พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7496/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำพิพากษา: ศาลมีอำนาจยกเลิกคำสั่งงดบังคับคดีได้หากจำเลยยังไม่ปฏิบัติตาม
เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดบังคับให้จำเลยเปิดถนนพิพาทโดยให้จำเลยนำแผงเหล็กที่ปิดกั้นออกและขนย้ายวัสดุก่อสร้างบนถนนพิพาทออกไปให้จำเลยใช้ค่าทดแทนไปจนกว่าจะเปิดถนนพิพาทและขนย้ายวัสดุก่อสร้างเสร็จจำเลยเพียงแต่ขนย้ายวัสดุก่อสร้างออก เป็นการปฏิบัติส่วนหนึ่งตามคำพิพากษาเท่านั้น แต่จำเลยไม่รื้อรั้วกำแพงที่ปิดกั้นถนนพิพาทออก จึงมีผลเท่ากับจำเลยยังไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาในส่วนที่ให้เปิดถนนพิพาท และการที่จำเลยที่ 3 สร้างรั้วกำแพงขึ้นใหม่ในถนนพิพาท เป็นการจงใจก่อเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากถนนพิพาทได้โดยปกติสุข ที่ศาลชั้นต้นให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการรื้อกำแพงดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้นำเงินวางศาลชำระค่าเสียหายและขนย้ายแผงเหล็กกับวัสดุก่อสร้างออกไปแล้ว ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้งดการบังคับคดีแล้ว แต่เมื่อศาลชั้นต้นเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดีจึงย่อมมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องเกี่ยวกับการบังคับคดีได้ ตลอดจนมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่เคยอนุญาตให้งดการบังคับคดีด้วย การที่ศาลชั้นต้นสอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสามยังปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ครบถ้วน จึงออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการรื้อกำแพงพิพาทตามคำขอของโจทก์ มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นได้ยกเลิกคำสั่งที่อนุญาตให้งดการบังคับคดีไปโดยปริยายอยู่แล้ว โดยหาจำต้องให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนไม่
จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้นำเงินวางศาลชำระค่าเสียหายและขนย้ายแผงเหล็กกับวัสดุก่อสร้างออกไปแล้ว ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้งดการบังคับคดีแล้ว แต่เมื่อศาลชั้นต้นเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดีจึงย่อมมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องเกี่ยวกับการบังคับคดีได้ ตลอดจนมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่เคยอนุญาตให้งดการบังคับคดีด้วย การที่ศาลชั้นต้นสอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสามยังปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ครบถ้วน จึงออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการรื้อกำแพงพิพาทตามคำขอของโจทก์ มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นได้ยกเลิกคำสั่งที่อนุญาตให้งดการบังคับคดีไปโดยปริยายอยู่แล้ว โดยหาจำต้องให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7224/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรบกวนการใช้ประโยชน์จากทางน้ำ คลองพิพาท จำเลยต้องรื้อถอนสิ่งกีดขวางและห้ามกระทำการซ้ำ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนกำแพงและขนขยะที่ขวางทางน้ำออกไปจากคลองพิพาทและห้ามจำเลยกระทำการกีดขวางทางน้ำในคลองดังกล่าวอีกจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าแนวลำคลองด้านทิศใต้ของที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ใกล้กับบ้านของโจทก์ปรากฏว่ามีน้ำขังอยู่ในสภาพเน่าเหม็น และระดับน้ำสูงเกือบถึงชายฝั่งคลองยาวตลอดแนวไปถึงแนวเขตที่ดินที่โจทก์ปลูกบ้าน ที่ดินพิพาทยังมีขยะทับถมกั้นทางน้ำไหลอยู่ บริเวณด้านใต้ของขยะมีน้ำขังอยู่พอสมควร ส่วนลำคลองด้านทิศเหนือของที่พิพาทซึ่งปรากฏมีแนวลำคลองต่อจากท่อระบายน้ำห่างจากที่พิพาทประมาณ 80 เมตรซึ่งมีน้ำไหลในทางทิศเหนือต่อไปถึงคลองใหญ่และบริเวณที่นาของโจทก์ซึ่งอยู่ติดลำคลองด้านทิศใต้ ต้นมะขามเทศที่โจทก์ปลูกอยู่ในแนวคันนาบางต้นอยู่ในสภาพใบเหลืองเนื่องจากน้ำท่วมขังถึงโคนต้น อันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเสียหายเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยทั้งสอง กรณีจึงมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่โจทก์ขอมาใช้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7224/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางน้ำและคุ้มครองสิทธิของโจทก์จากการกระทำของจำเลยที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อที่ดินและทรัพย์สิน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนกำแพงและขนขยะที่ขวางทางน้ำออกไปจากคลองพิพาทและห้ามจำเลยกระทำการกีดขวางทางน้ำในคลองดังกล่าวอีกจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าแนวลำคลองด้านทิศใต้ของที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ใกล้กับบ้านของโจทก์ปรากฏว่ามีน้ำขังอยู่ในสภาพเน่าเหม็น และระดับน้ำสูงเกือบถึงชายฝั่งคลองยาวตลอดแนวไปถึงแนวเขตที่ดินที่โจทก์ปลูกบ้าน ที่ดินพิพาทยังมีขยะทับถมกั้นทางน้ำไหลอยู่ บริเวณด้านใต้ของขยะมีน้ำขังอยู่พอสมควร ส่วนลำคลองด้านทิศเหนือของที่พิพาทซึ่งปรากฏมีแนวลำคลองต่อจากท่อระบายน้ำห่างจากที่พิพาทประมาณ 80 เมตร ซึ่งมีน้ำไหลในทางทิศเหนือต่อไปถึงคลองใหญ่และบริเวณที่นาของโจทก์ซึ่งอยู่ติดลำคลองด้านทิศใต้ ต้นมะขามเทศที่โจทก์ปลูกอยู่ในแนวคันนาบางต้นอยู่ในสภาพใบเหลืองเนื่องจากน้ำท่วมขังถึงโคนต้นอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเสียหายเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยทั้งสองกรณีจึงมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่โจทก์ขอมาใช้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7224/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางน้ำและคุ้มครองสิทธิในคลองสาธารณะประโยชน์จากการกระทำของจำเลย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนกำแพงและขนขยะที่ขวางทางน้ำออกไปจากคลองพิพาทและห้ามจำเลยกระทำการกีดขวางทางน้ำในคลองดังกล่าวอีกจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าแนวลำคลองด้านทิศใต้ของที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ใกล้กับบ้านของโจทก์ปรากฏว่ามีน้ำขังอยู่ในสภาพเน่าเหม็น และระดับน้ำสูงเกือบถึงชายฝั่งคลองยาวตลอดแนวไปถึงแนวเขตที่ดินที่โจทก์ปลูกบ้าน ที่ดินพิพาทยังมีขยะทับถมกั้นทางน้ำไหลอยู่ บริเวณด้านใต้ของขยะมีน้ำขังอยู่พอสมควร ส่วนลำคลองด้านทิศเหนือของที่พิพาทซึ่งปรากฏมีแนวลำคลองต่อจากท่อระบายน้ำห่างจากที่พิพาทประมาณ 80 เมตร ซึ่งมีน้ำไหลในทางทิศเหนือต่อไปถึงคลองใหญ่และบริเวณที่นาของโจทก์ซึ่งอยู่ติดลำคลองด้านทิศใต้ ต้นมะขามเทศที่โจทก์ปลูกอยู่ในแนวคันนาบางต้นอยู่ในสภาพใบเหลืองเนื่องจากน้ำท่วมขังถึงโคนต้นอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเสียหายเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยทั้งสองกรณีจึงมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่โจทก์ขอมาใช้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7110/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมหมดประโยชน์จากการถูกรอนสิทธิ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ที่ดินโฉนดเลขที่ 30363 ของจำเลยตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โฉนดเลขที่ 30365 และคดีนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 30363 เป็นทางภาระจำยอมหรือไม่เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่ดินทางด้านทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ 30363 ส่วนที่อยู่เหนือทางเข้าบ้านโจทก์ขึ้นไปไม่สามารถใช้เป็นทางสัญจรต่อไปได้ ทางภาระจำยอมส่วนนี้จึงหมดประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่จะใช้ออกสู่ทางสาธารณะ ภาระจำยอมส่วนนี้จึงหมดไปจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ทางพิพาทโฉนดเลขที่ 30363 ของจำเลยตลอดสายเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยปลูกสร้างอาคารคร่อมที่ดินโฉนดเลขที่ 30363 ทางด้านทิศเหนือของจำเลย ย่อมเป็นการทำให้โจทก์ไม่ได้รับความสะดวก ถือว่าเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก จำเลยจึงต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดออกจากทางภาระจำยอมดังกล่าว
ทางพิพาทโฉนดเลขที่ 30363 ของจำเลยตลอดสายเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยปลูกสร้างอาคารคร่อมที่ดินโฉนดเลขที่ 30363 ทางด้านทิศเหนือของจำเลย ย่อมเป็นการทำให้โจทก์ไม่ได้รับความสะดวก ถือว่าเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก จำเลยจึงต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดออกจากทางภาระจำยอมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7110/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำทางภารจำยอม
ที่ดินโฉนดเลขที่ 30363 ของจำเลยตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โฉนดเลขที่ 30365 และคดีนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 30363เป็นทางภารจำยอมหรือไม่เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่ดินทางด้านทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ 30363 ส่วนที่อยู่เหนือทางเข้าบ้านโจทก์ขึ้นไปไม่สามารถใช้เป็นทางสัญจรต่อไปได้ ทางภารจำยอมส่วนนี้จึงหมดประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่จะใช้ออกสู่ทางสาธารณะ ภารจำยอมส่วนนี้จึงหมดไปจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ทางพิพาทโฉนดเลขที่ 30363 ของจำเลยตลอดสายเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยปลูกสร้างอาคารคร่อมที่ดินโฉนดเลขที่ 30363 ทางด้านทิศเหนือของจำเลย ย่อมเป็นการทำให้โจทก์ไม่ได้รับความสะดวก ถือว่าเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก จำเลยจึงต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดออกจากทางภารจำยอมดังกล่าว
ทางพิพาทโฉนดเลขที่ 30363 ของจำเลยตลอดสายเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยปลูกสร้างอาคารคร่อมที่ดินโฉนดเลขที่ 30363 ทางด้านทิศเหนือของจำเลย ย่อมเป็นการทำให้โจทก์ไม่ได้รับความสะดวก ถือว่าเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก จำเลยจึงต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดออกจากทางภารจำยอมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินเมื่อสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่นตั้งอยู่บนที่ดิน และสิทธิในการรื้อถอน/ขับไล่
แม้เดิมอ. จะเป็นผู้ปลูกสร้างตึกแถวพิพาทลงบนที่ดินพิพาทของตนเองโดยชอบก็ตามแต่ต่อมาอ. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และทำพินัยกรรมยกตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่1กรณีจึงเป็นเรื่องตึกแถวพิพาทของจำเลยที่1ปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทของโจทก์เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่จำเลยที่1โดยยอมให้จำเลยที่1มีสิทธิเป็นเจ้าของตึกพิพาทซึ่งได้ก่อสร้างบนที่ดินดังกล่าวมาแต่เดิมแต่อย่างใดดังนั้นหากต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ตึกแถวพิพาทตั้งอยู่บนที่ดินของโจทก์อีกต่อไปและได้บอกกล่าวให้จำเลยที่1รื้อถอนตึกแถวพิพาทออกไปแล้วแต่จำเลยที่1เพิกเฉยย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่อาจเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของตนได้โจทก์ย่อมมีอำนาจในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ที่จะขอให้บังคับจำเลยที่1รื้อถอนตึกแถวพิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ได้ เดิมจำเลยที่2ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับอ. ต่อมาอ. ทำพินัยกรรมยกตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่1เมื่ออ.ถึงแก่กรรมตึกแถวพิพาทตกเป็นของจำเลยที่1ซึ่งรับโอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทของจำเลยที่2มาจากอ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569วรรคสองการอยู่ในตึกแถวพิพาทของจำเลยที่2จึงเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าเมื่อสัญญาเช่าหมดอายุแล้วและโจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาทได้บอกกล่าวให้จำเลยที่1รื้อถอนตึกแถวพิพาทและได้บอกกล่าวให้จำเลยที่2ออกไปจากที่ดินพิพาทแล้วแต่จำเลยที่2เพิกเฉยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมาโดยอ้างสิทธิตามสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทซึ่งไม่เกี่ยวกับโจทก์ย่อมเป็นการอยู่โดยละเมิดถือได้ว่าจำเลยที่2มีฐานะเป็นบริวารของจำเลยที่1โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยที่2ออกจากที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่2ร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายกับจำเลยที่1ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6184/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาเช่า: สิทธิในการบังคับให้รื้อถอน vs. เหตุบอกเลิกสัญญา โดยคำนึงถึงเจตนาและปกติประเพณี
โจทก์ส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลยผู้เช่าแล้วตั้งแต่วันทำสัญญาเช่า การที่จำเลยทุบผนังอาคารพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับอนุญาตจากโจทก์อันเป็นการผิดสัญญาเช่าข้อ 4 วรรคสอง ที่ระบุว่า หากผู้เช่าจะดัดแปลงสถานที่ที่เช่า ผู้เช่าสัญญาว่าจะขออนุญาตต่อผู้ให้เช่าก่อน เมื่อผู้ให้เช่าเห็นชอบและมีหนังสืออนุญาตแล้ว จึงกระทำการดังกล่าวได้ ฯลฯ และเมื่อตามสัญญาเช่าข้อ 4วรรคสอง ตอนท้ายระบุว่า ถ้าผู้เช่าฝ่าฝืนให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิบังคับผู้เช่าให้ทำให้กลับคืนสภาพเดิม โดยผู้เช่าออกค่าใช้จ่ายเอง อันเป็นการระบุสภาพบังคับโดยเฉพาะให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิบังคับให้ผู้เช่าทำให้กลับสู่สภาพเดิมเท่านั้น แม้ในสัญญาเช่าข้อ 12ระบุว่า หากผู้เช่ากระทำผิดข้อสัญญา แม้แต่ข้อใดข้อหนึ่งแห่งสัญญานี้ ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที ฯลฯ ก็เป็นการกำหนดไว้กว้าง ๆ สำหรับการผิดสัญญาข้อที่ไม่ได้ระบุสภาพบังคับไว้โดยเฉพาะว่าให้ดำเนินการอย่างไร ดังนั้นเมื่อกรณีที่ผิดสัญญาข้อ 4 นั้น ได้ระบุไว้ชัดแจ้งโดยเฉพาะแล้วว่าผู้ให้เช่ามีสิทธิบังคับให้รื้อถอนหรือทำให้กลับคืนสภาพเดิม โดยผู้เช่าออกค่าใช้จ่ายเอง ฉะนั้น จึงจะนำสัญญาข้อ 12ซึ่งเป็นกรณีทั่วไปมาใช้บังคับไม่ได้
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 368 สัญญานั้นท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย
สัญญาเช่าห้องแถวที่พิพาทระบุไว้ชัดเจนว่า ผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าเช่าอาคารพิพาท 2 คูหา เพื่อประกอบการค้าและอยู่อาศัย และจำเลยที่ 1ผู้เช่ามีความประสงค์ในการเช่าอาคารพิพาท 2 คูหา เพื่อทำเป็นร้านแสดงสินค้าจำพวกกระเบื้องดินเผา ซึ่งจำเป็นต้องใช้สถานที่กว้าง เหตุที่จำเลยที่ 1 ทุบผนังที่กั้นระหว่างอาคารพิพาท 2 คูหาออก ก็เพื่อประกอบการค้าตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และการกระทำของจำเลยไม่ปรากฏว่าทำให้โครงสร้างหรือฐานรากของอาคารพิพาทเสียหายแต่อย่างใด เมื่อคำนึงถึงทำเลที่ตั้งอาคารพิพาทซึ่งอยู่ริมถนนใหญ่ติดกับตลาดอันเป็นบริเวณที่ทำการค้าและจำเลยต้องจ่ายเงินช่วยค่าก่อสร้างในการเช่าอาคารพิพาท 2 คูหา เป็นจำนวนเงินถึง 4,800,000 บาท ก็เพื่อทำอาคารพิพาทเป็นร้านแสดงสินค้าอันเป็นประโยชน์ในการประกอบการพาณิชย์ นอกจากนี้อาคารพาณิชย์จำนวน 11คูหาของโจทก์ซึ่งรวมทั้งอาคารพิพาทก็เป็นอาคารพาณิชย์ 2 คูหาติดกัน และไม่มีผนังกั้นกลาง โดยผู้เช่า 2 ราย ได้ขออนุญาตทุบผนังออก ซึ่งหากจำเลยมาขออนุญาต โจทก์ก็จะอนุญาตเช่นเดียวกัน ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองทำผิดสัญญาเช่าก็ตาม แต่เมื่อคำนึงถึงความประสงค์ของจำเลยที่ทำไปในทางสุจริตเพื่อประกอบการพาณิชย์ โดยพิเคราะห์ถึงอาคารพาณิชย์ข้างเคียงที่เช่าจากโจทก์ซึ่งมีการทุบผนังอาคารออกอันเป็นปกติประเพณีในการเช่าอาคารพาณิชย์ทั่วไปด้วยแล้วการที่จำเลยผิดสัญญาดังกล่าวยังไม่เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 368 สัญญานั้นท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย
สัญญาเช่าห้องแถวที่พิพาทระบุไว้ชัดเจนว่า ผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าเช่าอาคารพิพาท 2 คูหา เพื่อประกอบการค้าและอยู่อาศัย และจำเลยที่ 1ผู้เช่ามีความประสงค์ในการเช่าอาคารพิพาท 2 คูหา เพื่อทำเป็นร้านแสดงสินค้าจำพวกกระเบื้องดินเผา ซึ่งจำเป็นต้องใช้สถานที่กว้าง เหตุที่จำเลยที่ 1 ทุบผนังที่กั้นระหว่างอาคารพิพาท 2 คูหาออก ก็เพื่อประกอบการค้าตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และการกระทำของจำเลยไม่ปรากฏว่าทำให้โครงสร้างหรือฐานรากของอาคารพิพาทเสียหายแต่อย่างใด เมื่อคำนึงถึงทำเลที่ตั้งอาคารพิพาทซึ่งอยู่ริมถนนใหญ่ติดกับตลาดอันเป็นบริเวณที่ทำการค้าและจำเลยต้องจ่ายเงินช่วยค่าก่อสร้างในการเช่าอาคารพิพาท 2 คูหา เป็นจำนวนเงินถึง 4,800,000 บาท ก็เพื่อทำอาคารพิพาทเป็นร้านแสดงสินค้าอันเป็นประโยชน์ในการประกอบการพาณิชย์ นอกจากนี้อาคารพาณิชย์จำนวน 11คูหาของโจทก์ซึ่งรวมทั้งอาคารพิพาทก็เป็นอาคารพาณิชย์ 2 คูหาติดกัน และไม่มีผนังกั้นกลาง โดยผู้เช่า 2 ราย ได้ขออนุญาตทุบผนังออก ซึ่งหากจำเลยมาขออนุญาต โจทก์ก็จะอนุญาตเช่นเดียวกัน ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองทำผิดสัญญาเช่าก็ตาม แต่เมื่อคำนึงถึงความประสงค์ของจำเลยที่ทำไปในทางสุจริตเพื่อประกอบการพาณิชย์ โดยพิเคราะห์ถึงอาคารพาณิชย์ข้างเคียงที่เช่าจากโจทก์ซึ่งมีการทุบผนังอาคารออกอันเป็นปกติประเพณีในการเช่าอาคารพาณิชย์ทั่วไปด้วยแล้วการที่จำเลยผิดสัญญาดังกล่าวยังไม่เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5909/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและผลกระทบต่อผู้สืบสิทธิ: จำเลยต้องรื้อถอนและคืนที่ดินให้เจ้าของเดิม
จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 ปลูกสร้างบ้านรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 จึงต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนเจ้าของ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1311 และจำเลยผู้สืบสิทธิของเจ้าของเดิมผู้ปลูกสร้างบ้านโดยไม่สุจริต ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง ตาม ป.พ.พ.มาตรา1312 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตเดินสายไฟฟ้า ตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ไม่ผูกติดอายุความ
คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ว่า สิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทั้งสองสร้างขึ้นบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 3 รวม 5 รายการ ได้รุกล้ำเข้าไปในเขตเดินสายไฟฟ้าตามสำเนาภาพถ่ายแผนผังสิ่งปลูกสร้างเอกสารท้ายฟ้อง ทั้งได้บรรยายข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวว่า โจทก์ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้า โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับความกว้างระยะเริ่มต้นและระยะสิ้นสุดของเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ที่ไหน และมีสภาพอย่างไร รวมทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำนั้นออกไปจากแนวเขตเดินสายไฟฟ้าที่โจทก์ได้ประกาศไว้ คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดในเรื่องที่โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้าไปในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าได้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 29 และ 32 โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม
ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นทำนองว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ และโจทก์เพิ่งทราบการกระทำของจำเลยทั้งสองในปี 2536 แต่ปรากฏความจริงตามเอกสารท้ายฟ้องว่าโจทก์ทราบเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2532 แล้ว ซึ่งขัดกันอยู่ ทั้งคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้มิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองจึงไม่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องละเมิดที่ศาลจะต้องวินิจฉัย
คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้าไปในเขตเดินสายไฟฟ้าที่โจทก์ได้ประกาศไว้ ซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 มาตรา 29 (3)ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างนั้นได้ปลูกสร้างขึ้นก่อนประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้า โดยโจทก์จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทราบก่อน และโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามมาตรา 32 วรรคสอง ในกรณีได้ปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างนั้นขึ้นภายหลังจากที่ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าแล้วโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากโจทก์ อำนาจฟ้องขอให้รื้อถอนของโจทก์ตามมาตรา 29 (3) และมาตรา 32 วรรคสอง ดังกล่าวนี้ มิใช่สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 จึงไม่มีอายุความ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าได้ตลอดเวลาที่สิ่งก่อสร้างนั้นรุกล้ำอยู่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้า และโจทก์ได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ภายในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นทำนองว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ และโจทก์เพิ่งทราบการกระทำของจำเลยทั้งสองในปี 2536 แต่ปรากฏความจริงตามเอกสารท้ายฟ้องว่าโจทก์ทราบเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2532 แล้ว ซึ่งขัดกันอยู่ ทั้งคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้มิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองจึงไม่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องละเมิดที่ศาลจะต้องวินิจฉัย
คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้าไปในเขตเดินสายไฟฟ้าที่โจทก์ได้ประกาศไว้ ซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 มาตรา 29 (3)ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างนั้นได้ปลูกสร้างขึ้นก่อนประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้า โดยโจทก์จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทราบก่อน และโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามมาตรา 32 วรรคสอง ในกรณีได้ปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างนั้นขึ้นภายหลังจากที่ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าแล้วโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากโจทก์ อำนาจฟ้องขอให้รื้อถอนของโจทก์ตามมาตรา 29 (3) และมาตรา 32 วรรคสอง ดังกล่าวนี้ มิใช่สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 จึงไม่มีอายุความ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าได้ตลอดเวลาที่สิ่งก่อสร้างนั้นรุกล้ำอยู่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้า และโจทก์ได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ภายในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง