คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ราคาตลาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 203 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่าตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ ราคาซื้อคืนต้องไม่สูงกว่าราคาตลาดหรือราคาที่ผู้รับโอนซื้อมา
พระราชบัญญัติญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา19วรรคหนึ่งบัญญัติให้คชก.จังหวัดคชก.ตำบลหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการมีอำนาจเรียกผู้เช่าผู้ให้เช่าหรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการเช่ามาเพื่อประกอบการพิจารณาของคชก.จังหวัดหรือคชก.ตำบลได้แล้วแต่กรณีจึงเป็นอำนาจของคชก.จังหวัดหรือคชก.ตำบลที่จะเรียกผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือไม่ก็ได้ไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องเรียกบุคคลดังกล่าวมาให้ถ้อยคำเสมอไปการที่คชก.ตำบล ท. ไม่ได้เรียกเจ้าของที่ดินเดิมและผู้รับโอนที่นาพิพาทมาให้ถ้อยคำจึงไม่ทำให้การประชุมของคชก.ตำบล ท. เสียไปพระราชบัญญัติญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54บัญญัติให้ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อได้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากันเมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสองผู้รับโอนซื้อที่นาพิพาทจากเจ้าของเดิมเนื้อที่19ไร่เศษในราคา110,000บาทการที่คชก.ตำบล ท. กำหนดให้โจทก์ผู้เช่าที่นาพิพาทซื้อคืนจากจำเลยทั้งสองในราคาไร่ละ20,000บาทจึงเป็นราคาที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเวลาให้โจทก์ใช้สิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสองด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4115/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินคืนของผู้เช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรณีผู้รับโอนซื้อมาในราคาตลาด
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาจากส. ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดจำเลยที่1เป็นผู้ประมูลได้ถือเป็นการซื้อจากเจ้าของเดิมเป็นการรับโอนที่ดินพิพาทตามมาตรา28แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524ที่ผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่าศาลเป็นเพียงดำเนินการขายทอดตลาดเท่านั้นหากจำเลยที่1จะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่3จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบก่อนถ้าโจทก์ไม่ซื้อจำเลยที่1จึงจะขายให้จำเลยที่3ได้ตามมาตรา53เมื่อจำเลยที่1ไม่ปฎิบัติตามกฎหมายโจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนจากจำเลยที่3ตามมาตรา54การที่โจทก์ยังคงชำระค่าเช่าที่ดินพิพาทให้จำเลยที่3ไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ว่าเป็นการสละสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3และการที่คชก.ตำบลมีมติให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่3ในราคา1,500,000บาทโดยฝ่ายจำเลยมิได้อุทธรณ์มติดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้ปฎิบัติขั้นตอนครบถ้วนตามกฎหมายแล้วมติคชก.ตำบลจึงชอบตามมาตรา54เพราะเป็นราคาตลาดที่จำเลยที่3ซื้อจากจำเลยที่1โดยไม่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทมีราคาตลาดสูงกว่านั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักการกำหนดค่าทดแทนตามราคาตลาดและผลกระทบจากการล่าช้าในการชดใช้
แม้การเวนคืนที่ดินของโจทก์เป็นไปตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์... พ.ศ. 2524 ซึ่งกฎหมายแม่บทว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ก็ตาม แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มาตรา 7ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง ข้อ 63ถึง ข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว และมาตรา 9 วรรคสอง กับพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 36 วรรคสองบัญญัติรับกันว่าการเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงและตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัติทั้งสองนี้ เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 9วรรคสี่ และวรรคห้า... แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ขณะที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 มีผลใช้บังคับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ ยังไม่เสร็จสิ้นเพราะจำเลยที่ 1 เพิ่งมีหนังสือลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534แจ้งการนำเงินค่าทดแทนไปฝากไว้แก่ธนาคารออมสินถึงโจทก์ ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ที่ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) ก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน ในกรณีปกติแล้วการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง(1) ถึง (5) นั้นย่อมเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม สำหรับคดีนี้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ ซึ่งเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีผลใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน2524 แล้ว แต่กลับปรากฏว่ากรมทางหลวงจำเลยที่ 1 เพิ่งจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยวิธีนำเงินฝากธนาคารออมสิน เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2534 การที่จำเลยที่ 1 และอธิบดีกรมทางหลวงจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่โจทก์และปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานถึง 10 ปี เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับในขณะที่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ และทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นการที่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21 เฉพาะอนุมาตรา (1) ถึง (4) คือ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดประกอบราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ประกอบราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประกอบสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ทั้งสองในพ.ศ. 2524 อันเป็นปีที่ใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2534 และเป็นราคาที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมด้วย นับว่าเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสองผู้ถูกเวนคืนและสังคมซึ่งชอบด้วยความมุ่งหมายหลักของมาตรา 21แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินเช่าก่อนกรณีผู้ให้เช่าขาย: ราคาตลาดที่ใช้บังคับ
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 1 โอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนจะขายจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53 เสียก่อน โดยจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่านาต้องแจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนา พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลสาลี(คชก.ตำบลสาลี) เพื่อแจ้งให้โจทก์ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันเสียก่อน ถ้าโจทก์ผู้เช่านาไม่ซื้อตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 53 วรรคสาม จำเลยที่ 1 จึงจะขายให้จำเลยที่ 2 ได้ต่อไป เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ก่อนตามพ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 ซึ่ง มาตรา 54วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติว่า "ถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใด ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้ หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน ฯลฯ" บทบัญญัติดังกล่าวมีความมุ่งหมายจะคุ้มครองสิทธิของผู้เช่านาที่จะซื้อนาที่เช่าอยู่ก่อนบุคคลอื่น คำว่า "ราคาตลาดในขณะนั้น" จึงหมายถึงราคาตลาดในขณะผู้ให้เช่านาโอนขายนาให้แก่ผู้รับโอน มิใช่ราคาตลาดในขณะผู้เช่านาใช้สิทธิขอซื้อนาคืน
ราคาที่ คชก.ตำบล วินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 วรรคหนึ่งหรือไม่ มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของ คชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลหรือไม่ศาลย่อมต้องพิจารณาว่าราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยมาเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามิใช่ ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้องแล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่านาซื้อนาคืนจากผู้รับโอนตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ ราคาตลาดขณะโอน/ซื้อขาย
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาอยู่ในขณะที่จำเลยที่1โอนขายให้แก่จำเลยที่2ก่อนจะขายจำเลยที่1มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา53เสียก่อนโดยจำเลยที่1ผู้ให้เช่านาต้องแจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนาพร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล สาลี (คชก.ตำบล สาลี)เพื่อแจ้งให้โจทก์ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันเสียก่อนถ้าโจทก์ผู้เช่านาไม่ซื้อตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา53วรรคสามจำเลยที่1จึงจะขายให้จำเลยที่2ได้ต่อไปเมื่อจำเลยที่1ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่1ก่อนตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54ซึ่งมาตรา54วรรคหนึ่งได้บัญญัติว่า"ถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา53ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใดผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากันฯลฯ"บทบัญญัติดังกล่าวมีความมุ่งหมายจะคุ้มครองสิทธิของผู้เช่านาที่จะซื้อนาที่เช่าอยู่ก่อนบุคคลอื่นคำว่า"ราคาตลาดในขณะนั้น"จึงหมายถึงราคาตลาดในขณะผู้ให้เช่านาโอนขายนาให้แก่ผู้รับโอนมิใช่ราคาตลาดในขณะผู้เช่านาใช้สิทธิขอซื้อนาคืน ราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54วรรคหนึ่งหรือไม่มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของคชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลหรือไม่ศาลย่อมต้องพิจารณาว่าราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยมาเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ถ้ามิใช่ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้องแล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ราคาซื้อขายต้องเป็นไปตามราคาตลาด
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา9(1)เพียงแต่กำหนดว่าในการพิจารณาเรื่องอันเกี่ยวกับการเช่าในเขตหมู่บ้านใดให้ผู้ใหญ่บ้านแห่งหมู่บ้านนั้นเป็นกรรมการด้วยเท่านั้นฉะนั้นหากการประชุมมีกรรมการประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดตามมาตรา18วรรคหนึ่งการประชุมก็ชอบด้วยกฎหมายแล้ว คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่ให้โจทก์ซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคาที่ล.ขายให้ส.ไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54วรรคหนึ่งเพราะโจทก์มีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคาที่จำเลยซื้อไว้จากส.หรือตามราคาตลาดในขณะที่มีการซื้อขายกัน แม้พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2525จะบัญญัติในมาตรา56วรรคสองว่าคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์ตามมาตรา56วรรคหนึ่งให้เป็นที่สุดและในมาตรา58วรรคหนึ่งว่าในกรณีมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าวเมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลในการพิจารณาของศาลให้ถือว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาตามคำวินิจฉัยดังกล่าวในกรณีนี้โดยอนุโลมซึ่งการพิจารณาพิพากษาดังกล่าวนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา221บัญญัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการคือพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530โดยมีบทบัญญัติในมาตรา24วรรคหนึ่งว่า"ในกรณีที่ศาลเห็นว่าคำชี้ขาดใดไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับข้อพิพาทนั้นหรือเป็นคำชี้ขาดที่เกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมิได้อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการที่มีผลผูกพันตามกฎหมายหรือคำขอของคู่กรณีให้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้น"และในมาตรา24วรรคสองว่า"ในกรณีที่คำชี้ขาดมีความบกพร่องอันมิใช่สาระสำคัญและอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้เช่นการคำนวณตัวเลขหรือการกล่าวอ้างถึงบุคคลหรือทรัพย์สิ่งใดผิดพลาดไปศาลอาจแก้ไขให้ถูกต้องและมีคำพิพากษาให้บังคับตามคำชี้ขาดที่ได้แก้ไขแล้วนั้นได้"แต่ก็เห็นได้ว่าการนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของคชก.ตำบลจะต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของคชก.ตำบลโดยเฉพาะในข้อที่ว่าราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54วรรคหนึ่งหรือไม่มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของคชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะบังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลหรือไม่ศาลต้องพิจารณาว่าราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ถ้ามิใช่ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้องแล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้แม้การพิพากษาดังกล่าวจะเป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของคชก.ตำบลซึ่งมิใช่เป็นการแก้ไขตามมาตรา24วรรคสองของพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด และสิทธิในการเรียกร้องเงินค่าอากรที่ชำระเกิน
กรณีของโจทก์เป็นเรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยไม่พอใจราคาสินค้าที่โจทก์สำแดง จึงให้โจทก์ชำระอากรตามสำแดงและให้วางเงินประกันค่าอากรอีกส่วนหนึ่ง ได้มีการส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปแล้วต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มโจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแจ้งการประเมิน การชำระค่าอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับสินค้าแล้ว จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 10 วรรคห้า ดังนั้น การที่โจทก์ได้ชำระอากรขาเข้าให้แก่จำเลยตามที่จำเลยเรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แม้โจทก์จะมิได้สงวนสิทธิในการฟ้องร้องหรือเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืน ก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องจำเลยก็ย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่ากับที่โจทก์ได้ชำระให้แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากร ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคท้ายดังนั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องขอเรียกเงินอากรขาเข้าที่ชำระไว้เดิมพร้อมดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เรียกเก็บไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสีย นับแต่วันชำระอากรขาเข้า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คดีนี้โจทก์ได้ชำระเงินอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินการชำระเงินค่าอากรเพิ่มดังกล่าวเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า เช่นกัน เพราะขณะที่โจทก์รับมอบสินค้าจากกรมศุลกากรนั้นโจทก์ยังมิได้เสียอากรตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องเรียกคืน แต่กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องโจทก์จำเลยปฏิบัติพิธีการศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 และมาตรา 112 ทวิ กล่าวคือ เป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านพิธีการศุลกากรพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยและตัวแทนของโจทก์จึงตกลงให้ชำระอากรตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 29 ฉบับ และให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ประเมินอากรเพิ่มภายหลังจากที่ได้รับมอบสินค้าแล้วประมาณ 1 เดือน ซึ่งกรณีดังกล่าวพ.ร.บ.ศุลกากรมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความตามบทบัญญัติทั่วไปมีกำหนดสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 (มาตรา 164 เดิม)
หลักเกณฑ์การประเมินตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 8/2530ข้อ 2.3 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดต่อรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน3 เดือน กับคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 47/2531 ข้อ 1.5 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 3 เดือน และตามคำสั่ง กค 0614(ก)/8024 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2532 ที่กำหนดให้สินค้าก๊าซเอทธิลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว ประกอบคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 8/2530 ข้อ 2.2 ที่ระบุว่าของที่ราคาเคลื่อนไหวเร็วซึ่งกองพิธีการและประเมินอากรร่วมกับกองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณากำหนดชนิดของนั้น ๆ ไว้ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน เป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรนั้น เป็นเพียงแนวทางให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยเปรียบเทียบราคากับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยนำสืบแสดงหลักฐานว่าราคาที่โจทก์สำแดงต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าประเภทชนิดเดียวกันจากแหล่งประเทศกำเนิดเดียวกันโดยใช้หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่โจทก์เคยนำเข้าโดยให้ใช้ราคาสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน หรือ 1 เดือน เป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรเมื่อโจทก์จำเลยรับกันว่าสินค้าก๊าซเอทธิลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีราคาเคลื่อนไหวเร็วมีการเปลี่ยนแปลงราคาเดือนละ 3 ถึง 4 ครั้ง จึงเป็นการไม่แน่นอนว่าราคาสินค้าที่เคยนำเข้าสูงสุดย้อนหลังไม่เกิน 3 เดือน หรือ 1 เดือน ที่จำเลยใช้เป็นเกณฑ์ประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 2 ส่วนโจทก์นำสืบแสดงว่าราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวขึ้นลงเร็ว ก่อนโจทก์สั่งซื้อจะต้องสอบถามราคาจากผู้ผลิตและข่าวสารทั่วโลกแหล่งข่าวสารที่โจทก์ติดตามประจำคือ ไอ.ซี.ไอ.เอส. (Indenpendent Chemical InformationService) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลของราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวทั่วโลก ราคาของก๊าซเอทธิลีนเหลวมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาตามสถานการณ์ของตลาดเฉลี่ยเดือนละ 3 ครั้ง ราคาที่โจทก์จัดซื้อเมื่อเทียบเคียงราคาจากข่าวสารจะใกล้เคียงระดับเดียวกัน การซื้อโจทก์ชำระราคาโดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตมีใบกำกับสินค้าแสดงราคาสินค้าสัญญาซื้อขาย พร้อมทั้งใบเสร็จรับเงินของธนาคารเป็นหลักฐาน จำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งว่าพยานหลักฐานที่โจทก์สำแดงราคาสินค้าตามที่ปรากฏในใบกำกับสินค้าและใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 29 ฉบับ ที่โจทก์ซื้อมาและชำระราคาไปแล้วนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ฉะนั้นราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทุกฉบับจึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5692/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินเช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ ต้องเป็นไปตามราคาตลาดและเจตนารมณ์ช่วยเหลือชาวนา ไม่ใช่แสวงหาผลประโยชน์
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524ที่ประกาศใช้มีความมุ่งหวังช่วยเหลือคุ้มครองชาวนาผู้ยากจนมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบในการเช่านาผู้อื่นทำ มิได้มีเจตนาจะให้ชาวนาผู้ยากจนใช้สิทธิตามกฎหมายดังกล่าวแสวงหาความร่ำรวยจากราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจนเกินกว่าจะนำที่ดินนั้นมาใช้งานเพื่อเกษตรกรรมต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงเชื่อได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านามิได้มุ่งหวังจะได้ที่ดินพิพาทเพื่อไปใช้ทำนาต่อไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว เพราะผลผลิตจากที่ดินพิพาทไม่คุ้มกับการลงทุนกู้ยืมเงินมาใช้ซื้อที่ดินพิพาทไปใช้ทำนาต่อไปโจทก์ไม่สามารถนำบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมาบังคับแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนได้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินให้ตนในราคา 2,200,000 บาท ซึ่งไม่ใช่ราคาที่จำเลยที่ 1และที่ 2 โอนขายให้จำเลยที่ 3 และไม่ใช่ราคาตลาดที่พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54กำหนดให้อำนาจโจทก์จะขอซื้อจากจำเลยที่ 3 คำฟ้องโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามขายที่นาพิพาทในราคา 2,200,000 บาท เป็นคำฟ้องที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว ศาลไม่สามารถบังคับจำเลยทั้งสามให้โอนขายที่นาพิพาทในราคาตามคำฟ้องของโจทก์ได้ การยื่นฟ้องคดีนี้ของโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ยังจะเกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 3 แต่ถ่ายเดียวศาลไม่อาจบังคับตามคำฟ้องของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5692/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินเช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ ต้องเป็นไปตามราคาตลาดหรือราคาซื้อขายจริง มิใช่ราคาต่ำกว่าเพื่อแสวงหาประโยชน์
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524ที่ประกาศใช้มีความมุ่งหวังช่วยเหลือคุ้มครองชาวนาผู้ยากจนมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบในการเช่านาผู้อื่นทำมิได้มีเจตนาจะให้ชาวบ้านผู้ยากจนใช้สิทธิตามกฎหมายดังกล่าวแสวงหาความร่ำรวยจากราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจนเกินกว่าจะนำที่ดินนั้นมาใช้งานเพื่อเกษตรกรรมต่อไปเมื่อข้อเท็จจริงเชื่อได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านามิได้มุ่งหวังจะได้ที่ดินพิพาทเพื่อไปใช้ทำนาต่อไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวเพราะผลผลิตจากที่ดินพิพาทไม่คุ้มกับการลงทุนกู้ยืมเงินมาใช้ซื้อที่ดินพิพาทไปใช้ทำนาต่อไปโจทก์ไม่สามารถนำบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมาบังคับแก่จำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้รับโอนได้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินให้ตนในราคา2,200,000บาทซึ่งไม่ใช่ราคาที่จำเลยที่1และที่2โอนขายให้จำเลยที่3และไม่ใช่ราคาตลาดที่พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54กำหนดให้อำนาจโจทก์จะขอซื้อจากจำเลยที่3คำฟ้องโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามขายที่นาพิพาทในราคา2,200,000บาทเป็นคำฟ้องที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวศาลไม่สามารถบังคับจำเลยทั้งสามให้โอนขายที่นาพิพาทในราคาตามคำฟ้องของโจทก์ได้การยื่นฟ้องคดีนี้ของโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตยังจะเกิดความเสียหายแก่จำเลยที่3แต่ฝ่ายเดียวศาลไม่อาจบังคับตามคำฟ้องของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5692/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินเช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ ต้องเป็นไปตามราคาตลาดหรือราคาซื้อขายจริง ไม่ใช่ราคาต่ำกว่า
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524ที่ประกาศใช้มีความมุ่งหวังช่วยเหลือคุ้มครองชาวนาผู้ยากจนมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบในการเช่านาผู้อื่นทำมิได้มีเจตนาจะให้ชาวนาผู้ยากจนใช้สิทธิตามกฎหมายดังกล่าวแสวงหาความร่ำรวยจากราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจนเกินกว่าจะนำที่ดินนั้นมาใช้งานเพื่อเกษตรกรรมต่อไปเมื่อข้อเท็จจริงเชื่อได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านามิได้มุ่งหวังจะได้ที่ดินพิพาทเพื่อไปใช้ทำนาต่อไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวเพราะผลผลิตจากที่ดินพิพาทไม่คุ้มกับการลงทุนกู้ยืมเงินมาใช้ซื้อที่ดินพิพาทไปใช้ทำนาต่อไปโจทก์ไม่สามารถนำบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมาบังคับแก่จำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้รับโอนได้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินให้ตนในราคา2,200,000บาทซึ่งไม่ใช่ราคาที่จำเลยที่1และที่2โอนขายให้จำเลยที่3และไม่ใช่ราคาตลาดที่พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54กำหนดให้อำนาจโจทก์จะขอซื้อจากจำเลยที่3คำฟ้องโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามขายที่นาพิพาทในราคา2,200,000บาทเป็นคำฟ้องที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวศาลไม่สามารถบังคับจำเลยทั้งสามให้โอนขายที่นาพิพาทในราคาตามคำฟ้องของโจทก์ได้การยื่นฟ้องคดีนี้ของโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตยังจะเกิดความเสียหายแก่จำเลยที่3แต่ถ่ายเดียวศาลไม่อาจบังคับตามคำฟ้องของโจทก์ได้
of 21