประมาทเลินเล่อมิได้
จำเลยที่ 3 ที่ 4 จ่ายเงินยืม-ทดรองราชการแก่ อ. ทั้งที่อ. มิได้เสนอผ่านขั้นตอนตามระเบียบ นอกจากนี้ยังมิได้เรียกหนังสือมอบฉันทะจาก อ. และมิได้ดำเนินการทวงถามเงินยืมคืนจากผู้ยืม เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับจากวันรับเงินอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทำให้ อ. สามารถกระทำการทุจริตได้การที่ อ. กระทำการทุจริตได้ จึงเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว
จำเลยที่ 3 ที่ 4 มีหน้าที่ชดใช้เงินแก่โจทก์ หากโจทก์จะได้รับชำระหนี้จาก อ. และ ฉ. ในคดีที่โจทก์ฟ้อง อ. และ ฉ.ให้รับผิดต่อโจทก์ อันเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 เพราะอาจไม่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์อีก ก็เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีต่อไป หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้จึงหาซ้ำซ้อนกับคดีดังกล่าวไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนย้ายน้ำตาลทรายผิดกฎหมาย: ลูกจ้างผู้ขับรถไม่มีความผิดฐานสนับสนุน หากไม่ทราบระเบียบ
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 44(7),71และมาตรา 76 ได้บัญญัติเอาผิดและลงโทษแก่โรงงานและผู้แทนนิติบุคคลที่ขนย้ายน้ำตาลทรายที่ผลิตได้ออกนอกบริเวณโรงงานโดยฝ่าฝืนระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดเมื่อปรากฏว่า จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างของม. เจ้าของรถยนต์บรรทุกคันที่บรรทุกน้ำตาลทรายออกนอกบริเวณโรงงาน จำเลยจึงมิใช่โรงงานหรือบุคคลที่กฎหมายระบุให้ถือว่าเป็นผู้กระทำผิดเช่นเดียวกับนิติบุคคลซึ่งได้กระทำความผิด จำเลยย่อมขาดลักษณะหรือคุณสมบัติเฉพาะตัวอันเป็นองค์ประกอบความผิด จึงไม่อาจเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับโรงงานได้ การที่จะลงโทษบุคคลฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดใดจะต้องได้ความว่าบุคคลนั้นมีเจตนาที่จะสนับสนุนการกระทำความผิดนั้น โดยรู้ว่าตนได้ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิด การขนย้ายน้ำตาลทรายออกนอกบริเวณโรงงานมิใช่เป็นการกระทำผิดเสมอไป จะเป็นความผิดต่อเมื่อการขนย้ายนั้นฝ่าฝืนระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด ระเบียบดังกล่าวนี้มีว่าอย่างไรล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริง ถึงแม้จะมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็หาใช่ข้อกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยทราบระเบียบของคณะกรรมการ จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดจำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่ามีผู้กระทำผิดต่อพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 44(7) โดยใช้รถยนต์บรรทุกของกลางขนย้ายน้ำตาลทรายดิบที่ผลิตได้ออกนอกบริเวณโรงงาน โดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดก็ตาม แต่สาระสำคัญของการกระทำความผิดดังกล่าวอยู่ที่ว่า ขนย้ายน้ำตาลทรายดิบโดยมิได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ และในการขนย้ายไม่มีหนังสืออนุญาตกำกับการขนย้ายเท่านั้น รถยนต์บรรทุกและน้ำตาลทรายดิบของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิดอันจะพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินยืมทดรองจ่าย-การหักล้างบัญชี-หลักฐานค่าใช้จ่าย-ภาระหนี้-การปฏิบัติตามระเบียบ
จำเลยยืมเงินทดรองจ่ายไปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ในกิจการของโจทก์ เมื่อปฏิบัติหน้าที่เสร็จแล้วจำเลยต้องนำใบสำคัญคู่จ่ายและเงินสดคงเหลือมาหักล้างเมื่อเอกสารใบสำคัญที่จำเลยนำมาหักล้างเงินยืมบางส่วนมีข้อความเป็นภาษาต่างประเทศโดยไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำนวนเงินที่ระบุในเอกสารดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายของจำเลยที่จะนำมาหักล้างเงินยืมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เงินบำรุงการศึกษาต้องเป็นไปตามระเบียบ หากนำไปใช้ในกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ถือเป็นละเมิดทำให้เกิดความเสียหาย
เงินบำรุงการศึกษามีระเบียบให้ใช้เฉพาะเพื่อกิจการของสถานศึกษาเท่านั้น น้ำดื่มสำหรับครูไม่ใช่กิจการของสถานศึกษา และโจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจัดหา จำเลยจึงไม่มีอำนาจนำเงินบำรุงการศึกษามาจ่ายได้
จำเลยจ่ายเงินบริจาคจำนวน 15,800 บาทไปโดยไม่มีอำนาจแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า ยอดรายจ่ายที่จ่ายไปโดยชอบจะสูงกว่ายอดรายรับ ก็ถือได้ว่าเงินที่จำเลยจ่ายไปโดยมิชอบนั้นทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์
จำเลยจ่ายเงินบริจาคจำนวน 15,800 บาทไปโดยไม่มีอำนาจแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า ยอดรายจ่ายที่จ่ายไปโดยชอบจะสูงกว่ายอดรายรับ ก็ถือได้ว่าเงินที่จำเลยจ่ายไปโดยมิชอบนั้นทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์