คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รัฐวิสาหกิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการใช้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ กับระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์: ค่าชดเชยการเลิกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ไม่ใช้บังคับ ลงวันที่12 กันยายน พ.ศ.2534 ข้อ 2 ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16มีนาคม พ.ศ.2515 ไม่ใช้บังคับ แต่ในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2534 ได้มีระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534 ประกาศใช้บังคับ ซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ประกาศใช้บังคับ ซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างในหลักเกณฑ์เกียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน2515 ข้อ 46 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2514 ข้อ 46 จึงเป็นเพียงการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้องเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทกฎหมายค่าชดเชย: รัฐวิสาหกิจต้องใช้ระเบียบใหม่แทนประกาศเก่า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515ไม่ใช้บังคับ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2534 ข้อ 2ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16มีนาคม พ.ศ. 2515 ไม่ใช้บังคับ แต่ในวันที่ 12 กันยายนพ.ศ. 2534 ได้มีระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2534 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 ประกาศใช้บังคับ ซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ประกาศใช้บังคับซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างในหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 56 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2514 ข้อ 46จึงเป็นเพียงการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้องเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964-1965/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่เกษียณอายุ แม้ไม่ได้ร้องทุกข์ก่อนฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534ไม่มีบทบัญญัติในมาตราใดที่บังคับว่าเมื่อมีข้อโต้แย้งว่าโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดประจำปีหรือไม่ โจทก์จะต้องร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์เสียก่อนฟังคดี สำหรับมาตรา 18(2)ที่บัญญัติว่า ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (2) พิจารณาคำร้องทุกข์ของพนักงานหรือของสมาคมเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบังคับของ รัฐวิสาหกิจนั้นมีความหมายเพียงว่า ถ้าโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ในเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ก็ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์นั้นได้แต่ไม่ได้มีความหมายว่า ถ้าโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ โจทก์จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลไม่ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และมาตรา 11 ที่กำหนดให้พนักงานซึ่งเกษียณอายุคือมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้น เป็นเพียงบทกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องพ้นจากตำแหน่งเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน การที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ ดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 วรรคสอง การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีในวันเวลาใด ตามที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 8 จึงถือไม่ได้ว่า การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้าง สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามระเบียบคณะกรรมการ รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 21

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: ไม่จำเป็นต้องร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ก่อนฟ้องศาล
ตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534มาตรา 18 วรรคแรกที่บัญญัติว่า ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (2) พิจารณาคำร้องทุกข์ของพนักงานหรือของสมาคมเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบังคับของ รัฐวิสาหกิจนั้น ฯลฯ" ส่วนในวรรคสี่และวรรคหก บัญญัติไว้เป็นใจความว่า ผู้ร้องหรือสมาคมซึ่งไม่พอใจผลการพิจารณาคำร้องทุกข์ดังกล่าวของคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบผลการพิจารณา คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด เห็นได้ว่าคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์จะมีอำนาจหน้าที่พิจารณาในการนี้ก็ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์เท่านั้นไม่ได้หมายความว่าถ้าโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์แล้ว โจทก์จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลไม่ได้เพราะบทบัญญัติดังกล่าวหาได้บังคับให้จำต้องร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ไม่ จึงมิใช่กรณีที่มีบทบัญญัติให้ร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่มีบทบัญญัติให้ร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ก่อนที่จะนำคดี มาสู่ศาล ตามนัยมาตรา 8 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522เมื่อคดีนี้สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3866/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างก่อนมี พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์: สิทธิฟ้องคดีและการใช้บทกฎหมาย
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2533 ก่อนที่พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 จะมีผลใช้บังคับ สิทธิและหน้าที่อันจะพึงมีตามกฎหมายในการเลิกจ้างโจทก์รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากการเลิกจ้างดังกล่าว จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะมีการเลิกจ้าง จะนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ สิทธิต่าง ๆ ที่โจทก์ฟ้องเรียก ไม่มีกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะนั้นบัญญัติให้โจทก์ต้องร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงานโดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจไม่ต้องรอขั้นตอน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ หากเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างไม่จำต้องอาศัยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 อีก แม้โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจก็มีอำนาจฟ้องนายจ้างในข้อหาเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีค่าไฟฟ้า: การไฟฟ้านครหลวงในฐานะรัฐวิสาหกิจมิใช่พ่อค้า ใช้บังคับอายุความสิบปี
การไฟฟ้านครหลวงโจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครอันมีลักษณะเป็นสาธารณูปโภค และได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดิน โจทก์จึงมิได้เป็นพ่อค้าตามความในมาตรา 165(1)แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่นก็ต้องถืออายุความสิบปีตามมาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยและเงินบำเหน็จกรณีเกษียณอายุ: การตีความระเบียบและข้อบังคับของรัฐวิสาหกิจ
จำเลยมีคำสั่งที่ 240/2528 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณค่าชดเชยการอนุมัติและการจ่ายค่าชดเชย ซึ่งในคำสั่งดังกล่าวได้กำหนดไว้ในข้อ 1.3 ว่า พนักงานประจำซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีขึ้นไป ให้ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันนอกจากนี้จำเลยยังได้มีข้อบังคับฉบับที่ 47 ว่าด้วยเงินบำเหน็จพ.ศ. 2524 ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 6(1) ว่าพนักงานที่ออกจากงานในวันสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ และกำหนดไว้ในข้อ 8 ว่าพนักงานที่ออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้วไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับนั้นต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ก็ให้จ่ายเพิ่มให้เท่าจำนวนที่ต่ำกว่านั้น จากคำสั่งที่ 240/2528ประกอบกับข้อบังคับฉบับที่ 47 เห็นได้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่สิบหกมีเงินค่าชดเชยรวมอยู่ด้วยแล้ว ข้อบังคับฉบับที่ 47 ข้อ 8 เป็นข้อยกเว้นของข้อ 6 เมื่อเข้าตามเงื่อนไขในข้อ 8 แล้วก็จะไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตาม ข้อ 6 อีก ดังนั้น จึงหาได้หมายความว่าถ้ามีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อ 6 แล้วจะนำข้อ 8 มาใช้บังคับอีกไม่ได้ คำสั่งของจำเลยที่ 240/2528 เป็นระเบียบที่ใช้รวมถึงการจ่ายค่าชดเชย กรณีพนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุด้วย ค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่สิบหกตามคำสั่งดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นเงินทั้งหมดที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 47 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามข้อ 47 วรรคหนึ่งอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยกรณีเกษียณอายุรัฐวิสาหกิจ: การพิจารณาเงินบำเหน็จและค่าชดเชยตามระเบียบและข้อบังคับ
ค่าชดเชยที่รัฐวิสาหกิจจำเลยจ่ายให้แก่พนักงานกรณีพนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุตามระเบียบของจำเลย มีจำนวนเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ถือเป็นเงินทั้งหมดที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 47 วรรคสอง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามข้อ 47 วรรคหนึ่งให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เกษียณอายุพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การเลิกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 3 วรรคสอง บัญญัติว่าบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน ดังนั้น การที่โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ จึงไม่ใช่เป็นการออกจากงานตามความในมาตรา 33 ทวิแห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ที่บัญญัติให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์เป็นอันพ้นจากตำแหน่ง แต่เป็นกรณีออกจากงานตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518มาตรา 9,11 ที่ว่าพนักงานของ รัฐวิสาหกิจจะต้องมีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ หากอายุเกินก็ขาดคุณสมบัติต้องพ้นจากตำแหน่งไปเท่านั้น ซึ่งตามมาตรา 11 ที่บัญญัติให้พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้น มีความหมายว่าเมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์อันเป็นการขาดคุณสมบัติแล้ว ก็ให้รัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ผู้นั้นออกจากงานดังนั้น เมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างดำเนินการให้โจทก์ออกจากงานเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46.
of 18