คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระเบียบข้อบังคับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยแรงงาน: การจ่ายเงินบำเหน็จสูงกว่าค่าชดเชยตามระเบียบข้อบังคับ ไม่ถือเป็นการสละสิทธิเรียกร้อง
นโยบายทั่วไปเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นระเบียบข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ว่า พนักงานผู้ซึ่งได้รับการปลดเพราะเกษียณอายุจะได้รับเงินค่าชดเชยตามกฎหมายซึ่งบริษัท (จำเลย)มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือที่จะมีขึ้นในอนาคตหรือเงินบำเหน็จมีจำนวนเท่ากับเงินเดือนสุดท้ายเป็นมูลฐานการคำนวณหนึ่งเดือนต่อจำนวนหนึ่งปีแห่งการทำงานบริบูรณ์ต่อเนื่องกันทุก ๆ ปี การทำงานให้แก่บริษัทตามแต่จำนวนเงินใดจะมากกว่ากันโดยบริษัทจะเป็นผู้ออกเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ โจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุจำนวนเงินบำเหน็จมากกว่าค่าชดเชย โจทก์จึงเลือกรับเงินบำเหน็จและลงลายมือชื่อสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าการจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับดังกล่าวมีผลเป็นการจ่ายค่าชดเชย ด้วยการสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ไม่มีผลใช้บังคับโจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3003/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง นายจ้างไม่อาจออกระเบียบตัดสิทธิลูกจ้างได้
ค่าชดเชยเป็นเงินที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้าง หากนายจ้างไม่ปฏิบัติย่อมมีความผิดตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ข้อ 8 นายจ้างจึงจะออกระเบียบข้อบังคับใดๆ ในทางตัดสิทธิในการที่จะได้รับค่าชดเชยหาได้ไม่ แม้จำเลยจะมีอำนาจออกระเบียบข้อบังคับใช้กับพนักงานของจำเลยก็ตาม แต่การที่จำเลยกำหนดในระเบียบว่า การเลิกจ้างพนักงานมีสิทธิได้รับเงินชดเชยหรือบำเหน็จตามระเบียบของจำเลยหรือสิทธิตามกฎหมายแรงงานอย่างใดอย่างหนึ่งและปรากฏว่าจำเลยเพียงจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์ เท่ากับตัดสิทธิโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ระเบียบดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ หากไม่มีระบุเหตุร้ายแรง ต้องตักเตือนก่อน
ลูกจ้างมาทำงานสายและประพฤติไม่สมควรต่อผู้บังคับบัญชาแต่ไม่มีในข้อบังคับว่าเป็นกรณีฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรงที่จะให้ออกโดยไม่ต้องตักเตือนก่อน นายจ้างต้องใช้ค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2146/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนทางวินัยต้องมีผู้แทนสหภาพแรงงานเฉพาะกรณีจับกุมเท่านั้น
แม้ระเบียบข้อบังคับของกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้จำเลยเช่าโรงงานจะวางข้อกำหนดให้มีการสอบสวนโดยมีผู้แทนสหภาพแรงงานของโรงงานเข้าร่วมด้วยเมื่อมีการจับกุมคนงานหรือสมาชิกสหภาพแรงงานของโรงงานในกรณีที่สงสัยว่ากระทำการทุจริตในบริเวณโรงงานแต่กรณีของโจทก์หาได้มีการจับกุมโจทก์หรือผู้ใดไม่จำเลยตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาโทษโจทก์ทั้งสองทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเท่านั้นกรณีจึงไม่ต้องตั้งผู้แทนสหภาพแรงงานเข้าร่วมสอบสวนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธินายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน การเล่นการพนันในบริษัทเป็นเหตุร้ายแรง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนั้น มีกฎหมายบังคับให้นายจ้างจะต้องจัดให้มีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 68ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง จะต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและต้องมีรายการต่าง ๆ ตามที่ข้อ 68 กำหนดไว้ซึ่งข้อ 68(6) มีรายการเรื่องวินัยและโทษทางวินัยด้วยฉะนั้น นายจ้างจึงมีสิทธิที่จะออกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าการเล่นการพนันในบริเวณบริษัทเป็นความผิดสถานหนักมีโทษถึงปลดออกหรือไล่ออก และไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยได้ ส่วนการจ่ายค่าชดเชย ต้องบังคับตามข้อ 47(3)ของประกาศกระทรวงมหาดไทย ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
การเล่นการพนันในบริเวณบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเวลาในขณะปฏิบัติงานหรือนอกเวลาก็ตาม นอกจากจะเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมายอาญาแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรมทำลายความสามัคคีในระหว่างหมู่คณะ ทำให้ผลงานของลูกจ้างลดน้อยลง และอาจทำให้บริษัทจำเลยได้รับความเสียหายทางชื่อเสียง การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่ร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าพนักงานไปรษณีย์ต่อความเสียหายของสิ่งของที่ส่ง หากความเสียหายมิได้เกิดจากการกระทำของตน
ระเบียบการส่งและรับแสตมป์อากรและแสตมป์อากรรมหรสพระหว่างกรมสรรพากรกับกรมไปรษณีย์ มุ่งประสงค์มิให้หีบห่อศูนย์หาย ทั้งเป็นแต่เพียงข้อตกลงที่วางเป็นระเบียบขึ้นไว้ หาใช่กฎหมายไม่ เมื่อหีบห่อเรียบร้อยแต่แสตมป์อากรที่บรรจุอยู่ในหีบห่อศูนย์หายไปนั้น หาใช่ผลโดยตรงหรือเนื่องมาจาการที่จำเลยจ่ายแก่ผู้รับที่ไม่มีใบมอบอำนาจอันเป็นการผิดระเบียนไม่ ดังนี้แล้ว ความเสียหายนั้นก็มิได้เกิดจากการกระทำของจำเลย ๆ ไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13163/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติสัมพันธ์สัญญาจ้างแรงงาน: การพิสูจน์ความสัมพันธ์ภายใต้การบังคับบัญชาและระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง
นิติสัมพันธ์ที่จะเป็นสัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นไปตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 575 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 คือ นายจ้างว่าจ้างอีกฝ่ายหนึ่งเป็นลูกจ้างเพื่อทำการงานให้ นายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาให้ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบข้อบังคับในการทำงาน เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์มีความรับผิดชอบในหน้าที่การงานอะไรเป็นกิจจะลักษณะ ไม่ต้องเข้าทำงานทุกวัน ย่อมแสดงว่าโจทก์มิได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้บริหารของบริษัทจำเลย นอกจาก อ. ซึ่งเป็นบิดาโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์เป็นลูกจ้างของจำเลย เพราะไม่ได้ทำงานให้จำเลยและไม่ได้อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและการบังคับบัญชาตามสายงานปกติของจำเลย การที่โจทก์เข้ามาทำงานในบริษัทจำเลยก็เพื่อช่วยเหลืองานของบิดาเท่านั้นย่อมเป็นความสัมพันธ์ส่วนบุคคล และไม่ถือว่า อ. จ้างโจทก์แทนจำเลยโดยชอบ จึงไม่ผูกพันจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากเมาสุราขณะทำงานเป็นความผิดร้ายแรง ตามระเบียบข้อบังคับและ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ข้อ 8 (15) ระบุให้จำเลยเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องตักเตือนก่อนเพราะถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงและไม่จ่ายค่าชดเชยหากลูกจ้าง "ดื่มสุราเครื่องดองของเมาในที่ทำการหรือบริเวณบริษัทฯ ในเวลาทำงานหรือเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมึนเมา" ทั้งโจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้ชำนาญงาน มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติของแบตเตอรี่และแผ่นธาตุที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพของแบตเตอรี่อันเป็นสินค้าที่จำเลยผลิต การเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ด้วยอาการเมาสุรา ย่อมทำให้การปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าของจำเลยได้ ดังนั้น แม้ผู้บังคับบัญชาของโจทก์จะไม่ให้โจทก์เข้าทำงานและให้กลับบ้านไป แต่การที่โจทก์เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ด้วยอาการเมาสุราก็เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าว ซึ่งเป็นความผิดวินัยกรณีร้ายแรงจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7136/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดร้ายแรง การกระทำผิดนอกเวลางานแต่เกี่ยวเนื่องกับการทำงาน และขอบเขตการบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงาน กรณีจำเลยที่ 1 มีคำสั่งยกคำร้องที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 สอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยที่ 2 เลิกจ้าง และให้จำเลยที่ 2 จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 2 กรณีร้ายแรง จำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์จึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า มีเหตุเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 หรือไม่ และจำเลยที่ 2 ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์หรือไม่ คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ที่ศาลแรงงานภาค 2 วินิจฉัยส่วนแรกว่า การที่จำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์โดยเห็นว่าโจทก์ผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและเห็นว่าคำสั่งของจำเลยที่ 1 ไม่ควรเพิกถอน แต่กลับวินิจฉัยในส่วนหลังว่า การกระทำของโจทก์เป็นเรื่องส่วนตัวมิใช่เรื่องงานอาจลงโทษเบากว่าเลิกจ้างได้ และอ้าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 48 และมาตรา 52 มาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นั้น คำวินิจฉัยของศาลแรงงานภาค 2 ขัดกันเอง และไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี เป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
เหตุทำร้ายร่างกายเกิดบนรถบัสรับส่งพนักงานที่จำเลยที่ 2 นายจ้างจัดให้ลูกจ้างเพื่อความสะดวกในการเดินทางไปทำงาน แม้จะเป็นเวลาก่อนที่ลูกจ้างเข้าปฏิบัติงาน แต่ก็เป็นเวลาเกี่ยวเนื่องก่อนลูกจ้างเข้าทำงาน จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจออกคำสั่งหรือระเบียบห้ามมิให้พนักงานที่โดยสารรถรับส่งทำร้ายร่างกายและทะเลาะวิวาทบนรถรับส่งพนักงานได้ ประกาศของจำเลยที่ 2 เรื่อง การทำร้ายร่างกาย และทะเลาะวิวาทภายในโรงงาน รถรับส่งพนักงาน และพื้นที่ที่บริษัทกำหนด จึงมีผลใช้บังคับได้ การที่โจทก์ทำร้าย ร. โดยบีบคอจนมีรอยแดงช้ำที่คอเข้าข่ายเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยที่ 2 และประกาศดังกล่าว อันเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยที่ 2 ย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคท้าย และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความเสียหายจากการบริหารจัดการสหกรณ์: การเลือกตั้งที่ไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับไม่ใช่เหตุตัดอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องคดีเพื่อรักษาผลประโยชน์ของโจทก์และสมาชิกจากการบริหารจัดการของจำเลยทั้งยี่สิบสามจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ที่ฝ่ายจำเลยยกปัญหาว่าการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการชุดปัจจุบันไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์เพื่อตัดอำนาจฟ้องโจทก์มิให้ฟ้องร้องบังคับคดีแก่ตน ฝ่ายจำเลยชอบที่จะขอให้นายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ยับยั้งหรือเพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 20 ขอให้นายทะเบียนสั่งให้คณะกรรมการดำเนินการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะแล้วตั้งคณะกรรมการดำเนินการชั่วคราวเข้าดำเนินการแทนตามมาตรา 21 หรือขอให้นายทะเบียนสหกรณ์ตีความข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่ององค์ประชุมตามมาตรา 58 ได้ตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 45 เมื่อไม่ปรากฏว่านายทะเบียนมีคำชี้ขาดเกี่ยวกับการตีความข้อบังคับของโจทก์ตามที่จำเลยกล่าวหาว่ามีการจัดให้มีการเลือกตั้งโดยไม่ชอบ ข้อกล่าวอ้างของฝ่ายจำเลยที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจึงไม่อาจรับฟัง โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งยี่สิบสาม
of 7